Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
B - 19 Urinary Tract Infection (UTI) การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ - Coggle…
B - 19
Urinary Tract Infection (UTI)
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
พยาธิสภาพ
เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนบน(Upper UTI) ได้แก่ กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน กรวยไตอักเสบเรื้อรัง ฝีในไต เนื้อเยื่อไตอักเสบ
ส่วนล่าง (Lower UTI) ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ และ หลอดปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และติดเชื้อในปัสสาวะ
มีการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินปัสสาวะบริเวณท่อไต ซึ่งงจะเกิดการกระตุ้นให้ท่อไตบีบตัว เชื้อ E.Coli จะหลั่ง endotoxin ส่งผล α-adereneric nerve ในกล้ามเนื้อ ทําให้การทํางานของท่อไตลดลงและมีการขยายตัวของท่อไต เกิดภาวะ physiologic obstruction และ เกิด intrarenal reflux จับกัน ในระหว่างรวบรวม duct และ proximal tubules ทําให้เกิด acute pyelonephritis มาถึงเนื้อไต ตามมาด้วย medulla
cortex รวบรวมเลือดมาเลี้ยงได้อย่างเต็มที่รวมถึงมีภาวะ medullary hypertonicityส่งผลให้ acutephase reactants, complement และ lymphokines กระตุ้น Neutrophil มาทําลายแบคทีเรีย —> superoxide และเกิดการทําลายเนื้อไต
ผู้ป่วยเป็นต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia-BPH) ต่อมลูกหมากอยู่รอบท่อปัสสาวะบริเวณผนังด้านข้างหรือด้านในของต่อมลูกหมากมีจำนวนเซลล์เพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติจนเกิดเป็นก้อนขนาดใหญ่ไปเบียดท่อ Uretra ทำให้ท่อ Uretra แคบลงและอุดตัน ปัสสาวะจึงไหลออกจากกระเพาะปัสสาวะไม่หมดหรือไหลออกได้น้อย จึงมีปัสสาวะคั่งค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งปัสสาวะที่คั่งค้างที่อยู่ในกระเพาะปัสสาวะนี้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อแบคทีเรีย เมื่อมีเชื้อแบคทีเรียจำนวนมากขึ้น—>กระเพาะปัสสาวะเกิดการติดเชื้อและเชื้อจะลุกลามไปส่วนต่างๆ—>เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น แบคทีเรียมีมากในกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ่ายปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้อักเสบ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อจากอุจจาระเข้าไปในฝีเย็บและไปยังท่อไตและกระเพาะปัสสาวะ—>เยื่อบุ
เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Lower UTI) ได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ต่อมลูกหมากอักเสบ และ หลอดปัสสาวะอักเสบ นอกจากนี้มีการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และติดเชื้อในปัสสาวะ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ข้อมูลสนับสนุน
Neutrophil 93.9 % (13/02/2566)
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผล UA
-ค่า WBC 5-10/HPF
-Lymphocyte 4.5 % (13/02/2566)
ปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มออกส้ม
เกณฑ์ประเมินผล
ปัสสาวะมีสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน
Neutrophil 48.2 - 71.2 %
Lymphocyte 21.1 - 42.7%
อุณหภูมิ < 38.0 องศาเซลเซียส
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผล UA
WBC 0-5/HPF
การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพทุก 4 ชม. โดยเฉพาะอุณหภูมิถ้าอุณหภูมิมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อาจจะแสดงว่าถึงภาวะติดเชื้อได้
สังเกตสีลักษณะและปริมาณของปัสสาวะ ความใสขุ่น และสังเกตว่ามีสิ่งผิดปกติปนในปัสสาวะหรือไม่
ติดตามผลตรวจทางหห้องปฏิบัติการ ได้แก่ CBC ดู WBC NEUTROPHIL LYMPHOCYTE ผลUA ดู WBC Leucocyte bacteria yeast และผล Urine culture เพื่อประเมินการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
แขวนถุงเก็บปัสสาวะให้ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะประมาร 30 ซม ไม่ควรเกิน 40 ซม ระวังการดึงรั้งของสายสวนปัสสาวะ ดูสายไม่ให้เกิดการพับงอ
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ขณะที่คาสายสวนปัสสาวะโดยการล้างอวัยวะเพศและบริเวณขาหนีบ รวมทั้งบริเวณสายสวนปัสสาวะที่ต่อออกมาจากรูเปิดของท่อปัสสาวะให้สะอาด และล้างสายสวนปัสสาวะออกมาทางด้านนอกตัวผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล
Record I/O
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ยกไว้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล
วัตถุประสงค์
ไม่มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน ข้อติด กล้ามเนื้อลีบ
ข้อมูลสนับสนุน
ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง
ผู้ป่วยบอกว่ายกขาทั้ง 2 ข้างไม่ขึ้น เดินไม่ได้
ขาทั้ง 2 ข้าง moter power grade 0
เกณฑ์ประเมินผล
ขาทั้ง 2 ข้าง moter power grade 2 ขึ้นไป
ไม่มีข้อติด
ขาทั้ง 2 ข้าง สามารถเคลื่อนไหว ขยับและยกขึ้นได้
วัตถุประสงค์
ป้องกันผู้ป่วยไม่เกิดข้อติดและกล้ามเนื้อลีบ
การพยาบาล
สอนญาติในการทำ passive exercise
พยุงผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดเมื่อทำกิจกรรมต่างๆ
ช่วยพยุงทั้ง2ข้างให้ลุกขึ้นนั่งบนเตียงและยืนข้างเตียง
ช่วยกระตุ้นทำกิจกรรมต่างๆ
ลุกนั่งห้อยขาบนเตียง
แปรงฟัน
รับประทานอาหาร
ลุกขึ้นนั่งจากการนอนบนเตียง
ช่วยยกขาทั้ง 2 ข้างที่อ่อนแรงยกขึ้นลง และงอขาเข้าออก และเกร็งกล้ามเนื้อ
นอนหงาย กางขาออกด้านข้างตรงๆ ไม่งอสะโพก จากนั้นหุบขาเข้าตำแหน่งเดิม ทำข้างละ 10 ครั้ง อาจมีคนช่วยประคองใต้เข่าและข้อเท้า
นอนหงาย จากนั้นกระดกข้อเท้าขึ้นลง ทำข้างละ 10 ครั้ง โดยให้ผู้ช่วยวางมือและใช้ท้องแขนยันปลายเท้าขึ้น
นอนหงาย ชันเข่าข้างที่ออกกำลังกายขึ้น จากนั้นหมุนสะโพกเข้าออก ทำข้างละ 10 ครั้ง ควรมีคนประคองบริเวณปลายเท้าหรือใต้ข้อพับเข่า
นอนหงาย จากนั้นงอเข่าและสะโพกขึ้น แล้วเหยียดขาไปข้างหน้าตรงๆ ทำข้างละ 10 ครั้ง
ประเมินสภาพผู้ป่วยโดยประเมิน moter power
ประเมินการทำ passive exercise ของผู้ป่วยและญาติว่าทำถูกต้องหรือไม่ ร่วมกับการประเมินโดยนักกายภาพบำบัด
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ยกไว้กั้นเตียงขึ้นทุกครั้งหลังให้การพยาบาล
ยาที่ได้รับ
ยากิน
ALLOPURINOL 100 MG.TAB. รับประทานครั้งละ 2 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
Group : Xanthine Oxidase Inhibitor
Side effect : ปวดตามข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อมือ ข้อต่อนิ้วเท้า หัวเข่า มีอาการข้อยึด ตึงแข็ง หรือบวมตามข้อต่อ มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ง่วงซึม ปวดท้อง รู้สึกเหมือนท้องไส้ปั่นป่วน คลื่นไส้วิงเวียน ท้องร่วง
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อช่วยลดการสร้างกรดยูริคในร่างกาย ใช้รักษาในผู้ป่วยโรคเก๊าท์
AMLODIPINE 5 MG.TAB. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
Group : Calcium Channel Blocker
Side effect : บวมตามมือ เท้า ขาส่วนล่าง ข้อเท้า ปวดศีรษะ ท้องเสีย มึนหัว หน้ามืด เหนื่อยง่าย ซึม หน้าแดง ใจสั่น ท้องอืด
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อช่วยควบคุมโรคความดันโลหิตสูง
SILODOSIN 4 MG. TAB. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
Group : Alpha–Blockers
Side effect : เวียนศีรษะ โดยเฉพาะขณะเปลี่ยนท่าทางอย่างฉับพลัน ง่วงซึม ปวดศีรษะ ท้องเสีย คัดจมูก มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ หัวใจเต้นเร็ว
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อรักษาอาการจากโรคต่อมลูกหมากโต (Benign Prostatic Hyperplasia) เช่น ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะไหลช้า ปวดปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะเล็ด โดยการออกฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อต่อมลูกหมากและกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
QUETIAPINE 25 MG. TAB. รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง ก่อนนอน
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อรักษาโรคทางจิตเวช ออกฤทธิ์โดยช่วยปรับสมดุลในสมอง เพื่อช่วยลดอาการหลอน เพิ่มสมาธิและการจดจ่อ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความคิดเกี่ยวกับตนเองในแง่บวก รู้สึกกระวนกระวายน้อยลง และอยากทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งยังช่วยปรับอารมณ์และทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น
Group : Atypical antipsychotic drugs
Side effect : เวียนศีรษะ สับสน ง่วงซึม หนาวสั่น เหงื่อออก ประหม่า
QUETIAPINE 25 MG. TAB. รับประทานครั้งละ ครึ่งเม็ด เวลา 24.00 น. เวลานอนไม่หลับ
DEXASONE 4 MG. TAB.รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง
Group : Corticosteroid
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อช่วยป้องกันการหลั่งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย
รักษาอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน Cerebral edema เนื่องจากเนื้องอกในสมอง Craniotomy หรือ Head injury
Side effect : มีอาการบวมที่มือหรือข้อเท้า นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน สิวขึ้น ผิวแห้ง ผิวหนังบางลง ช้ำหรือสีผิวเปลี่ยนแปลง แผลหายช้า มีเหงื่อออกมากขึ้น หรือผมยาวเร็ว ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ รู้สึกว่าตนเองหรือสิ่งแวดล้อมหมุน คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องอืด กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างหรือตำแหน่งของไขมันในร่างกาย โดยเฉพาะที่แขน ขา ใบหน้า คอ หน้าอก หรือเอว
ONDANSETRON 8 MG. TAB.
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า เย็น เวลามีอาการ
Group : ยาป้องกันอาการอาเจียน
เหตุผลการใช้ยา : เพื่อป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด และการผ่าตัด
Side effect : วิงเวียน ง่วงนอน ปวดศีรษะ ท้องเดิน ท้องผูก ปากแห้ง อาการแพ้
ยาฉีด
DIAZEPAM 10 MG.INJ.2 ML.
ไป MRI
ยาพวก Benzodiazepine กลุ่ม Tranquilizer
ข้อบ่งใช้
ลดความวิตกกังวล ระงับอาการชัก และสงบประสาท
ผลข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน ตื่นเต้นผิดปกติ นอนไม่หลับ อ่อนล้า และกล้ามเนื้ออ่อนแรง อาจกดการหายใจ
เมื่อให้ขนาดสูงๆหรือระยะยาว มีผลทางด้านร่างกายและจิตใจ เช่น ตามัว เห็นภาพซ้อน ปวดศีรษะ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย พูดไม่ชัด มือสั่น ผื่นขึ้น
HARIDOL 5 MG. INJ. 1 ML.
ฉีด IM
ยาต้านโรคจิต กลุ่ม Butyrophenones
ข้อบ่งใช้
รักษาโรคจิตที่ให้ผลการรักษาสูง
ผลข้างเคียง
หากใช้ขนาดสูงๆ อาจตายได้
หากใช้ร่วมกับยากดประสาทตัวอื่นๆ เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น อาจพบ Agaranulocytosis และ Pigmentary Retinopathy คลื่นไส้ ปากแห้ง ตามัว ง่วงนอน คอแข็ง
METOCLOPRAMIDE 10 MG./2ML. INJ.
10 mg IV prn ทุก 8 ชั่วโมง เมื่อมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
ยาระงับอาการคลื่นไส้ อาเจียนนิยมใช้มากเพราะได้ผลดี และมีฤทธิ์ข้างเคียงไม่เป็นอันตราย
ข้อบ่งใช้
ป้องกันอาการคลื่นไส้ อาเจียนในผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดและหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียง
ง่วงนอน อ่อนเพลีย กระสับกระส่าย ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ ท้องผูกหีือท้องเสีย ปากแห้ง ผื่นขึ้น บวม เต้านมโตในผู้ชายและหมดสมรรถภาพทางเพศ ในผู้หญิงมีน้ำนมไหลและขาดประจำเดือน
ENOXAPARINE 60 MG. INJ. 0.6 ML
0.6 ml SC OD
Anticoagulant, Low molecular weight heparin
High Alert drug
ข้อบ่งใช้
ป้องกันการเกิดโรคลิ่มเลือดอุดตันเส้นเลือดดำ ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการขาดเลือดในผู้ป่วย Unstable angina และ Non-Q wave MI และ Pulmonary embolism
ผลข้างเคียง
1.มีเลือดออกตามอวัยวะต่างๆ หากพบต้องรีบรายงานแพทย์ทราบทันที
2.รอยแดงบริเวณที่ฉีดยา
3.มีการแพ้ยาเฉพาะที่หรือทั่วร่างกาย
4.ภาวะเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติ หากพบต้องรีบรายงานแพทย์ทราบทันที
5.ผื่นที่ผิวหนังบริเวณที่ฉีดยา ซึ่งเกิดขึ้นได้ยาก หากพบต้องรีบรายงานแพทย์ทราบทันที
อาการเจ็บป่วยในปัจจุบัน
6 วัน PTA ( 31 ม.ค. 66 ) ผู้ป่วยมา Admit ด้วยเรื่อง ปวดแน่นท้อง ปวดเข่า (Lt.) ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง ต้องใช้ Walker เดิน กินได้น้อยลง Admit 31 ม.ค. - 3 ก.พ. 66 ระหว่าง Admit มี Urinary retension for BPH (Beningn Prostatic Hyperplasia : โรคต่อมลูกหมากโต) ใส่ R/F กลับบ้าน , ขาอ่อนแรงแต่ยังขยับได้บนเตียง
1วัน PTA ผู้ป่วย R/F มีเลือดออกที่ปลายอวัยวะเพศ มีปวดท้อง ปวดหลังจนนอนไม่ได้ ขาอ่อนแรง ญาติโทรเรียก EMS ไปที่ รพ.ธัญบุรี เปลี่ยน Foley กลับบ้าน ยังมีเลือดออกเหมือนเดิมจึงมารพ.ตำรวจ
อาการสำคัญ
12 ชั่วโมง PTA ผู้ป่วยปวดท้อง มีเลือดออกตรงปลายอวัยวะเพศ ขาอ่อนแรงทั้ง 2 ข้าง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วันที่ 5 ก.พ. 2566
Neutrophil 88.9 % (สูงกว่าค่าปกติ)
มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Lymphocyte 4.9 % (ต่ำกว่าค่าปกติ)
Basophil 0.0 % (ค่าต่ำกว่าปกติ)
BUN 21.3 mg/dL (ค่าสูงกว่าปกติ)
การทำงานของไตที่ลดสมรรถภาพลง จนไม่สามารถขับเอาออกเสียในเลือดออกได้หมด
Sodium (NA) 135 mmol/L (ค่าต่ำกว่าปกติ)
อาจมีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำ
CO2 18.6 mmol/L (ค่าต่ำกว่าปกติ)
อาจกำลังมีสภาวะของโรคไตวายระยะเริ่มต้น จึงควบคุมไบคาร์บอเนตไม่ได้ อาจอยู่ในสภาวะอดอาหาร
วันที่ 7 ก.พ. 2566
Neutrophil 83.1 % (สูงกว่าค่าปกติ)
มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Lymphocyte 8.2 % (ต่ำกว่าค่าปกติ)
CO2 18.5 mmol/L (ค่าต่ำกว่าปกติ)
อาจกำลังมีสภาวะของโรคไตวายระยะเริ่มต้น จึงควบคุมไบคาร์บอเนตไม่ได้ อาจอยู่ในสภาวะอดอาหาร
วันที่ 13 ก.พ. 2566
Neutrophil 93.9 % (สูงกว่าค่าปกติ)
มีการติดเชื้อแบคทีเรีย
Lymphocyte 4.5 % (ต่ำกว่าค่าปกติ)
Monocyte 1.6 % (ต่ำกว่าค่าปกติ)
Eosinophil 0.0 % (ต่ำกว่าค่าปกติ)
Basophil 0.0 % (ค่าต่ำกว่าปกติ)
BUN 38.7 mg/dL (ค่าสูงกว่าปกติ)
การทำงานของไตที่ลดสมรรถภาพลง จนไม่สามารถขับเอาออกเสียในเลือดออกได้หมด
วันที่ 15 ก.พ. 2566
BUN 36.7 mg/dL (ค่าสูงกว่าปกติ)
การทำงานของไตที่ลดสมรรถภาพลง จนไม่สามารถขับเอาออกเสียในเลือดออกได้หมด
Sodium (NA) 135 mmol/L (ค่าต่ำกว่าปกติ)
อาจมีอาการปวดศีรษะ กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนล้าหมดแรง ซึมลง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งอาจเกิดจากการเสียน้ำ
Past hitory
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
โรคเก๊าท์ (Gout)
มะเร็งลำไส้ตรง (CA rectum)
Lung metastasis
DVT On Enoxaparin (Deep Vein Thrombosis : DVT ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก)
โรคต่อมลูกหมากโต (BPH)
ปัญหา
ผู้ป่วยมีอาการสับสน
ผู้ป่วยมีเท้าบวม
ผู้ป่วยไม่มีความรู้สึกที่ขาทั้ง 2 ข้าง
General appearance
ผู้ป่วยชายไทยอายุ 74 ปี หายใจ Room air รู้สึกตัวดี ถามตอบรู้เรื่องแต่มีอาการสับสนบ้าง ช่วยเหลือตัวเองบนเตียงได้ รูปร่างสมส่วน ศีรษะใบหน้าสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง ผมสั้น ไม่มีรอยแผล ไม่มีรอยโรค ริมฝีปากแห้งเล็กน้อย สีผิวน้ำผึ้ง มี Colostomy ที่ท้องด้านขวา มี Retained foley catheter ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ไม่มีตะกอน ขาทั้ง 2 ข้างไม่มีความรู้สึก มี injection plug ที่เท้าด้านขวา