Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
…
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ
ในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร :<3: :red_flag:
วัตถุประสงค์
- เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจในผ้สููงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมในระยะก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
- เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันตนเอง จากโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการ ป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจและกลุ่มที่ไม่ได้รับ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
สมมุตติฐานการวิจัย :
1.ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจมีคะแนนเฉลี่ยหลังเข้ารับโปรแกรมฯสูงกว่าในระยะก่อนเข้ารับโปรแกรมฯ
- ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจมีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ
ระเบียบวิธีวิจัย
เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคมุซึ่งมีระยะเวลาดําาเนินการ10 สัปดาห์และวัดผลทันทีหลังเสร็จการทดลอง
ประชากร
ผู้สูงอายุที่ป่วยก้วยโรคเรื้อรังอันเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อกรเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ อาศัยอยู่ในชมุชน กรงุเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้สูงอายุท่ีป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ท้ังเพศชายและหญิงอาศัยอยู่ในชุมชนฝั่งกรุงธนเหนือของ กรุงเทพมหานคร โดยมีเกณฑ์คัดเข้าร่วมวิจัยคือเปน็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ60ปีซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือภาวะไขมันในเลือดสูงที่สามารถปฏิบัติกิจวัตรปนะจำวันได้ด้วยตนเอง มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และสามารถสื่อสาร โดยการอ่านเขียนภาษาไทยได้
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง
คำนวณโดยใช้poweranalysis (G*Power 3.1.9.2) ในการกําาหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้กำหนดEffectsize=0.85โดยกาําหนดค่าความเชื่อมั่น = 0.05, Power of test = 0.95 (Cohen, 1998) ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 32 คน
กรอบแนวคิดการวิจัย
- การรับรู้โอกาสเสี่ยง นําผล FBS หรือ HbA1C หรือ BP หรือระดับไขมันในเลือดแจ้งรายบุคคล
- การรับรู้ความรุนแรง ให้ความรู้ด้วยการ บรรยายประกอบวิดีทัศน์
- การรับรู้ประโยชน์ ให้ความรู้โดยการสอนด้วย การบรรยาย
- การรับรู้อุปสรรค อภิปรายกลุ่มในการค้นหา อุปสรรคของตนเองที่มีต่อการป้องกันโรค
- การรับรู้ความสามารถของตนเอง เสนอตัวแบบ ในการสะท้อนคิด เล่าประสบการณ์ที่ดีและเป็น แบบอย่างในการป้องกันโรค
- สิ่งชักนําสู่การปฏิบัติ ติดตามเยี่ยมบ้านเพื่อ กระตุ้นเตือน
ผลการศึกษา
1.ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่สกลุ่มตัวอย่างทั้ง2เป็นผู้สูงอายุทั้งหมด 70 คน มีอายุเฉลี่ย70 ปี แยกเป็นเพศหญิง50 คน คิดเป็นร้อยละ 70.4 และเพศชาย 20 คน คิดเป็นร้อยละ 29.6 ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.4 มีสถานภาพสมรสคู่รองลงมาร้อยละ 32.9 มีสถานภาพหม้ายส่วนใหญ่ร้อยละ 41.4 จบช้ันประถมศึกษาและอาศัยอยู่กับครอบครัวโดยมีสมาชิกเฉลี่ย4 คน ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 27.9 มีรายได้เฉลี่ยครอบครัวต่ำกว่า5,000 บาทต่อเดือน และไม่ได้ประกอบอาชีพแล้วพบมากถึงร้อยละ 60
2.พบว่าภายในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของ คะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนการทดลองเท่ากับ 42.0และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.48 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 56.54 และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 7.78 ส่วนในกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดหัใจก่อนการทดลองเท่ากับ 42.32และค่าเบี่ยงเบน มาตรฐานเท่ากับ 2.36 หลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ42.25 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ2.70
อภิปรายผการวิจัย
กระบวนการในแต่ละขั้นตอนของโปรแกรมทำใหักลุ่มตัวอย่างเกิดการรับรู้ได้ครบทุกองค์ประกอบคือ
1)การรับรู้โอกาสเสี่ยง 2)การรับรู้ต่อความรนุแรง 3) การรับรู้ประโยชน์ 4) การรับรู้อุปสรรค 5) การรับรู้ความสามารถแห่งตน 6)ได้รับสิ่งชักนําในการปฏิบัติ
หลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของกล่มุทดลองมีพฤติกรรมป้องกันตนเองจากโรคหัวใจสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมดังกล่าวทำให้กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองท่ีดีข้ึนได้แต่มี พฤติกรรมรายด้านของด้านการบริโภคอาหารด้านบริโภคสุราและบุหรี่และด้านการตรวจสุขภาพประจําปีแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติท่ี .05