Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาการ Rt. Pleural effusion น้ำในเยื่อหุ้มปอดข้างขวา, Folic Acid 5 MG.TAB,…
อาการ Rt. Pleural effusion น้ำในเยื่อหุ้มปอดข้างขวา
กลไกการเกิดโรค
พยาธิสภาพ
ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด คือภาวะที่มีของเหลวปริมาณมากเกินปกติในพื้นที่ระหว่างเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มช่องอก โดยปริมาณน้ำที่มากขึ้นจะไปกดทับปอด ส่งผลให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยภาวะนี้มีอาการโดยทั่วไปคือ ไอ เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก หรือรู้สึกเจ็บขณะหายใจและยังส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้ เนื่องจากติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มปอด เมื่อทำ PCD ต่อสองขวด จะพบตะกอนออกมา นั้นคือเกิดการอักเสบ
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด หลักๆ ตามสาเหตุที่ของเหลวเพิ่มปริมาณขึ้น
ของเหลวแบบใส (Transudate) เกิดจากแรงดันภายในหลอดเลือดที่มากขึ้นหรือโปรตีนในเลือดมีค่าต่ำ ทำให้ของเหลวรั่วไหลเข้ามาในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ของเหลวแบบขุ่น (Exudate) ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบ มะเร็งหลอดเลือด หรือท่อน้ำเหลืองอุดตัน มักมีอาการที่รุนแรงและรักษาได้ยากกว่าภาวะ Pleural Effusion ชนิดของเหลวแบบใส
สาเหตุที่ทำให้เกิด
ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นภาวะที่ส่งผลให้เกิดความดันต้านกลับในหลอดเลือดดำ มักทำให้เกิดอาการบวมจากของเหลวบริเวณขาและอาจมีภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดร่วมด้วย มีการเพิ่มของ hydrostatic pressure
โรคปอดบวมหรือโรคมะเร็ง อาจส่งผลให้ปอดและเยื่อหุ้มปอดอักเสบ จนเกิดของเหลวภายในช่องเยื่อหุ้มปอดตามมา
ไตวาย เกิดจากหน่วยไตได้รับความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถกรองเลือดและขับน้ำปัสสาวะได้ตามปกติ ซึ่งอาจเป็นภาวะไตวายเฉียบพลันจากการบาดเจ็บ ได้รับสารพิษ มีการลดของ capillary oncotic pressure
-มีการติดเชื้อ มะเร็ง
-ท่อน้ำเหลืองอุดตันจากเนื้องอก
เตียง 25
ข้อมูลพื้นฐาน
Vital signs (แรกรับ) : T = 37.0 องศาเซลเซียส, Pulse = 75 ครั้ง/นาที , RR = 18 ครั้ง/นาที, BP = 90/50 mmHg , O2 sat 96%
การตรวจร่างกาย (General Appearance) : ผู้ป่วยชายไทย รู้สึกตัวดีพูดจารู้เรื่อง ช่วยเหลือตัวเองได้ รูปร่างผอม สีผิวค่อนข้างเหลือง ศีรษะใบหน้าสมมาตรกันทั้ง 2 ข้าง ไม่พบก้อนหรือรอยโรค ผมสีดำสนิท รอบดวงตาลึก มีรอยคล้ำ หูทั้งสองข้างปกติ จมูกภายนอกสมมาตรกัน ปากซีดเล็กน้อย หลอดลมอยู่ในแนวตรงกลาง บริเวณลำตัว on PCD ต่อ 2 ขวด ที่แขนซ้ายมีการต่อสาย Injection plug หมดอายุวันที่ 13/2/66 และมีปลายนิ้วนางข้างซ้ายขาด เนื่องจากเคยประสบอุบัติเหตุนิ้วเข้าโซ่รถ แผลบริเวณก้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm ความกว้างของแผล 3 cm ความยาว1 cm ความลึก 1 cm ขาแข็งแรงดี ไม่มีรอยโรค
Vital signs (12/2/66) : T = 37.7 องศาเซลเซียส, Pulse = 100 ครั้ง/นาที , RR = 20 ครั้ง/นาที, BP = 132/76 mmHg , O2 sat 99% Room air
Vital signs (13/2/66) 14.00น. : T = 36.9, Pulse = 96 ครั้ง/นาที, RR = 18 ครั้ง/นาที, BP = 108/70 mmHg, O2 sat 97% Room air
Chief complaint : เหนื่อย ปวดท้องด้านขวา 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล
Present illness : 3 อาทิตย์ก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยให้ประวัติว่า ปวดท้องด้านขวา มาพบแพทย์ที่รพ.ตำรวจ พบแล้วว่าเป็นลำไส้อักเสบ ให้ยาแก้ปวดกับยา antibiotic กลับไปรับประทาน, 2 อาทิตย์ก่อนมาโรงพยาบาล ปวดท้องด้านขวา ร้าวไปชายโครงขวา มาพบแพทย์อีกครั้ง แพทย์มันัดให้มา follow up OPD วันที่ 26/1/66 มีอาการปวดมากขึ้นจึงมาโรงพยาบาล
Personal history : สูบกัญชา + กระท่อม, ดื่มเหล้าวันละกรมเฉลี่ย 5 ปี, บุหรี่วันละ 1 มวน
ทฎษฎี
หอบ หายใจถี่ หายใจลำบากเมื่อนอนราบ หรือหายใจเข้าลึก ๆ ลำบาก เนื่องจากของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอดไปกดทับปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ไอแห้งและมีไข้ เนื่องจากปอดติดเชื้อ
เจ็บหน้าอก ลักษณะเจ็บแหลมๆ จี๊ดๆ
ยาที่คนไข้ใช้รักษา
ยากิน
Bromhexine 8 MG TAB
รับประทานครั้งละ 1เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
สรรพคุณ : ใช้สำหรับละลายเสมหะ บรรเทาอาการไอจากโรคหวัด ใช้ละลายสารคัดหลั่งในโรคหลอดลมปอดอักเสบทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรังที่มีการหลั่งของเสมหะผิดปกติ และมีความบกพร่องของระบบขับเคลื่อนเสมหะ
กลุ่มยา : ยาละลายเสมหะ
ผลข้างเคียง:
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ง่วงนอน ง่วงซึม เหงื่อออก มีอาการไอเพิ่มขึ้น หลอดลมตีบ เกิดอาการรู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องเสีย ปวดบริเวณช่องท้อง และอาจทำให้ระคายเคืองกระเพาะอาหารและลำไส้
Paracetamol 500 MG TAB
รับประทานครั้งละ 1เม็ด ทุก 6 ชั่วโมง เวลามีปวด
สรรพคุณ : มีฤทธิ์แก้ปวดและลดไข้ ซึ่งเป็นยาพื้นฐานที่มักใช้เพื่อบรรเทาไข้ อาการปวดศีรษะ และอาการปวดเมื่อย และรักษาให้หายจากโรคหวัดและไข้หวัด
ผลข้างเคียง :
อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำ
ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลงอย่างไม่มีสาเหตุ
มีอาการไข้ หนาวสั่น
ปวดที่หลังส่วนล่างอย่างรุนแรง
มีจุดแดงเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง
มีผื่นคัน
กลุ่มยา : analgesics ยาระงับปวดและลดไข้
LACTULOSE 66.7% SYR 100 Ml
รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ 30 ซีซี ก่อนนอน เวลามีอาการ ไม่ขับถ่าย
สรรพคุณ : ช่วยรักษาอาการท้องผูก มีคุณสมบัติทำให้อุจจาระนิ่มลงและขับออกมาได้ง่ายขึ้น
กลุ่มยา : ยาระบายเพิ่มน้ำในลำไส้
ผลข้างเคียง : ผู้ที่มีอาการบ่งบอกถึงการแพ้ยา เช่น หายใจลำบาก ลมพิษ มีอาการบวมที่ลิ้น ริมฝีปาก ใบหน้า หรือลำคอ
Lorazepam 0.5 MG TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด ก่อนนอน เวลานอนไม่หลับ
สรรพคุณ : ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง จึงยับยั้งการทำงานของเซลล์ประสาท ส่งผลให้ลดอาการวิตกกังวล ทำให้ง่วงหลับ ต้านอาการชัก คลายกล้ามเนื้อ และอาจเกิดภาวะเสียความจำชั่วขณะ
กลุ่มยา : Benzodiazepines
ผลข้างเคียง : อาการง่วงซึม รู้สึกสงบ และกดการหายใจ (หายใจตื้น) ผลข้างเคียงอื่นๆของยาตัวนี้ คือ ความดันโลหิตต่ำ การสูญเสียความทรงจำ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ
Amoxicillin+clav 875+125 MG TAB
รับประทาน ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เย็น
สรรพคุณ: ในการรักษาโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุจากแบคทีเรีย ได้แก่ การติดเชื้อที่หู ปอด ไซนัส ผิวหนัง และทางเดินปัสสาวะ amoxicillin
กลุ่มยา : เพนนิซิลลิน
ผลข้างเคียง: เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสีย ระหว่างใช้ยานี้ได้
Ciprofloxacin 500 mg TAB
รับประทานครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง วันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้า เย็น เวลา 10.00 และ หลังอาหารเย็น 22.00
สรรพคุณ : เป็นยาสำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียหลายชนิด โดยจัดเป็นยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ในกลุ่ม quinolone ยาจะออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
กลุ่มยา : : Fluoroquinolones
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ ท้องเสีย เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มีปัญหาในการนอนหลับ
การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษ
Modified AFB stain (sputum) เมื่อวันที่ 25/1/66
No partial acid fast organism found
AFB stain (sputum) เมื่อวันที่ 25/1/66
Not found
Gram stain (sputum) เมื่อวันที่ 27/1/66
Moderate : PMN , Few : Epithelial cell, Found : Gramstain Gram positive Cocci (single), Rare : Gram Positive Bacilli (small), Few : Gram negative Bacilli
Gram stain (pleural fluid) เมื่อวันที่ 27/1/66
Numerous : PMN, Few : RBC, Found: Gram stain, Rare : Gram Negative Bacilli
โลหิตวิทยา
7/2/66
CBC
Hemoglobin (Hb) : 8.1 g/dL (L)
มีหน้าที่ส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 12.8-16.1 g/dL ผลการตรวจพบว่าค่าความแน่นของโปรตีนในเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
Hematocrit (Hct) : 25.7 % (L)
เป็นตัวกลางในการขนส่งออกซิเจน ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 38.2-48.3 % ผลการตรวจพบว่า ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
MCV : 49.7 fL (L)
ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 78.9-98.6 fl ผลการตรวจพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
MCH : 15.7 pg (L)
ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 25.9-33.4 pg ผลการตรวจพบว่า ปริมาณเฉลี่ยของเม็ดเลือดต่ำกว่าปกติ
MCHC : 31.7 g/dL (L)
ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 32.0 - 34.9 ผลการตรวจพบว่า ความเข้มข้นเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ
RDW : 18.6 % (H)
WBC : 13,330 uL (H)
บ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่างๆในร่างกาย ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 4.03 - 10.77 * 10^3/uL ผลการตรวจพบว่า จำนวนเม็ดเลือดขาวในร่างกายมากกว่าปกติ
Lymphocyte : 19.3 % (L)
ตัวแสดงความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 21.1 - 42.7 % ผลการตรวจพบว่า ค่า lymphocyte ต่ำกว่าปกติ
Platelet Count : 730 10^3/uL (H)
ปริมาณของเกล็ดเลือด ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 154 - 374 * 10^3/uL ผลการตรวจพบว่า ปริมาณของเกล็ดเลือดสูงกว่าปกติ
11/2/66
Reticulocyte Count = 2.98 % (H)
ค่าที่ใช้แสดงอัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงสูงกว่าปกติ ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 0-2 %
Coagulation test
PT = 14.4 sec. (H)
เวลาที่ใช้ในการทำให้เลือดแข็งตัวสูงกว่าปกติ ซึ่งค่าปกติอยู่ที่ 10.4-13.2 sec.
เคมีคลินิก
11/2/66
Serum Iron = 20 ug/dL (L)
ซึ่งค่าปกติอยู่ : 65-175 ug/dL
TIBC = 197 ug/dL (L)
ซึ่งค่าปกติอยู่ : 250-450 ug/dL
ภูมิคุ้มกันวิทยา
11/2/66
Ferritin = 584.7 ng/mL (H)
ซึ่งค่าปกติชาย อายุ 18-30ปี อยู่ที่ 18.7-323 ng/ml
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากปอดขยายตัวได้ไม่เต็มที่
ข้อมูลสนับสนุน
OD: Chest X ray พบ pleural effusion
O2 Sat 96%
SD: หายใจเหนื่อยหอบ
OD : on PCD ต่อขวด ICD 2 ขวด มีน้ำสีขุ่นออกมา
วัตถุประสงค์
ผู้ป่วยไม่เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยไม่เกิดการพร่องออกซิเจน เช่น หายใจหอบเหนื่อย ปลายมือปลายเท้าเขียว อัตราการหายใจอยู่ในช่วง 16-24 ครั้ง/นาทีลักษณะการหายใจปกติ ไม่มีการหายใจเร็ว แรง ลึก ทางเดินหายใจโล่งไม่มีเสมหะ
ผู้ป่วยรู้สึกตัว ไม่มีภาวะ chyanosis เช่น ปลายมือปลายเท้าเขียว
การทำงานของสาย PCD มีการระบายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีสิ่งอุดตันในสาย
ผู้ป่วยไม่พร่องออกซิเจน ค่า O2 sat มากกว่า 95 %
ผู้ป่วยสามารถบริหารปอดโดยใช้การดูด triflow ดูดได้ 3 ลูก โดยดูดอย่างน้อย 100 ครั้ง/วัน
แผลบริเวณ puncture site ไม่มีเลือดหรือสารคัดหลั่งซึมผ้าก๊อซ
กิจกรรมการพยาบาล
บันทึกสัญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง โดยค่า respiratory rate ควรอยู่ในช่วง 12-20 bpm ค่า O2 sat ควรอยู่ในช่วง 95% ขึ้นไป ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน ประเมินอัตราการหายใจชีพจรสีของเล็บปลายมือปลายเท้าเขียว ประเมินอาการซีด
2.จัดท่านอนศีรษะสูงเพราะทำให้จัดถ้านอนศีรษะสูงเพราะทำให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลงปอดขยายตัวได้เต็มที่
3.ติดตามผล lab chest x-ray เพราะค่า chest X-ray เพื่อประเมินน้ำที่อยู่ในปอด
4.ประเมินการทำงานของท่อระบายทรวงอก PCD ให้อยู่ระดับกว่าทรวงอก ทำ irrigate สาย drain ด้วย 0.9%NSS 10 ml.โดยวิธี Sterile technique ให้ผู้ป่วยทุกวัน ดูท่อระบายให้ไม่มีปัญหา
Record drainage output จำนวนและสีของ content
6.ติดตามผลที่ไปทำ bronchoscopy
7.Dressing แผลบริเวณ puncture site อาทิตย์ละ 2 ครั้ง (อังคาร,ศุกร์) การ dressing ให้หนุนผ้าก๊อซ ไม่ให้โคนสายหักงอ ถ้าสาย drain ตรง puncture site ซึมมากให้รายงานแพทย์ + เปลี่ย dressing บ่อยขึ้น ให้เตือนผู้ป่วยระวังสายหลุด
ผู้ป่วยสามารถบริหารปอดโดยใช้การดูด triflow ดูดได้ 3 ลูก โดยทำครั้งละ 5-10 ครั้ง/ชั่วโมง พยายามให้ผู้ป่วยดูดได้อย่างน้อยวันละ 100 ครั้งต่อวัน จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดได้ดีขึ้น
ผู้ป่วยมีภาวะแผลฝีที่ก้นติดเชื้อ
วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมการหายของแผล ไม่มีการติดเชื้อที่แผล
ข้อมูลสนับสนุน : ผู้ป่วยมีแผลบริเวณก้น เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 cm แผลที่เป็นโพรงมีความกว้าง 3 cm ความยาว 1 cm ความลึก 1 cm มีไข้ต่ำ 37.8 องศาเซลเซียส วันที่ 13/02/2566
เกณฑ์การประเมิน 1. แผลไม่มีลักษณะตุ่มบวม แดงร้อน หรือไม่มี discharge ซึม แผลเล็กลง ตื้นขึ้น แคบลง
2.ไม่มีไข้ อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในช่วง 36.5-37.4 องศาเซลเซียส
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะติดเชื้อ เช่น ไข้สูง หายใจเร็ว ชีพจรเต้นเร็ว รู้สึกหนาว ตัวสั่น แผลมีลักษณะบวม แดงร้อน มี discharge ซึม
ประเมิน V/S และวัด O2 sat ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อสังเกตอาการที่เปลี่ยนแปลงและประเมินภาวะติดเชื้อ
ทำแผลชนิดเปียก (Wet dressing) ใช้หลัก sterile technique เตรียมเช็ดทำแผลและใช้หลัก Aseptic technique ในการทำแผล ใช้ gauze ชุบ NSS + Betadine 1 หยด มา Pack แผล ทำวันละ 1 ครั้ง
4.ดูแลให้ยาตามการรักษาของแพทย์เป็นยา antibiotic Amoxicillin + Clav 1 เม็ด 2ครั้ง หลังอาหาร
มีภาวะซีด เนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก
วัตถุประสงค์ : ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากภาวะซีด
ข้อสนับสนุน : OD - ผล hemoglobin (Hb) 9.1 g/dL, Hematocrit (Hct) 27.6%, MCV 49.1 fL, Serum Iron 20 ug/dL, Ferritin 584.7 ng/mL
เกณฑ์การประเมินผล : 1. ไม่มีอาการแสดงของภาวะซีด เช่น เยื่อบุตาซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ
ผล Hemoglobin (12.2-15.5 g/dL), Hematocrit (38.2-48.3%) , MCV (78.9-98.6 fl), Serum Iron (65-175 ug/dL), TIBC (250-450 ug/dL), Ferritin (18.7-323 ng/mL) อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ค่า O2 saturation > 95%
กิจกรรมการพยาบาล
1.ประเมินอาการแสดงของภาวะซีด เช่นอาการ
อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เหนื่อยง่าย อาการหน้ามืด เวียนศีรษะ และ capillary refill < 2 วินาที
2 แนะนําเรื่องการปรับเปลี่ยนท่าควรทำอย่างช้าๆ เพื่อป้องกัน อุบัติเหตุ
3.ตรวจวัดสัญญาณชีพเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย
4.ดูแลให้ยาตามการรักษาของแพทย์เป็นยา Folic acid 1 เม็ด 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
5.กระตุ้นให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าอาหาร สูง มีธาตุเหล็ก ได้แก่ นม ไข่เเดง ตับ ผักใบเขียว
ดูแลให้ได้รับเลือด LRPC 2 unit เฝ้าระวังอาการแพ้เลือดหลังการให้เลือด เช่น มีไข้ มีผื่นคัน หายใจลำบาก เวียนศีรษะ Vital signs ก่อนให้เลือด 15 นาที หลังให้เลือด 15 นาที หลังจากนั้นวัดทุก 1 ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่
ติดตามผล Hemoglobin, Hematocrit, MCV, Serum Iron, Ferritin
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวล
ข้อมูลสนับสนุน
ผู้ป่วยบ่นและพูดบ่อยๆว่า อยากกลับบ้าน
ผู้ป่วยมีการสอบถาม เรื่องน้ำที่ออกจากปอด กังวลเรื่องจะโดนเจาะใหม่
วัตถุประสงค์
ลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
เกณฑ์การประเมิน
ผู้ป่วยแสดงสีหน้าที่สบายใจขึ้น นอนหลับได้อย่างเต็มที่
กิจกรรมการพยาบาล
สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้ป่วยและ ญาติให้การช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทร
ประเมินความรู้สึกของผู้ป่วย เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึก ออกมาและซักถามเกี่ยวกับอาการของตนเอง
อธิบายวัตถุประสงค์และขั้นตอนใน การรักษาพยาบาลต่างๆ ให้ผู้ป่วยได้มีส่วน ร่วมในการตัดสินใจมากที่สุด
วางแผนการพยาบาล เพื่อประคับ ประคองผู้ป่วยอธิบาย และตอบคําถามของผู้ป่วย และครอบครัวเพื่อคลายความวิตกกังวล
5.ตอบคําถามเกี่ยวกับความกลัวต่อสิ่งต่างๆ และความกลัวต่อการดําเนิน ชีวิต ประจําวันของ ผู้ป่วยด้วยความจริงใจและมีเหตุผล
6.แนะนําวิธีผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟัง ดนตรี ทําสมาธิ กําหนดลมหายใจ
Folic Acid 5 MG.TAB
ผลข้างเคียง :
เวียนศีรษะ
ไม่อยากอาหาร
เรอ ท้องอืด มีแก๊สในกระเพาะอาหาร
รู้สึกขมปาก
มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หลังอาหารเช้า
สรรพคุณ : เสริมสร้างกระบวนการเจริญเติบโตของร่างกาย ป้องกันและรักษาอาการเจ็บป่วยจากการขาดกรดโฟลิค
กลุ่มยา : เป็นวิตามินละลายน้ำ
เตียง 25