Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease :…
ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease : COPD)
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- การสูบบุหรี่
เป็นสาเหตุสำคัญประมาณร้อยละ 80-90 ที่จะพัฒนาสู่การเป็นปอดอุดกั้นเรื้อรัง อัตราการเกิดจะเพิ่มตามปริมาณและระยะเวลาการสูบ
- การติดเชื้อเรื้อรังของทางเดินหายใจ
การติดเชื้อทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อของอวัยวะในระบบหายใจ ซึ่งการติดเชื้อซ้ำๆ ก็จะนำไปสู่การทำลายเนื้อเยื่อถาวร
- สารพิษในอากาศ
ได้แก่ สารพวกซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ จากการเผาถ่านหรือน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นสารพิษต่อการทำงานของปอด
- โรคปอดจากอาชีพ (Pneumoconiosis)
เกิดจากการสูดเอาฝุ่นละอองควันหรือสารพิษเข้าไปในปอด เนื่องจากอาชีพการทำงาน
- องค์ประกอบทางพันธุกรรม
การขาด Alpha 1 antitrypsin ปกติสารดังกล่าวมีมากในปอดจะป้องกันย่อยโปรตีนจาก enzyme trypsin ฉะนั้นการขาดสารนี้อาจทำให้เกิดโรคเนื่องจากการทำลายของเนื้อปอด
- สาเหตุอื่นๆ
เช่น เสื่อมตามอายุ เพศ สภาพสังคมและระดับการศึกษา
หมายถึง
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นกลุ่มโรคที่เกิดความผิดปกติของทางเดินหายใจอย่างช้าๆ จนกระทั่งไม่สามารถกลับมาเป็นปกติได้ ซึ่งเป็นกลุ่มโรคที่แยกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
Chronic bronchitis
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง มีการวินิจฉัยมาจากอาการทางคลินิก คือ ไอและมีเสมหะเรื้อรัง เป็นๆหายๆ ปีละอย่างน้อย 3 เดือน ติดต่อกัน 2 ปี ไม่มีสาเหตุอื่น
Pulmonary emphysema
โรคถุงลมโป่งพอง นิยามจากการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพที่ถุงลม กล่าวคือ บริเวณถุงลมและส่วนปลายสุดขิงถุงลมมีการขายตัวโป่งพอง ทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซผิดปกติ
พยาธิสรีรภาพ
อาการและอาการแสดง
อาการค่อยเป็นค่อยไป อาการเริ่มแรกมักจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆและเลวลงเรื่อยๆ อาการที่พบบ่อย คือ หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ไอเรื้อรังมีเสมหะ หายใจเสียงวี้ด (Wheeze) ทรวงอกเป็นรูปถังเบียร์ มักหายใจโดยการห่อปาก แรงดันในทรวงอกเพิ่มมากขึ้น ทำให้หลอดเลือดดำที่คอโป่งขณะหายใจออกและแฟบขณะหายใจเข้า ในระยะท้ายจะพบอาการของภาวะหายใจวาย มีอาการของก๊าซออกซิเจนในเลือดต่ำ เช่น ปวดมึนศีรษะ ชีพจรเพิ่ม ความดันโลหิตสูง เขียว หรืออาการของก๊าซคาร์บอนไดซ์ออกไซด์ในกระแสเลือดสูง (CO2 narcosis) เช่น มือเท้าอุ่น มือสั่น ง่วงซึม มีนิ้วปุ้ม (Clubbing of fingers)
Acute Exacerbation of Chronnic Obstructive Pulmonary Disease : AECOPD
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
- การตรวจภาพรังสีทรวงอก
ภาพรังสีทรวงอกของผู้ป่วย COPD มักมีลักษณะ Hyperinflation กล่าวคือ กะบังลมจะแบนราบหัวใจจะมีขนาดเล็ก
- การตรวจสมรรถภาพปอด
ในการตรวจสมรรถภาพปอดของผู้ป่วย COPD จะพบ
FEV1 (Forced expiratory volume in one second) ต่ำกว่าปกติ
Total lung capacity (TLC) สูงกว่าปกติ
วัดปริมาตรของอากาศที่หายใจเข้าและออก
จากปอดได้ค่า FEV1 / FVC น้อยกว่า 70%
- การตรวจวิเคราะห์ก๊าซในเลือดแดง(Atrial blood gas)
ในระยะแรกค่าก๊าซจะปกติ ต่อมาจะมีค่า PaCO2 ต่ำเล็กน้อย อยู่ระหว่าง 65-75 mmHg ส่วน PaCO2 จะปกติ ในระยะหลังที่ความรุนแรงของโรคจะมีค่า PaO2 ต่ำ และค่า PaCO2 สูง
ซักประวัติความเจ็บป่วยและปัจจัยเสี่ยง เช่น ประวัติการสูบบุหรี่ การทำงาน เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
ในผู้ป่วยที่มีถุงลมโป่งพองมาก รูปร่างทรวงอกจะเป็นรูปทรงกลมคล้ายถังเบียร์ (Barrel shape) เคาะโปร่ง เสียงหายใจเบา
ใช้ accessory muscle ในการหายใจ และการทำปากห่อ (pursed-lips breathing) บ่งบอกว่ามีการอุดกั้นทางเดินหายใจขั้นรุนแรง
เมื่อหลอดลมเกิดการระคายเคืองผู้ป่วยจะไอ การหลั่งมูกมากขึ้น ทําให้มีเสมหะมากขึ้นเซลล์อักเสบที่อยู่ในท่อของ หลอดลมท่าให้เสมหะเหนียวและมีสีเหลืองหรือเขียว การระคายเคืองอย่างเรื้อรังทำให้ระบบการป้องกันการติดเชื้อ ในหลอดลมเสื่อมลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ผนังของหลอดลมที่บวม และเสมหะในหลอดลมร่วมกับ ต่อมใต้เยื่อบุที่โตขึ้น ทําให้ท่อของหลอดลมเล็กลง การ หายใจจึงต้องใช้แรงมากกว่าเดิม ผนังของหลอดลมที่ถูก ทําลายไปจะอ่อนแอลงทําให้หลอดลมตีบปอดที่พองจะมี ความยืดหยุ่นลดลง มีอากาศค้างอยู่มาก จึงไปกด หลอดลมให้แคบลงการระบายอากาศในปอดไม่ทั่วถึง ทําให้ออกซิเจนในหลอดโลหิตแดงต่ำเกิดหัวใจข้างซ้าย วายเมื่อขาดออกซิเจนไตจะปล่อยอิริโทโพติอิน
ไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น ทำให้ เม็ดโลหิตแดงมีจํานวนมากขึ้น โลหิตมี ความหนืดสูงขึ้น ผลจากการระบายอากาศในปอดไม่ทั่วถึงอีกประการหนึ่งคือ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในโลหิต ทําให้โลหิตเป็นกรดเป็นผลให้หลอดโลหิตในปอดหดตัว ความดันในปอดสูงเกิดหัวใจข้างขวาวาย (Corpulmonale)
ภาวะแทรกซ้อน
ผลที่อาจจะตามมาของโรค COPD คือ ภาวะหัวใจซีกขวาล้มเหลว (Corpulmonale) สาเหตุเนื่องจากการที่มี Pulmonary hypertension (PH) เกิดขึ้นโดยพบว่าผู้ป่วยที่เป็น Corpulmonale จะมีความดันเฉลี่ยของหลอดเลือดแดง Pulmonary สูง คือมีค่าระหว่าง 25-50 mmHg สาเหตุที่มี PH เกิดขึ้นในผู้ป่วย COPD เนื่องจากมีภาวะพร่องออกซิเจนเป็นเวลานานทำให้หลอดเลือดแดง pulmonary เกิดการบีบรัดตัวและมีแรงดันสูงขึ้น
อาการและอาการแสดง
ไอมีเสมหะ
หายใจลำบาก
ปลายมือปลายเท้าบวม
เลือดคั่งในอวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับโต ม้ามโต มีน้ำในช่องท้อง
หลอดเลือดที่คอโป่งพอง
มีภาวะพร่องออกซิเจน
การรักษา
แนวทางรักษาภาวะ Acute exacerbation ความรุนแรงน้อย
เพิ่มขนาดและความถี่ของยาขยายหลอดลมชนิดพ่น Ventolin
ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ พิจารณาเป็นรายๆ โดยให้เป็น Prednisolone ขนาด 20-30 มิลลิกรัมต่อวัน
ยาต้านจุลชีพ ให้เป็นชนิดเม็ดรับประทานเป็นเวลานาน 7-10 วัน
แนวทางการรักษาภาวะ Acute exacerbation ที่รุนแรง
ควรให้ออกซิเจนผ่านทาง Nasal cannula โดยตั้งอัตราการไหล 1-3 ลิตรต่อนาที หรือใช้ยาขยายหลอดลม
คอร์ติโคสตีรอยด์ อาจมีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ Respiratory failure แพทย์จะให้สเตียรอยด์ในรูปของ Hydrocortisone ขนาด 100-200 มิลลิกรัม
ยาต้านปฏิชีวนะ สำหรับยาที่ควรเลือกใช้นั้น ขึ้นกับข้อมูลทางระบาดวิทยาของพื้นที่่นั้นๆ อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างยาปฏิชีวนะที่แนะนำให้ใช้ ได้แก่ Amoxycilin ถ้าผู้ป่วยแพ้ยา Penicilin แพทย์จะให้ co-trimazole หรือ Doxycycline โดยให้รับประทานติดต่อกัน 10 วัน
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับยาขยายหลอดลม
แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส ดื่มน้ำอุ่นมากๆ ถ้าไม่มีข้อห้าม เพื่อให้เสมหะคลายความเหนียวและหลุดออกจากผนังของเยื่อบุถุงลมได้ง่าย
กระตุ้นให้หายใจลึกๆ และไออย่างมีประสิทธิภาพ
ดูแลให้ได้รับ O2 canula 2-3 L/min เนื่องจากผู้ป่วยมักมีการหายใจลมเหลวอย่างเรื้อรังจากการอุดกั้นขิงทางเดินหายใจแบบค่อยเป็นค่อยไป
ฟังปอดเพื่อการประเมินภาวะการหดเกร็งของหลอดลม และรายงานแพทย์เพื่อให้ยาขยายหลอดลม
ฝึกการหายใจ (Breathing exercise)
กายหายใจออกโดยการห่อปาก (pursed lip breathing exercise) ให้ผู้ป่วยหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปากและห่อปากร่วมด้วย ให้หายใจออกช้าๆนับ 1-2-3-4 เพื่อให้มีแรงต้านขณะหายใจออก ช่วยให้การระบายอากาศดีขึ้น ระบายคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น
Diaphragmatic breathing ได้แก่ การหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง
การฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ ออกกำลังกายแบบแอโรบิค การเดินหรือขี่จักรยาน
ให้คำแนะนำในการประหยัดพลังงาน เช่น การจัดสิ่งแวดล้อม การจัดเครื่องใช้ให้อยู่ในที่ที่สะดวกต่อการหยิบจับ นอกจากนี้ ควรให้ความรุ้แก่ผู้ป่วยถึงธรรมชาติของโรค โภชนาการที่เหมาะสม และให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจร่วมด้วย