Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การใส่ท่อระบายทรวงอก (ICD : Intercostal drainage) - Coggle Diagram
การใส่ท่อระบายทรวงอก (ICD : Intercostal drainage)
ความหมาย
การใส่ท่อระบายทรวงอก (Chest drainage หรือ Intercostal chest drainage) การใส่สายยางหรือใส่ท่อระบายเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural cavity) เพื่อระบายเอาลมหรือสารเหลวออกจากช่องเยื่อหุ้มปอด
ข้อบ่งชี้
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
ภาวะที่มีเลือดในช่องเยื่อหุ้มปอด (Hemothorax)
ภาวะที่มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (Empyema thoracis)
ภายหลังการผ่าตัดทรวงอก (Chest surgery)
ภาวะที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Hydrothorax หรือ Pleural effusion)
ตำแหน่งที่ใส่
สำหรับภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
ใส่สายในตำแหน่ง anterior และ superior ของช่องเยื่อหุ้มปอดใกล้ยอดของปอด (apex of the lung) ประมาณช่อง Intercrostals space ที่ 2 หรือ 3 ในแนว mid clavicular line
สำหรับภาวะมีเลือดหรือของเหลวในช่องเยื่อหุ้มปอด ( Hemothorax / Hydrothorax)
ใส่สายในตำแหน่ง inferior และ posterior ของช่องเยื่อหุ้มปอด อยู่ประมาณช่อง intercrostal space ที่ 6,7,8 ในแนว anterior mid axillary line หรือ mid axillary line ใส่ในบริเวณตำแหน่งที่ต่ำที่สุดของบริเวณที่มีเลือดหรือของเหลวอยู่
ภาวะแทรกซ้อน
มีลมใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema)
ภาวะตกเลือด (Bleeding)
ภาวะอากาศอัดดันในช่องเยื่อหุ้มปอด (Tension pneumothorax)
ปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)
การติดเชื้อ
การพยาบาล
สังเกตการกระเพื่อมขึ้นลง (Fluctuation) ของระดับน้ำในหลอดแก้ว ความดันในช่องเยื่อหุ้มปอดจะเพิ่มเมื่อหายใจเข้าทำให้ดึงน้ำในท่อขึ้นไป ขณะหายใจออกความดันที่สูงขึ้นในปอดจะทำให้ระดับน้ำลดต่ำลง
การบีบและรูดสาย (Milking & stripping) หากพบว่ามีการอุดตันควรกระทำโดยการบีบสายเบาๆ เพื่อละลายก้อนเลือดที่อุดตัน
กาารหนีบสาย (Clamping) ห้ามหนีบสายท่อระบายทรวงอกเด็ดขาด ในผู้ป่วยที่มีลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด การหนีบสายจะไปยับยั้งการไหลออกของอากาศ ทำให้เกิดความดันในช่องปอด (Intrathoracis pressure)
การวางขวดระบาย ควรวางยึดไว้กับพื้นหรือตะกร้ารองรับ โดยควรวางต่ำกว่าทรวงอกผู้ป่วยประมาณ 2-3 ฟุตเสมอ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของสารเหลว
ปรับความดันให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เมื่อต้องต่อเครื่องดูดสูญญากาศ (Mechanic pressure suction) ตรวจเครื่องดูเครื่องว่าทำงานดีและถูกต้องก่อนต่อกับหลอดแก้วสั้น การเลือกใช้ความดันขึ้นอยู่ตามอาการของผู้ป่วย ในกรณีที่ใส่ท่อในช่องเยื่อหุ้มปอดใช้ความดัน 10-14 cmH2O
การจัดท่านอน จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่า Semi Fowler position ศีรษะสูง 20-30 องศา หรือ Fowler position ศีรษะสูง 45-60 องศา
กระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการออกกำลังกายในระยะแรกเริ่ม Early ambulation เช่นการบริหารการหายใจ (Breathing exercise) กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ เพื่อช่วยสารเหลวออกมาจากช่องเยื่อหุ้มปอด และทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
สังเกตและป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อระบายทรวงอก หากพบภาวะที่ผิดปกติต้องรีบรายงานแพทย์เพื่อทำการแก้ไขโดยทันที
ป้องกันการติดเชื้อ โดยการดูแลให้ขวดเก็บสารเหลวอยู่ต่ำกว่าระดับทรวงอกอยู่เสมอ หากจะยกต้อง clamp สายก่อนเสมอ ป้องกันการไหลย้อนกลับ ซึ่งเกิดการติดเชื้อได้
ชนิดของท่อระบาย
ระบบเปิด (Opened drainage)
ระบายโดยใช้ระบบเปิดโดยการใส่สายระบายเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดและปลายสายระบายอยู่นอกทรวงอก ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อเรื้อรังภายในช่องเยื่อหุ้มปอด
ระบบปิด (Close drainage)
ใส่สายระบายเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอดและปลายสายต่อกับหลอดแก้วยาวของขวดที่รองรับ โดยปลายหลอดแก้วต้องจุ่มอยู่ในน้ำ 2-3 เซนติเมตร
ชนิดของขวดระบาย
ชนิด 1 ขวด ( under water seal)
สายระบายทรวงอกจะต้องต่อกับปลายหลอดแก้วจุ่มใต้น้ำ 2-4 เซนติเมตร ใช้ระบายอากาศได้ดี และป้องกันไม่ให้อากาศไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องเยื่อหุ้มปอด
ชนิด 2 ขวดเก็บสารเหลว (Two botlle water seal)
ประกอบด้วยขวด collection และขวด under water seal ปลายหลอดแก้วจุ่มใต้้น้ำ 2-3 เซนติเมตร ใช้ระบายอากาศและสารเหลวที่ระบายออกมามาก สังเกตสารเหลวได้ชัดเจน
ชนิด 3 ขวดควบคุมแรงดัน (Three bottle water seal)
ประกอบด้วยขวด collection ขวด under water seal และขวดควบคุมความดัน ชนิด 3 ขวดเหมือนชนิด 2 ขวด แต่เพิ่มขวดที่ 3 ที่มีแท่งแก้วจุ่มใต้น้ำ 10-15 เซนติเมตร เพื่อต่อกับเครื่องดูด (suction) ควรตรวจดูแรงดันให้คงที่อยู่เสมอ