Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สัญญายืม และ สัญญาหนี้สิน, บ่อเกิดแห่งหนี้ - Coggle Diagram
สัญญายืม และ สัญญาหนี้สิน
สัญญาหนี้สิน
หนี้ คือความผูกพันในกฏหมายระหว่างบุคคล ฝ่ายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ มีความชอบธรรมที่จะบังคับอีกฝ่ายหนึ่ง คือฝ่ายลูกหนี้ จำต้องส่งมอบทรัพย์สิน กระทำการ หรืองดเว้นอย่างไรอย่างหนึ่ง
หนี้มีลักษณะสำคัญ 3 อย่าง
ต้องมีเจ้าหนี้และลูกหนี้
ต้องมีความผูกพันในกฏหมาย อันก่อให้เกิดสืทธิและหน้าที่
ต้องมีวัตถุแห่งหนี้
วัตถุแห่งหนี้ คือ สิ่งที่ลูกหนี้จะต้องปฏิบัติในการชำระหนี้
ข้อแตกต่าง
วัตถุแห่งหนี้
ข้อกำหนดที่ลูกหนี้จะต้องปฏบัติในการชำระหนี้ต่อ เจ้าหนี้ ข้อกำหนดอาจจำแนก ได้ 3 ประการ คือ การกระทำงดเว้นการกระทำ และกาโอนกรรมสิทธิส่งมอบทรัพย์สิน
วัตถุประสงค์แห่งหนี้
ประโยชน์ของเจ้าหนี้ จะได้รับการปฏิบัติการชำระหนี้ของของลูหนี้ ซึ่งประโยชน์นี้ไม่มีขอบเขตจำกัด และอาขกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์แห่งหนี้เป็นปัจจัยในการก่อให้เกิดหนี้
หนี้สินหมุนเวียน" หนี้สินระยะสั้นที่ผู้ประกอบกิจการหลายคนอาจเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่า หนี้สินหมุนเวียน คืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ประกอบการทราบข้อมูลและวิเคราะห์ว่า หนี้สินหมุนเวียนเหมาะเป็นทางออกของกิจการของตนหรือไม่
หนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) คือ เป็นหนี้สินที่มีกำหนดเวลาชำระคืนที่ชัดเจน คือ ภายใน 12 เดือน หรือ 1 ปี นับจากวันที่เป็นหนี้สินหรือวันที่ระบุในงบแสดงฐานะการเงิน อย่างไรก็ดี ความสามารถในการชำระหนี้สินหมุนเวียน จะแปรผันอยู่กับสินทรัพย์หมุนเวียนของกิจการ โดยวิธีการชำระคืนหนี้สินหมุนเวียนทำได้ในหลายลักษณะ อาทิ ชำระเป็นเงินสด ชำระด้วยสินทรัพย์หมุนเวียน หรือเปลี่ยนภาระผูกพันเก่าให้กลายเป็นภาระผูกพันใหม่ เพื่อนำเงินไปโปะหนี้หรือว่านำไปลงทุนก่อน
ประเภท
ซึ่งประเภทหนี้สินหมุนเวียนที่กล่าวในข้างต้นล้วนมีกำหนดระยะเวลาชำระภายใน 12 เดือน หรือไม่เกิน 1 รอบ ในระยะเวลาดำเนินงานปกติของกิจการ
หนี้สินหมุนเวียนอื่น ๆ ฯลฯ
การเงินกู้ระยะสั้นจากธนาคาร
การเงินกู้ยืมระยะยาว
การเงินกู้ระยะสั้น
สัญญายืม
สัญญายืม คือ สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้ยืมได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม เพื่อใช้ทรัพย์สินนั้น และผู้ยืมต้องคืนให้เมื่อใช้สอยเสร็จแล้ว
ลักษณะของสัญญายืม
เป็นสัญญาที่บริบูรณ์ เมื่อผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์แก่ผู้ยืม กล่าวคือ ตราบใดที่ผู้ให้ยืมยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมก็ยังไม่เกิดขึ้น แม้คู่สัญญาจะได้ทำสัญญาให้ยืมเป็นหนังสือก็ตาม หากยังไม่ได้ส่งมอบก็บังคับให้ส่งมอบไม่ได้
2.สัญญายืมเป็นสัญญาไม่ต่างตอบแทน ในสัญญายืมจะมีคู่สัญญาฝ่ายเดียว คือ ผู้ยืม เท่านั้นที่เป็นลูกหนี้ มีหน้าที่ในการส่งของที่ยืมคืนให้แก่ผู้ให้ยืม ส่วนผู้ให้ยืมเมื่อส่งมอบของที่ยืมแก่ผู้ยืมทำให้สัญญายืมเกิดบริบูรณ์แล้วก็ไม่มีหน้าที่อะไรอีก
สัญญายืมมี 2 ชนิดคือ
“สัญญายืมใช้คงรูป” คือสัญญาที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืมให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอบทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้น เมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
ลักษณะของสัญญาใช้คงรูป มีดังนี้คือ
(1) สัญญาไม่มีค่าตอบแทน
2) เป็นสัญญาที่ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ หมายความว่า การที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้แก้ผู้ยืมไปนั้นเป็นการส่งมอบให้เพื่อผู้ยืมจะได้ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นเท่านั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นยังเป็นของผู้ให้ยืมอยู่ ลักษณะในข้อนี้เป็นเหมือนกับสัญญาเช่าทรัพย์ที่ได้อธิบายมาแล้ว
(3) วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปคือทรัพย์สิน
2.สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้น เป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม โดยผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น และสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองย่อมบริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม
ลักษณะของสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง
เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ให้ยืม และอีกฝ่ายหนึ่งคือ ผู้ยืม
เป็นสัญญาที่บริบูรณ์เมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม สัญญาไม่เป็นโมฆะ เพียงแต่คู่สัญญาจะยังไม่เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายหรือตามที่ระบุในสัญญายืม
เป็นสัญญาที่มีวัตถุแห่งหนี้เป็นทรัพย์ชนิดใช้ไปสิ้นไป ได้แก่ ทรัพย์ที่เมื่อใช้ไปแล้วสิ้นสภาพหรือเปลี่ยนสภาพไปภายหลังการใช้งาน และไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เช่น ยืมน้ำมันมาเติมรถ ยืมน้ำมาใช้
เป็นสัญญาที่ไม่ต่างตอบแทน แต่อาจมีค่าตอบแทนได้ เช่น ดอกเบี้ย
เป็นสัญญาที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม
ผู้ให้ยืมใช้สิ้นเปลืองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้ยืม เพราะหากผู้ให้ยืมไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแล้ว ก็จะไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่ผู้ยืมได้
หน้าที่ของผู้ยืม
1.หน้าที่ในการเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ และค่าบำรุงรักษาทรัพย์สิน
2.หน้าที่ในการใช้สอยทรัพย์สินและสงวนรักษาทรัพย์สินที่ยืม
3.หน้าที่ในการส่งคืนทรัพย์สินที่ยืมเมื่อใช้เสร็จ
ความระงับแห่งสัญญายืมใช้คงรูป อาจมีได้หลายสาเหตุดังนี้คือ
1.ในกรณีที่สัญญาได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ สัญญายืมใช้คงรูปก็จะระงับเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาตามสัญญานั้น
2.ในกรณีที่สัญญาไม่ได้กำหนดระยะเวลายืมไว้ เช่น ยืมหนังสือไปอ่านโดยไม่ได้ระบุว่าจะคืนเมื่อใด ดังนี้ตามกฎหมายแล้วผู้ให้ยืมมีสิทธิเรียกคืนเมื่อใดก็ได้
3.สัญญายืมใช้คงรูประงับไปเมื่อผู้ยืมตาย ในข้อนี้แสดงให้เห็นว่าคุณสมบัติของผู้ยืมเป็นสาระสำคัญของสัญญายืมใช้คงรูป
4.สัญญายืมใช้คงรูประงับไปเมื่อผู้ให้ยืมบอกเลิกสัญญาในกรณีที่ผู้ยืมผิดสัญญา
บ่อเกิดแห่งหนี้
สัญญา
จัดการงานนอกคำสั่ง
ลาภมิควรได้
ละเมิด
บทบัติแห่ง กฏหมาย