Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ, นางสาวเกวลิน คำไหม…
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
การบาดเจ็บที่ศีรษะ (Head injury)
ความหมาย
การบาดเจ็บใดๆ ที่มีผลต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ และเนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจราจร เช่น รถชน หรืออาจตกจากที่สูง
กลไกการบาดเจ็บที่ศีรษะ
การบาดเจ็บโดยตรง (Direct injury)
การบาดเจ็บที่ศีรษะเกิดขณะศีรษะอยู่ นิ่งหรือเคลื่อนไหวเล็กน้อย เช่นการถูกตีทําให้มีพยาธิสภาพเฉพาะที่
การบาดเจ็บที่ศีรษะเกิดขณะที่ศีรษะมีการเคลื่อนที่
ด้วยความเร็วไปกระทบกับวัตถุที่อยู่นิ่งหรือกําลังเคลื่อนที่ เช่น รถชน สมองส่วนที่ถูกกระทบ (Coup lesion) อาจมีการแตกร้าวของกะโหลกศีรษะรวมด้วยและอาจมีพยาธิสภาพต่อสมองด้านตรงข้ามด้วย
การบาดเจ็บโดยอ้อม (Indirect injury)
การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับส่วนอื่น ๆ ของร่างกายแล้วมี ผลสะท้อนทําให้เกิดการบาดเจ็บที่ศีรษะ เช่น ตกจากที่สูงก้นกระแทกพื้น
กะโหลกศีรษะแตกร้าว (Skull Fracture)
ลักษณะการแตกร้าวของกะโหลกศีรษะที่พบได้บ่อย
กะโหลกศีรษะแตกร้าวแบบเป็นเส้น (Simple linear types)
ไม่ค่อยอันตราย ยกเว้นมีแตกร้าวถึงกระบอกตาหรือแตกบริเวณกระดูกTemporal หรือ รอยแตกข้าม กระดูกกะโหลกศีรษะ (Saggital suture) เพราะมีโอกาสเกิดเลือดออกในชั้นอิพิดูรัล (Epidural hematoma)
กะโหลกศีรษะแตกยุบแบบปิด (Simple depressed fracture of skull)
มีหนังศีรษะฉีกขาด ต้องทําการผ่าตัดแก้ไขโดยเร็วภายใน 6 ชั่วโมงซึ่งถือว่า เป็นระยะที่แผลยังไม่มีการติดเชื้อ
กะโหลกศีรษะแตกยุบแบบเปิด (Compound depressed fracture of skull)
หนังศีรษะยังคงอยู่การรักษาไม่เร่งด่วน เพราะไม่มีการติดเชื้อ แต่ยังคงต้องให้การรักษาโดยการผ่าตัด ถ้ากะโหลกศีรษะถูกกดมากกว่า 5 มิลลิเมตร
อาการและอาการแสดง
ขอบตาเขียวคล้ำ (Raccoon eyes) หรือมีเลือดออกซึมบริเวณกระดูก Mastoid ( Battle signs)
เบ้าตา หรือหลังหูเขียวช้ำ
มีของเหลวใสซึ่งเป็นน้ําไขสันหลังไหลออกจากจมูกหรือหู (Rhinorrhea หรือ Otorrhea)
การวินิจฉัย
การถ่ายภาพกะโหลกศีรษะ
ตรวจน้ำไขสันหลัง
โดยใช้ผ้าก๊อสซับเลือดที่ไหลออก ทางจมูก ถ้าเลือดนั้นมีน้ําไขสันหลังวงเลือดสีแดงจะอยู่ตรงกลางและมีวงสีจาง ๆ อยู่รอบนอก
อาจทดสอบซ้ำได้ด้วย Glucose reagent strip ถ้าเป็นน้ําไขสันหลังจะเห็นผลบวก แต่ถ้าเป็นของเหลวที่ออกจากทางเดิน หายใจจะให้ผลลบเพราะไม่มีน้ําตาล
การรักษา
ในรายที่มีกะโหลกศีรษะแตกร้าว โดยไม่มีพยาธิสภาพต่อสมอง
ให้สังเกตอาการ หรืออาจให้ยาแก้ปวด ตามความจําเป็น หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์ ควรถ่ายภาพรังสียืนยันการเชื่อมต่อของกระดูกอีกครั้ง
รอยแตกของกะโหลก ศีรษะสามารถเชื่อมติดกันได้ ภายใน 6-8 สัปดาห์
ถ้ากระดูกหักกดเข้าข้างในหรือแตกเป็นหลายส่วน
ผ่าตัด เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น การชัก ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ถ้าปล่อยให้ Cerebrum cortex ถูกกดนาน
ถ้ามีน้ําไขสันหลังไหลออกทางหู จมูก
ให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลด อุบัติการณ์เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ถ้าน้ําไขสันหลังไม่หยุดไหลภายใน 2 - 3 วัน
อาจจําเป็นต้องผ่าตัด ซ่อมแซมส่วนที่แตกหัก หลีกเลี่ยงการไอ จาม เพราะอาจทําให้มีอากาศเข้าไปใน Meningeal space ได้ เพราะถ้ามีอากาศหลุดลอดเข้า ไปใน Intracranial spaces จะถูกดูดซึมหมดอย่างรวดเร็ว
ใน 72 ชั่วโมงแล้ว ผล การถ่ายภาพรังสียังพบมีอากาศในโพรงสมองแสดงถึงมีการแตกหักของกระดูก อาจต้องผ่าตัดเพื่อปิดรอย กะโหลกศีรษะที่แตก
สมองถูกกระแทก (Concussion)
สมองถูกกระทบกระเทือน สมองจะสูญเสีย หน้าที่ชั่วคราว และสามารถกลับคืนได้ เด็กอาจหมดสติขณะได้รับบาดเจ็บในระยะเวลาอันสั้น ตั้งแต่วินาทีหรือ นานเป็นชั่วโมง
อาการและอาการแสดง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ พฤติกรรมเปลี่ยน ความจําแย่ลง
การรักษา
หมดสตินานกว่า 5 นาทีให้รับไว้สังเกตอาการในโรงพยาบาล รักษาด้วยวิธีประคับประคองตาม อาการ เช่น ให้ยาแก้ปวด
สมองช้ำ (Contusion)
เกิดจากสมองถูกกระทบอย่างรุนแรงโดยไม่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ Arachnoid และ pia ทําให้เนื้อสมองช้ำ มีเลือดออกทั่ว ๆ ไป สมองจะมีสีคล้ำ ร่อง (Salcus) และลอนสมอง (Gyri) หายไป
พยาธิสภาพ
เกิดจากการ ลดความเร็วทันทีของศีรษะที่กําลังเคลื่อนที่อยู่ในขณะที่เนื้อสมองที่อยู่ภายในยังคงมีความเร็วเท่าเดิม เนื้อสมอง ถูกกระแทกกับส่วนที่ขรุขระของกะโหลกศีรษะ ทําให้เนื้อสมองช้ำและมีการฉีกขาดของหลดเลือดและเนื้อสมองได้ ทําให้เกิดการตายของเนื้อสมองในเวลาต่อมา
อาการและอาการแสดง
ระดับการรู้สึกตัวลดลง สับสน คลื่นไส้ แขนขา อ่อนแรง ชักมีปัญหาการพูด การมองเห็น
การรักษา
สังเกตอาการใกล้ชิด ใช้การรักษาแบบประคับประคอง
ป้องกันสมองบวมโดยช่วยหายใจ ให้สารน้ําและอาหารให้เพียงพอ ป้องกันไม่ให้โซเดียมต่ำหรือ ขาดออกซิเจน รอให้สมองฟื้นตัวซึ่งต้องใช้เวลานาน
ก้อนเลือดออกซับดูรัล (Subdural Hematoma)
มีเลือดออกเข้าไปในช่องว่างระหว่างชั้น dura และ arachnoid membrane
อาการและอาการแสดง
ก้อนเลือดออกที่ Subdural อาจมีอาการภายใน 3 วัน หลังจากได้รับอุบัติเหตุหรืออาจนานถึง 20 วัน
ในรายที่ได้รับอุบัติเหตุรุนแรงจะเกิดอาการภายใน 2 – 12 ชั่วโมง
เด็กจะมีอาการของการมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่ม เช่น ชัก คลื่นไส้ อาเจียน กระสับกระส่าย และอาจมีอาการซีด จากการเสีย เลือด ในทารกจะพบกระหม่อมหน้าโป่ง
การรักษา
ในทารกจะทําการเจาะกระหม่อมหน้า (Subdural puncture) จะเจาะทุกวัน จนกว่าจะไม่ได้เลือด
ถ้าหลังเจาะเอาเลือดออกแล้วยังมีเลือดออกอีก จําเป็นต้องผ่าตัด เพื่อกําจัดก้อนเลือด และห้ามเลือด
ในเด็กโตที่กระหม่อมปิดแล้ว จําเป็นต้องผ่าตัดอัตราตายค่อนข้างสูง เด็กที่รอดชีวิตมักมีความบกพร่องของระบบประสาทจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่ามีการทําลาย สมองส่วนใดและมากน้อยเพียงใด
ก้อนเลือดออกอิพิดูรัล (Epidural Hematoma)
มีเลือดออกเข้าไปในช่องระหว่างกะโหลกศีรษะและ ชั้น Dura เกิดเมื่อศีรษะได้รับอันตรายอย่างรุนแรง มักเกิดร่วมกับกะโหลกศีรษะแตกและฉีกขาดของหลอดเลือด มีการรวมตัวของลิ่มเลือดและแผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว
อาการและอาการแสดง
ขณะเกิดเหตุเด็กมักไม่รู้สึกตัว ซึ่งอาจใช้เวลานานเป็นนาทีหรือวันก็ได้จึงจะรู้สึกตวั เรียก ว่า Lucid interval เพราะมีแรงกระแทก Reticular system ทําให้หมดสติ และ จะกลับทํางานในช่วงที่อยู่ในระยะรู้ตัว
เด็กจะมีอาการแสดงของ cortical ถูกกด คือ อาเจียน สลบ ปวดศีรษะ ชัก มีอาการอ่อนแรงของร่างกายซีกตรงข้าม (Hemiparesis) ขนาดของรูม่านตาไม่ เท่ากัน อาจมีลักษณะของ Decorticate
บ่งชี้ว่ามีการกดส่วนของ Upper cortical centers ถ้ายังคงมีเลือดออกและความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เด็กจะกลับมาไม่รู้สึกตัวอีกและอาจ ลุกลามกดถึงก้านสมองกดศูนย์หายใจหรือการทํางานของระบบหัวใจและหลอดเลือด
การรักษา
เป็นภาวะฉุกเฉินโดยเฉพาะในรายที่มี Lucid interval ชัดเจน ควรผ่าตัด
การผ่าตัดรักษาอย่างทันท่วงทีจะทําให้การฟื้นตัวของเด็กดีขึ้นใน 2 - 3วัน
การพยาบาลการบาดเจ็บที่ศีรษะ
เสี่ยงตอการมีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะทําให้สมองบวม
เสี่ยงต่อการหายใจขาดประสิทธิภาพและขาดออกซิเจนเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของ หลอดเลือดในสมองและศูนย์ควบคุมการหายใจถูกกด
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากกระบวนการต่อสู้เชื้อโรคลดลงและมีทางเปิดของช่องอวัยวะต่างๆ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ จากการที่ได้รับสารอาหารน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ และไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง
เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ ข้อติดและกล้ามเนื้อลีบ เนื่องจากขาดการเคลื่อนไหว
บิดา มารดา รู้สึกสูญเสียความเชื่อมั่นในตนเองจากความรู้สึกผิดที่เด็กได้รับอุบัติเหตุ
ไฟไหม้และความร้อนลวก (Burn and Scald)
ความหมาย
เนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการถูกความร้อนที่มากเกินตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป
พยาธิสภาพ
ชั้นนอกสุด
บริเวณที่ได้รับอุณหภูมิสูงสุดมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด มีการทําลายของหลอดเลือด ส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นตาย
เนื้อเยื่อชั้นถัดไปจะได้รับเลือดมาเลี้ยงน้อยลง จากการเสียสภาพของ หลอดเลือด ความสามารถในการซึมผ่านของหลอดเลือดมากขึ้นเป็นผลให้เกิดการรั่วไหล ของพลาสมา ซึ่งมี ส่วนของ Albumin หลุดลอกออกนอกหลอดเลือดไปอยู่ใน Interstitials space ความดันออสโมติกในหลอด เลือดลดลง ในขณะที่นอกหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้นจึงดึงน้ําเข้ามาอยู่ ใน Interstitials space มากขึ้น บริเวณนั้น จึงบวมมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมงแรก หลังจาก 48-72 ชั่วโมง จากการถูกความร้อน
ความสามารถในการซึมผ่านของหลอดเลือดฝอยนั้นจะค่อยๆกลับคืนสู่ภาวะปกติ ระบบน้ําเหลืองจะดูดซึม ของเหลวที่รั่วซึมออกมา
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ
ประเมินความรุนแรง
ประเมินความลึก
ระดับหนึ่ง (First degree)
เนื้อเยื่อชั้นผิวหนังถูกทําลายเพียงบางส่วน (Partial thickness) เป็น ชั้นตื้น ๆ (Superficial epidermis) มีเฉพาะอาการผื่นแดง ปวดแสบ ปวดร้อนเท่านั้น ผิวหนังยังไม่พอง
หายภายใน 48-72 ชั่วโมง ส่วนบาดแผลหายภายใน 2-5 วัน
ระดับสอง (Second degree)
มีการทําลายของผิวหนังบางส่วน (Partial thickness) แต่ลึกถึงชั้น ผิวหนังชั้นใน ต่อมเหงื่อ และรูขุมขน มีอาการบวมแดงมากขึ้น ผิวหนังพองและมีน้ําเหลืองซึม ปวดแสบปวด ร้อนมาก
หายภายใน 2 - 6 สัปดาห์ ขึ้นกับความลึกของแผล
ระดับสาม (Third degree)
ชั้นของผิวหนังถูกทําลายทั้งหมด (Full thickness) แผลลึกมากถึง ชั้น dermis และอาจลึกถึงชั้น Adipose tissue fascia ชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก ลักษณะแผลมีสีขาว น้ําตาล และไหม้ดําแต่ไม่ปวด เพราะปลายประสาทถูกทําลาย
บาดแผลชนิดนี้ไม่สามารถหายได้เอง เพราะไม่เหลือชั้น ของผิวหนังที่สร้างขึ้นใหม่ ต้องปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft) และการงอกของเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ ต้องใช้เวลานานเป็นเดือน ทําให้เกิดแผลเป็น
ประเมินความกว้าง
Lund and Browder’s chart
ตําแหน่งบาดแผล
ระดับเล็กน้อย
ความลึกระดับ 1 – 2 มีการถูกทําลายของพื้นที่ผิวไม่เกินร้อยละ 10 หรือมีความลึกของการถูกทําลายระดับ 3 แต่พื้นที่ผิวหนังที่ถูกทําลายไม่ เกินร้อยละ 2 และไม่มีบาดแผลบริเวณใบหน้ามือ เท้า และอวัยวะเพศ
ระดับปานกลาง
ความลึกระดับ 2 มีการถูกทําลายของพื้นที่ผิวหนัง ร้อยละ 10 – 20 หรือมีบาดแผลบริเวณใบหน้า มือ เท้า หรืออวัยวะเพศ หรือมีความลึกของบาดแผลระดับ 3 และมี การทําลายของพื้นที่ผิวหนังร้อยละ 10 หรือสูดควันเข้าไปด้วย
ระดับรุนแรง
ความลึกระดับ 2 มีการถูกทําลายของพื้นที่ผิวหนังมากกว่าร้อยละ 20 หรือบาดแผลมีความลึกระดับ 3 และพื้นที่ผิวหนังถูกทําลายมากกว่าร้อยละ 10
การตรวจประเมินอื่นๆ
การช่วยเหลือในที่เกิดเหตุ
กําจัดสาเหตุของความร้อนที่เผาไหม้หรือลวกตัวเด็ก
ใช้น้ําเย็นสะอาด 8 – 23 องศาเซลเซียส ประคบหรือชโลมบาดแผล จะช่วยลดการทําลายของเนื้อเยื่อ ลดอาการปวดได้ ควรทําภายใน 30 นาที ในทารกไม่ควรประคบนานกว่า 5 นาที เพราะอาจทําให้เกิดอุณหภูมิกายต่ำได้
ใช้น้ําสะอาดล้างตัวและบาดแผลก่อนนําส่งโรงพยาบาล แต่ห้ามใช้น้ํายาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์หรือสารอื่นๆ เช่น ยาสีฟัน น้ําปลาใส่บาดแผล เพราะจะทําให้เนื้อเยื่อถูกทําลายมากขึ้นและเกิด การติดเชื้อได้ขณะนําส่งโรงพยาบาลควรใช้ผ้าสะอาดห่อตัวเด็ก เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกและให้ความอบอุ่น
การรักษา
รักษาแบบผู้ป่วยนอก
บาดเจ็บเล็กน้อย ให้ล้างทําความสะอาดแผลด้วยน้ําเกลือและสบู่ อ่อนๆ อาจทาด้วยยาชา เพื่อลดการปวดแสบ ปวดร้อน หรือทาด้วยยาปฏิชีวนะแบบขี้ผึ้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วปิดทับด้วยผ้าก๊อส ระวังไม่ให้แผลถูกน้ําเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่บาดแผลหาย
นัดให้มาทําแผลทุก 2 วัน
รับเข้ารักษาในโรงพยาบาล
ช่วยหายใจ อาจให้ออกซิเจนหรือใส่ท่อช่วยหายใจ เพราะการสูดสําลักควันร้อน หรือถูก ความร้อนในส่วนใบหน้ามีโอกาสทําให้ทางเดินหายใจส่วนบนบวม
ดูแลระบบไหลเวียน อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กที่ถูกไฟไหม้น้ําร้อน ลวกตั้งแต่ปานกลางจนถึงรุนแรง หรือในเด็กที่ถูกไฟฟ้าดูด ดูปากแผลอาจมีขนาดเล็ก แต่ขอบเขตการทําลาย ของเนื้อเยื่อมาก อาจทําให้เกิดการไหลเวียนล้มเหลวได้
ใน 24 ชั่วโมงแรก ให้สารน้ํากลุ่ม Crystalloid คือ Ringer’s Lactate หรือ NSS 4 cc/kg/ร้อยละของพื้นที่ผิวที่ถูกไฟไหม้ น้ําร้อนลวก แบ่งครึ่งหนึ่งให้ใน 8 ชั่วโมงแรกและอีกครึ่งหนึ่งให้ ใน 16 ชั่วโมงถัดไป หลังจาก 24 ชั่วโมงแรกไปแล้ว ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ปัสสาวะยังออกน้อย อาจให้สารน้ํา พวก Colloid เช่น Albumin แทน ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องให้ยาพวก inotropic เช่น dopamine
ช่วยเหลืออื่น ๆ
การให้เลือด ถ้าเม็ดเลือดแดงถูกทําลายร้อยละ 8 - 10 ของเม็ดเลือดแดงทั้งหมด ในระยะแรกเลือดยังมีความเข้มสูง จึงไม่จําเป็นต้องให้เลือดใน 2 – 3วันแรก
ยกเว้นมีการสูญเสียเลือดทางอื่นในระยะต่อมาจึงให้เลือด10cc/kg
การให้ยา เช่น ยาแก้ปวด วัคซีนป้องกันบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะและยา ปฏิชีวนะ เฉพาะที่ที่นิยมใช้มี Silver sulfadiazine (Silvadene) เป็นตัวยาที่ใช้มากในบาดแผลไฟไหม้ น้ําร้อน ลวก เพื่อยับยั้งการติดเชื้อบริเวณบาดแผล
การรักษาบาดแผล ถ้าไม่ลึกมาก ให้ทําแผลด้วยสบู่อ่อนๆ และน้ําเกลือ NSS ที่มีอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิห้อง ตกแต่งผิวหนังที่ฉีกขาด หลุดลุ่ย หรือสกปรกออก ถ้าแผลผิวหนังพอง ไม่แตกมีขนาดเล็ก ปล่อยทิ้งไว้ไม่ต้องเจาะ ดูแลเฉพาะความสะอาดภายนอก
ถ้ามีขนาดใหญ่ หลังจากทําความ สะอาดแล้ว ควรเจาะเอาน้ําออก ปล่อยผิวหนังส่วนนั้นให้แฟบติดกับแผล เป็น biological dressing ได้ แล้ว ปิดแผลด้วยผ้าก๊อสปราศจากเชื้อ บาดแผลมักหายภายในไม่กี่วัน
หากเป็นบาดแผลขนาดใหญ่ และลึก หลังจากล้างทําความสะอาดแล้ว ถ้าเป็นแผลที่จําเป็นต้องปิด มีวิธีปิดแผล 2 แบบ คือ
1.การปิดแผลด้วยผ้าพันแผล 3 ชั้น (Occlusive dressing) ปิดแผลชั้นในสุดด้วย Non- adhesive เช่น Vasaline gauze, Sofratulle หรือ Furacin gauze ชั้นที่ 2 เป็น Absorbent layer อาจเป็น ผ้าก๊อซหลาย ๆชั้นหรือผ้าก๊อซยัดสําลีข้างใน เพื่อซึมซับExudates ที่ซึมออกมาแล้วพันชั้นนอก สุดด้วยผ้ายืด เช่น Elastic bandage และเปลี่ยนแผลทุก 1 - 2 วัน จนกว่าแผลจะหาย
Biological dressing เป็นการนําเอาผิวหนังของสิ่งมีชีวิตอื่นมาปิดบาดแผล
การทํา escharotomy eschar คือภาวะที่ทําให้เกิดการบีบ รัดตึงของผิวหนังทั้งชั้น ทําให้ไม่สามารถยืดขยายได้ จากการถูกเผาไหม้ ระดับความลึกระดับ 2 - 3
การตกแต่งบาดแผล (Debridement) เป็นการกําจัดเนื้อตายจากบาดแผล
การปลูกถ่ายผิวหนัง (Skin graft) ทําทุกรายที่ผิวหนังถูกเผาไหม้ทุกชั้นหลังจากเนื้อเยื่อ งอกขึ้นมาเต็มและตัดเนื้อตายออกหมด แผลสะอาดดี
การพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อขาดออกซิเจน เนื่องจากมีการบวมของทางเดินหายใจ
เสี่ยงต่อภาวะการไหลเวียนล้มเหลวและเสียสมดุลของอิเล็กโตรลัยท์จากการที่มีการเคลื่อน ของสารน้ําออกนอกหลอดเลือด
เสี่ยงต่อภาวะการทํางานของไตบกพร่อง จากการสูญเสียน้ําอย่างรวดเร็ว
เสี่ยงต่อภาวะโภชนาการบกพร่อง เนื่องจากมีการเผาผลาญเพิ่มขึ้นและได้รับน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากผิวหนังถูกทําลายและภูมิคุ้มกันลดลง
เจ็บปวด เนื่องจากเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
สูญเสียภาพลักษณ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาค
เครียด วิตกกังวลจากการถูกแยกจากสังคม การเคลื่อนไหวถูกจํากัด
การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและเกิดขึ้นอย่างกะทนัหันซึ่งกอ่ให้เกิด การอันตรายหรือบาดเจ็บ
ปัจจัยเสี่ยงของการบาดเจ็บในเด็ก
ปัจจัยจากตัวเด็ก
วัยของเด็ก
เด็กแต่ละวัยต่างมีประสบการณ์และพัฒนาการที่แตกต่างกัน เช่น เด็กวัยเตาะแตะกําลังหัดเดินจะพลัดตกหกล้มได้ง่าย หรือเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นชอบเล่นกีฬา
เพศ
เด็กผู้ชายจะโลดโผน พฤติกรรมก้าวร้าว ชอบผจญภัยมากกว่าจึงมีโอกาสเกิดอบัติเหตุได้ง่าย กว่าเด็กผู้หญิง
สภาพทางกายของเด็ก การเจ็บป่วย หรือความผิดปกติทางร่างกาย
ปัจจัยจากบิดามารดาหรือผู้ดูแล
ความไม่พร้อมในการดูแลเด็ก เช่น ความยากจน บิดามารดาวัยรุ่น ขาดความรู้ ขาด ความระมัดระวังในการดูแลเอาใจใส
ปัจจัยสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ ได้แก่ ถนน แม่น้ํา ลําคลองสระน้ํา สนามเด็กเล่น การจัดสภาพภายในบ้าน ไม่เป็นระเบียบ เก็บสิ่งของที่เป็นอันตรายไม่ถูกที่
พัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในเด็ก
แรกเกิด -2 เดือน
ขาดอากาศเมื่อบริเวณที่นอนมีวัสดุนุ่มฟู อุดจมูก
2-6 เดือน
ตกจากที่สูง การบาดเจ็บจากการถูกของร้อน น้ํา
ร้อนลวก สําลัก สิ่งแปลกปลอมอุดตันทางเดิน
หายใจ
6-12 เดือน
พลัดตกหกล้ม จมน้ํา สําลัก สิ่งแปลกปลอมอุดกั้น
ทางเดินหายใจ ได้รับสารพิษจากยา สารเคมี
12-18 เดือน
พลัดตกหกล้ม สําลักอาหาร สิ่งแปลกปลอมอุด
กั้นทางเดินหายใจ ได้รับสารพิษจากยา สารเคมี
18-24 เดือน
พลัดตกหกล้ม สําลักอาหารจากการวิ่งขณะ
รับประทานอาหาร อันตรายจากการใช้ถนน ได้รับสารพิษ
2-5 ปี
อุบัติเหตุบนท้องถนน การบาดเจ็บจากของมีคม อุบัติเหตุจากสารพิษ อุบัติเหตุทุกรูปแบบ
6-10 ปี
อุบัติเหตุบนท้องถนน อุบัติเหตุและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ทุกรูปแบบ
10-13 ปี
อุบัติเหตุบนท้องถนน อุบัติเหตุ และเสี่ยงต่อการ
บาดเจ็บทุกรูปแบบ
13-18 ปี
อุบัติเหตุบนท้องถนน อุบัติเหตุและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
ทุกรูปแบบ
การป้องกันอุบัติเหตุเบื้องต้น
การดูแลเด็กเล็ก แรกเกิด – 5 ปี อย่างใกล้ชิด ชนิดเอื้อมถึงหรือคว้าทัน เพื่อเฝ้าระวังและป้องกัน อุบัติเหตุ หรือช่วยเหลือทันท่วงที
จัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่วางวัตถุอันตรายหรือวัตถุขนาดเล็กไว้ในบริเวณที่เด็กเอื้อมถึง
ความตระหนักถึงอันตรายและความประมาท เช่น ไม่ปล่อยให้เด็กอยู่ในรถยนต์คนเดียว ไม่อุ้มเด็กไว้ที่ตักขณะขับรถหรือนั่งในรถยนต์
4.การหาอุปกรณ์ที่ปลอดภัยเช่นเตียงนอนเด็กเล็กควรมีไม้กั้นเตียงหรือการติดตั้งปลั๊กไฟไห้สูงจาก มือเด็ก รวมถึงการมีเครื่องดับเพลิงประจําบ้าน
การเลือกของเล่นให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ไม่ควรมีคมหรือแตกหักง่าย สีไม่ผสมสารเคมีเป็นพิษ
สอนเด็กให้มีระเบียบวินัยรวมถึงการป้องกันอุบัติเหตุนอกบ้าน
การให้ความรู้แก่ประชาชน เด็กในโรงเรียน ครูและผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้เกี่ยวกับอุบัติเหตุ การป้องกันและการช่วยเหลือเบื้องต้น
การพยาบาลเมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
การช่วยเหลือ ที่จุดเกิดเหตุการปฐมพยาบาลเป็นหัวใจสําคัญในการช่วยชีวิต
การช่วยกู้ชีพ ช่วยเหลือจัดท่าช่วยหายใจ ผายปอด ช่วยให้มีการไหลเวียนที่ดีขึ้น
การช่วยเพื่อรักษาอวัยวะ เช่น การปิดแผล ห้ามเลือด การทําให้ส่วนที่บาดเจ็บอยู่นิ่ง บรรเทาอาการปวด
การสร้างขวัญและกําลังใจ การปลอบประโลม อุ้มกอด จะช่วยให้เด็กผ่อนคลาย
การช่วยเหลือในโรงพยาบาล
เด็กจะต้องได้รับการดูแลทันทีที่ถึง โรงพยาบาล พยาบาลห้องฉุกเฉินต้องประเมินอาการเด็กแล้วแก้ไขตามปัญหาที่พบ
กระดูกหักและข้อเคลื่อน (Fracture and Dislocation)
กระดูกหัก (Fracture)
กระดูกแยกออกจากกัน อาจเป็นการแตกโดยสิ้นเชิง หรือมีเพียงบางส่วนติดกันหรือเป็นเพียงแตกร้าว
ข้อเคลื่อน (Dislocation)
กระดูกหลุดออกจากเบ้า ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบกระดูก หลอดเลือด น้ําเหลือง เส้นประสาท และเส้นเอ็นได้รับอันตรายด้วย
สาเหตุ
มักเกิดจากอุบัติเหต
มีแรงมากระแทกบริเวณกระดูกโดยตรง เช่น ถูกตี รถชน ตกจากที่สูง
การกระตุ้นทางอ้อม เช่น หกล้มเอามือยันพื้น กระดูกฝ่ามือไม่แตกแต่กลับไปแตกบริเวณเหนือข้อมือ
เกิดจากมีพยาธิสภาพของโรคที่ทําให้กระดูกบาง แตกหักง่าย เช่น มะเร็งของกระดูก กระดูกอักเสบ
การประเมินสภาพ
ซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ลักษณะของกระดูกหัก ควรสังเกตลักษณะภายนอกว่าเป็นกระดูกหักชนิดที่มีบาดแผลหรือไม่มี หรือมีกระดูกโผล่ออกมาหรือไม่
ข้อเคลื่อน
ข้อเคลื่อนออกจากกันโดยตลอด (Dislocation)
ข้อที่เคลื่อนออกจากกันเพียงเล็กน้อยโดยที่ยังมีบางส่วนสัมผัสกันอยู่ (Subluxation)
อาจคลําพบลักษณะ ข้อผิดรูปไปจากเดิม คลําพบข้อที่เคลื่อนออกจากตําแหน่งเดิม มีการเคลื่อนไหวของข้อนั้นไม่ดี ปวดและบวม รอบๆ ข้อ
การตรวจการถ่ายภาพรังสี
การจําแนกกระดูกหัก
แบ่งตามชนิดของบาดแผล
ไม่มีแผลทะลุติดต่อกับภายนอก (Close fracture หรือ Simple fracture)
มีทางหรือบาดแผลทะลุผิวหนังบริเวณที่มีกระดูกหัก (Open fracture หรือ compound fracture) ทําใหมีโอกาสติดเชื้อถึงกระดูกได้
แบ่งตามปริมาณการแตกของกระดูก
กระดูกหักหรือแตกแล้วแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด (Complete fracture) อาจเป็น 2ท่อน หรือหลายท่อนก็ได้
กระดูกหักแตกบางส่วนหรือร้าว (Incomplete fracture หรือ Greenstick fracture) มีลักษณะโค้งคล้ายไม้อ่อนถูกหัก
แบ่งตามลักษณะรอยหักของกระดูก
กระดูกหักหรือแตกเป็นเส้นตรง (Longitudinal)
กระดูกหักเป็นเส้นขวาง (Transverse)
กระดูกหักเป็นเสนเฉียงหรือเฉ (Oblique)
กระดูกหักเป็นเสนคดเคี้ยว (Spiral)
กระดูกหักเป็นตัว วี ที หรือวาย (V T Y shape)
กระดูกหักแบบอัดหรือบีบแบน (Compression)
กระดูกหักแบบอัดแน่น (Impacted)
กระดูกหักหรือแตกเป็นเสี่ยงๆ เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (Comminuted)
กระดูกหักเป็นท่อนๆ หลายท่อน (Segmented)
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดและกดเจ็บ
บวม
รอยจ้ำเขียว
อวัยวะส่วนที่ได้รับบาดเจ็บมีลักษณะผิดรูป
การรักษา
ระมัดระวังไม่ให้กระดูกหักหรือเคลื่อนเพิ่มมากขึ้น
ให้แก้ไขตามปัญหาและพยากรณ์โรคที่จะเกิดขึ้นกับกระดูกหักนั้น ๆ
อายุ เด็กที่มีอายุน้อย การติดของกระดูกจะเร็วและการปรับแต่งจะดี
ตําแหน่งของกระดูก
ลักษณะรูปร่างของกระดูกหัก
การเคลื่อนที่ของกระดูกส่วนที่หัก
กายวิภาคของกระดูก
เป้าหมายการรักษา ในระยะแรกจะมุ่งลดความเจ็บปวด อาจช่วยได้โดยใช้ยาลดปวด จัดให้กระดูกส่วนที่หักอยู่นิ่งๆโดยการใช้การดาม
การเข้าเฝือก (Cast) เป็นการทําให้กระดูกส่วนที่หักอยู่นิ่ง
เพื่อให้อาการปวดบวม อักเสบของอวัยวะส่วนนั้นดีขึ้นและเป็นปกติโดยเร็ว
การดาม (Splint) เป็นการทําให้กระดูกและข้อส่วนที่ได้รับบาดเจ็บอยู่นิ่ง
เพื่อบรรเทาอาการปวดและ ลดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นแก่เน้ือเยื่อใกล้เคียง
กระดูกหักที่พบบ่อย
กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture of clavicle)
กระดูกต้นแขนหัก (Fracture of humerus)
กระดูกข้อศอกหัก (Fracture of supracondylar)
การเคลื่อนของหัวกระดูกเรเดียส (Pulled elbow)
กระดูกปลายแขนหัก
กระดูกท่อนขาหัก (Fracture of femur)
การพยาบาลกระดูกหักและข้อเคลื่อน
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อรอบกระดูกที่หักได้รับบาดเจ็บเพิ่ม เนื่องจากการทิ่มแทงของกระดูก
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซอนจากการเคลื่อนไหวถูกจํากัด (ข้อติดแข็ง/แผลกดทับ/การขับถ่ายผิดปกติ/ติดเชื้อที่ปอดหรือทางเดินปัสสาวะ)
เสี่ยงต่อการติดเชื้อที่กระดูก เนื่องจากมีทางเปิดของผิวหนังถึงกระดูก
เครียดวิตกกังวลจากภาวะเจ็บป่วยและการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
นางสาวเกวลิน คำไหม sec.1 เลขที่ 50
รหัส 6317701001055