Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อ
การขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ
1) วัยเด็กเด็กทารก
กระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยการขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน (Shirley, 2017) ส่วนเด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่จะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวันปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนจะลดลง แต่ถ้าอายุมากกว่า 5 ปีไปแล้วยังมีปัสสาวะรดที่นอนควรต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรเช่นความเครียดการเจ็บป่วยเป็นต้น
2) ผู้สูงอายุ
จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัยเมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตรกระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้นและมักจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน (Nocturia) นอกจากนี้การที่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลดลงทำให้มีปัสสาวะคั่งทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
น้ำและอาหาร
1) จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมากลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
2) จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
เช่นการสูญเสียเหงื่อมีไข้สูงเสียเลือดมากอาเจียนท้องเสียเป็นต้นก็มีผลต่อลักษณะจำนวนครั้งและปริมาณปัสสาวะเช่นเดียวกัน
3) อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)
เช่นอาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นเป็นต้น
ด้านจิตสังคม
เช่นความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้นความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ำไหลเป็นต้น
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคลเช่นวัฒนธรรมที่ถือความเป็นส่วนตัวสูงการขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็นเป็นต้น
ลักษณะท่าทาง
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่งถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมดเช่นเดียวกัน
กิจกรรมและ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
1) การออกกำลังกายสม่ำเสมอทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้นและกล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดี
2) ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานานทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลาทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
3) สตรีในภาวะหมดประจำเดือนฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
4) ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวมีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลงการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอนได้
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพเช่นนิ้วความดันโลหิตสูงเบาหวานภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้นรวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายเช่นในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กดทับกระเพาะปัสสาวะส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจึงรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อยเป็นต้น
การผ่าตัดและการตรวจ
เพื่อวินิจฉัยต่างๆ
1) ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทำให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone ทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำ
2) การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะเช่นการส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy) อาจมีผลทำให้มีเลือดออกในปัสสาวะเป็นต้น
3) การฉีดยาชาที่ไขสันหลังส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะการได้รับยาสลบยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotic analgesics) ทำให้อัตราการกรองที่โกลเมอรูสัส (Glomerulus) ลดลงส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
(1) อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
(2) กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันทีต้องสามารถกลั้นได้และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
(3) เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
(4) ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
(5) ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
(6) ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวันและปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
(7) มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอนตอนเช้าหลังตื่นนอนก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
(8) การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2-4 ชั่วโมงในเวลากลางวันและ 6-8 ชั่วโมงในเวลากลางคืน
(9) จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้งหรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรใน 1 ชั่วโมง (ในคนปกติทั่วไปร่างกายจะผลิตน้ำปัสสาวะในอัตรา 0.5-1 mL / kg / hr.)
10) Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตรในผู้ใหญ่และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
1) ไม่มีปัสสาวะ (Anuria / Urinary suppression) เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลยจากภาวะไตสูญเสียหน้าที่จึงไม่มีปัสสาวะหรือมีน้อยมากจนไม่สามารถกระตุ้นผนังกระเพาะปัสสาวะให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะได้
2) ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตรใน 24 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมงหรือน้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร / น้ำหนักตัว 1 กก. / ชั่วโมงโดยทั่วไปนึกถึงภาวะขาดน้ำหรือได้รับน้ำน้อยเช่นท้องเดินไข้สูงเสียเลือดมากเป็นต้น
3) ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis) เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน) อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราวเนื่องจากดื่มน้ำมากได้รับยาขับปัสสาวะดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นต้นหรืออาจเป็นอาการเรื้อรังเนื่องจากโรคเช่นเบาหวาน (Diabetes mellitus) เบาจืด (Diabetes insipidus) และโรคต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ที่ทำให้มีการผลิต Antidiuretic hormone (ADH) ไม่เพียงพอเป็นต้น
4) ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไปถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกตมักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโตท่อปัสสาวะตีบแคบทำให้ปัสสาวะไม่สุดและมีปัสสาวะตกค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อยทั้งในเวลากลางวันและเวลากลางคืนนอกจากนี้อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
5) ปัสสาวะขัดปัสสาวะลำบาก (Dysuria) เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะถ่ายลำบากต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้นบางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะมักปัสสาวะบ่อยปัสสาวะไม่สุดอยากถ่ายปัสสาวะแบบทันทีทันใดอาจมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่าและฝีเย็บบางครั้งอาจมีเลือดสดออกมาในตอนท้ายหลังจากถ่ายสุดแล้วโดยทั่วไปคิดถึงการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะท่อปัสสาวะนิ่วในกระเพาะปัสสาวะการบาดเจ็บของท่อปัสสาวะต่อมลูกหมากโตหรือเป็นอาการที่เกิดขึ้นชั่วคราวภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์
6) ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติและมีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลงอาจเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจากก้อนเนื้องอกนิ่วหรือมีการหดตัวตลอดเวลาจากการอักเสบติดเชื้อ
7) ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติเพราะประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยังเจริญไม่เต็มที่
8) ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้หรือภาวะที่ไม่มีการถ่ายปัสสาวะในระยะเวลา 8-10 ชั่วโมงกระเพาะปัสสาวะจะดึงแข็งเหนือหัวเหน่าคลำได้เป็นก้อน
9) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้อาจมีอาการปัสสาวะกระปริดกระปรอยหรือกลั้นไม่ได้มีปัสสาวะไหลตลอดเวลา
ส่วนประกอบของ
ปัสสาวะที่ผิดปกติ
3.1 ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) หมายถึงภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดงอาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆหรือเห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัวต่อ 1 ช่อง (RBCP3cells / HPF) (ณัฐพงศ์บิ ณ ษรี, 2554) มักมีสาเหตุที่ไตท่อไตกรวยไตกระเพาะปัสสาวะต่อมลูกหมากและท่อปัสสาวะ
3.2 น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) หมายถึงภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะโดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะเนื่องจากน้ำตาลที่ Filtrate ผ่าน Glomerulus ทั้งหมดจะมีการ Reabsorb กลับที่ Proximal tubules แต่ถ้าน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินกว่า Renal threshold (160 180 mg / dL) ที่ไตจะดูดกลับได้แล้วจะพบน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะมักจะพบในผู้ป่วยเบาหวาน
3.3 โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria) หมายถึงภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวันซึ่งในทางปฏิบัติอนุโลมใช้การตรวจโปรตีนในปัสสาวะในเชิงกึ่งปริมาณวิเคราะห์โดยใช้แผ่นทดสอบเทียบสี (Urine dipstick for protein) ตรวจพบตั้งแต่ 1+ ขึ้นไปโดยที่ปกติในปัสสาวะจะไม่มีโปรตีนปนอยู่ แต่ถ้ามีโปรตีนในน้ำปัสสาวะแสดงถึงภาวะไตเป็นโรคทำให้การกรองของกรวยไตไม่ดีซึ่งอาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ (Glomerulonephritis)
3.4 คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria) หมายถึงภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานแทนพลังงานที่ได้จากน้ำตาลพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาไม่ดีควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
3.5 ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Chokuria) หมายถึงภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะโดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะไม่พบในปัสสาวะถ้าพบ Conjugated bilirubin ในปัสสาวะแสดงว่ามีการอุดตันของทางเดินน้ำดีจากการมี Hemolytic jaundice แต่ถ้าพบ Urobilirubin ในปัสสาวะแสดงว่าเซลล์ตับถูกทำลายกรณีที่มีการอุดตันของท่อน้ำดีจากตับสู่ลำไส้เล็กน้ำดีจะไหลย้อนเข้าเซลล์ตับและขับถ่ายออกโดยเปลี่ยนสภาพเป็นเกลือชนิดที่สามารถละลายน้ำได้ขับออกทางปัสสาวะทำให้ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลเข้มของน้ำดีและมีความถ่วงจำเพาะสูง
3.6 ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria) หมายถึงภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะอาจเกิดจากการได้รับเลือดผิดกลุ่มติดเชื้อไฟไหม้น้ำร้อนลวกเม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติเช่นคนที่ขาดเอ็นไซม์ G6PD เป็นต้นทำให้ปัสสาวะมีสีคล้ายสีน้ำปลาหรือสีโค้ก
3.7 ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria) หมายถึงภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนองเม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้งอาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วยจะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนมพบในผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
3.8 นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) หมายถึงภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
3.9 ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) หมายถึงภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่นแยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะถ้าปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใสแสดงว่าเป็นไขมันถ้ายังอุ่นเหมือนเดิมแสดงว่าอาจเป็นหนองหรือแบคทีเรีย
หลักการส่งเสริมสุขภาพ
ในระบบปัสสาวะ
4.1 ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้วหรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตรอาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกายนอกจากนี้ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะหรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะจะต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตรเพื่อให้มีปัสสาวะจำนวนมากพอที่จะชะล้างเชื้อโรคให้ออกจากระบบทางเดินปัสสาวะและลดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากนิ้วได้นอกจากนี้ปัสสาวะจำนวนที่มากพอจะช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะให้ทำงานป้องกันการลีบเล็ก (Atrophy) ของกระเพาะปัสสาวะได้กรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายหรือไตวายจะต้อง จำกัด น้ำให้น้อยลงเพื่อป้องกันภาวะน้ำเป็นและภาวะบวม
4.2 ป้องกันการติดเชื้อ
ในระบบทางเดินปัสสาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาลพยาบาลควรสอนและแนะนำผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
4.3 ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
ถ้ากล้ามเนื้อภายในอุ้งเชิงกรานและช่องคลอดหย่อนสมรรถภาพจะทำให้ปัสสาวะไม่ออกและกลั้นปัสสาวะไม่ได้การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้โดยการทำ Kegel exercise ด้วยการขมิบก้นนับ 1 ถึง 10 แล้วคลายทำซ้ำเช่นนี้ 10-25 ครั้งต่อวันวันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ถึง 1 เดือน Kegel exercise จะมีประสิทธิภาพเมื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ปัสสาวะไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้งรับประทานอาหารที่มีกากมาก ๆ เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวกไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ชากาแฟพยายามระงับอาการไอและหลีกเลี่ยงการยกของหนักซึ่งสามารถลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้มากถึง 60% ของผู้ที่ร่วมมือในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
4.5 สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะว่างโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะจนทำให้มีปัสสาวะจำนวนมากดั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ่ายไม่ออกวิธีการนวดกระเพาะปัสสาวะให้ใช้มือนวดเบา ๆ ที่ท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่าและบอกให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่กระเพาะปัสสาวะในระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเนื้อฝีเย็บสลับกับการนวดด้วย
4.6 เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมากจนเป็นผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะวิธีการคือใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะชมเชยและให้กำลังใจความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยันของผู้ป่วย
4.7 การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
พยาบาลอาจต้องนำหม้อนอน (Bedpan) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงหรือกระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization) เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะเมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
หลักการพยาบาลผู้ป่วย
ได้รับการใส่ถุงยางอนามัย
เพื่อระบายปัสสาวะ
(Condom catheter)
1) เพื่อรักษาความสะอาดและป้องกันการระคายเคืองของผิวหนังเนื่องจากเปียกปัสสาวะ
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
7.1 วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine) โดยให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาดล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้งให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อยเก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะหรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะแล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไปนำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
7.2 วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ 1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15-30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน 2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ 3) ล้างมือสวมถุงมือสะอาดเช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ 4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้วดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
7.3 วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมงเป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจเริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บและรวบรวมน้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้ายคือเวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้นควรแนะนำให้งดโปรตีนคาเฟอีนก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมงและให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)