Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
กลไกการขับถ่ายอุจจาระ (Defecation) เป็นกระบวนการของร่างกายในภาวะปกติ ที่ขับของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย
ท่อทวารหนักมีกล้ามเนื้อเป็นหูรูดอยู่ 2 ชั้น คือ กล้ามเนื้อชั้นในเป็นกล้ามเนื้อเรียบอยู่ภายในการควบคุมของประสาทอัตโนมัติ และหูรูดทวารหนักชั้นนอก เป็นกล้ามเนื้อลายควบคุมประสาทที่อยู่ภายใต้จิตสานึก
ความสาคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนที่เป็นของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ (Age)
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
อารมณ์ (Emotion)
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits
ความเหมาะสม (Opportunity)
ยา (Medication)
การตั้งครรภ์ (Pregnancy)
อาการปวด (Pain) โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
Type 2 ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน
Type 3 ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ
Type 4 ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม
Type 5 ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน
Type 6 ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ
Type 7 ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน
สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
ภาวะท้องผูก (Constipation)
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา
การกักเก็บอุจจาระไว้นานจนทำให้เกิดอาการท้องผูกจะส่งผลต่อร่างกาย
1) เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร
2) เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น
3) เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
4) แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนีย
5) ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
6) การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
1) แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
2) แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
3) แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000–2,500 cc. ถ้าไม่มีข้อห้าม
4) แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่าย
อุจจาระให้เป็นเวลา
5) จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
6) แนะนำให้ออกกำลังกาย
7) สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
8) แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระ
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
การล้วงอุจจาระ (Evacuation) คือ การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมาตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้องซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้ ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากแรงดัน
ในท้องที่เพิ่มจะดันกระบังลมให้สูงขึ้น
สาเหตุ
1) มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย
2) มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
3) มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
4) ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาล
1) จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา
2) อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
3) ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
1) ผลด้านร่างกาย
2) ผลด้านจิตใจ
3) ผลด้านสังคม
4) ผลด้านจิตวิญญาณ
การพยาบาล
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือก
เป็นเวลาที่สะดวก
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
ดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสาคัญ
ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระและการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปน โดยถือว่าถ่ายเป็นน้ำเหลว 3 ครั้งในเวลา 12 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นน้ำปนมูกเพียงครั้งเดียว
การพยาบาล
1) ประเมินสภาพผู้ป่วย
2) ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
3) การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO)ให้ดื่มเฉพาะน้ำ
4) ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
5) สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย พร้อมทั้งสังเกตประเมินอาการ
6) สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ ความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
7) ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
8) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
ชนิดของ Stoma ที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ จำแนกออกเป็น 2 ชนิด
Colostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้ใหญ่ ลำไส้ที่นำมาเปิดออกหน้าท้อง
Ileostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก ลำไส้ที่นำมาเปิดออกจะเป็นส่วนปลายของลำไส้เล็ก (Ileum) อยู่ที่หน้าท้องส่วนล่างด้านขวา
การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
1) การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบ ๆ
2) การปิดถุงรองรับอุจจาระ เมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบ ๆ แล้ว ต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบ ๆ
3) การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
4) การออกกำลังกายและการทำงาน
5) การฝึกหัดการขับถ่าย โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง และเบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน ตอนเช้า
6) ภาวะแทรกซ้อน สังเกตและดูแลตนเอง จากภาวะแทรกซ้อน
การทำความสะอาดแผลทวารเทียม
เนื่องด้วยลำไส้ที่เปิดออกมาทำหน้าที่ระบายอุจจาระออกมามีถุงรองรับ เมื่อต้องเปลี่ยนถุงรองรับ ด้วยการดึงถุงที่มีกาวติดกับผิวหนังออก แล้วใช้ลำสีสะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาดStoma ก่อน แล้วเช็ดผิวหนังรอบ ๆ ให้สะอาด
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
หลังผ่าตัดประมาณ 7-10 วัน แผลที่บริเวณ Stoma ก็จะแห้งสนิท และระบบขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน ผู้ป่วยจึงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามเดิมหลังผ่าตัด 6–8 เดือน สามารถออกกำลังกายได้
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
1) ผิวหนังรอบทวารเทียมอักเสบหรือเกิดแผลเปื่อยจากอุจจาระสัมผัสบริเวณผิวหนัง
2) ลำไส้ที่ทำทวารเทียมตีบแคบ บวม หรือ มีสีดำคล้ำ
3) ไส้เลื่อน หรือ ลำไส้ยื่นออกมามากผิดปกติ
4) เลือดออกมาก
5) ท้องเสียรุนแรง อุจจาระเหม็นผิดปกติ
6) ท้องผูก ไม่ถ่ายอุจจาระ ท้องอืด อาเจียน
การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
2) เตรียมตรวจทางรังสี
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
5) เพื่อการรักษา
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Cleansing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำาไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml.
ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
1) อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
2) ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
3) ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ (Sim’s position)
4) แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุต
5) การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
6) ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้ และลักษณะของสายสวนอุจจาระ
7) การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่น KY jelly
8) ทิศทางการสอดหัวสวน
9) ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
10) การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระ เป็นการตรวจสุขภาพพื้นฐานการตรวจหนึ่ง หรือการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นของโรคระบบทางเดินอาหาร
ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
1) การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
2) การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
3) การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ
วิธีปฏิบัติ
1) การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ และส่งตรวจหาเลือดแฝง อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
2) การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่มไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปิดฝาทันที ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
อุปกรณ์
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
2) ใบส่งตรวจ
3) ไม้แบน สาหรับเขี่ยอุจจาระ
4) กระดาษชำระ
5) หม้อนอน