Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย
การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
ด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
ผู้สูงอายุ
มีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200มิลลิลิตร
กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
การที่กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลดลง ทำให้มีปัสสาวะคั่ง ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
น้ำและอาหาร
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
ลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
การสูญเสียเหงื่อ
มีไข้สูง
เสียเลือดมาก
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)
อาหารที่มีความเค็มมาก(มีปริมาณโซเดียมสูง)
ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรืได้ยินเสียงน้ำไหล
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
วัฒนธรรมที่ถือความเป็นส่วนตัวสูง
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ลักษณะท่าทาง (Body position)
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมดเช่นเดียวกัน
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
ทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน
ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา
ทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
ทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอนได้
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
นิ่ว
ความดันโลหิตสูง
เบาหวาน
ภาวะหัวใจล้มเหลว
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กดทับกระเพาะปัสสาวะ
ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจึงรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
อาจมีผลทำให้มีเลือดออกในปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด
ทำให้อัตราการกรองที่โกลเมอรูสัสลดลง
ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
ปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400มิลลิลิตร
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้
ถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง
esidual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร
ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน100 มิลลิลิตรในผู้สูงอาย
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล
ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression)
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
(Oliguria)
ภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24ชั่วโมง
ภาวะขาดน้ำหรือได้รับน้ำน้อย
ปัสสาวะมากกว่าปกติ
(Polyuria หรือ Diuresis)
ภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ
เนื่องจากดื่มน้ำมาก ได้รับยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
ภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
มักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโตท่อปัสสาวะตีบแคบ
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก
(Dysuria)
ภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก
มีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ มักปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด อยากถ่ายปัสสาวะแบบทันทีทันใด
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย
(Pollakiuria)
ภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ
มีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
ปัสสาวะรดที่นอน
(Enuresis)
ภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ เพราะประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยังเจริญไม่เต็มที่
ปัสสาวะคั่ง
(Urinary retention)
เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากกว่าปกติ
ภาวะที่ไม่มีการถ่ายปัสสาวะในระยะเวลา 8–10 ชั่วโมง
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
(Urinary incontinence)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
(True Incontinence)
ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
(Urge incontinence)
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ(Functional Incontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง
เห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัวต่อ 1 ช่อง
น้ำตาลในปัสสาวะ
(Glycosuria)
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินกว่า Renal threshold (160-180 mg/dL) ที่ไตจะดูดกลับได้แล้วจะพบน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
กติในปัสสาวะจะไม่มีโปรตีนปนอยู่ แต่ถ้ามีโปรตีนในน้ำปัสสาวะแสดงถึงภาวะไตเป็นโรค ทำให้การกรองของกรวยไตไม่ด
คีโตนในปัสสาวะ
(Ketonuria)
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาไม่ดี ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน
(Hemoglobinuria)
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin
อาจเกิดจากการได้รับเลือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกต
ปัสสาวะเป็นหนอง
(Pyuria)
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้ง
อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนม
พบในผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
มีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ
(Chyluria)
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
ถ้าปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใส แสดงว่าเป็นไขมัน ถ้ายังขุ่นเหมือนเดิม แสดงว่าอาจเป็นหนองหรือแบคทีเรีย
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร
เพื่อให้มีปัสสาวะจำนวนมากพอที่จะชะล้างเชื้อโรคให้ออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
ลดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากนิ่วได
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
พิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
ทำให้ปัสสาวะไม่ออกและกลั้นปัสสาวะไม่ได้
การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้
Kegel exercise
จะมีประสิทธิภาพเมื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ปัสสาวะไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง รับประทานอาหารที่มีกากมากๆ
เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวก
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มี
แอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
พยายามระงับอาการไอ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
สามารถลดอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้มากถึง60 % ของผู้ที่ร่วมมือในการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการ
ขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
วิธีการนวดกระเพาะปัสสาวะ
ให้ใช้มือนวดเบาๆ ที่ท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่า
บอกให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ
ในระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเนื้อฝีเย็บสลับกับการนวดด้วย
เสริมสร้างนิสัยของ
การถ่ายปัสสาวะ
วิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก
วิธีการ
ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กำลังใจ
ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยันของผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ
กระบอกปัสสาวะ (Urinal)
กรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
อุปกรณ์อุปกรณ์
สำหรับการสวนปัสสาวะ
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสำหรับทิ้งสำลีใช้แล้ว
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
(Sterile catheterization set)
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ (Antiseptic solution)
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe)
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็น
ระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะที่ใช้สวนเป็นครั้งคราว
ขนาดของสายสวนปัสสาวะ
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling)
บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็นของการสวนปัสสาวะ
ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปที่เตียงผู้ป่วย
กั้นม่าน และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
วางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย
ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลำดับการใช้
เทน้ำยาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี)
ฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ
ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter
คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ใช้มือซ้ายแหวก Labia ให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะ
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly
ยกภาชนะรองรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขาผู้ป่วย
ใช้ Forceps ที่เหลือหรือมือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะให้มั่นคง
ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง)หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย)
มื่อใส่สายสวนเข้าไป 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) จะเห็นปัสสาวะไหลออกมาจากนั้นให้ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีก
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดที่แหวก Labia (ในเพศหญิง) หรือ จับ Penis (ในเพศชาย)อยู่เลื่อนมาจับสายสวน
สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา
เช็ดบริเวณ Vulva ให้แห้งด้วยสำลีที่เหลือ
ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขาของผู้ป่วย
เก็บ Set สวนปัสสาวะออกจากเตียง จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย ถ้าผ้าขวางเตียงหรือผ้าปูที่นอนเปียกให้เปลี่ยน
เก็บของใช้ไปทำความสะอาด และบันทึกรายงานการสวนคาสายสวนปัสสาวะ
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ (Removing Indwelling)
เตรียมเครื่องใช้
บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatusให้สะอาด
ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สำหรับใส่น้ำกลั่นแล้วดูดน้ำกลั่นออกจนหมด
บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ขณะที่ค่อย ๆ ดึงเอาสายสวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว
ใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
สังเกตลักษณะ จำนวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง ลงบันทึกวันเวลาที่เอาสายสวนออก
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุง
ยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน ไม่สามารถ
หาซื้อถุงยางอนามัยได้
ญาติอาจใช้ถุงพลาสติกใช้แทนให้พอเหมาะ
ขั้นตอนการเตรียมเหมือนกับถุงยางอนามัย
ผนึกปากถุงพลาสติก
เจาะรูกลมขนาดให้องคชาติสอดเข้าไปได้
ตัดพลาสเตอร์ให้เป็นรูกลม รอยติดอยู่ด้านนอก
เมื่อนำถุงพลาสติกสวมตรงองคชาตแล้ว พลาสเตอร์จะได้ติดที่บริเวณผิวหนังพอด
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
ห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บรวบรวมน้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง
ถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือเวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
ควรแนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมงและให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ จำนวนครั้งใน 24 ชั่วโมงลักษณะและสีของปัสสาวะ
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
การเคาะบริเวณไต เพื่อหาตำแหน่งที่ปวด
การคลำและเคาะกระเพาะปัสสาวะ ตรวจสีลักษณะ และความตึงตัวของผิวหนัง
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน ถ้าไม่มีข้อห้าม
ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด
ใช้สบู่อ่อนและน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
รักษาระบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ
อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ
ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด
ารเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทำเมื่อจำเป็น
ดูแลให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ
ตรวจดูสายสวนและท่อระบายของถุงรองรับปัสสาวะเป็นระยะไม่ให้หักพับงอ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย
ถ้าเป็นไปได้ให้แยกห้องผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะออกจากผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนหรือไม่ควรอยู่เตียงติดกัน
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
ประเมินผลการพยาบาล
ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน
สัญญาณชีพปกติ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ