Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
adult 5.1 การประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบสืบพันธุ์และการโรคติดต่อ - Coggle…
adult 5.1 การประเมินผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบสืบพันธุ์และการโรคติดต่อ
การซักประวัติทางนรีเวช เป็นการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น โดยซักถามโดยตรง หรือสังเกตจากอาการอาการแสดง หลักสำคัญในการซักประวัติ คือ การสร้างสัพันธภาพกับผู้ป่วย
ประกอบด้วย ซักประวัติข้อมูลทั่วไป การทบทวนอาการตามระบบ
การซักประวัติข้อมูลทั่วไป
อายุ เพศ อาชีพ ภูมิลำเนา ฐานะ สถานภาพสมรส ควรซักประวัติให้สมกับวัย
ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสุขภาพ
อาการสำคัญ(chief complaint) อาการสำคัญที่สุดที่ทำให้ผุ้ป่วยต้องมารพ ร่วมกับระยะเวลาของการมีอาการ แนวทางการซักที่พบบ่อย
ตกขาว สี กลิ่น อาการร่วม
อาการปวดท้องน้อย ด้านไหน ปวดมดลูกหรือปีกมดลูก
อาการผิดปกติของประจำเดือนหรือระดู
อาการคันบริเวณปากช่องคลอด
มีก้อนในท้องน้อย ท้องโต พบก้อนที่ช่องคลอด
ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน(Present illness) ขยายความต่อเนื่องจากอาการสำคัญ เรียงลำดับตามเวลาที่เริ่มมีอาการจนกระทั่งมาถึงโรงพยาบาล ซักถามเพิ่มเติม ลักษณะเฉพาะของอาการ ความรุนแรง ตำแหน่งที่เกิด ระยะเวลาที่เริ่มเป็น ช่วงระยะที่มีอาการ การรักษา อาการที่รบกวนชีวิตประจำวันมากน้อย
ประวัติการเจ็บเจ็บป่วยในอดีต past history โรคประจำตัว การใช้ยา การผ่าตัด ผลตรวจมะเร็งปากมดลูกครั้งสุดท้าย การแพ้
ประวัติครอบครัว โรคทางพันธุกรรม เบาหวาน ความดัน
ประวัติทางนรีเวช gynecologic history
ประวัติการมีระดู อายุที่เริ่มครั้งแรก ความสม่ำเสมอ ระยะห่าง นานไหม ปริมาณ ลักษณะ ผ้าอนามัยกี่แผ่น ประเภทอะไร วันแรกของการมีระดูครั้งสุดท้าย อาการปวด อาการข้างเคียง
ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ ควรเป็นประเด็นหลังสุดในการซักประวัติเนื่องจากช่วงแรกผู้ป่วยยังไม่ไว้วางใจ ความผิดปกติขณะมีเพศสัมพันธุ์ ประวัติการติดเชื้อ
ประวัติการตั้งครรถ์ G P A L
ประวัติการคุมกำเนิด วิธี อดีตปัจจุบัน ระยะเวลา ปัญหา เหตุผล อาการข้างเคียง
ประวัติเกี่ยวกับเต้านม Breast history มีปวด เป็นก้อน กดเจ็บไหม เวลาที่ดีที่สุดคือในการตรวจ คือ 7-10วันหลังวันแรกของรอบเดือน
การดูแลสุขอนามัยของระบบเจริญพันธู์
การทบทวนอาการตามระบบ สอบถามเพื่อทบทวนประวัติการเกิดอาการในระบบต่างๆของร่างกาย อาจเป็นสาเหตุร่วม หรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำผู้ป่วยเกิดการเจ็บป่วยรุนแรง ทบทวนอาการตามระบบตั้งแต่หัวจรดเท้า
การตรวจทางนรีเวช physical Examination in Gynecology
การตรวจร่างกายทั่วไป v/s นน สส อายุ ตรวจร่างกายตามระบบต่างๆ ลักษณะ สีหน้า ท่าทาง เพื่อหาความผิดติร่วม
การตรวจร่างกายเฉพาะ
การตรวจเต้านม ลักษณะทั่วไป สี รูปร่าง ขนาด คลำก้อน บีบหัวนมเพื่อดูความผิดปกติ เปิดเผยในส่วนที่ตรวจเท่านั้น
การตรวจหน้าท้องและอวัยวะภายในช่องท้อง ใช้เทคนิคการ ดู ฟัง คลำ เคาะ ลักษณะทั่วไป
การตรวจอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
ตรวจภายนอก
การตรวจภายใน ส่วนใหญ่มีข้อบ่งชี้ในการตรวจ กลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคทางนรีเวช ต้องใช้อุปกรณ์ในการถ่างขยาย vaginal speculum
การตรวจวินิจฉัย
microorganism test แยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ 2วิธี dry การตรวจหา หนองใน ใช้ไม้พันสำลีป้าย wet smear ใช้ไม้พันสำลีป้ายรอบมูกเก็บ2ตัวอย่าง ไม้แรกหาเชื้อ T. vaginalis และ clue cells ไม้2จุมkohเพื่อตรวจหา c.albicans แล้วผสม หยดลง ส่งLAB
การตรวจหาเซลล์มะเร็ง Pap's smear ควรแนะนำให้ญที่มีเพศสัมพันธุ์แล้ว อายุ35ปีขึ้นไปตรวจ
การส่องกล้องตรวจช่องคลอด coloposcopy หรือโพรงมดลูก hysteroscopy
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อรับการตรวจ