Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
บทที่ 10 การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
10.1ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ70-80 ส่วนที่เป็นของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ น้ำหนักของอุจจาระขึ้นอยู่กลับปริมาณของเส้นใยอาหาร หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารต่ำ น้ำหนักอุจจาระเฉลี่ยวันละ 75กรัม ในคนที่บริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง น้ำหนักอุจจาระอาจสูงถึงวันละ 500กรัมได้ในคนไทยโดยเฉลี่ยวันละ 150กรัม มากกว่าค่าเฉลี่ยของชาวตะวันตกประมาณเท่าครึ่งนอกจากนี้ในการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่บีบตัวเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อผลักดันให้อุจจาระเคลื่อนต่อไปยังไส้ตรงทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนรูปร่างเหมือนไส้กรอกและขับถ่ายออกมาได้ง่าย
การขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกายหากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสมของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้นย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งลำไส้มากขึ้น ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนำสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพของร่างกายเรานั่นเอง
10.2ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
10.2.1 อายุ ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่24-30เดือนขึ้นไป ในเด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลายๆ ครั้ง เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง จึงลดจำนวนครั้งของการขับถ่ายอุจจาระแต่ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยานความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
10.2.2 ชนิดของอาหารที่รับประทาน อาหารจำพวกพืชผักผลไม้ ที่มีกากใยมาก
10.2.3ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้งแข็งเกินไป ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี ทำให้มีการถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
10.2.4 การเคลื่อนไหวของร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย จะช่วยท าให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติผู้ปุวยที่เคลื่อนไหวได้น้อย หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจะทำให้การทำงานของลำไส้ลดลง
10.2. 5 อารมณ์ เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง เช่น หงุดหงิด หรือวิตกกังวลเป็นต้นจะท าให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ อารมณ์ของบุคคลจะมีผลกระทบต่อการทำงานของลำไส้
10.2.10 การตั้งครรภ์ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมดลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย ในการเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำและเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
10.2.11 อาการปวด โรคริดสีดวงทวาร การผ่าตัดส่วนลำไส้ตรง และการผ่าตัดหน้าท้อง เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระผู้ปุวยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ จึงส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกตามมา
10.2.12 การผ่าตัดและการดมยาสลบ การดมยาสลบชนิดทั่วไป เป็นสาเหตุของการเกิด Peristalsis ลดลง และขณะทำการผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ทำให้เกิด Peristalsis ลดลงชั่วคราวเรียกว่า “Paralytic ileus” อาจใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
10.2.7 ความเหมาะสม สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว หรือห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และทำให้เกิดอาการท้องผูกได้และท่าทางในการขับถ่าย
10.2.9 ยาอาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดินอาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
10.2.6 ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร น้ำรวมทั้งการออกกำลังกาย และการพักผ่อน
10.2.13 การตรวจวินิจฉัยโรค การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว ซึ่งมีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดน้ำและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส (Clear liquid) หรือทำการสวนอุจจาระ(Enema) จนทำให้ลำไส้สะอาดก่อนการส่งตรวจเรียกว่า “การเตรียมลำไส้”
10.3ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 4 = Like a sausage or snake, smooth and soft(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5 = Soft blobs with clear-cut edges(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 3 = Like a sausage but with cracks on surface(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ)
Type 6 = Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุยมีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 2 = Sausage shaped but lumpy(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 7 = Watery, no solid pieces(entirely liquid)(ลักษณะเป็นน้ าไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
Type 1 = Separate hard lumps, like nuts(Difficult to pass)ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่วคนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
ลักษณะของอุจจาระปกติ ผิดปกติและสาเหตุ
ลักษณะ
ปกติ = อ่อนนุ่ม
ผิดปกติ
เหลว
สาเหตุ
ท้องเสียหรือการดูดซึมลดลง
แข็ง
สาเหตุ
ท้องผูก
ความถี่
ปกติ
เด็ก: (นมมารดา)วันละ4-6ครั้ง (นมขวด)วันละ1-3ครั้ง
ผิดปกติ = มากกว่าวันละ6ครั้งหรือ 1-2วัน ครั้งเดียว
ผู้ใหญ่: วันละ 2ครั้งหรือ สัปดาห์ละ3 ครั้ง
ผิดปกติ = มากกว่าวันละ 3ครั้งหรือ สัปดาห์ละครั้ง
สาเหตุ
มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
กลิ่น
ปกติ = มีกลิ่นเฉพาะ:จากอาหารตกค้าง
ผิดปกติ = กลิ่นเปลี่ยนเหม็นมาก
สาเหตุ = การติดเชื้อจากเลือดในอุจจาระ
อื่นๆ
ปกติ
อาหารไม่ย่อย, แบคทีเรียที่ตายแล้ว, ไขมัน, สีน้ำดี, เซลล์หรือเยื่อบุลำไส้, น้ำ
ผิดปกติ
เลือด, หนอง, มูก,แปลกปลอม, พยาธิ
สาเหตุ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร,รับประทานอาหารบูด, มีการระคายเคือง, มีการอักเสบ,และมีพยาธิ
อุจจาระเป็นน้ำมันเยิ้ม
สาเหตุ
กลุ่มอาการพร่องการดูดซึม, ลำไส้อักเสบ, โรคของตับอ่อน, มีการผ่าตัดเกี่ยวกับลำไส้
เป็นมูก
สาเหตุ
มีการระคายเคืองของลำไส้, มีการอักเสบ, มีการติดเชื้อหรือได้รับอันตราย
รูปร่าง
ปกติ = เท่ากับขนาดความกว้างของลำไส้ตรง
ผิดปกติ = ขนาดเล็กคล้ายดินสอ
สาเหตุ = มีการอุดตันในทางเดินอาหารหรือมีการบีบตัวของลeไส้เพิ่มขึ้น
สี
ปกติ เด็ก:สีเหลือง ผู้ใหญ่:สีน้ำตาล
ผิดปกติ
ขาว หรือคล้ายดินเหนียว
สาเหตุ
ไม่มีน้ำดี
ดำ
สาเหตุ
มีธาตุเหล็กปนอยู่หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร
แดง
สาเหตุ
มีเลือดออกในทางเดินอาหารมีริดสีดวงทวารหรือบริโภคผักเช่นหัวผักกาดแดงหรือผลไม้เช่น แก้วมังกรสีแดง
ซีด และเป็นมันเยิ้ม
สาเหตุ
พร่องหน้าที่การดูดซึมของไขมัน
10.4สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
10.4.1ภาวะท้องผูก
10.4.1.1 สาเหตุภาวะท้องผูกแบ่งออกเป็น2 ประเภทได้แก่
1) ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยภาวะขาดน้ำการเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
2)ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
(3)ความผิดปกติในการทำหน้าที่ของไขสันหลังอันเป็นผลของการไม่เคลื่อนไหว
(4) ภาวะท้องผูกจากการลดลงของการเคลื่อนไหวของลำไส้และเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของประสาทที่ลำไส้และการติดยาระบาย
(2)การอุดกั้นของระบบทางเดินอาหาร
(5) การทำหน้าที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อพื้นเชิงกราน
(1)ฝิ่นหรือยาระงับปวดที่เป็นอนุพันธ์ของฝิ่นที่ส่งผลต่อแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อเรียบของลำไส้
(6) ภาวะผิดปกติของลำไส้มีความสัมพันธ์กับภาวะท้องผูก
10.4.1.2 ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
3) เป็นโรคริดสีดวงทวาร
4) แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนียดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปยังสมองในผู้ปุวยโรคตับจะเกิดอาการHepatic encephalopathy
2) เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
5) ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
1) เกิดอาการแน่นท้องท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะวิงเวียน
6)การกลั้นอุจจาระไม่ได้
10.4.1.3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
6) แนะนำให้ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีผลต่อการบีบตัวของลำไส้ช่วยให้การถ่ายอุจจาระเป็นปกติ
7) สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
5) จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
8) แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ
4) แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลา
3) แนะนำกระตุ้น และช่วยให้ผู้ปุวยได้รับน้ำให้เพียงพอควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2,000–2,500cc.ถ้าไม่มีข้อห้าม
2) แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ
1) แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
10.4.2 การอัดแน่นของอุจจาระ
10.4.2.1 สาเหตุ อาการเริ่มแรกคือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระเป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
10.4.2.2 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระเป้าหมายสำคัญของการพยาบาล คือ การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกายโดยการล้วงอุจจาระ และอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่นหรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
10.4.2.3 การล้วงอุจจาระ คือการล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมาตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
10.4.2.4 อุปกรณ์เครื่องใช้
2) สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลินหรือสบู่เหลว
3) ผ้ายางรองก้นและกระดาษชำระ
1) ถุงมือสะอาด 2คู่และหน้ากากอนามัย (Mask)
4)หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกสำหรับใช่อุจจาระ
10.4.2.5 วิธีปฏิบัติ
3)ปูผ้ายางรองให้ผู้ป่วย และวางหม้อนอนหรือถุงพลาสติกไว้ใกล้ ๆ
4) พยาบาลสวมถุงมือ 2ชั้น แล้วใช้นิ้วชี้หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่น บอกผู้ป่วยให้รู้ตัวแล้วสอดนิ้วชี้เข้าทางทวารหนัก พร้อมให้ผู้ป่วยช่วยอ้าปากหายใจยาวๆเพื่อช่วยผู้ป่วยผ่อนคลายและไม่รู้สึกเจ็บ
2) ให้ผู้ป่ยนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำขาขวา งอเล็กน้อย
1) แนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยทราบ
5) ล้วงเอาก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้พยาบาลต้องทำด้วยความนุ่มนวลและรวดเร็วเนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บและเขินอายได้
6) เช็ดทำความสะอาดจัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และเก็บเครื่องใช้
7) ทำความสะอาดเครื่องใช้และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
10.4.3ภาวะท้องอืด
10.4.3.1 สาเหตุ
2)มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือล าไส้ปริมาณมาก
3)มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
1) มีการสะสมของอาหารหรือน้ ามาก อาหารไม่ย่อย รับประทานอาหารมากเกินไปหรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
4) ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
10.4.3.2 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
1)จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60องศาเพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
2) อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอกเห็นใจและให้กำลังใจ
3) ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
3.1สาเหตุจากการถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหรือความสามารถในการขยับตัวได้ลดลงหรือหลังการผ่าตัดไม่ยอมขยับตัวเนื่องจากมีความกลัวต่าง ๆ
1)อธิบายการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ให้ระบายแก๊สออกได้
2)กระตุ้นและช่วยเหลือเคลื่อนไหวของร่างกาย
3)การใส่สายทางทวารหนัก
4)พิจาณาการใช้ยา อาจให้ยาช่วยย่อยอาหาร ยาขับลม ทำให้เรอ
3.2สาเหตุจากได้รับยาระงับปวดที่มีอาการข้างเคียงทำให้ลดการเคลื่อนไหวของลำไส้
2)ตรวจร่างกายโดยวิธีการดู การคลำ การเคาะและการฟัง Bowelsoundลงบันทึกไว้ทุก 4 ชั่วโมงตามเวลาวัดสัญญาณชีพ
3)พิจารณาให้ยารับงับปวดตามความจำเป็น (PRN)โดยการประเมินคะแนนความเจ็บปวดทุกครั้ง
1) สังเกตอาการท้องอืดโดยการสอบถามผู้ปุวยถึงอาการท้องอืด
3.3สาเหตุจากอาหารไม่ย่อย
1)สังเกตอาการท้องอืดโดยการสอบถามผู้ปุวยถึงอาการท้องอืด
2)ตรวจร่างกายโดยวิธีการดู การคลำ การเคาะและการฟัง Bowelsoundลงบันทึกไว้ทุก 4ชั่วโมงตามเวลาวัดสัญญาณชีพ
3)แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
10.4.4การกลั้นอุจจาระไม่ได้
10.4.4.1 ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
1)ผลด้านร่างกาย
2) ผลด้านจิตใจ
3) ผลด้านสังคม
4) ผลด้านจิตวิญญาณ
10.4.4.2 การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
1) ด้านร่างกาย
(3)ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
(4)ดูแลเสื้อผ้าที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
(2)การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือกเป็นเวลาที่สะดวก
(5)รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
(1) ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
2)ด้านจิตใจสังคม และจิตวิญญาณ
10.4.5ภาวะท้องเสีย
10.4.5.1 สาเหตุของภาวะท้องเสีย
2)จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ จนทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่แสดงออกทางร่างกาย
3) การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
1) จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
10.4.5.2 ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
2)เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง
1) เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
10.4.5.3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
2)ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
(2)แสดงการช่วยเหลือด้วยท่าที่เหมาะสมและเต็มใจ
(3)ให้โอกาสผู้ป่วยได้อยู่ตามลำพัง
(1) ช่วยเหลือผู้ป่วยให้ถ่ายได้ทัน
(4) ช่วยเหลือชำระล้างและทำความสะอาดหลังการถ่ายอุจจาระ
3) การดูแลเรื่องอาหาร
1) ประเมินสภาพผู้ปุวย
4) ติดตาม เฝ้าระวัง ปูองกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
(2) ประเมินภาวะสมดุลของน้ำและเกลือแร่เป็นระยะๆ
(3) ทดแทนน้ำ และเกลือแร่ให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย
(1) บันทึกปริมาณน้ำที่ได้รับและที่ขับออกจากร่างกายให้ครบถ้วน
5) สังเกตความผิดปกติอื่นๆ ที่เกิดร่วมด้วย
6) สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระความถี่ของการถ่ายอุจจาระ
7) ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
8) การปูองกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
(1) ล้างมือก่อนและหลังการให้การพยาบาลทุกครั้ง
(2) แนะนำการได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
(3) อธิบายให้ญาติล้างมือก่อนสัมผัสผู้ป่วย
(4) บริการอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ ไม่มีแมลงวันตอม
(5) ติดตามวัดสัญญาณชีพ ทุก 2–4ชั่วโมงพบอาการผิดปกติรายงานแพทย์
(6) ติดตามผลการตรวจอุจจาระ
10.4.6การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
ชนิดของStoma ที่เป็นช่องทางขับถ่ายอุจจาระ จำแนกออกเป็น 2 ชนิด
1.Colostomyเป็นทวารหนักชนิดลำไส้ใหญ่ ลำไส้ที่นำเปิดออกหน้าท้องมี
1.3Sigmoid colostomy
1.2Transverse colostomy
1.1Ascending colostomy
2.Ileostomyเป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก
10.4.6.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
1) การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบๆแบ่งเป็น 3ระยะ
(2) ระยะที่ 2หลังผ่าตัด 7-10วัน
(3) ระยะที่3 หลังผ่าตัด 6-8สัปดาห์
(1) ระยะที่ 1หลังผ่าตัด 4-5วัน
2)การปิดถุงรองรับอุจจาระเมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบๆแล้ว ต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบๆ
(1)ถุงปลายเปิด
(2)ถุงปลายปิด
3) การรับประทานอาหารที่เหมาะสม
(2)รับประทานอาหารที่ป้องกันอาการท้องผูก
(3)หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก็ส
(1) หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรืออาหารหมักดองเพราะอาจทำให้ท้องเดิน
(4)หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกลิ่น
(5)ควรรับประทานอาหารให้ครบ 3มื้อ ในเวลาเดียวกันทุกๆ วัน
4)การออกกำลังกายและการท างาน
5) การฝึกหัดการขับถ่าย
6) ภาวะแทรกซ้อนสังเกตและดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
10.4.6.2 การทำความสะอาดแผลทวารเทียม
10.4.6.3 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
10.5การสวนอุจจาระ
10.5.1 วัตถุประสงค์
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ปุวยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
2)เตรียมตรวจทางรังสี
5) เพื่อการรักษาเช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ป่วยโรคตับ
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
10.5.2ชนิดของการสวนอุจจาระแบ่งเป็น 2ชนิด
10.5.2.1 Cleansing enema
3)Normal saline solution enema(NSSenema)
2) Soap sud enema(SSE)
1) Tap water enema (TWE)
4)Fleet enema
5) Oil enema
10.5.2.2 Retention enema
2)Medicated enema
1) Oil-retention enema
10.5.3อุปกรณ์เครื่องใช้
6) กระโถนนอน
7) ผ้าปิดกระโถนนอน
5) กระดาษชำระ
8) ผ้ายางกันเปื้อน
4) ชามรูปไต
9) สารละลายที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
3) สารหล่อลื่น เช่น KY jellyเป็นต้น
2) หัวสวนอุจจาระ
10) เหยือกน้ำ
1) หม้อสวน
11) เสาน้ำเกลือ
12) ถุงมือสะอาด1คู่ และMask
10.5.4 วิธีปฏิบัติ
7) ปิด Clampหัวสวนไว้เทน้ำยาใส่หม้อสวนแขวนหม้อสวนสูงกว่าระดับทวารหนักของผู้ป่วย 1ฟุต (12 นิ้ว)เหนือจากระดับที่นอนเพื่อควบคุมแรงดันน้ำ ถ้าแขวนสูงกว่า 1 ฟุต จะเพิ่มแรงดันในลำไส้อย่างรวดเร็ว จะทำให้ลำไส้บีบตัวแรง เกิดการหดเกร็ง ทำให้ปวดท้องได้ หรือเกิดการระคายเคืองต่อผนังลำไส้หรืออาจเกิดลำไส้ปริและอาจทำให้อยากถ่ายอุจจาระเร็วเกินไป
8) เปิด Clampเพื่อไล่อากาศในสายสวน และหัวสวนปิด Clamp หัวสวนหล่อลื่นหัวสวนด้วย KY jellyไล่อากาศเพื่อทดสอบว่าหัวสวนไม่อุดตัน และไม่เป็นการนำลมเข้าลำไส้หล่อลื่นหัวสวนเพื่อ ป้องกันการเสียดสีของหัวสวนกับทวารหนัก และลดความเจ็บปวดขณะสอดหัวสวนเข้าช่องทวารหนัก
6) ล้างมือ สวมถุงมือและต่อหัวสวนกับสายสวนให้แน่น ป้องกันหัวสวนหลุดเข้าช่องทวารหนักขณะสวนและทำรั่วเปียกเลอะเทอะ
5) คลุมผ้าเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย
9) บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำการสวนอุจจาระ
4) จัดท่านอนให้ถูกต้อง
10) สอดหัวสวนเข้าทวารหนักให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ3นิ้ว
3) ปูผ้ายางรองก้นบริเวณก้นของผู้ป่วย
11) จับหัวสวนให้แน่กระชับมือเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ5-10 นาที
2) นำเครื่องใช้มาที่เตียง
12) ค่อยๆ ดึงสายสวนออกเบาๆปลดหัวสวนออกห่อด้วยกระดาษชำระวางใน ชามรูปไตบอกให้ผู้ป่วยนอนท่าเดิมพยายามเก็บน้ำไว้ในลำไส้ 5-10 นาที
1) การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบถ้วนสะดวกในการปฏิบัติ
13) สอดBed panกั้นม่านให้มิดชิด หลังถ่ายเสร็จใช้ Bed padปิดคลุม Bed panหรือในรายที่เดินได้ให้ผู้ป่วยลุกเดินไปห้องน้ำเอง
14) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาดให้เรียบร้อยถอดถุงมือล้างมือให้สะอาด
15) ลงบันทึกทางการพยาบาล
10.6ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
1)อุณหภูมิของสารน้ำอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ105 ̊F (40.5 ̊C)
2) ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
2.2เด็กอายุ 10 เดือน ถึง 10ปีใช้ในปริมาณ250–500 ml.
2.3เด็กอายุ 10–14ปีใช้ในปริมาณ500–750 ml.
2.1เด็กเล็กใช้ในปริมาณ150–250 ml.
2.4ผู้ใหญ่ใช้ในปริมาณ750–1,000 ml.
3) ท่านอนของผู้ป่วยท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ให้เข่าขวา งอขึ้นมากๆ ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถนอนตะแคงซ้ายได้อาจจัดให้นอนหงาย แต่ไม่ควรให้อยู่ในท่านั่ง
4) แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือระดับที่นอนในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
5)การปล่อยน้ำเปิด Clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ถ้าสารละลายปริมาณมากอาจใช้เวลานาน10-15 นาทีเพื่อให้ผู้ป่วยเก็บน้ำได้หมดการปล่อยสารละลายช้าๆ จะช่วยลดความไม่สุขสบายจากลำไส้โป่งตึง และถ้าปล่อยน้ำไหลแรงเกินอาจทำให้ผู้ปุวยปวดท้องเป็นตะคริวอาจทำให้ลำไส้แตกได้
6) ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้
7)การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่นKY jellyเป็นต้น หล่อลื่นให้ยาวประมาณ 2-3 นิ้วในผู้ใหญ่ และ 1นิ้วในเด็ก
8)ทิศทางการสอดหัวสวนให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบนปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส้
9)ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่
10)การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
10.6.1อาการแทรกซ้อนจากการสวนอุจจาระ
2)ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
3)ภาวะเป็นพิษจากน้ำ
1)การระคายเคืองต่อเยื่อบุลำไส้
4)การติดเชื้อ เช่น ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ
5)การคั่งของโซเดียม เพราะปกติลำไส้จะดูดซึมโซเดียมได้ดีมาก
6)ภาวะ Methemoglobinemia
10.6.2ข้อห้ามในการสวนอุจจาระการสวนอุจจาระมีข้อห้ามที่ไม่ควรท าในผู้ปุวยต่อไปนี้
2)มีการอักเสบของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
3)มีการติดเชื้อในช่องท้อง
1)ลำไส้อุดตัน
4)ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้ส่วนปลาย
10.7การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
10.7.1ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
3)การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ
2)การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
1)การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
10.7.2อุปกรณ์เครื่องใช้
3) ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
4) กระดาษชำระ
2)ใบส่งตรวจ
5)หม้อนอน
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
10.7.3 วิธีปฏิบัติ
1)การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติ
(1)อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บอุจจาระส่งตรวจ รวมทั้งวิธีการเก็บตัวอย่าง ให้ระวังการปนเปื้อนปัสสาวะ น้ำและสิ่งปนเปื้อนอื่น
(2) ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง
(3)ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
(4)ลงบันทึกทางการพยาบาลลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
2)การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
(1) ให้ผู้ปุวยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว แล้วจุ่มไม้พันสำลีลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ ปิดฝาทันที
(2) ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที พร้อมใบส่งตรวจ
(3)ลงบันทึกทางการพยาบาล ลักษณะ สี กลิ่น สิ่งเจือปน
10.8กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
ตัวอย่างหญิงไทยรายหนึ่ง อายุ 35ปี ให้ประวัติว่ามีอาการท้องผูกต้องใช้ยาระบายก่อนนอนเป็นประจำทุกคืนและมีพฤติกรรมไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ ดื่มน้ำน้อยวันละไม่ถึง 1,000ml.
การประเมินภาวะสุขภาพ
S:“ทานยาระบายก่อนนอนเป็นประจำทุกคืนไม่ชอบอาหารประเภทผัก และผลไม้”
O: จากการตรวจร่างกายพบAbdomen:Distension, Tympanic sound, Decrease bowel sound 1-2 time/min
2.ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ท้องผูกเนื่องจากมีพฤติกรรมใช้ยาระบายเป็นประจำ
3.การวางแผนการพยาบาล
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมินผล
2.มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใย
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระ
1.ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
การวางแผน
วางแผนให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเรื่องการโรคของระบบทางเดินอาหารและลำไส้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
4.การปฏิบัติการพยาบาล
4.แนะนำให้ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
ให้ความรู้เรื่องสมุนไพรไทยช่วยในการขับถ่ายอุจจาระทดแทนการใช้ยาระบายโดยนำมาปรุงเป็นอาหาร
อธิบายประโยชน์ของการดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
6.ฝึกการขับถ่ายอุจจาระเป็นตรงเวลาทุกวัน
2.ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้
7.ท าจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส ลดความเครียดหรือวิตกกังวลช่วยทำให้นอนหลับสบายตื่นเช้าจะได้สดชื่นและเข้าห้องน้ำถ่ายอุจจาระเป็นเวลาในตอนเช้าตรู่
1.แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่มีกากใย
5.การประเมินผลการพยาบาล
2.เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
1.มีการถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย