Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร - Coggle Diagram
ทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสาร
ทักษะการพูดเชิงวิชาการ
ความหมายและความสำคัญของการพูด
การพูดหมายถึง พฤติกรรมการสื่อความหมายของมนุษย์โดยอาศัยภาษา ผ่านถ้อยคำ น้ำเสียง และอาจมีกิริยาท่าทางร่วมด้วย เพื่อถ่ายทอดความคิดและความรู้สึก การพูดมีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ เพราะมนุษย์ใช้การพูดเป็นแกนกลางในการ ทำความเข้าใจ เพื่ออธิบาย โน้มน้าวจูงใจ หรือเพื่อทำความเข้าใจกับบุคคลอื่น ๆ การพูด เป็นเรื่องของการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการสื่อความหมาย ที่กล่าวว่า “เป็นศาสตร์” ก็เพราะเป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์ มีทฤษฎีให้เรียนรู้และถ่ายทอดกันได้ ส่วนที่กล่าวว่า “เป็นศิลป์” ก็เพราะการพูดต้องนำศาสตร์หรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้เกิดความไพเราะสวยงามเป็นที่ประทับใจผู้ฟัง
องค์ประกอบของการพูด
ผู้พูด (Speaker)
ผู้ฟังคือผู้รับสาร (Audience)
เครื่องมือในการสื่อความหมาย (Communication)
เนื้อหาสาร (Message)
จุดมุ่งหมายของการพูด
เพื่อสอนหรือแจ้งข่าวสารให้ทราบ
เพื่อเกลี้ยกล่อมหรือจูงใจ
เพื่อกระตุ้นหรือสร้างความประทับใจ
เพื่อความบันเทิง
ลักษณะของการพูดอย่างมีประสิทธิภาพ
พูดเป็น พูดไม่เป็น
เนื้อหาสาระ น่าสนใจ มีข้อมูลที่ถูกต้อง/มีวาทศิลป์ คือ มีความสามารถในการแสดงออก การสร้างความเชื่อถือ ความสนใจ ความพอใจ และความเข้าใจในหมู่ผู้ฟัง อันประกอบด้วยการใช้ถ้อยคำน้ำเสียง ท่าทาง สายตา อารมณ์ขัน ฯลฯ/มีบุคลิกลักษณะที่ดี/มีความจริงใจต่อผู้ฟัง มุ่งประโยชน์ส่วนรวม
พูดยาว ยืดยาดเยิ่นเย้อเกินเวลากำหนด /พูดสั้นไป ขาดสาระสำคัญ ไม่เกิดประโยชน์ /พูดไม่ชวนฟัง ไม่ใคร่ครวญก่อนพูด ทำให้ผู้ฟังไม่พอใจหรือเกิดเจ็บช้ำน้ำใจ /พูดไม่รู้เรื่อง ผู้ฟังจับใจความไม่ได้เพราะไม่รู้จักใช้ถ้อยคำที่ช่วยให้เข้าใจง่าย เมื่อพูดจบแล้ว ผู้ฟังยังไม่รู้เรื่องว่าผู้พูดต้องการอะไรกันแน่
ทฤษฎีบันได 13 ขั้น
ทักษะการพูดนำเสนอเชิงวิชาการ
การนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่บุคคลเป้าหมายให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และยอมรับในสาระที่นำเสนอตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ และอาจมีการใช้สื่อต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ และให้เกิดความชัดเจน และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
การศึกษาข้อมูล
การวางแผนการนำเสนอ
การนำเสนอ
จะเห็นได้ว่าสื่อในการนำเสนอมีหลายชนิด แต่ในยุคปัจจุบันควรเป็นสื่อดิจิตอล มีการนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ซึ่งส่งสัญญาณเข้าสู้เครื่องฉายบนจอขนาดใหญ่ โดยสามารถนำเสนอเป็นแบบสื่อประสม(multimedia) ที่มีทั้งภาพ เสียง และการเคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้การนำเสนอน่าสนใจยิ่งขึ้น
งานเชิงวิชาการ ถือเป็นงานหรือเอกสารที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นระบบ มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือโดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ของผู้จัดทำ การนำเสนองานเชิงวิชาการจึงมีความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลวิชาการดังกล่าวแก่บุคคลอื่นให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของงานวิชาการนั้นๆ
ทักษะการฟังเชิงรุก
ความหมายและความสำคัญของการฟัง
การฟังเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งของการรับสาร (Inputting) ซึ่งนับว่าเป็นทักษะที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นทักษะที่มนุษย์ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมากกว่าทักษะด้านอื่น ๆ การฟังนั้นเกิดขึ้นได้ทั้งในสภาพที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ
ประโยชน์ของการฟัง
ประโยชน์ต่อตนเอง
2) การฟังที่ดีทำให้เรารับรู้เรื่องราวที่ฟังได้โดยตลอด สามารถเข้าใจข้อความสำคัญของเรื่องที่ฟังและจุดมุ่งหมายของผู้พูด
3) การฟังที่ดีช่วยพัฒนาสมรรถภาพของการใช้ทักษะภาษาอื่น ๆ กล่าวคือ ผู้ฟังสามารถเรียนรู้กระบวนการพูดที่ดีของผู้อื่น
1) การฟังที่ดีเป็นพฤติกรรมของผู้มีมารยาทในการเข้าสังคม ในวงสนทนาหรือในสถานที่และโอกาสต่าง ๆ
ประโยชน์ต่อสังคม
การฟังที่ดีเป็นกระบวนการสื่อสารที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ ในแง่ที่ผู้ฟังสามารถนำความรู้ แง่คิดต่าง ๆ ไปใช้ โดยตัวผู้ฟังเองได้รับผลดีจากการปฏิบัติและสังคมได้ประโยชน์ทางอ้อม
มารยาทในการฟัง
มารยาทในการฟังระหว่างบุคคล
ตั้งใจฟังและแสดงอาการกระตือรือร้นที่จะฟัง
แสดงปฏิกิริยาตอบสนองเรื่องที่ฟัง ด้วยกิริยาท่าทาง สีหน้า หรือแววตาเมื่อเกิดความสงสัย เกิดความพึงพอใจ หรือเมื่อเข้าใจในเรื่องนั้น
สายตาจับอยู่ที่ผู้พูดอย่างสนใจ และด้วยความรู้สึกจริงใจ
ไม่พูดแทรกกลางคัน พูดขัดคอ หรือพูดขัดจังหวะและไม่แสดงอาการเบื่อหน่าย หงุดหงิด หรือแสดงอาการก้าวร้าวต่าง ๆ
มารยาทในการฟังกลุ่ม
เมื่อผู้พูดหรือประธานเดินทางมาถึง ควรให้เกียรติด้วยการยืนต้อนรับ เมื่อผู้พูดหรือประธานนั่งลงจึงนั่งตาม
เดินทางไปถึงสถานที่ที่มีการพูดก่อนเวลาที่จะเริ่มพูดประมาณ 15 นาที เป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะได้มีเวลาจัดหาที่นั่งให้เป็นระเบียบ ไม่รบกวนผู้อื่น
ควรอยู่ในความสงบสำรวมในขณะที่นั่งรอฟังการพูด
ผู้ฟังที่ไปก่อนควรนั่งเก้าอี้ในแถวหน้า ๆ เพื่อให้ผู้ฟังที่มาทีหลังนั่งถัดไปข้างหลังตามลำดับ
แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ถูกกาลเทศะ
วิธีฝึกฝนและพัฒนาทักษะการฟัง
ทำตัวให้มีความพร้อมที่จะรับฟัง
ฟังอย่างสุภาพและตั้งใจจริง
ต้องรู้จักสังเกตอวัจนภาษาของผู้พูด
ขณะฟัง ต้องหมั่นฝึกปฏิบัติให้ได้ตามขั้นตอนการฟัง
พยายามหาประโยชน์จากการฟัง
พยายามจดบันทึกทุกครั้งในขณะที่ฟัง
ปัญหาการจับใจความสำคัญ
ไม่เป็นคนใจแคบ
ฟังให้ครบ
รักษามารยาทในการฟัง
กระบวนการฟัง
การได้ยินเสียงที่มากระทบโสตประสาท (Hearing)
การมีสมาธิต่อสิ่งที่เราได้ยินนั้น (Concentration)
การเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน (Comprehension)
การตีความสิ่งที่ได้ยิน (Interpretation)
การตอบสนอง (Reaction)
จุดมุ่งหมายของการฟัง
การฟังเพื่อสังคม
การฟังเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
Active Listening หรือ การฟังเชิงรุก (ในที่นี้มีความหมายเดียวกับการฟังด้วยใจ, การฟังอย่างตั้งใจ) คือการฟังที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการได้ยินเสียงที่อีกฝ่ายพูด โดยไม่ใช้ประสบการณ์ อคติ หรือความคาดหวังของตนไปตัดสินว่าเรื่องที่ได้ยินนั้นผิดหรือถูก มีการคิดวิเคราะห์แยกแยะ จับประเด็น และทวนกลับเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงการสังเกตอากัปกิริยาอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด โดยผู้ฟังจะมีสติอยู่กับปัจจุบัน เปิดใจรับฟัง สามารถติดตามเรื่องราว ความคิดและความรู้สึกของผู้พูดได้จนเกิดความเข้าใจ
ทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ความหมายและความสำคัญของการอ่าน
การอ่านมีความสำคัญและอำนวยประโยชน์อย่างมาก การอ่านช่วยให้ได้รับความรู้ช่วยพัฒนาความคิด และยกระดับสติปัญญา ช่วยพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ นอกจากนี้การอ่านยังช่วยแก้ปัญหาในใจและปรับปรุงบุคลิกภาพให้ดีได้
กระบวนการการอ่าน
การเข้าใจความหมายของสาร
การมีปฏิกิริยาต่อสาร
การมองเห็นตัวอักษร สัญลักษณ์ หรือข้อความชัดเจนแล้วเข้าใจ
การบูรณาการความคิด
จุดมุ่งหมายของการอ่าน
อ่านเพื่อปฏิบัติตาม
อ่านเพื่อความรู้
อ่านเพื่อหาคำตอบ
อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน
ประโยชน์ของการอ่าน
ประโยชน์ต่อตนเอง
ก่อให้เกิดความรอบรู้ คืออ่านมากย่อมรู้มาก เพราะการอ่านเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ที่ลงทุนน้อยแต่ได้กำไรมากทำให้เป็นคนทันสมัยอยู่เสมอ เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ หรือข่าวสารประจำวันทำให้เป็นผู้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศเป็นการยกระดับสติปัญญา
ประโยชน์ต่อสังคม
ด้านคุณธรรมและสันติธรรม
การเป็นการเปิดโลกทัศน์ให้กว้างขวางมองเห็นความเป็นอยู่ ทุกข์ สุข ของเพื่อนมนุษย์ ก่อให้เกิดความเมตตากรุณาต่อกัน ผลที่สุดปรารถนาให้สังคมอยู่กันอย่างสันติ
ด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
การอ่านเป็นกุญแจในการสืบค้น ดำรงไว้ส่งเสริมพัฒนาและประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมทางสังคมและวิทยาการของมวลมนุษยชาติ
ด้านเศรษฐกิจ
การอ่านนอกจากจะส่งผลต่ออาชีพและเศรษฐกิจของตนให้ดีขึ้น แล้วยังส่งผลต่อการรวมกลุ่มสู่เศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจทางสังคม
ด้านสังคม
การอ่านเป็นการสร้างสรรค์ปัจเจกบุคคลให้เกิดความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ ให้เกิดการเรียนรู้สังคมและกิจกรรมทางสังคม นำมาซึ่งการรวมกลุ่มสังคมด้วย
ด้านประชาธิปไตย
การอ่านเป็นปัจจัยพื้นฐานในการนำเสนอความคิดแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ ทั้งโดยตรงและผ่านสื่อมวลชน ด้วยทัศนะที่หลากหลายเป็นที่ยอมรับกันด้วยความรู้ด้วยเหตุผล ทำให้ระบบประชาธิปไตยก่อเกิดและยั่งยืน
การอ่านเชิงวิเคราะห์ หมายถึง การอ่านอย่างละเอียด เพื่อทำความความเข้าใจในเรื่องที่อ่าน สามารถแยกแยะสิ่งที่อ่านได้ว่า ใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร รวมทั้งความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ และเนื้อหาแต่ละส่วนสัมพันธ์กับส่วนอื่น ๆ อย่างไร นอกจากนี้ยังสามารถแยกข้อเท็จจริง ความคิดเห็น สรุปเรื่องตามแนวคิดของผู้แต่งหรือผู้เขียน
ทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ความหมายและความสำคัญของการเขียน
การเขียนมีความสำคัญในแง่ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ ที่มนุษย์ใช้ในการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและสติปัญญาต่อกันและกัน
การเขียนเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดวัฒนธรรม อันเป็นมรดกด้านภูมิปัญญาของมนุษย์
การเขียนช่วยเผยแพร่ กระจายความรู้ ความคิดและข่าวสารได้อย่างกว้างไกลและรวดเร็ว
การเขียนเป็นการบันทึกทางสังคมที่ให้คุณค่า อำนวยประโยชน์มหาศาลแก่ชนรุ่นหลังทั้งในปัจจุบันและอนาคต
การเขียนสามารถสร้างความรักสามัคคีในมนุษยชาติได้ เมื่องานเขียนนั้นมีความหมายเพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความรักเพื่อมนุษย์ เป็นงานเขียนที่สร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคมโลก
การเขียนสามารถยึดเป็นอาชีพที่สำคัญอย่างหนึ่งได้ในปัจจุบัน
การเขียนสามารถทำให้บุคคลประสบความสำเร็จในชีวิตได้ โดยเฉพาะด้านการศึกษาเล่าเรียน
ลักษณะของงานเขียนที่ดี
มีจุดมุ่งหมายในการเขียนที่ชัดเจน
มีเอกภาพ
มีสัมพันธภาพ
มีความกระจ่าง
มีรูปแบบการเขียนเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหา
มีเนื้อหาดีและรายละเอียดเด่นชัด
มีจินตนาการที่สอดคล้องกับเนื้อหา
ใช้ภาษาถูกต้องเหมาะสม
เรื่องราวชวนติดตาม
การพัฒนาทักษะการเขียน
ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่สามารถพัฒนาจนเกิดความชำนาญได้โดยควรศึกษาและหมั่นฝึกฝนในเบื้องต้นในเรื่อง “การเขียนย่อหน้า” แล้วฝึกเขียนเชื่อมเนื้อความแต่ละย่อหน้าให้สัมพันธ์กันโดยอยู่ในขอบเขตของจุดประสงค์ในการเขียน หรือ หัวข้อในการเขียน
การเขียนย่อหน้า คือ การเขียนข้อความตอนหนึ่งที่ประกอบด้วยประโยคหลายประโยค ประโยคเหล่านี้มีความสัมพันธ์กัน โดยมีประโยคใจความสำคัญมุ่งแสดงความคิดหลักเพียงเรื่องเดียว ย่อหน้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนที่มีความสำคัญ การเขียนย่อหน้าที่ดี มีผลดีต่อผู้เขียนและผู้อ่าน
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ คือ การสื่อความหมาย โดยการเรียบเรียงความรู้ ความคิดและความรู้สึก ตลอดจนประสบการณ์ต่าง ๆ ของผู้เขียนออกมาอย่างอิสระ อาจเป็นเรื่องธรรมดาของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม หรือเรื่องราวที่ผิดแผกแปลกไปจากธรรมชาติ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสื่อสารระหว่างผู้เขียนกับผู้อื่นให้เข้าใจตรงกัน
การเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นงานเขียนที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล เป็นการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และจินตนาการ ที่แปลกใหม่ของแต่ละคน ซึ่งจะมีแนวความคิด ความรู้และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้งานเขียนเชิงสร้างสรรค์แต่ละชิ้นมีคุณค่าแตกต่างกันออกไป ดังนั้น การประเมินการเขียนเชิงสร้างสรรค์จึงควรมีหลักเกณฑ์แน่นอน เที่ยงตรง และครอบคลุมไปทุก ๆ ด้าน
นอกจากหลักเกณฑ์ในการสอนแล้ว การจัดลำดับขั้นในการการสอนเขียนเชิงสร้างสรรค์ก็นับเป็นความสำคัญที่ครูผู้สอนควรนำมาพิจารณาก่อนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน