Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อย
เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
เด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่ จะปัสสาวะ6-8 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนจะลดลง
ผู้สูงอายุ
เมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
ปัสสาวะในตอนกลางคืน (Nocturia)
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมากปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ำที่ได้รับ
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)อาหารที่มีความเค็มมากปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะ
เปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
วัฒนธรรมที่ถือความเป็น
ส่วนตัวสูง การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
(Activity and Muscle tone)
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอนได้
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัย
(Surgical and diagnostic procedure)
ความเครียดและความวิตกกังวล
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกต
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400มิลลิลิตร
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะเป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis) เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติอาจเป็นอาการเรื้อรังเนื่องจากโรค
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน
มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria) เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึก
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
เป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) เป็นภาวะที่ไม่
สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence) ปัสสาวะจะไหลตลอดเวลาโดยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดงมักมีสาเหตุที่ไต ท่อไต กรวยไต
กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวันถ้ามีโปรตีนในน้ำปัสสาวะแสดงถึงภาวะไตเป็นโรคอาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ (Glomerulonephritis)
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานพบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาไม่ดี ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้และพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง พบในผู้ป่วย
ที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะแยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะ
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ6-8 แก้วอาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดิน
ปัสสาวะ จะต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร เพื่อให้มีปัสสาวะจำนวนมาก
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจวายหรือไตวาย จะต้องจำกัดน้ำให้น้อยลง เพื่่อป้องกันภาวะน้ำเกินและภาวะบวม
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรง การแช่ฟองสบู่
ในอ่างอาบน้ำ
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อนช่วยลดความอับชื้นบริเวณฝีเย็บได้ด
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
การขมิบก้น นับ 1 ถึง 10แล้วคลาย ทำซ้ำเช่นนี้ 10-25 ครั้งต่อวัน วันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟพยายามระงับอาการไอหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กำลังใจความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยันของผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
นำหม้อนอน (Bedpan) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิงมาไว้ข้างเตียง
กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการ
เพื่่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
การใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ ถ้าไม่มีน้ำปัสสาวะออกสามรถเอาออกได้
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ( Indwelling catheterization or retained
catheterization)
การสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่
กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์อุปกรณ์สำหรับการสวนปัสสาวะ
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือ
ถุงพลาสติกสำหรับทิ้งสำลีใช้แล้ว
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
ถุงมือปลอดเชื้อ
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง 1 ผืน
ชามกลมใหญ่ 1 ใบ
ถ้วย 2 ใบ สำหรับใส่สำลี 6-8 ก้อน และผ้าก๊อส 1-2 ผืน
Forceps 1-2 อัน
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้ เช่น KY-jelly
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ (Antiseptic solution)
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะ
ที่ใช้สวนเป็นครั้งคราว ควรเลือกใช้แบบ Straight catheterส่วนการสวนคาสายสวนปัสสาวะควรใช้Foley catheter
ขนาดของสายสวนปัสสาวะ
ในผู้หญิงใช้ขนาด 14-16 Fr. ผู้ชายใช้ขนาด 16-20 Fr. เด็กใช้ขนาด 8-10 Fr.และผู้สูงอายุใช้ขนาด 22-24 Fr
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling หรือ Retention catheter)
บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็นของการสวนปัสสาวะ
แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย โดยผู้หญิงจัดท่า Dorsal recumbent position ผู้ชายจัดท่า Supine position ขาแยกออกจากกันเล็กน้อย
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
เทน้ำยาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
ใช้มือซ้ายแหวก Labia ให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะแล้วใช้ Forceps
คีบสำลีชุบน้ำเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะส่วนเพศชายให้ทำความสะอาด
รูเปิดท่อปัสสาวะและ Glans penis
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly ประมาณ 1-2 นิ้ว
(เพศหญิง) หรือ 6-7 นิ้ว (เพศชาย)
สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง)
หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ำปัสสาวะจะไหล
เห็นปัสสาวะไหลออกมาจากนั้นให้ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีกประมาณ ½-1 นิ้ว (เพศหญิง)หรือเกือบสุดสาย(เพศชาย)
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
(Removing Indwelling or Retention catheters)
เตรียมเครื่องใช้
ถุงมือสะอาด 1 คู่
Syringe สะอาดขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์
ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก 1 ใบ สำหรับใส่สำลีที่ทิ้งแล้ว และใส่สายสวนปัสสาวะที่ถอดออกมา
ใส่ถุงมือทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatusให้สะอาด
ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สำหรับใส่น้ำกลั่นแล้วดูดน้ำกลั่น
ออกจนหมด
บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ดึงเอาสายสวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว้
ใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
(Condomcatheter)
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ
ยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาตจะบวม แดง และถลอกต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ำ
หลังจากที่เช็ดตัวหรืออาบน้ำเสร็จแล้ว จึงใส่ถุงยางอันใหม่
ถ้าสังเกตดูพบว่าหนังหุ้มองคชาตมีรอยถลอก บวม แดง หรือมีสีเปลี่ยนไปเพราะเลือด
ไหลเวียนไม่สะดวกจากการที่ถุงยางรัดเกินไปให้งดใส่ชั่วคราว และรายงานแพทย
ต้องคอยดูแลให้ปัสสาวะระบายลงสู่ถุงรองรับปัสสาวะได้สะดวกต้องคอยระวังไม่ให้ถุงยางบิดเป็นเกลียว หรือท่อสายยางของถุงรองรับปัสสาวะหัก พับงอ
กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน ไม่สามารถหาซื้อถุงยางอนามัยได้ ญาติอาจใช้ถุงพลาสติกใช้แทนให้พอเหมาะ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
ห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ
ปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
การเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว
ส่งตรวจ
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น.
ให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวมน้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น.จนครบ 24 ชั่วโมง
ถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือเวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
แนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง ดื่มน้ำมากๆถ้าไม่มีข้อห้าม
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
การซักประวัติ แบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ การเคาะบริเวณไต การคลำและเคาะกระเพาะปัสสาวะ ความตึงตัวของผิวหนัง และภาวะบวม
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
อาจมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน ถ้าไม่มีข้อห้าม
ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
ประเมินผลการพยาบาล ควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์
การประเมินผล