Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบเอ (hepatitis A virus: HAV) เกิดจากการติดเชื้อ hepatitis A virus ซึ่งเชื้อไวรัสสามารถทำให้ตับเกิดการอักเสบ ไวรัสตับอักเสบเอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทำให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อ HAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย ตรวจพบลักษณะอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HAV เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารคลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทำงานของตับ
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการ
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ดังนี้
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอ
2.3 มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
การติดเชื้อในผู้ใหญ่ โดยอาจได้รับเชื้อทางการให้เลือด การสัมผัสทางปาก หรือทางเพศสัมพันธ์ ประชากรส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อ CMV ตั้งแต่วัยเด็กดังนั้นเมื่อไวรัส CMV ในถูกกระตุ้น (reactivated virus) ในขณะตั้งครรภ์ หรือเมื่อสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อซ้ำ(reinfection) เชื้อไวรัสก็จะแพร่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ หรือเกิดขึ้นได้เมื่อมีการติดเชื้อไวรัส CMV ครั้งแรก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์ขณะตั้งครรภ์ระบบภูมิคุ้มกันจะลดลง หากไวรัส CMV ที่แฝงตัวอยู่ มีการติดเชื้อซ้ำ หรือติดเชื้อใหม่ในขณะตั้งครรภ์จะมีทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้น ทำให้เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ผลกระทบต่อทารกทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดำเนินของ
โรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
3.แนะนำและเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ เช่น การงดมีเพศสัมพันธ์
หรือใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการ
แพร่กระจายเชื้อ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
1.งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
2.แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นย้ำเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดและความสำคัญของการมาตรวจ
ตามนัดหลังคลอด
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ rubella virus (germanmeasles virus) โดยติดต่อผ่านทางเดินหายใจ มีระยะฟักตัว 14-21 วัน ระยะติดเชื้อ 7 วันก่อนผื่นขึ้นและ 4 วันหลังผื่นขึ้น หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อหัดเยอรมันในระยะ 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เชื้อไวรัสจะสามารถผ่านไปยังทารก ทำให้ทารกเกิดความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงได้
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง
เป็นต้น
ความผิดปกติถาวร ได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญา
อ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสีย
การได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ เป็นต้น
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีน
จะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนำให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยง
การเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน
แนะนำให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัด
เยอรมัน
4.สตรีที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันหัดเยอรมันหลังคลอดทุกราย
และหลังการให้วัคซีนจะต้องคุมกำเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus) เกิดจากการติดเชื้อ Hepatitis B virus ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะแบ่งตัวได้รวดเร็วส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
ผลต่อทารกทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และHBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ จึงควรแนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ย่อยง่าย
ให้คำแนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดำเนิน
ของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความ
ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ
ระยะคลอด
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของหัวใจทารกใน
ครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2
ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด
หลีกเลี่ยงการทำให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ำนมพบ
ได้น้อยมาก
แนะนำการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกายการป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ำคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนำบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตาม
อาการและป้องกันการติดเชื้อ
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อ Varicella-zoster virus (HZV) ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด สามารถติดต่อได้หลายทาง เช่น โดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง สัมผัสกับของใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ จากตุ่มน้ำของคนที่เป็นสุกใส หรือจากการสูดหายใจเอาละอองเชื้อโรคของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าไปทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ความพิการของทารกในครรภ์มักพบในกรณีที่สตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกำหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทำให้ทารกเกิดความพิการก่อนกำเนิดได้ เช่น ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง (ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ (แผลเป็นตามตัว) ที่เรียกว่า congenitalvaricella syndrome
การติดเชื้อปริกำเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรี
ตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนำให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์ โดย
หลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีน
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้
แข็งแรง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจาย
เชื้อและการปฏิบัติตน
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์
และครอบครัว
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการ
แพร่กระจายเชื้อ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทำความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการ ให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ 5วันแรกหลังคลอด เพื่อป้องกันการติด
เชื้อจากมารดา
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลัก universal precaution ในการสัมผัสน้ำคาวปลา
แนะนำให้แยกของใช้สำหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
ู3.ดูแลให้ทารกรับวัคซีน VariZIG แก่ทารกแรกเกิดทันทีหากมารดาการติดเชื้อในช่วง 5 วันก่อนคลอดถึง
2 วันหลังคลอด
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อุบัติการณ์ของการติดเชื้อโดยกำเนิด 1-10 ต่อ 10,000 การคลอด เป็นการติดเชื้อที่เกิดจากปรสิตคือToxoplasma gondii ซึ่งเป็นโปรโตซัวชนิดอาศัยในเซลล์โดยติดเชื้อได้ทั้งในคนและสัตว์มีพาหะหลักคือแมว ส่วนพาหะชั่วคราวคือ หนูกระต่าย แกะ รวมทั้งคน การติดต่อเกิดขึ้นได้โดยการรับประทานผัก หรือผลไม้ที่ปนเปื้อนดินที่มีoocyte ของเชื้อซึ่งขับออกมาปนกับอุจจาระแมว หรือจากการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ติดเชื้อปรุงไม่สุก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์การแท้ง คลอดก่อนกำเนิด ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์ทารกติดเชื้อในครรภ์ กรณีทื่ทารกมีการติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรกเกิดจะมีลักษณะสำคัญ คือ ไข้ ชักทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification)
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันทีจากนั้นป้ายตาด้วย 1% tetracyclineointment หรือ 0.5% erythromycin ointment หรือ 1% Silver nitrate (AgNO3) หยอดตาตาทารก หลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
แนะนำการปฏิบัติตนหลังคลอด เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติของทารก ต้องรีบพามาพบแพทย์
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อฟลาวิไวรัส(Flavivirus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นยุงชนิดเดียวกับที่เป็นพาหะนำโรค โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya) และไข้เหลือง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์มักแสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3 อาการที่พบบ่อยในคือ มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ และบางการศึกษาพบผื่นหลังคลอด อาการอื่น ๆ ที่พบ คือ อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว
ผลกระทบต่อทารกทารกในครรภ์ และทารกแรกเกิดจากมารดาที่ติดเชื้อไวรัสซิกา คือความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
การพยาบาล
1.ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ หากมีไข้ดูแลให้ได้รับยาลดไข้ตามแผนการรักษา และไม่
ควรรับประทานยากลุ่ม NSAID เนื่องจากจะทำให้เกิดภาวะเลือดออกในอวัยวะภายในได
2.ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก การส่งตรวจ
และติดตามผลการทำ NST การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
3.ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยว่า
ปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ที่ระบาดได้รวดเร็วจนแพร่กระจายทั่วโลกเกิดจากเชื้อไวรัสตระกูล Coronaชื่อ SARS-CoV-2 การติดต่อส่วนใหญ่ผ่านทางสัมผัสละอองฝอยจากการไอ หรือจาม อาการของโรคคล้ายกับไข้หวัดใหญ
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์การตั้งครรภ์ทำให้การดำเนินของโรครุนแรงขึ้นเนื่องจากภูมิต้านของร่างกายขณะตั้งครรภ์ลดต่ำลง สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด การติดเชื้อ COVID-19 ของทารก
การพยาบาล
1 แยกตนเองออกจากครอบครัว และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
2 งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้
กว่า 2 เมตร
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อและติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนมแต่อย่างใด ทารกที่เกิดจากแม่ที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากผู้อื่น
4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง
และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด หรือรวมกลุ่มกันเป็นจำนวนมาก