Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
ยา (Medication)
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
ลักษณะท่าทาง (Body position)
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ คนแต่ละวัยจะมีปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละครั้งแตกต่างกัน
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดไปจากแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
การสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะ เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะ (Urinary catheter) ที่ปลอดเชื้อผ่านท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อระบายปัสสาวะออกมา
ชนิดของการสวนปัสสาวะ มี 2 ชนิด
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
( Indwelling catheterization or retainedcatheterization)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะที่ปกติจะประกอบด้วย น้ำ 96% ยูเรีย 2% และสารอื่น ๆ 2%
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria) หมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ หรือเห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัวต่อ 1 ช่อง
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria) หมายถึง ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria) หมายถึง ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria) หมายถึง ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria) หมายถึง ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria) หมายถึง ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria) หมายถึง ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) หมายถึง ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) หมายถึง ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น แยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condomcatheter)
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ เพราะถุงยางอนามัยลดอัตราเสี่ยงการนำเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ และไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อท่อปัสสาวะ เมื่อใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยอย่างน้อย24 ชั่วโมง และต้องทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งที่เปลี่ยนถุงยางอนามัย
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจมีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรค เนื่องจากไตทำหน้าที่ขับของเสียออกจากเลือด ดังนั้นการตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต และการทำงานของระบบอื่น การเก็บปัสสาวะส่งตรวจที่ถูกต้องมีความสำคัญ วิธีการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ ได้แก่ การเก็บปัสสาวะที่ผู้ป่วยถ่ายเองแต่เก็บเฉพาะช่วงกลางเพื่อส่งตรวจ เก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะ และการเก็บปัสสาวะ24 ชั่วโมง
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine) โดยให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml.โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
กรณีตัวอย่าง ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก หลังผ่าตัดได้รับการคาสายสวนปัสสาวะไว้ 7 วัน ลักษณะปัสสาวะสีเหลืองขุ่น มีตะกอน สัญญาณชีพ 38 องศาเซลเซียส ชีพจร 98 ครั้งต่อนาที หายใจ 20 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิต 120/70 มิลลิเมตรปรอท
การประเมิน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล