Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
บทที่ 9
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อ
การขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ/พัฒนาการในวัยต่างๆ
วัยเด็ก
เด็กวัยก่อนเรียน เริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
เด็กวัยเรียน ระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่
ปัสสาวะรดที่นอนตอนกลางคืนลดลง
ทารก กระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย
ขับถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง
อายุมากกว่า 5 ปี ยังมีปัสสาวะรดที่นอน
ต้องหาสาเหตุ เช่น ความเครียด การเจ็บป่วย
ผู้สูงอายุ
ตื่นขึ้น มาปัสสาวะในตอนกลางคืน (Nocturia)
กล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบตัวลดลง
มีปัสสาวะคั่ง เกิดการติดเชื้อง่ายขึ้น
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวทำให้อยากถ่ายปัสสาวะ
และถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
น้ำและอาหาร
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย
(Loss of body fluid)
เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน
มีผลต่อลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะ
อาหารที่ร่างกายได้รับ
(Food intake)
อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง)
ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ
(Fluid intake)
รับน้ำมาก จำนวนครั้งของการขับถ่าย
และปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
ลักษณะของปัสสาวะจะเจือจาง
ตามปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะ
ส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ
จะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะ
ด้านจิตสังคม
(Psychosocial factors)
ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะ/ได้ยินเสียงน้ำไหล
ความเครียด วิตกกังวล
กระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
สังคมและวัฒนธรรม
(Sociocultural factor)
สังคมและวัฒนธรรมและการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
เช่น การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัว
ที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
ลักษณะท่าทาง
(Body position)
ผู้ชายจะใช้ท่ายืน บางรายจะมีปัญหา
ขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าใช้หม้อนอนบนเตียงราบอาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมดเช่นเดียวกัน
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
(Activity and Muscle tone)
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้นาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลง ปัสสาวะไหลตลอดเวลา กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้เผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นและผลิตปัสสาวะและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
และกล้ามเนื้อหูรูดลดลง ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีปัสสาวะตกตะกอน
พยาธิสภาพ
(Pathologic conditions)
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่างๆ เช่น สตรีตั้งครรภ์มดลูกขยายตัวขึ้นทำให้กดทับ
กระเพาะปัสสาวะ ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลง รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
มีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
เช่น นิ่ว ความดันโลหิตสูง
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ (Surgical and diagnostic procedure)
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจใน
ระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ทำให้มีเลือดออกในปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติดทำให้อัตราการกรองที่ โกลเมอรูสัสลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
ทำให้ผู้ไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ความเครียดและความวิตกกังวลในรักษา ร่างกายหลั่ง ADH
และเพิ่มขึ้นของ Aldosterone เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
คนปกติ
เวลาถ่ายปัสสาวะไม่เกิน 30 วินาที
และตลอดการถ่ายไม่มีอาการเจ็บปวด
กรณีไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที สามารถกลั้นได้
และเมื่อจะปัสสาวะ สามารถปัสสาวะได้ทันที
ถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน และปัสสาวะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมง
เวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง เวลากลางคืน
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร
ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ
ทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
ตรวจกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination)
ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม และ
เป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณ
วันละ 800–1,600 มิลลิลิตร และลักษณะใส ไม่ขุ่น
การขับถ่ายปัสสาวะ
ที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria)
ไตสูญเสียหน้าที่ ไม่มีปัสสาวะ ไม่สามารถกระตุ้น
ผนังกระเพาะปัสสาวะให้เกิดความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะได้
ปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวัน
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria)
ปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร
ใน 24 ชั่วโมง/น้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria)
่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ
(มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน)
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
พบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบแคบ
ปัสสาวะไม่สุดและปัสสาวะตกค้าง ทำให้ปัสาวะบ่อยตอนกลางวันและกลางคืน
พบได้ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria)
ใช้เวลาและแรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น อาการปวดแสบปวดร้อน
ขณะถ่ายปัสสาวะ อยากถ่ายปัสสาวะแบบทันที
ถ่ายปัสสาวะบ่อย/กะปริบกะปรอย
(Pollakiuria)
หดตัวตลอดเวลาจากการอักเสบติดเชื้อ
เนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุ
ลดลงจากก้อนเนื้องอก นิ่ว
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
เพราะประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยังเจริญไม่เต็มที่
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) ไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ กระเพาะปัสสาวะจะตึงแข็งเหนือหัวเหน่าคลำได้เป็นก้อน
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่/กลั้นปัสสาวะไม่ได้
(Urinary incontinence)
ปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะไหลซึมไม่ตั้งใจ มีความดัน
ในช่องท้องสูงขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ
ปัสสาวะท้น
กระเพาะปัสสาวะบีบตัวน้อยลง มีการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ท่อปัสสาวะตีบ ผิดปกติของระบบประสาท/ได้รับยา anticholinergic agent
ปัสสาวะจำนวนมากเกินกว่าที่กระเพาะปัสสาวะ
จะเก็บกักไว้ได้ทำให้ปัสสาวะส่วนเกินไหล ไม่รู้สึกปวดปัสสาวะ
กลั้นปัสสาวะไม่ทันหรือ
ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
การขยายตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อ
กระเพาะปัสสาวะ เช่น การติดเชื้อ
พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง เช่น ปัสสาวะบ่อยๆ
เป็นนิสัย ทำให้กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลง
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ที่เกิดจากภาวะ/โรคอื่น ๆ
ภาวะที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว
และอุจจาระอัดแน่น
เช่น จากการติดเชื้อ สาเหตุจากจิตใจ-อารมณ์ อาการเพ้อคลั่ง
กลั้นปัสสาวะ
ไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
การคลอดบุตรยากทำให้เกิดรูรั่ว
ระหว่างกระเพาะปัสสาวะและช่องคลอด
สาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ
ได้รับการผ่าตัดใน อุ้งเชิงกราน
ส่วนประกอบของ
ปัสสาวะที่ผิดปกติ
น้ำตาลในปัสสาวะ
(Glycosuria)
น้ำตาล ที่ Filtrate ผ่าน Glomerulus
ทั้งหมดจะมีการ Reabsorb กลับที่ Proximal tubules
น้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินกว่า Renal threshold
(160-180 mg/dL) ที่ไตจะดูดกลับได้ พบในผู้ป่วยเบาหวาน
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria)
มีโปรตีนในน้ำปัสสาวะเป็นโรคไต
การกรองของกรวยไตไม่ดี อาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ
ตรวจเชิงกึ่งปริมาณวิเคราะห์ ใช้แผ่นทดสอบเทียบสี
(Urine dipstick for protein) ตรวจพบตั้งแต่ 1+ขึ้นไป
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
คีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมัน
ให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ำตาล
พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาไม่ดี
และในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาล
ของบิลิรูบิน (Bilirubinuria
พบ Conjugated bilirubinในปัสสาวะ มีการอุดตันของทางเดินน้ำดีจากการมี Hemolytic jaundice
พบ Urobilirubin ในปัสสาวะ
แสดงว่าเซลล์ตับถูกทำลาย
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
เม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
มีสาเหตุที่ไต ท่อไต กรวยไต กระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดำของ
ฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
การสลายตัวของเม็ดเลือดแดง
เกิด Oxyhemoglobin / Methemoglobin ในปัสสาวะ
การได้รับเลือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ น้ำร้อนลวก
เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ เช่น คนที่ขาดเอ็นไซม์ G6PD
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
มีแบคทีเรียร่วมด้วย ตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนม
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) เนื่องจาก
มีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria) ปัสสาวะสีขาวขุ่น แยกสีขาวขุ่นจากหนอง
การใส่อีเธอร์ในปัสสาวะ ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใส = ไขมัน, ขุ่นเหมือนเดิม = เป็นหนอง/แบคทีเรีย
หลักการส่งเสริมสุขภาพ
ในระบบทางเดินปัสสาวะ
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
ใช้มือนวดเบาๆ ที่ท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่า
ให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่กระเพาะปัสสาวะ
ในระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเนื้อฝีเย็บสลับกับการนวดด้วย
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กำลังใจ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
นำหม้อนอนในกรณีผู้หญิง/กระบอกปัสสาวะในกรณีผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการ
ขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิด
ขณะถ่ายปัสสาวะ สิ่งแวดล้อมในห้องน้ำสะอาดและปลอดภัย
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไปและ
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
ป้องกันการติดเชื้อ
ในระบบทางเดินปัสสาว
อาบน้ำฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ หลีกเลี่ยง
การใช้สบู่ที่แรง การแช่ฟองสบู่ ในอ่างอาบน้ำ
การใช้แป้งหรือสเปรย์บริเวณฝีเย็บ
ใส่ชุดชั้นในผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่น/คับ
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ
รับประทานวิตามินซี และดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
ดื่มน้ำ วันละ 8 แก้ว และดื่มน้ำ 2 แก้วก่อน-หลังมี
เพศสัมพันธ์ และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อ
ทำงานอย่างเต็มที่
ทำ Kegel exercise ด้วยการขมิบก้น นับ 1 ถึง 10 แล้วคลาย
ทำซ้ำเช่นนี้ 10-25 ครั้งต่อวัน วันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน
ส่งเสริมให้ได้
รับน้ำอย่างเพียงพอ
วันละ 6-8 แก้ว เพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ/มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะจาก
สายสวนปัสสาวะที่คาไว้
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณ
ที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่ง
ที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
แนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. ปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บและรวบรวมน้ำปัสสาวะ
ที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็น
ครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ/ประมาณ 30-50 ml. ห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ
นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการ
ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะได้
การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา
ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
เมื่อใส่ถุงยางอนามัย ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัย 24 ชั่วโมง
และต้องทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งที่เปลี่ยน
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ในรายที่ต้องรักษาตัวนานๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการ
ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคือง
ของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการอักเสบ
ในรายที่มีแผล
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาต จะบวม แดง และถลอก เปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน
กรณีที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน ไม่สามารถหาซื้อถุงยางอนามัยได้
ญาติอาจใช้ถุงพลาสติกใช้แทนให้พอเหมาะขั้นตอนการเตรียมเหมือนกับถุงยางอนามัย
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อและเพื่อ
สวนล้างกระเพาะปัสสาวะ/ใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะ
ที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
และเพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับ
ออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วย
ที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
ชนิดของการ
สวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
(Intermittent catheterization)
ระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้ว
จะถอดสายสวนปัสสาวะออก
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
(Indwelling catheterization)
สอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter
ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
แล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
(Sterile catheterization set)
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้ เช่น KY-jelly
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ (Antiseptic solution)
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงพลาสติกสำหรับทิ้งสำลีใช้แล้ว
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อันและ Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด 1 ใบ
และโคมไฟ /ไฟฉาย พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะที่ใช้ครั้งคราว
แบบ Straight catheter
สวนคาสายสวนปัสสาวะใช้ Foley catheter
มีบอลลูนอยู่ส่วนปลายสาย
สายสวนปัสสาวะที่ใช้
สวนคาไว้ มี 2 ชนิด
มี 2 ชนิด คือ แบบ 2 หาง หางหนึ่งใส่น้ำกลั่นบริสุทธิ์
เพื่อให้บอลลูนโป่ง อีกหางหนึ่งสำหรับให้ปัสสาวะ
3 หางเพิ่มขึ้นอีกหางสำหรับเป็นทางให้ใส่น้ำ/น้ำยาเข้าสู่
กระเพาะปัสสาวะ เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ
ขนาดของสายสวนปัสสาวะ
ผู้หญิงใช้ขนาด 14-16 Fr. ผู้ชายใช้ขนาด 16-20 Fr.
เด็กใช้ขนาด 8-10 Fr.และผู้สูงอายุใช้ขนาด 22-24 Fr.
ไม่ควรใช้ 0.9% NaCl ใส่ในบอลลูน เนื่องจากเกลืออาจปิดกั้นช่องที่ใช้ใส่น้ำ
เพื่อทำให้บอลลูนขยาย ทำให้บอลลูนไม่แฟบเมื่อดูดน้ำออกรู
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
เทน้ำยาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ/ชามกลมใบใหญ่
และฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ ใช้ Transfer forceps คีบสายสวนออกจากซองวางลงในชามกลม ระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค
คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ใช้มือซ้ายแหวก Labia ใช้ Forceps
คีบสำลีชุบน้ำเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะ ส่วนเพศชายทำความสะอารูเปิดท่อปัสสาวะและ Glans penis
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด เปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลำดับการใช้อยู่ในบริเวณ
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly ประมาณ 1-2 นิ้ว (เพศหญิง) / 6-7 นิ้ว (เพศชาย)
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย
ผู้หญิงจัดท่า Dorsal recumbent position
ถอดผ้าถุงออกจัดผ้า (Drape) เปิดเฉพาะบริเวณฝีเย็บ
ผู้ชายจัดท่า Supine position ขาแยกเล็กน้อย
กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเสะโพกและชันเข่าไม่ได้ ให้จัดท่า Sim’s / Side-lying position
ยกภาชนะรองรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขาผู้ป่วย
ใช้มือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะให้ปลายเปิด ด้านโคนของสายวางอยู่ในภาชนะรองรับน้ำปัสสาวะ
ล้างมือ เตรียมของใช้ไปที่เตียงผู้ป่วย กั้นม่าน และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
ค่อยๆสอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก
2-3 นิ้ว (เพศหญิง) / 6-8 นิ้ว (เพศชาย) จนน้ำปัสสาวะจะไหล
บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจำเป็น
ของการสวนปัสสาวะ วิธีปฏิบัติตัว และประโยชน์
ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะและเปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือ
ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter
ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีกประมาณ ½-1 นิ้ว (เพศหญิง) / เกือบสุดสาย (เพศชาย)
ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดที่แหวก Labia /จับ Penis อยู่เลื่อนมาจับสายสวน อีกมือหยิบกระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำกลั่นอยู่
ดันน้ำกลั่นเข้าไปทางหาง Foley ที่มีแถบสี ไม่เกิน 10 มิลลิลิตร ดึงสายสวนเบาๆ พอตึง ดันกลับเล็กน้อย
เช็ดบริเวณ Vulva ให้แห้ง ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขา
ของผู้ป่วย และใช้เข็มกลัดติด สายของถุงรองรับปัสสาวะกับที่นอน
สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา ระวังอย่าให้ปลายสาย contaminate ต่อหางสายสวนเข้ากับปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะให้แน่น
เก็บ Set สวนปัสสาวะออกจากเตียง จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย เก็บของใช้ และบันทึกรายงาน
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
สังเกตลักษณะ จำนวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง ลงบันทึกวันเวลาที่
เอาสายสวนออก จำนวน สี ลักษณะของปัสสาวะลงในบันทึกทางการพยาบาล
บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆขณะที่ค่อยๆ ดึงเอาสายสวนออกแล้ว
ใส่ในถุงที่เตรียมไว้และใช้กระดาษชำระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย เช่น ไม่สุขสบาย
ปวดแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจเป็นอาการของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
เตรียมเครื่องใช้ บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatus
และต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวน ดูดน้ำกลั่นออกจนหมด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและ
ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
ตรวจร่างกายใน
ระบบทางเดินปัสสาวะ
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ แบบแผน
และลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วย
ประเมินผลการพยาบาลประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์
การประเมินผล เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใส ไม่มีตะกอน
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อ