Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่ เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
ส่วนเด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่ จะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนจะลดลง
ผู้สูงอายุ
มีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น และมักจะตื่นขึ้น มาปัสสาวะในตอนกลางคืน
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก ลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid) เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ก็มีผลต่อลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะเช่นเดียวกัน
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake) เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ความปวดมีผลยับยั้งการ ถ่ายปัสสาวะ
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
สังคมและวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ลักษณะท่าทาง (Body position)
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมด
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา ทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น และกล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดี
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอน
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
เช่น ในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจึงรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy) อาจมีผลทำให้มีเลือดออกในปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทำให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone ทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำ
การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotic analgesics) ทำให้อัตราการกรองที่ โกลเมอรูสัส (Glomerulus) ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง หรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง (ในคนปกติทั่วไปร่างกายจะผลิตน้ำปัสสาวะในอัตรา 0.5-1 ml./kg./hr.)
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts, Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression) เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กก./ชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis) เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน) อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจากดื่มน้ำมาก ได้รับยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria) เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น บางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ หรือภาวะที่ไม่มีการถ่ายปัสสาวะในระยะเวลา 8–10 ชั่วโมง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)
เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ อาจมีอาการปัสสาวะกระปริดกระปรอย หรือกลั้นไม่ได้มีปัสสาวะไหล
มี 5 ประเภท
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence)
ปัสสาวะจะไหลตลอดเวลาโดยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Urge incontinence/ Urgency/ Overactive bladder)
เป็นภาวะที่เมื่อรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะก็มีปัสสาวะเล็ดหรือราดออกมาทันทีไม่สามารถควบคุมได้
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
การที่มีปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่ตั้งใจ ขณะที่มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะจำนวนมากเกินกว่าที่กระเพาะปัสสาวะจะเก็บกักไว้ได้
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ (Functional Incontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะที่ปกติ
ผลการตรวจปัสสาวะในห้องปฎิบัติการ
White Blood Cells (WBC, เม็ดเลือดขาว) : Negative
Red Blood Cells (RBC, เม็ดเลือดแดง) : Negative
Epithelial Cells (Epi, เซลเยื่อบุทางเดินปัสสาวะ) : Negative
Glucose (GLU, น้ำตาลในปัสสาวะ) : Negative
Bilirubin (BIL, น้ำดี) : Negative
Ketones (KET, ภาวะเป็นกรดในร่างกาย) : Negative
Specific Gravity (SG, ความถ่วงจำเพาะ) : 1.003 - 1.030
Blood (BLD, เลือด) : Negative
pH (ความเป็นกรด - ด่าง) : 4.6 - 8.0
Protein (PRO, โปรตีน) : Negative
Urobilinogen (UBG, สารที่ได้จากน้ำดี) : 0.3 - 1.0 EU/dL
Nitrite (NIT, ภาวะติดเชื้อแบคทีเรีย) : Negative
Leukocytes (LEU, เม็ดเลือดขาว) : Negative
Color (COL, สี) : Yellow Clear
จะประกอบด้วย น้ำ 96% ยูเรีย 2% และสารอื่น ๆ 2%
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ หรือเห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดงมากกว่า 3 ตัวต่อ 1
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ำตาล
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria)
ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะไม่พบในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนม
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condom catheter)
เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
การตรวจปัสสาวะสามารถบอกหน้าที่ของไต และการทำงานของระบบอื่น การเก็บปัสสาวะส่งตรวจที่ถูกต้องมีความสำคัญ
วิธีการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตรวจ ได้แก่ การเก็บปัสสาวะที่ผู้ป่วยถ่ายเองแต่เก็บเฉพาะช่วงกลางเพื่อส่งตรวจ เก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะ และการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
โดย ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวม น้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร อาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสียออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร เพื่อให้มีปัสสาวะจำนวนมากพอที่จะชะล้างเชื้อโรคให้ออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ และลดการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะจากนิ่ว
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาล
แนะนำผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรง การแช่ฟองสบู่ ในอ่างอาบน้ำ การใช้แป้งหรือสเปรย์บริเวณฝีเย็บ
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง เพื่อชะล้างแบคทีเรียออกจากท่อปัสสาวะและป้องกันจุลชีพเคลื่อนขึ้นไปยังกระเพาะปัสสาวะ
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน เนื่องจากผ้าฝ้ายทำให้อากาศถ่ายเท ได้สะดวก ช่วยลดความอับชื้นบริเวณฝีเย็บได้ดี เนื่องจากความอับชื้นทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี
ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร) เพื่อชะล้างแบคทีเรียออกจากระบบทางเดินปัสสาวะ
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป เพราะทำให้ระคายเคืองบริเวณรูเปิด ท่อปัสสาวะ
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี และดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์ สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
ถ้ากล้ามเนื้อภายในอุ้งเชิงกรานและช่องคลอดหย่อนสมรรถภาพ จะทำให้ปัสสาวะไม่ออกและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โ
รับประทานอาหารที่มีกากมากๆ เพื่อให้อุจจาระอ่อนตัวขับถ่ายได้สะดวก ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ พยายามระงับอาการไอ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
การเปิดก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการทำให้ถ่ายปัสสาวะได้
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ ผลของความร้อนจะไปกระตุ้นประสาทสัมผัสทำให้เกิดปฏิกิริยาสะท้อนและรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ สิ่งแวดล้อมในห้องน้ำสะอาดและปลอดภัย
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะ จน ทำให้มีปัสสาวะจำนวนมาก คั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะแต่ถ่ายไม่ออก
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
เป็นวิธีที่ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก จนเป็นผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
พยาบาลอาจต้องนำหม้อนอน (Bedpan) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization)
อุปกรณ์
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสำหรับทิ้งสำลีใช้แล้ว
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
ชามกลมใหญ่ 1 ใบ
ถ้วย 2 ใบ สำหรับใส่สำลี 6-8 ก้อน และผ้าก๊อส 1-2 ผืน
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง 1 ผืน
Forceps 1-2 อัน
ถุงมือปลอดเชื้อ (บางโรงพยาบาลอาจแยกออกจากชุดสวนปัสสาวะ)
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้ เช่น KY-jelly
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ (Antiseptic solution) เช่น Povidone-iodine (บางโรงพยาบาลไม่ใช้)
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
สายสวนปัสสาวะที่ใช้สวนเป็นครั้งคราว ควรเลือกใช้แบบ Straight catheter ส่วนการสวนคาสายสวนปัสสาวะควรใช้ Foley catheter
ขนาดของสายสวนปัสสาวะ วัดจากเส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกของสายสวน
โดยเรียกเป็นมาตราฝรั่งเศส (French scale หรือย่อว่า Fr.) ซึ่ง 1 Fr. เท่ากับ 1/3 มิลลิเมตร