Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
1 อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ
1) วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
เด็กวัยก่อนเรียน จะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
2) ผู้สูงอายุ เมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
2 น้ำและอาหาร
1) จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
2) จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ก็มีผลต่อลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะเช่นเดียวกัน
3) อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake) เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
3 ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
4 ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors) เช่น ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
5 สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor) สังคมและวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
6 ลักษณะท่าทาง (Body position)
7 กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
8 พยาธิสภาพ (Pathologic conditions) มีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
9 การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้วดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออก
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
3) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
7) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ มี 2 ชนิด
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
4 คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
5 ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria)
8 นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
9 ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
3 โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
6 ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
2 น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
7 ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
1 ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
1) แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
(1) อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
(2) กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
(3) เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
(4) ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
(5) ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
(6) ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
(7) มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
(8) การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
(9) จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง หรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง
(10) Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
2) ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
(1) ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
(2) ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
(3) สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
(4) มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
(5) มีความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
(6) เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (ไม่พบ Casts, Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง)
(7) ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
2 การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
1) ไม่มีปัสสาวะ
2) ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria)
7) ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
8) ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention)
3) ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis)
9) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)
2) กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
(3) ปัสสาวะเล็ด
(1) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
(4) ปัสสาวะท้น
(5) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ
4) ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
5) ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria)
6) ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria)
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะได้
วัตถุประสงค์
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาต จะบวม แดง และถลอก ดังนั้น ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
6 เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
3 ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
5 สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
7 การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
2 ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
1) ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร)
2) ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
3) ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ และปัสสาวะทิ้งทันทีหลัง
4) อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ
5) ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน
6) หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
7) เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี และดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
4 การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
1 ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว