Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่าย
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่างๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารก: กระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย ปัสสาวะบ่อยครั้ง
เด็กก่อนวัยเรียน: เริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เอง
เด็กวัยเรียน: ระบบขับถ่ายปัสสาวะเจริญเต็มที่ ปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน
ผู้สูงอายุ
มีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 ml กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากปัสสาวะ และทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง และมักตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
: ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากเกินไป จำนวนครั้งในการปัสสาวะและปริมาณก็จะมาก ลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจาง
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
: การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย ก็มีผลต่อลักษณะ จำนวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะ
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)
: อาหารที่มีความเค็มมาก ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
: ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของปัสสาวะเปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียด ความวิตกกังวล กระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อย ความกลัวที่รุนแรงทำให้ปัสสาวะไม่ได้
ความเจ็บปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีคนพูดถึงเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ำไหล
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
: การอบรมเลี้ยงดู
ลักษณะท่าทาง (Body position)
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทำให้การเผาผลาญพลังงานเพิ่มขึ้น มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้น และถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่ตาสายสวนปัสสาวะไว้เวลานาน
ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลง
สตรีหมดประจำเดือน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ ร่างกายไม่ได้รับการเคลื่อนไหว
ความตึงตัวของกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ (Surgical and diagnostic procedure)
ความเครียดความวิตกกังวลในกระบวนการรักษา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
อยากถ่ายเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 ml
สามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
เวลาที่ใช้ปัสสาวะ ไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะไม่มีการเจ็บปวด
ลำปัสสาวะในตอนแรกจะพุ่งแรงและใหญ่หว่าตอนสุด
ปัสสาวะ 4-6 ครั้ง/วัน กลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน หลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 ml/ครั้ง หรือไม่น้อยกว่า 30 ml ใน1 ชม.
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 ml ในผู้ใหญ่
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800-1,600 ml
ใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงเหลืองเข้ม
เป็นกรดอ่อนๆ
ความถ่วงจำเพาะประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ ไม่พบ Casts, Bacteria, Albumin หรือน้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
ปัสสาวะมากกว่าปกติ
ปัสสาวะตอนกลางคืน
ปัสสาวะขัด หรือลำบาก
ปัสสาวะกระปริบกระปรอย
ปัสสาวะรดที่นอน
ปัสสาวะคั่ง
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กลั้นปัสสาวะไม่ได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน
ปัสสาวะเล็ด
ปัสสาวะท้น
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่นๆ
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด
: ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง
น้ำตาลในปัสสาวะ
: ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาด้วยกับน้ำปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ
: ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมินในปัสสาวะมากกว่า 150 ml/วัน
คีโตนในปัสสาวะ
: ภาวะตรวจพบคีโตนในปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลมาจากการเผาผลาญไขมันเป็นพลังงาน
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน
ปัสสาวะเป็นหนอง
นิ่วในปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
:อย่างน้อยวันละ6-8 แก้ว
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุกๆ 2-4 ชม.
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์ุ
อาบน้ำด้วฝักบัวแทนอ่างอาบน้ำ
ใสชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้าย
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยรับประทานวิตามินซี หรือดื่มน้ำผลไม้ที่เป็นกรด
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวก
การเป็นก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหล
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่าย ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือกระเพาะปัสสาวะ
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
นำกระบอกปัสสาวะ และหม้อนอนไปให้ผู้ป่วย
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
: เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
: เป็นการสอดสายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสุ่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนไว้
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
การใส่ถุงยางอนามัย
: เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ ใส่ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ถุงยางอนามัยทำให้ลดอัตราเสี่ยงการนำเชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ต้องเปลี่ยนถุงอย่างอนามัยอย่างน้อย 24 ชม. และต้องทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ุทุกครั้งที่เปลี่ยนถุงยาง
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อยๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในการที่ต้องรักษาตัวนานๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็ยปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะส่งตรวจให้เร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1.
ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15-30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
2.
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
3.
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่เก็บปัสสาวะด้วนน้ำยาฆ่าเชื้อ
4.
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชม.
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชม. แล้วส่งตรวจ
แนะนำ
ให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)