Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
สังคมและวัฒนธรรมประเพณีรวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
ลักษณะท่าทาง (Body position)
ปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่งถ้าจำเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมด
น้ำและอาหาร
(Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid) เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake) เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลาทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลง
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้นทำให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น และกล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดี
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลงการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอน
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยการขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่ส่วนเด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่จะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวันปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนจะลดลง
ผู้สูงอายุเมื่อมีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้นและมักจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทำให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทำให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone ทำให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ำ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
คนแต่ละวัยจะมีปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละครั้งแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการทำหน้าที่ของการขับถ่ายปัสสาวะ
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
5.ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง หรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบากภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้นบางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะอยากถ่ายปัสสาวะแบบทันทีทันใด อาจมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่า และฝีเย็บ
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอยภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
ปัสสาวะตอนกลางคืนภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติ
ปัสสาวะรดที่นอนภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
ปัสสาวะมากกว่าปกติภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจำนวนมากกว่าปกติ
ปัสสาวะคั่งภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจำนวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กก./ชั่วโมง โดยทั่วไปนึกถึงภาวะขาดน้ำหรือได้รับน้ำน้อย
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ไม่มีปัสสาวะปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน
ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
คีโตนในปัสสาวะ
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ำตาล
ปัสสาวะเป็นหนอง
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนม
โปรตีนในปัสสาวะ
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
นิ่วในปัสสาวะ
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
น้ำตาลในปัสสาวะ
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ โดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
ไขมันในปัสสาวะ
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
การสวนปัสสาวะ
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization)
เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization)
เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
3) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
7) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
1) เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บและรวบรวม น้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมงแล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น ควรแนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้งให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะหรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นำปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินผลการพยาบาล
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การประเมิน
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ