Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย
การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ผู้สูงอายุ
ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปตามวัย
มีน้ำปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร
กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทำให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ
ทำให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น
น้ำและอาหาร (Food and fluid)
จำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
ร่างกายได้รับน้ำมากจำนวนครั้งของการ
ขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
จำนวนน้ำที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)
การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง
เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)
อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง)
ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทำให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ำปัสสาวะเปลี่ยนแปลง
ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทำให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น
ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ความกลัวที่รุนแรงอาจทำให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้
ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะ
ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ำไหล
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
การอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
วัฒนธรรมที่ถือความเป็นส่วนตัวสูง
การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น
ลักษณะท่าทาง (Body position)
ปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืน
มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ
ผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง
จำเป็นต้องใช้หม้อนอนบน
เตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมด
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
(Activity and Muscle tone)
การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ทำให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
ทำให้มีการผลิตปัสสาวะ
มากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
กล้ามเนื้อหูรูดทำหน้าที่ได้ดี
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน
ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจาก
ปัสสาวะไหลตลอดเวลา
ทำให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจำเดือน
ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
ทำให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว
มีผลทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
กระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอนได้
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
โรคหลายชนิดมีผลต่อ
การสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
นิ่ว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
ภาวะหัวใจล้มเหลว
การเปลี่ยนแปลงของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย
ในสตรีตั้งครรภ์มดลูกมีการขยายตัวขึ้นทำให้กด
ทับกระเพาะปัสสาวะ
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
คนแต่ละวัยจะมีปัสสาวะที่ขับถ่ายออกมาในแต่ละครั้งแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการทำหน้าที่ของการขับถ่ายปัสสาวะ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที
ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะ
ปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันท
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลำปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้ง หรือไม่ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง
Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอำพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์
(Microscopic examination)
ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin
น้ำตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression)
เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า
50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
จากภาวะไตสูญเสียหน้าที่จึงไม่มีปัสสาวะหรือมีน้อยมาก
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ (Oliguria)
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24
ชั่วโมง หรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ำหนักตัว 1 กก./ชั่วโมง
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis)
เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมา
จำนวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน)
เป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจาก
ดื่มน้ำมาก ได้รับยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน
มากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป
เป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต
มักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต
ท่อปัสสาวะตีบแคบ
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลำบาก (Dysuria)
เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึก
ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลำบาก
ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria)
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ
มีจำนวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
กระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจากก้อนเนื้องอก นิ่ว
มีการหดตัวตลอดเวลาจากการอักเสบติดเชื้อ
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
ป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป
เด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ เพราะประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยังเจริญไม่เต็มที่
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention)
เป็นภาวะที่มีน้ำปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ
มีมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
(Urinary incontinence)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง (True Incontinence)
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน (Urge incontinence/Urgency/ Overactive bladder)
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence)
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ (Functional Incontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
ทำให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
เห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดง
มากกว่า 3 ตัวต่อ 1 ช่อง (RBC>3cells/HPF)
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
ภาวะที่มีน้ำตาลปนออกมาในน้ำปัสสาวะ
คนปกติจะตรวจไม่พบน้ำตาลในปัสสาวะ
มักจะพบในผู้ป่วยเบาหวาน
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
ใช้การตรวจโปรตีนในปัสสาวะในเชิงกึ่งปริมาณวิเคราะห์ โดยใช้แผ่นทดสอบเทียบสี
(Urine dipstick for protein)
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ำปัสสาวะโดยคีโตนเป็น
ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน
พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการรักษาไม่ดี
ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ำตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria)
ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ำปัสสาวะ โดย bilirubin
Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะ
ไม่พบในปัสสาวะ
แสดงว่ามีการอุดตันของทางเดินน้ำดีจาก
การมี Hemolytic jaundice
ถ้าพบ Urobilirubin ในปัสสาวะแสดงว่าเซลล์ตับถูกทำลาย
ปัสสาวะมีสีดำของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทำให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
อาจเกิดจากการได้รับเลือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ำร้อลวก
เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง
เม็ดเลือดขาวในน้ำปัสสาวะบางครั้ง
อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย
เห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ำนม
พบในผู้ป่วยที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ำปัสสาวะ
มีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ำปัสสาวะทำให้
เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
แยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะ
ปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใส แสดงว่าเป็นไขมัน
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ
6-8 แก้ว หรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร
อาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจำนวนน้ำที่สูญเสีย
ออกจากร่างกาย
ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ หรือมีนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ต้องได้รับน้ำเพิ่มมากขึ้นประมาณวันละ 2,000-3,000 มิลลิลิตร
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว (แก้วละ 240 มิลลิลิตร)
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
ดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
ปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์
เพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ
อาบน้ำด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ำ
หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรง
การแช่ฟองสบู่ในอ่างอาบน้ำ
ใส่ชุดชั้นในที่ทำด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทำด้วยไนล่อน
ผ้าฝ้ายทำให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
ช่วยลดความอับชื้นบริเวณฝีเย็บได้ดี
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี
ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์
สำหรับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทำงานอย่างเต็มที่
กระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
ป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โดยการทำ Kegel exercise
ขมิบก้น นับ 1 ถึง 10 แล้วคลาย
ทำซ้า 10-25 ครั้งต่อวัน วันละ 3-4 ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน
รับประทานอาหารที่มีกากมากๆ
ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ
พยายามระงับอาการไอ และหลีกเลี่ยงการยกของหนัก
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
สิ่งแวดล้อมในห้องน้ำสะอาดและปลอดภัย
มีแสงสว่างเพียงพอ พื้นไม่ลื่น
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ำให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ำไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
การใช้น้ำอุ่นราดบริเวณฝีเย็บ
การวางกระเป๋าน้ำร้อนที่ท้องน้อย
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะ
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
ใช้มือนวดเบาๆ ที่ท้องน้อยเหนือกระดูกหัวเหน่า
บอกให้ผู้ป่วยกลั้นหายใจขณะที่กดปลายนิ้วลงไปที่
กระเพาะปัสสาวะ
ในระหว่างที่นวดให้ผู้ป่วยขมิบกล้ามเนื้อฝีเย็บสลับกับการนวดด้วย
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้ป่วยไปปัสสาวะ ชมเชย และให้กำลังใจ
ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเต็มใจและความขยัน
ของผู้ป่วย
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ำได้
พยาบาลอาจต้องนำหม้อนอน (Bedpan)
ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง
กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วย
เป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
(Intermittent catheterization)
เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
เพื่อระบายน้ำปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
เมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ำปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
( Indwelling catheterization or retained catheterization)
เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์
ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้
น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ (Antiseptic solution)
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condom catheter)
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก
ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่
ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาตจะบวม แดง และถลอก
ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด
ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง
ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
ประมาณ 30-50 ml.
โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้
นานประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว
ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น.
โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ
และรวบรวมน้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง
ถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
ควรแนะนำให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง
ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
การซักประวัติ แบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ
จำนวนครั้งใน 24 ชั่วโมง
ลักษณะและสีของปัสสาวะ
ปริมาณน้ำดื่มต่อวัน
ยาที่รับประทานประจำ โรคประจำตัว
กิจกรรมที่ทำประจำวัน
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
การเคาะบริเวณไต เพื่อหาตำแหน่งที่ปวด
การคลำและเคาะกระเพาะปัสสาวะ
ตรวจสี ลักษณะ และความตึงตัวของผิวหนัง และภาวะบวม
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อมูลของกรณีร่วมกับข้อมูลสนับสนุนที่ได้จาก
การประเมินสามารถกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
เพื่อลดการติดเชื้อในระบบทางเดิน
ปัสสาวะของผู้ป่วย
ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์
การประเมินผล
ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน
สัญญาณชีพปกติ