Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริม การขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริม
การขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
ลักษณะท่าทาง
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจําเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมดเช่นเดียวกัน
ยา
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะเปลี่ยนแปลงยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การออกกําลังกายสม่ําเสมอ ทําให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทําให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา ทําให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทําให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะไม่ดีและมีปัสสาวะตกตะกอนได้
น้ำและอาหาร
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย เช่นการสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง
อาหารที่ร่างกายได้รับ เช่นอาหารที่มีความเค็มมาก
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ ถ้าร่างกายได้รับน้ํามากจํานวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่นนิ่ว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น ส่งผลให้ความจุของกระเพาะปัสสาวะลดลงจึงรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะบ่อย
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่างๆ
วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่
ผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทําให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosteroneทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy)อาจมีผลทําให้มีเลือดออกในปัสสาวะ เป็นต้น
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทําให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด)ทําให้อัตราการกรองที่โกลเมอรูสัสลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ100-400มิลลิลิตร
ปัสสาวะประมาณ 4-6ครั้งต่อวันและปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
จํานวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้งหรือไม่ควรน้อยกว่า 30มิลลิลิตรใน 1 ชั่วโมง
Residual urineไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตร ในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน 100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต มักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบแคบ
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลําบาก เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลําบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น บางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ มักปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
ปัสสาวะมากกว่าปกติ เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจํานวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน) อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจํานวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง
ไม่มีปัสสาวะ เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ปัสสาวะคั่ง เป็นภาวะที่มีน้ําปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจํานวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน(Bilirubinuria หรือ Choluria)หมายถึง ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobinซึ่งปกติจะไม่พบในปัสสาวะ ถ้าพบ Conjugated bilirubinในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน(Hemoglobinuria)หมายถึง ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ อาจเกิดจากการได้รับเลือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ําร้อนลวก เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)หมายถึง ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ําปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ําตาล
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)หมายถึงภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ําปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ํานม
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)หมายถึง ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งในทางปฏิบัติอนุโลมใช้การตรวจโปรตีนในปัสสาวะในเชิงกึ่งปริมาณวิเคราะห์ โดยใช้แผ่นทดสอบเทียบสี
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)หมายถึงภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะทําให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น แยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะถ้าปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใส แสดงว่าเป็นไขมัน
น้ำตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)หมายถึง ภาวะที่มีน้ําตาลปนออกมาในน้ําปัสสาวะโดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ําตาลในปัสสาวะ เนื่องจากน้ําตาลที่ Filtrate ผ่าน Glomerulus ทั้งหมดจะมีการ Reabsorb กลับที่ Proximal tubules
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)หมายถึง ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi) หมายถึง ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาล พยาบาลควรสอนและแนะนําผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
ถ้ากล้ามเนื้อภายในอุ้งเชิงกรานและช่องคลอดหย่อนสมรรถภาพ จะทําให้ปัสสาวะไม่ออกและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ําเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โดยการทําKegel exercise ด้วยการขมิบก้น นับ 1 ถึง 10 แล้วคลาย ทําซ้ําเช่นนี้ 10-25ครั้งต่อวัน วันละ 3-4ครั้งเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ถึง 1 เดือน
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ําสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8แก้วหรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร อาจต้องเพิ่มขึ้นให้สัมพันธ์กับจํานวนน้ําที่สูญเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีปัสสาวะไม่ออก
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ําให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ําไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์ ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการทําให้ถ่ายปัสสาวะได้
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ สิ่งแวดล้อมในห้องน้ําสะอาดและปลอดภัย
การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทําให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะจนทําให้มีปัสสาวะจํานวนมาก คั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะแต่ถ่ายไม่ออก
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
เป็นวิธีที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก จนเป็นผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ําได้
พยาบาลอาจต้องนําหม้อนอน (Bedpan)ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ําปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้
น้ํากลั่นปลอดเชื้อ และน้ํายาทําลายเชื้อ
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสําหรับทิ้งสําลีใช้แล้ว
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด 1 ใบ
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทําหัตถการต่างๆ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาต จะบวม แดง และถลอก ดังนั้น ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ํา แล้วใช้น้ํากับสบู่ทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช็ดให้แห้ง หลังจากที่เช็ดตัวหรืออาบน้ําเสร็จแล้ว จึงใส่ถุงยางอันใหม่
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
ล้างมือสวมถุงมือสะอาดเช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
ป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวมน้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น.จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะแล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไปนําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
ข้อมูลสนับสนุนที่ได้จากการประเมินสามารถกําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล
Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000มิลลิลิตรต่อวันถ้าไม่มีข้อห้าม
ทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง โดยเฉพาะรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ
ใช้สบู่อ่อนและน้ําหรือน้ํายาทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ในการทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บ
การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทําเมื่อจําเป็น ระยะเวลาในการเปลี่ยนไม่เจาะจง ขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละคนอาจอยู่ระหว่าง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์
การะบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ ไม่ปลดสายสวนและท่อสายยางของถุงรองรับปัสสาวะออกจากกัน เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ ควรเททิ้งอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง ด้วยวิธีที่ถูกต้อง
ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และป้องกันการเกิดนิ่ว
ดูแลให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ํากว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ จะทําให้ปัสสาวะไหลสะดวกตามหลังแรงโน้มถ่วงของโลก
ตรวจดูสายสวนและท่อระบายของถุงรองรับปัสสาวะเป็นระยะไม่ให้หักพับงอ หรือถูกทับ เพราะจะปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย จะทําให้ปัสสาวะไหลสะดวกและป้องกันการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
ถ้าเป็นไปได้ให้แยกห้องผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะออกจากผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนหรือไม่ควรอยู่เตียงติดกัน
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
การประเมิน
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ จํานวนครั้งใน 24 ชั่วโมง
ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์การประเมินผลเช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ