Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ, นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255…
บทที่ 9
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
5. การสวนปัสสาวะ
5.1 วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
1) เพื่อระบายเอาน้ำปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทำหัตถการต่างๆ
3) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ำปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
7) เพื่อตรวจสอบจำนวนน้ำปัสสาวะที่ขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
5.2 ชนิดของการสวนปัสสาวะ
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization) เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
( Indwelling catheterization or retained catheterization)
5.3 อุปกรณ์
1) ชุดทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่
2) ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
3) สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ำได้
4) น้ำกลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ำยาทำลายเชื้อ
5) กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
6) Transfer forceps
7) ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
8) โคมไฟ หรือไฟฉาย
9) พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
10) สายสวนปัสสาวะ
5.4 วิธีการสวนปัสสาวะ
1) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
2) การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
6. หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condomcatheter)
6.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ
การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
7. การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
7.1 วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
โดยให้ผู้ป่วยทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำสะอาด
7.2 วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน
ประมาณ 15–30 นาที
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ำยาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตำแหน่งที่ทำความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
7.3 วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น.
โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวมน้ำปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกำหนด 24 ชั่วโมง
8. กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
8.1 การประเมิน
1) การซักประวัติ แบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ จำนวนครั้งใน 24 ชั่วโมงักษณะและสีของปัสสาวะ ปริมาณน้ำดื่มต่อวัน ยาที่รับประทานประจำ โรคประจำตัว
2) ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
3) วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
8.2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
1) มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
8.3 การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
1) ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและ
หลังให้การพยาบาล
2) ประเมินสัญญาณชีพ
3) ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
4) Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน ถ้าไม่มีข้อห้าม
5) ทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
6) ใช้สบู่อ่อนและน้ำหรือน้ำยาทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
7) รักษาระบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ
8) อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ
9) ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด
10) การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทำเมื่อจำเป็น
11) ดูแลให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ำกว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ
12) ตรวจดูสายสวนและท่อระบายของถุงรองรับปัสสาวะเป็นระยะไม่ให้หักพับงอ
13) กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย
14) ถ้าเป็นไปได้ให้แยกห้องผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะออกจากผู้ป่วย
15) ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
16) ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
17) รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
8.4 ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์การประเมินผล
เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ เป็นต้น
นายศราวุฒิ เป็งมูล 6201210255 เลขที่ 11 วิชา SN 213