Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสรมิการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสรมิการขับถ่ายปัสสาวะ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
7.2 วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
2) เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
3) ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
1) ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน ประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
4) ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
7.3 วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวม น้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง
ถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ
7.1 วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง
เช็ดให้แห้ง ให้ ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ
โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
โดย ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด ล้างมือให้สะอาด
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปญั หาการขับถ่ายปัสสาวะ
8.2 การวินิจฉัยทางการพยาบาล
1) มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
8.3 การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
3) ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
4) Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน ถ้าไม่มีข้อห้าม
2) ประเมินสัญญาณชีพ
5) ทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง
1) ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและ หลังให้การพยาบาล
6) ใช้สบู่อ่อนและน้ําหรือน้ํายาทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
7) รักษาระบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ ไม่ปลดสายสวนและ ท่อสายยางของถุงรองรับปัสสาวะออกจากกัน เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
8) อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ ควรเททิ้งอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง
15) ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
9) ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และป้องกันการเกิดนิ่ว
16) ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
10) การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทําเมื่อจําเป็น ระยะเวลาในการเปลี่ยนไม่เจาะจง ขนึ้ อยู่กับผู้ป่วยแต่ละคนอาจอยู่ระหว่าง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์
17) รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
11) ดูแลให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ํากว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ
12) ตรวจดูสายสวนและท่อระบายของถุงรองรับปัสสาวะเป็นระยะไม่ให้หักพับงอเพราะจะปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ
13) กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย จะทําให้ปัสสาวะไหลสะดวก และป้องกันการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
14) ถ้าเป็นไปได้ให้แยกห้องผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะออกจาก ผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนหรือไม่ควรอยู่เตียงติดกัน
8.1 การประเมิน
1) การซักประวัติ
3) วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
2) ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
8.4 ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์ การประเมินผล เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อ เป็นต้น
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
1 แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
1) แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ
(5) ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
(6) ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
(4) ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
(7) มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลัง
รับประทานอาหาร
(3) เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
(8) การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
(2) กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะ ปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
(10) Residual urine ไม่ควรเกิน 50 มิลลิลิตรในผู้ใหญ่ และไม่ควรเกิน100 มิลลิลิตรในผู้สูงอายุ
(1) อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400 มิลลิลิตร
(9) จำนวนปัสสาวะประมาณ 250-400 มิลลิลิตรต่อครั้งหรือไม่ควรน้อยกว่า30 มิลลิลิตรใน 1 ชั่วโมง
2) ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
(4) มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
(5) มีความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
(3) สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
(6)เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
(2) ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
(7) ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งท้องไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
(1) ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
2 การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
5) ปัสสาวะขัดปัสสาวะลําบาก
เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะผู้ป่วยจะรู้สึก ปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ
ถ่ายลําบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น บางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ มักปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด
อยากถ่ายปัสสาวะแบบทันทีทันใด
6) ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะ บ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจํานวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลง
4) ปัสสาวะตอนกลางคืน
เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืน มากกว่า 2 ครั้งขึ้น
7)ปัสสาวะรดที่นอน
ภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มี อายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ
3) ปัสสาวะมากกว่าปกติ
เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมา จํานวนมากกว่าปกติ
8) ปัสสาวะคั่ง
ภาวะที่มีน้ําปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ เป็นจํานวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้
2) ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ
เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า500มิลลิลิตรใน24 ชั่วโมง หรือน้อยกว่า
30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ น้อยกว่า 0.5-1 มิลลิลิตร/น้ําหนักตัว
1 กก./ชั่วโมง โดยท่ัวไปนึกถึงภาวะขาดน้ําหรือได้รับน้ําน้อย
9) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้
(2) กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน
(3) ปัสสาวะเล็ด
(1) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง
(4) ปัสสาวะท้น
(5) ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่น ๆ
1) ไม่มีปัสสาวะ
เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
4 คีโตนในปัสสาวะ
ตรวจพบคีโตนในน้ําปัสสาวะโดยคีโตนเป็น ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ําตาล
5 ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน
ภาวะที่ ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะ ไม่พบในปัสสาวะ ถ้าพบ Conjugated bilirubin ในปัสสาวะ
3 โปรตีนในปัสสาวะ
ใช้แผ่นทดสอบเทียบสี ตรวจพบตั้งแต่ +1ขึ้นไป โดยที่ปกติในปัสสาวะจะไม่มีโปรตีนปนอยู่ แต่ถ้ามีโปรตีนในน้ําปัสสาวะแสดงถึงภาวะไตเป็นโรค ทํา ให้การกรองของกรวยไตไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากกรวยไตอักเสบ
6 ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน
ภาวะที่มีการสลายตัวของ เม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
2 น้ําตาลในปัสสาวะ
ภาวะที่มีน้ําตาลปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
7 ปัสสาวะเป็นหนอง
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ํา ปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย
1 ปัสสาวะเป็นเลือด
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ
8 นิ่วในปัสสาวะ
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจากมี การตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
9 ไขมันในปัสสาวะ
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะทําให้ เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
1.ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
4 ด้านจิตสังคม
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น
5 สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล
3 ยา
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะ เปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
6 ลักษณะท่าทาง
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมี ปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง
2 น้ําและอาหาร
2) จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย
3) อาหารที่ร่างกายได้รับปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทําให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
1) จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ํามาก
จํานวนครั้งของการ ขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก
7 กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
2) ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจาก ปัสสาวะไหลตลอดเวลา
3) สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัว ลดลงด้วยเช่นกัน
1) การออกกําลังกายสม่ำเสมอ ทําให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น
4) ผู้ที่นอนอยู่บนเตียงนาน ๆ ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว มีผลทําให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ กระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูดลดลง
1 อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ
1) วัยเด็ก เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อยการขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยคร้ังกว่า ผู้ใหญ่
2) ผู้สูงอายุ จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ําปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งข้ึน และ มักจะตื่นข้ึน มาปัสสาวะในตอนกลางคืน
8 พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อ การสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ
9 การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ
2) การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ
3) การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทําให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยาก ถ่ายปัสสาวะ
1) ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทํา ให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosterone ทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
6 เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
1 ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
5 สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
2 ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
3) ดื่มน้ํา2แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์และปัสสาวะทิ้งทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันแบคทีเรียเข้าสู่ทางเดินปัสสาวะ
4) อาบน้ําด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ํา
2) ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆทุก2-4ชั่วโมงเพื่อชะล้างแบคทีเรียออกจากท่อปัสสาวะและ ป้องกันจุลชีพเคลื่อนขึ้นไปยังกระเพาะปัสสาวะ
5) ใส่ชุดชั้นในที่ทําด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทําด้วยไนล่อน เนื่องจากผ้าฝ้ายทําให้อากาศถ่ายเท ได้สะดวก ช่วยลดความอับชื้นบริเวณฝีเย็บได้ดี
6) หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไปเพราะทําให้ระคายเคืองบริเวณรูเปิด ท่อปัสสาวะ
1) ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ8แก้ว
7) เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะโดยการรับประทานวิตามินซีและดื่มน้ําผลไม้ที่เป็นกรด
8) ใช้ Estrogen cream ตามแผนการรักษาของแพทย์ สําหรับผู้หญิงวัยหมดประจําเดือน ที่มีแนวโน้มจะติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
4 การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
2.ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาต
3.การเปิดก๊อกน้ําให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ําไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการทําให้ถ่ายปัสสาวะได้
1.จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะขับถ่าย
4.การใช้ความร้อนช่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ
6) ช่วยกดหน้าท้องเบาๆ เหนือบริเวณกระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้ปัสสาวะสะดวก
5.ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
3 ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
7 การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีท่ีไม่สามารถไปห้องน้ําได้
การสวนปัสสาวะ
2 ชนิดของการสวนปัสสาวะ
1) การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว
2) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
4 วิธีการสวนปัสสาวะ
1) การสวนคาสายสวนปัสสาวะ
(8) ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลําดับการใช้อยู่ในบริเวณ ผ้าห่อ Set และวางห่างจากขอบผ้าเข้าไปอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว
(9) เทน้ํายาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
(7) วางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย และเปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิค ปลอดเชื้อ
(10) ฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ แล้วใช้ Transfer forceps คีบสายสวนออกจากซอง วางลงในชามกลม
(6) ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
(11) ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ
(5) จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย
(12) เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
(4) แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
(13) ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter
(3)ก้ันม่านและจัดให้มแีสงสว่างเพียงพอ
14) คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
(2) ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปท่ีเตียงผู้ป่วย
(16) ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly ประมาณ 1-2 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-7 นิ้ว (เพศชาย)
(1) บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจําเป็นของการสวนปัสสาวะ
(15) ใช้มือซ้ายแหวก Labia ให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะแล้วใช้ Forceps คีบสําลีชุบน้ําเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะ ทิ้งในชามรูปไต
(17) ยกภาชนะรองรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขาผู้ป่วย
(18) ใช้ Forceps ที่เหลือหรือมือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะให้มั่นคง ให้ปลายเปิด ด้านโคนของสายสวนปัสสาวะวางอยู่ในภาชนะรองรับน้ําปัสสาวะ
(19) ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ําปัสสาวะจะไหล
(21) ใช้มือข้างที่ไม่ถนัดที่แหวก Labia (ในเพศหญิง) หรือ จับ Penis (ในเพศชาย) อยู่เลื่อนมาจับสายสวน ส่วนอีกมือหยิบกระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ํากลั่นอยู่ ดันน้ํากลั่นเข้าไปทางหาง Foley ที่มีแถบสี ไม่เกิน 10 มิลลิลิตร
(20) เมื่อใส่สายสวนเข้าไป 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) จะเห็นปัสสาวะ ไหลออกมาจากนั้นให้ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีกประมาณ 1⁄2-1 นิ้ว (เพศหญิง)
(22) สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา ระวังอย่าให้ ปลายสาย contaminate แล้วต่อหางสายสวนเข้ากับปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะให้แน่นสนิท
(23) เช็ดบริเวณ Vulva ให้แห้งด้วยสําลีที่เหลือ
(25) เก็บ Set สวนปัสสาวะออกจากเตียง จัดท่าผู้ป่วยให้สุขสบาย ถ้าผ้าขวางเตียงหรือ ผ้าปูที่นอนเปียกให้เปลี่ยน
(24) ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขาของผู้ป่วย และใช้เข็มกลัดติด สายของถุงรองรับปัสสาวะกับที่นอน
(26) เก็บของใช้ไปทําความสะอาด และบันทึกรายงานการสวนคาสายสวนปัสสาวะ
2) การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
1) เตรียมเครื่องใช้ ได้แก่ ถุงมือสะอาด 1 คู่ Syringe สะอาดขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อันกระดาษชําระ ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก 1 ใบ สําหรับใส่สําลีที่ทิ้ง แล้ว และใส่สายสวนปัสสาวะที่ถอดออกมา
(2) บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatusให้สะอาด
(6) สังเกตลักษณะ จํานวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง ลงบันทึกวันเวลาที่เอาสาย สวนออก จํานวน สี ลักษณะของปัสสาวะลงในบันทึกทางการพยาบาล
(7) กระตุ้นให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามาก ๆ สังเกตความผิดปกติของผู้ป่วย
(3) ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สําหรับใส่น้ํากลั่นแล้วดูดน้ํากลั่น ออกจนหมด
(4) บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย
ขณะที่ค่อย ๆ ดึงเอาสาย สวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว้
(5) ใช้กระดาษชําระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
1 วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
4) เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
5) เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
3) เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
6) เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
2) เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยท่ีต้องทําหัตถการต่างๆ
7) เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
1) เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
3 อุปกรณ์
4) น้ํากลั่นปลอดเชื้อ และน้ํายาทําลายเชื้อ
5) กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
3) สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้
6) Transfer forceps
2) ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ
7) ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด(Sterile urine bag) 1 ใบ
1) ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสําหรับทงิ้สําลีใช้แล้ว
8) โคมไฟ หรือไฟฉาย
9) พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
10) สายสวนปัสสาวะ การเลือกใช้สายสวนปัสสาวะควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้งานและขนาดของสายสวนปัสสาวะ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ
1 วัตถุประสงค์
2) ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
3) ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
1) เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ บ่อย ๆ
4) ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล