Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) - Coggle Diagram
ไข้เลือดออก
(Dengue hemorrhagic fever)
3.พยาธิสภาพ
เมื่อยุงที่มีไวรัสเด็งกี(Dengue)กัดมนุษย์ ไวรัสจะเข้าสู่ผิวหนังร่วมกับน้ำลายของยุง ไวรัสจะยึดเกาะและเข้าสู่เม็ดเลือดขาวและสืบพันธุ์อยู่ในเซลล์ขณะที่เม็ดเลือดขาวเคลื่อนไปทั่วร่างกาย เม็ดเลือดขาวจะตอบสนองโดยผลิตโปรตีนส่งสัญญาณหลายชนิด เช่น Cytokine ,Interferon ซึ่งทำให้เกิดอาการหลายอย่าง เช่น ไข้ อาการคล้ายหวัด และอาการปวดรุนแรง ในการติดเชื้อรุนแรง มีการผลิตไวรัสภายในร่างกายสูงขึ้นมาก และอาจเกิดผลกระทบกับหลายอวัยวะ เช่น ทำให้ตับโตส่งผลให้มีอาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ และไปกดไขกระดูกทำให้ปวดข้อและเกล็ดเลือดมีน้อยลงจึงเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดออก ของเหลวจากกระแสเลือดซึมผ่านผนังหลอดเลือดขนาดเล็กเข้าสู่ช่องว่างลำตัวเนื่องจากสภาพให้ซึมผ่านได้ของหลอดเลือดฝอย ทำให้มีเลือดไหลเวียนอยู่ในหลอดเลือดน้อยลง และความดันเลือดต่ำลงจนไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะสำคัญเพียงพอ
4.อาการและอาการแสดง
เป็น 3 ระยะดังนี้
3.ระยะฟื้น
ระยะนี้ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว อาการจะทรุดลง ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว ชีพจรเบาเร็ว บางรายมีอาการปวดท้องมากแล้วตามมาด้วยภาวะช็อค บางรายอาจมีเลือดออกในกระเพาะและลำไส้ อาเจียนเป็นเลือดสีน้ำตาล หรือถ่ายเป็นเลือดสีดำ สามารถเกิดระยะช็อคได้ ถ้าให้การรักษาไม่ทันมักจะเสียชีวิตภายใน 24 - 48 ชั่วโมง
1.ระยะไข้ (Febrile phase)
ไข้มักสูง ราว 39 - 40 องศาเซลเซียส ไข้อาจขึ้นๆ ลงๆ มีหน้าแดง ผิวหนังแดง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน มักซึมลง มีจุดเลือดเล็ก ๆ ออก (petechia) ที่ผิวหนัง ตามแขนขา
2.ระยะเป็นพิษ (Toxic phase, shock หรือ Hemorrhage)
ผู้ป่วยจะสบายขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการต่าง ๆ จะหายไป และรับประทานอาหารได้ ตับจะยุบลงเป็นปกติภายใน 2 - 3 วัน ระยะนี้จะพบหัวใจ เต้นช้า และมีหัวใจเต้นผิดจังหวะได้บ่อย การทดสอบTourriguet testจะให้ ผลบวกมีผลบวกได้อีกหลายวัน
5.การวินิจฉัย
5.1)การซักประวัติ
มีไข้ และปวดเมื่อยตามตัวซื้อยาลดไข้มาทานอาการทุเลาลงต่อมาเริ่มมีไข้สูง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย มีอาการปวดท้องใต้ลิ้นปี่มีอาเจียน 2 ครั้ง จึงมาโรงพยาบาล อาศัยอยู่บ้านพักใกล้ลำคลอง บ่อน้ำ ไม่มีมุ้งลวดและมีประวัติคนใกล้ชิดเป็นไข้เลือดออก
เมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้ว
5.3)การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจค่า RBC โดยเฉพาะ Hct, WBC โดยเฉพาะ PMN กับ LYMP , ALT กับ AST, Platelet count
5.2)การตรวจร่างกาย
จากการตรวจร่างกาย ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี อ่อนเพลีย ปวดท้อง
มือเท้าซีด
• มีอาการเลือดออก หากไม่มีคุณหมอจะทำการรัดแขนซึ่งจะทำให้มีจุดเลือดออกที่แขน การตรวจนี้จะให้ผลบวกได้ในวันที่ 2-3 นับจากเริ่มป่วย
• ตรวจร่างกายอาจมีตับโต กดเจ็บ ซึ่งมักจะคลำได้ในวันที่ 3-4 นับจากเริ่มป่วย
1.สาเหตุ/ปัจจัย
เกิดจากยุงลายเพศเมีย ที่เป็นพาหะของโรคดูดเลือด ของผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี
จากนั้นไวรัสเดงกีจะเติบโต
ภายในท้องของยุงลาย เมื่อยุงลายไปกัดคนอื่นต่อไป เชื้อไวรัสก็จะแพร่เข้าสู่
ร่างกายของผู้ที่ถูกกัด
7.ภาวะแทรกซ้อน
2.ผู้ป่วยเพศหญิงอาจะมีประจำเดือนมากกว่าปกติถึงขั้นเสียชีวิตได้
3.ภาวะตับวาย
1.ภาวะเลือดออกรุนแรงในระบบทางเดินอาหาร
4.ไส้ติ่งอักเสบจาก lymphoid hyperplasia ของลำไส้
5.ภาวะปอดอักเสบจากไวรัสเดงกี
6.แนวทางการรักษา
ไม่มีการรักษาที่แน่นอนแต่รักษาตามอาการ
ให้สารน้ำ 0.9 NSS, 5% D/NSS ,Ringer's Lactate, Ringer's Acetate ถ้ามีภาวะช็อคให้ออกซิเจนในการรักษาร่วมด้วย และใข้ยาพาราเซตามอลในการลดไข้เท่าที่จำเป็น
2.การติดต่อ/ระยะฟักตัว/การแพร่กระจาย
การติดต่อ
ติดต่อจากผู้ป่วยไปยังบุคคลอื่น โดยมียุงลายเป็นตัวนำ ยุงตัวเมียจะกัดและดูดเลือดที่มีเชื้อไวรัสจากผู้ป่วย เชื้อจะเข้าไปฟักตัวเพิ่มจำนวนในตัวยุง เป็นระยะเวลา 3 – 10 วัน หลังจากนั้นยังจะมีเชื้อไวรัสอยู่ในตัวตลอด อายุของมัน ซึ่งยาวประมาณ 1 - 2 เดือน และจะถ่ายทอดเชื้อให้คนปกติ ได้ทุกครั้งที่กัด เมื่อคนได้รับเชื้อไวรัสเข้าไปในร่างกาย จนคนจะเริ่มมีอาการซึ่งเป็นระยะฟักตัวของโรค
การแพร่กระจาย
ไข้เลือดออกจะแพร่กระจายไปยังมนุษย์ผ่านทางการกัดของยุงลายตัวเมียที่ติดเชื้อ เมื่อผู้ป่วยที่เป็นไข้เลือดออกเพราะถูกยุงเป็นพาหะกัด
และแพร่กระจายได้โดยยุงไปกัดคนอื่น
ระยะฟักตัว
ระยะเพิ่มจำนวนของไวรัสเดงกี ในยุง ประมาณ 8-10 วัน
ระยะฟักตัวของเชื้อไวรัสเดงกี ในคน ประมาณ 3-14 วัน โดยทั่วไปประมาณ 5-8 วัน