Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทักษะการฟังเพื่อการสือสาร - Coggle Diagram
ทักษะการฟังเพื่อการสือสาร
ความหมายของการฟัง
การฟัง หมายถึง การรับรู้ การเข้าใจ จับประเด็นและแปลความหมายจากเสียงที่เป็นคำพูด สัญญาณต่างๆ ที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้ถูกต้อง
ความสำคัญของการฟัง
๑ การฟังทำให้ได้รับความรู้ การฟังมีความสำคัญในชีวิตประจำวันในทักษะทั้งสี่ คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ทักษะในการฟังเป็นทักษะที่ใช้มากที่สุด การฟังทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น
๓ การฟังทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง การฟังเรื่องราวต่างๆทำให้ได้รับความรู้มากมาย ผู้ฟังสามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งในครอบครัว การทำงานร่วมกับผู้อื่น
๒ การฟังทำให้เกิดความคิดกว้างไกล การสร้างนิสัยการฟังที่ดี ทำให้เกิดความคิดไปในด้านต่างๆ สามารถแก้ปัญหา สร้างงาน วิเคราะห์ พิจารณาเรื่อต่างๆที่เกิดขึ้นได้อย่างมีเหตุมีผล เข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบข้าง และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรอบโลก เข้าใจปัญหาสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าได้กับทุกสถานการณ์
๔ การฟังทำให้เกิดความจรรโลงใจ และซาบซึ้ง การฟังบทร้อยกรอง สุนทรพจน์ คำสอนของนักปราชญ์ ผู้นำทางศาสนา การฟังบทเพลง ดนตรีที่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ ทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส
๕ การฟังเป็นการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกัน การฟังในครอบครัวมีความสำคัญในระดับแรก ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข ความอบอุ่นการฟังในสังคม ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา
วัตถุประสงค์ของการฟัง
ผู้ฟังมักมีจุดประสงค์ใหญ่ ๓ ประการ คือ
1 ฟังเพื่อให้เกิดความรู้และความรอบรู้ แยกออกได้ดังนี้
1.2ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ เป็นการฟังที่ช่วยสร้างเสริมเพิ่มพูดความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ฟังข่าว เหตุบ้านการเมือง ฯ ล ฯ การฟังต้องสามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่อง โดยอาศัยหลักการพินิจสารและรู้จักประเมินคุณค่าของสาร
1.1 ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ การฟังชนิดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียน
2 ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม เป็นการฟังที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังมีวิจารณญาณในการฟังเป็นสำคัญ คือ เมื่อฟังอะไรแล้วต้องเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรองว่าสิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันจะเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่เชื่อสิ่งใดอย่างงมงาย
3 ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และซาบซึ้ง เป็นการฟังด้วยความนิยมชมชอบ ผู้ฟังจะได้รับทั้งความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน การฟังอย่างนี้ถือเป็นการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด
มารยาทในการฟังที่ดี
๑ ฟังด้ายความสงบ
๒ ฟังด้วยความตั้งใจ
๓ ปรบมือเมื่อชอบใจ
๔ มองหน้าผู้พูด
๖ เมือมีขอสงสัยควรถาม เมื่อผู้พูดเปิดโอกาสให้ถาม ไม่ควรถามแทรกขณะที่ผู้พูดกำลังพูดอยู่
๕ ไม่สงเสียงรบกานผู้อื่น