Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 12 ความเป็นครู ความซื่อสัตย์สุจริต - Coggle Diagram
บทที่ 12 ความเป็นครู
ความซื่อสัตย์สุจริต
ความซื่อสัตย์สุจริต
มาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษา
ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
ความซื่อสัตย์สุจริต
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ประหยัดใช้สิ่งของและทรัพย์สินอย่างประหยัดและคุ้มค่าทั้งของตนเองและส่วนรวม
มีความกตัญญู
บทบาทที่สำคัญของครู
ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการมีคุณธรรมที่ดี มีจริยธรรมในด้านต่างๆ
ประโยชน์ของการมีจริยธรรม
คนมีจริยธรรมจะเป็นผู้ที่มีความก้าวหน้าในชีวิตครอบครัวและการงาน
ผ่านพ้นอุปสรรคได้ดี มีความเข้มแข็ง
มีเหตุผล รู้สึกผิด มีสติและเกิดปัญญา เป็นที่น่ายกย่อง
เกิดความสงบสุขทั้งต่อตนเองและต่อสังคม
คุณลักษณะของคนดี
คนที่ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณภาพ
มีจิตใจที่ดีงาม
มีคุณธรรม จริยธรรม
มีคุณลักษณ์ศึกษาที่พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก
ความหมายของความซื่อสัตย์สุจริต
พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
การรักษาความสัตย์ ความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
การรู้จักข่มใจตัวเอง ฝึกตัวเองให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัตย์สุจริตความดีนั้น
การอดทน อดกลั้นและอดออมที่จะไม่ประพฤติลวงความสัตย์สุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสลัประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ราชบัณฑิตยสถาน
"ความซื่อ"
เป็นการประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดทรยศ ไม่คดโกงหลอกลวงผู้อื่น
"สุจริต"
ความประพฤติชอบ ความประพฤติด้วยตั้งใจดี
"ความซื่อสัตย์สุจริต"
ความประพฤติตรง การเป็นคนตรง การปฏิบัติิย่างตรงไปตรงมา ทางกาย วาจา ใจ ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
บัณฑิต พัดเย็น, ยอดชาย แพชนะ
ลักษณะจิตใจที่มีความซื่อสัตย์ ด้วยการกำหนดการแสดงพฤติกรรมออกมาต่าวัตถุ สิ่งของ ดังนั้นบุคคลต่างๆ ที่จิตใจมีความมั่นคงไม่ได้แปรผันไปตามความต้องการของตน หรือของบุคคลอื่นตามกฎเกณฑ์ของสังคม พูดและปฏิบัติตามความเป็นตริงที่เกิดขึ้น
กรมสามัญศึกษา
กรมสามัญศึกษา
สรุป
ความซื่อสัตย์ หมายความว่า บุคคลที่มีความบริสุทธิ์ใจต่อตนเองและผู้อื่น ไม่กระทำในสิ่งที่ผิด ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ทั้งทางกาย วาจา และใจ
ความเป็นมาของความซื่อสัตย์สุจริต
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเรื่องการทำงานก็ทรงเน้นเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตเป็นสำคัญ
"การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลสมปรารถนา คือ ให้เน้นประโยชน์และเนนธรรมด้านนั้นจะอาศัยแต่เพียงความรู้อย่างเดียวไม่ได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจ และความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย เพราะว่าคสามรู้นั้นเสมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนที่ไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวเสมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเน้นปัจจัยที่นำทางให้ยวดยานดำเนินไปถูกทางด้วยความสามัคคี คือ ปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดประสงค์"
คนที่มีความซื่อสัตย์
เป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักความจริงและความถูกต้องในการดำเนินชีวิตประพฤติตรงตามความจริงต่อตนเองและผู้อื่น ทักทาย วาจา ใจ มีความละอาย และเกรงกลัวต่อการกระทำผิด คนมีศีลธรรมหรือมีมนุษยธรรมที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นอารยะชนจะมีความประพฤติดี ประพฤติชอบ ความซื่อสัตย์เป็นคุณธรรมพื้นฐานที่สำคัญที่ต้องบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน
ความซื่อสัตย์ 3 ประการ
วจีสุจริต
เป็นความสุจริตทางวาจา ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยวาจา ละเว้นการพูดเท็จ โกหกหลอกลวง กล่าวแต่คำสัตย์ ไม่จงใจพูดให้ผิดจากความจริง เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์ใดๆ ไม่พูดส่อเสียด ยุยง สร้างความแตกแยก
มโนสุจริต
เป็นความสุจริตทางใจ ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยใจ คิดหาทางเอาแต่จะได้ คิดให้ คิดเสียสละ ทำใจให้เผื่อแผ่กว้างขวาง ไม่คิดร้ายมุ่งเบียดเบียน หรือเพ่งมองในแง่ที่จะทำลาย
กายสุจริต
เป็นความสุจริตทางกาย ทำสิ่งที่ดีงามถูกต้อง ประพฤติชอบด้วยกาย ละเว้นการบีบคั้น เบียดเบียน มีเมตตากรุณา ช่วยเหลือเกื้อกูลสงเคราะห์กัน
ความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต
การที่ครูเป็นคนซื่อสัตย์
พูดจริงทำจริงเป็นคนจริงใจ เป็นคนตรงจะทำให้เขาเป็นที่เชื่อถือ เคารพนับถือของคนอื่น และเป็นผู้ที่เคารพนับถือตัวเองได้ การรักความจริง การทำทุกสิ่งทุกอย่างในให้ตรงกับความจริง จะทำให้เขาปลอดจากกิเลสสัจจะ
พูดจริง ทำจริง จริงใจ เป็นความเข้มแข็งของจิตใจ การเสียสัจจะเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่เรื่องเล้กน้อย ครูควรสอนตัวเองให้พูดความจริง
สัจจะเป็นฆารวาสธรรม
เป็นหลักธรรมสำหรับการครองชีวิตของคฤหัสถ์ และเป็นบารมีข้อหนึ่ง คือเราตั้งใจทำอะไรแล้ว ก็อยู๋กับสิ่งนั้นจนสำเร็จ ซึ่งจะทำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนในการทำงานอย่างแน่นอน ประกอบด้วย 4 ประการ
ความจริง (สัจจะ)
ดำรงมั่นในสัจจะ ซื่อตรง ซื่อสัตย์ จริงใจ พูดจริง ทำจริง จะทำอะไรก็ให้เป็นที่เชื่อถือไว้วางใจได้
การฝึกตน (ทมะ)
บังคับควบคุมตนเองได้ รู้จักปรับตัวและแก้ไขปรับปรุงตนให้ก้าวหน้าดีงามยิ่งขึ้นอยู่เสมอ
การอดทน (ฉันทะ)
มุ่งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ไม่หวั่นไหว มั่นในจุดหมาย ไม่ท้อถอย
การเสียสละ (จาคะ)
มีน้ำใจ เอื่อเฟื้อ ชอบช่วยเหลือเกื้อกูล บำเพ็ญประโยชน์ สละโลภ ละทิฐิได้ ร่วมงานกับคนอื่นได้ ไม่ใจแคบเห็นแก่ตัวหรือเอาแต่ใจตน
แนวทางส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริตของครู
จัดกิจกรรมความซื่อสัตย์สุจริตแก่นักเรียน
กิจกรรมสร้างสรรค์เป็นกระบวนการสร้างสรรค์ที่เหมาะสมกับการพัฒนาทางความประพฤติ
กิจกรรมเสริมการเคลื่อนไหวและจังหวะ
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ครูสามารถนำกิจกรรมมาเป็นตัวอย่าง เป็นกรณีศึกษาในการเรียนรู้ และการปลูกฝังความซื่อสัตย์สัจริตผ่านการฝึกวิเคราะห์ จะแนกคุณค่าแท้และคุณค่าเทียมให้แก่เด็ก
การสอนวิชาความรู้ให้เข้าถึงคุณค่าความดีงาม เป็นการฝึกวิธีคิดให้แยบคาย
การน้อมเข้ามาใส่ใจใคร่ครวญด้วยสติปัญญาเข้าถึงความจริง
แยกแยะคุณค่าแท้ออกจากคุณค่าเทียม และยกจิตให้เป็นกุศล
ฝึกสติในชีวิตประจำวันทั้งครูและผู้เรียน
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความซื่อสัตย์สุจริต
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของ Kohlberg
ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม
(Pre-conventional level)
ขั้นที่หนึ่ง (1) หลักการหลบหลีกการลงโทษ ช่วงอายุ 2-7 ปี
ช่วงที่สอง (2) หลักการแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7-10 ปี
ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม
(Conventional level)
ช่วงที่สาม (3) หลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ ช่วงอายุ 10-13 ปี
ช่วงที่สี่ (4) หลักการทำตามหน้าที่ของสังคม ช่วงอายุ 13-15 ปี
ระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม
(Post-conventional level)
ช่วงที่ห้า (5) หลักการทำตามคำมั่นสัญญา อายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป
ช่วงที่หก (6) หลักการยึดอุดมคติสากล ช่วงวัยผู้ใหญ่
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
(Piaget's theory of cognitive development)
(1) ระดับกฎเกณฑ์จากภายนอก
เป็นระดับที่เด็กยึดกฎเกณฑ์ต่างๆ จากภายนอกโดยพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเด็กมีอิทธิพลต่อจริยธรรมของเด็กอย่างชัดเจน
ขั้นที่สอง เด็กจะมีความคิดคำนึงในการเล่น โดยจะเล่นตามคนอื่นแล้วจะมีความคิดเป็นของตนเอง จะเล่นโดยมุ่งเอาชนะเพียงอย่างเดียว
ขั้นที่สาม เด็กจะให้ความร่วมมือในการเล่น โดยจะเล่นเพื่อเกิดความเพลิดเพลินและเล่นตามกติกา
ขั้นที่หนึ่ง เด็กพยายามทำตามคนอื่น
ขั้นที่สี่ นอกจากเด็กจะให้ความร่วมมือแล้ว เขายังให้ความสนใจที่จะทำตามกฎเกณฑ์ด้านความรู้สึกรับผิดชอบเฉพาะตัว
(2) ระดับที่เด็กมีกฎเกณฑ์ของตน
เป็นระดับที่เด็กเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกมากขึ้น ระยะนี้เด็กมีการพัฒนาจริยธรรมขั้นสูงระดับที่มีความคิดเป็นของตนเอง
ขั้นก่อนจริยธรรม (Egocentric) ช่วงอายุ 0-4 ปี
ขั้นยึดคำสั่ง (Authoritatarian) ช่วงอายุ 4-11 ปี
ขั้นยึดหลักแห่งตน (Consensus derived) ช่วงอายุ 11 ปีขึ้นไป
ประเภทของความซื่อสัตย์
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ได้วิเคราะห์โครงสร้างของพฤติกรรมที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ
(1) ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
(2) ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เป็นพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออก
(3) ความซื่อสัตย์ต่อบุคคล
(4) ความซื่อสัตย์ต่อคณะ
ความซื่อสัตย์ หมายถึง การมีจิตใจที่บริสุทธิ์ต่อตนเองและผู้อื่น ละอายต่อการกระทำผิด ไม่คิดคดต่อผู้อื่น ไม่ลักขโมย ประพฤติปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างตรงไปตรงมาทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ความซื่อสัตย์โดยทั่วไปมี 4 ด้าน
ความซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
ความซื่อสัตย์ต่อสังคมหรือประเทศชาติ
ความซื่อสัตย์ต่อตนเอง
พฤติกรรมความซื่อสัตย์
ซื่อตรงต่อเวลา
2.ซื่อตรงต่องานของตนที่กำหนดไว้
ซื่อตรงต่อหน้าที่การงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ
ซื่อตรงต่อคุณธรรมที่ยึดถือปฏิบัติ
ซื่อตรงต่อการนัดหมาย
ซื่อตรงต่อการให้สัญญา
ซื่อตรงต่อทรัพย์สินของผู้อื่น
ซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของผู้อื่น
ซื่อตรงต่อระเบียบแบบแผน ประเพณี
ซื่อตรงต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับสังคม
ซื่อตรงต่องานที่ได้รับมอบหมาย
12 ซื่อตรงต่อข้อมูลปัจจุบัน
งานวิจัยด้านความซื่อสัตย์สุจริต
เจริญศรี บุญสว่าง
ศึกษาความซื่อสัตย์สุจริตของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการใช้นิทานพื้นบ้าน และเพลงกล่อมเด็กในการสอนกลุ่มทักษะภาษาไทยของโรงเรียนวัดโมคลาน จำนวน 60 คน
ผลการวิจัย
ผู้เรียนที่เรียนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนที่ใช้นิทานพื้นบ้านและเพลงกล่อมเด็กมีระดับความซื่อสัตย์สุจริตสูงกว่าผู้เรียนที่เรียนภาษาไทยด้วยวิธีการสอนแบบปกติ
เสาวนิจ นิจอนันต์ชัย
ศึกษาการปลูกฝังคุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ในชุมชนพุทธคริสต์ และอิสลามในประเทศไทย
เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคิดความซื่อสัตย์ โครงสร้างทางสังคม กระบวนการขัดเกลาทางสังคม หลักคำสอนของศาสนา หลักการศึกษาในโรงเรียนศาสนา แนวคิดด้านชุมชนนิยม และใช้คนซื่อสัตย์เป็นตัวอย่าง จำนวน 50 คน
พบว่า คุณธรรมด้านความซื่อสัตย์ที่เข้มแข็งเกิดจากการอบรมเลี้ยงดูที่ใกล้ชิดของพ่อแม่ ความรับผิดชอบและการพึ่งตนเองเร็วตั้งแต่วัยเด็ก พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู และพระ เป็นแบบอย่างและมีความรู้ด้านวิชาการทันยุคสมัย โรงเรียนเน้นศาสนาควบคู่วิชาการ ชุมชนมีขนาดเหมาะสม มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์กันและมีระบบสาธารณูปโภคดี
สุมาลี ภูผาลา
ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการให้เหตุปลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวัดธาตุทองแขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง 235 คน
ปัจจัยที่ศึกษาแบ่งเป็น 3 ด้าน
ปัจจัยด้านครอบครัว ได้แก่ ฐานะทางการเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน ได้แก่ลักษณะทางกายภาพของการเรียนการสอน สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับครู [สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับเพื่อน]
ปัจจัยด้านส่วนตัว ได้แก่ เพศ อายุ ชั้นปีที่กำลังศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ 3 ปัจจัย ได้แก่ เพศหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปัจจัยที่มีผลทางลบกับการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์ 3 ปัจจัย ได้แก่ เพศชาย อายุ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ปัจจัยที่ไม่มีผล 13 ปัจจัย ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง สถานภาพโสด/สมรส/หม้าย/หย่า/แยกกันอยู่ บุคคลิกภาพ สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง ลักษณะทางกายภาพของการเรียนการสอน สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับครู สัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับเพื่อน