Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก - Coggle Diagram
การดูแลผู้ป่วยประเทศอิรัก
ประเทศอิรัก
สาธารณรัฐอิรักเป็นประเทศในตะวันออกกลาง
ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก
ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายและที่ราบกว้างใหญ่ตลอดแนวพรมแดนที่ติดกับอิหร่านพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศเป็นที่ราบลุ่มหนอง บึง มีเทือกเขากั้นพรมแดนกับอิหร่านและตุรกี
แม่น้ำสายหลัก 2 สายไหลผ่านกลางประเทศ
แม่น้ำไทกริส
แม่น้ำยูเฟรติส
ภูมิอากาศ
ฤดูร้อน ช่วง เม.ย.-ต.ค. อากาศร้อนและแห้งแล้งแบบทะเลทรายเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกของประเทศ โดย ส.ค.เป็นช่วงที่ร้อนที่สุด อุณหภูมิอาจสูงกว่า 45 องศาเซลเซียส
ฤดูหนาว ช่วง พ.ย.-ก.พ. เฉพาะอย่างยิ่งช่วง ม.ค. บริเวณเทือกเขาทางเหนือของประเทศ มีอากาศหนาวจัด อุณหภูมิ 3-10 องศาเซลเซียสและมีหิมะตกหนักเป็นครั้งคราว ซึ่งหิมะเหล่านี้จะละลายในฤดูใบไม้ผลิ
ช่วง ธ.ค. เป็นช่วงที่มีฝนตกชุก ภัยธรรมชาติ
สัญชาติ
อิรัก (Iraqi (s))
ศาสนา
ชาวอิรักส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม 96%
นิกาย ชีอะห์ 31.5%
ซุนนีย์ 64.5%
ลัทธิเหตุผล กับ Yazdânism 2.0%
ศาสนาคริสต์ 1.2%
ศาสนาอื่นๆ 0.8%
โครงสร้างหรือรูปแบบการให้คําแนะนําผู้ป่วยเบาหวาน
.การให้คําแนะนําเกี่ยวกับอาหารและการวางแผนมื้ออาหาร
การออกกําลังกาย
การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
การเฝ้าระวังและการจัดการภาวะแทรกซ้อน
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานระหว่างเดือนรอมฎอน
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1
ควรได้รับคําแนะนําในการปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดของอินซูลินให้เหมาะสม
ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว (ultralente) วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง เพื่อให้เป็น basal insulin และเพิ่มอินซูลินที่ ออกฤทธิ์เร็ว หรือออกฤทธิ์สั้นก่อนอาหาร 2 ครั้ง
ใช้อินซูลินชนิด long-acting insulin analog glargine วันละ 1 ครั้ง หรือใช้ insulin analog determirวันละ 2 ครั้ง ร่วมกับ rapid-acting insulin analog ก่อนมื้ออาหาร
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยอาหารเพียงอย่างเดียว
ผู้ป่วยสามารถถือ ศีลอดได้โดยมีปัจจัยเสี่ยงค่อนข้างน้อย
ควรมีการปรับปรุงโปรแกรมการออกกําลังกายให้เหมาะสมด้วยเพื่อ ป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โดยควรออกกําลังกายในเวลาหลังอาหารเย็นประมาณ 2 ชั่วโมง
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยารับประทาน
Metformin ผู้ป่วยที่รับประทานยา metformin เพียงอย่างเดียว สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย
Acarbose เป็นยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยมาก การ รับประทานยา acarbose ในระหว่างถือศีลอด สามารถรับประทานยาได้ตามมื้ออาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน หาก ไม่ได้รับประทานอาหารก็ไม่ต้องรับประทานยา (no meal no drug)
Sulfonylureasยากลุ่มนี้มีโอกาสทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้มาก
Thiazolidinediones ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยทําให้เซลล์เป้าหมายมีการตอบสนองต่ออินซูลิน ได้ดีขึ้น แต่ไม่เพิ่มระดับอินซูลินในเลือด ทําให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ําตาลในเลือดต่ําค่อนข้างน้อย สามารถให้ รับประทานยาโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยนขนาดยา
Rapid acting insulin secretagogues เช่น repaglinide ออกฤทธิ์ โดยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน แต่ระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น ประมาณ 4-6 ชั่วโมง สามารถใช้ได้วันละ 2 ครั้ง คือเวลาเช้ามืดและเย็นในระหว่าง การถือศีลอด และทําให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้น้อยกว่ายา glibenclamide
Dipeptidyl peptidase-4 inhibitors เป็นยาเบาหวานกลุ่มใหม่ อาจใช้เป็นยาทางเลือกใน การรักษา ถ้าผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำจากการใช้ยากลุ่ม Sulfonylureas
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลด้วยยาฉีดอินซูลิน
ผู้ป่วยที่ใช้ pre-mired insulins วันละ 2 ครั้ง ควรมีการสลับขนาดและเวลาในการฉีด อินซูลินเนื่องจากปริมาณอาหารที่ไม่เท่ากันในเดือนรอมฎอนปริมาณอาหารที่รับประทานในเวลาเย็น จะมากกว่า ดังนั้นจึงแนะนําให้สลับขนาดยาที่เคยฉีดก่อนอาหารเช้า มาฉีดในเวลาก่อนอาหารเย็น
ผู้ป่วยที่ใช้อินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาวร่วมกับยารับประทาน ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่ำสามารถใช้ ยา repaginideวันละ 3 ครั้ง ร่วมกับอินซูลิน glargine วันละ 1 ครั้ง
การดูแลผู้ป่วยเบาหวานหลังเดือนรอมฎอน
ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือด ค่า HbAlcน้ำหนักตัว ความดันโลหิต รวมทั้งระดับไขมันในเลือด หรือค่า ทางชีวเคมีอื่นๆ
แนวทางในการนำทฤษฎีsunrise model ไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
1.การประเมิน ข้อมูลจากการประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผน
ข้อมูลทั่วไป: นับถือศาสนาอิสลาม
ข้อมูลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย: เป็นโรคเบาหวานและรักษาตนเองด้วยการกินอินทผาลัมและน้ำในช่วงฝนช่วงถือศีลอด
การรับรู้และการดูแลสุขภาพ: เป็นโรคเบาหวานต้องรับประทานยาสม่ำเสมอแต่ในช่วงเดือนรอมฎอนต้องมีการเปลี่ยนแปลงการรับประทานยาให้เหลือวันละ 2 ครั้ง
อาหารและการเผาผลาญสารอาหาร: ปกติรับประทานอาหารอิสลามวันละ 3 มื้อแต่ในช่วงเวลาของเดือนรอมฎอนจะรับประทานวันละ 2 มื้อ
คุณค่าและความเชื่อ: เชื่อในพระอัลเลาะห์ ถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอย่างเคร่งครัด ละหมาดวันละ 5 ครั้ง
2.การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเนื่องจากแบบแผนการดำเนินชีวิตตามความเชื่อของตนเองโดยไม่สอดคล้องกับแผนการรักษา
มีโอกาสได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการรับประทานอาหารเย็นที่มากขึ้นและรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง
3.การวางแผนการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาล
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบว่าผู้ป่วยสามารถนำอาหารมารับประทานเองได้และสามารถรับประทานอาหารตามเวลาของผู้ป่วยได้
ติดตามประเมินน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยหลังปรับการให้ยาตามแผนการรักษา
จัดห้องให้ผู้ป่วยสำหรับการละหมาดโดยใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดและแจ้งพยาบาลทราบเวลาที่ผู้ป่วยจะใช้ห้องพักพยาบาลสำหรับการละหมาดเพื่อให้ผู้ป่วยได้ปฏิบัติศาสนกิจตามความเชื่อ
แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและไม่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงมาก
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับแผนการรับประทานอาหารของผู้ป่วยในเดือนรอมฎอนเพื่อปรับเวลาในการให้ยาและขนาดยาให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย
แนะนำในเรื่องของการออกกำลังกายควรออกกำลังกายให้สม่ำเสมอครั้งละ 20-30 นาทีโดยจะออกกำลังกายแบบเบาๆจนถึงปานกลางหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่จริงจังและรุนแรง
ควรให้การสนับสนุนผู้ป่วยปฏิบัติกิจกรรมประจำวันตามปกติ
4.การประเมินผลทางการพยาบาล
ผู้ป่วยสามารถบอกเกี่ยวกับอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตได้และบอกให้ผู้ป่วยเปลี่ยนการรับประทานอาหารเ