Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ, วิธีการสวนปัสสาวะ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่าง ๆ (Developmental growth)
วัยเด็ก
เด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยคร้ังกว่า ผู้ใหญ่ เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอน กลางวันก่อนกลางคืน ส่วนเด็กวัยเรียนระบบขับถ่ายปัสสาวะจะเจริญเต็มที่ จะปัสสาวะ 6-8 ครั้งต่อวัน ปัสสาวะรดที่นอนในตอนกลางคืนจะลดลง แต่ถ้าอายุมากกว่า 5 ปีไปแล้วยังมีปัสสาวะรด ที่นอน ควรต้องหาสาเหตุ ว่าเกิดจากอะไร เช่น ความเครียด การเจ็บป่วย
ผู้สูงอายุ
จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ําปัสสาวะเพียง 150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งข้ึน และ มักจะตื่นข้ึน มาปัสสาวะในตอนกลางคืน (Nocturia) นอกจากนกี้ ารท่ีกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะบีบ ตัวลดลง ทําให้มีปัสสาวะคั่ง ทําให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายข้ึน
น้ําและอาหาร (Food and fluid)
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake) ถ้าร่างกายได้รับน้ํามากจํานวนครั้งของการ ขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก ลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ําที่ร่างกายได้รับ
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid) เช่น การสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสีย เลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น ก็มีผลต่อลักษณะ จํานวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะเช่นเดียวกัน
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake) เช่น อาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียม สูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมาก เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทําให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
ยา (Medication)
ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะ เปลี่ยนแปลง ยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง
ด้านจิตสังคม (Psychosocial factors)
ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้น ให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น ความกลัวที่รุนแรงอาจทําให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ความปวดมีผลยับยั้งการ ถ่ายปัสสาวะ ความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ําไหล
สังคมและวัฒนธรรม (Sociocultural factor)
ลักษณะท่าทาง (Body position)
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Activity and Muscle tone)
พยาธิสภาพ (Pathologic conditions)
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่าง ๆ (Surgical and diagnostic procedure)
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ 100-400มิลลิลิตร
กรณอี ยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะ ปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30 วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6 ครั้งต่อวัน และปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
การถ่ายปัสสาวะจะเว้นช่วงห่างประมาณ 2–4 ชั่วโมงในเวลากลางวัน และ 6-8 ชั่วโมง ในเวลากลางคืน
ควรน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร ใน 1 ชั่วโมง (ในคนปกติทั่วไปร่างกายจะผลิตน้ําปัสสาวะในอัตรา 0.5-1 )
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติ
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,
Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ไม่มีปัสสาวะ(Anuria/Urinarysuppression)
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ(Oliguria)
ปัสสาวะมากกว่าปกติ(PolyuriaหรือDiuresis)
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)
ปัสสาวะขัดปัสสาวะลําบาก(Dysuria)
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria)
ปัสสาวะรดที่นอน(Enuresis)
ปัสสาวะคั่ง(Urinaryretention)
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinaryincontinence)
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะที่ปกติ จะประกอบด้วย น้ํา 96% ยูเรีย 2% และสารอื่น ๆ 2%
ปัสสาวะเป็นเลือด (Hematuria)
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ
ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง อาจเห็นชัดเป็นเลือดสดๆ หรือเห็นเมื่อดูจากกล้องจุลทรรศน์พบเม็ดเลือดแดง มากกว่า 3 ตัวต่อ 1 ช่อง (RBC>3cells/HPF)
น้ําตาลในปัสสาวะ (Glycosuria)
ภาวะที่มีน้ําตาลปนออกมาในน้ําปัสสาวะ คนปกติจะตรวจไม่พบน้ําตาลในปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ (Proteinuria หรือ Albuminuria)
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะ มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
คีโตนในปัสสาวะ (Ketonuria)
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ําปัสสาวะโดยคีโตนเป็น ผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ําตาล พบในผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการ รักษาไม่ดี ควบคุมระดับน้ําตาลไม่ได้ และพบในผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรง
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน (Bilirubinuria หรือ Choluria)
ภาวะที่ ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobin ซึ่งปกติจะ ไม่พบในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน (Hemoglobinuria)
ภาวะที่มีการสลายตัวของ เม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ อาจเกิดจากการได้รับ เลือดผิดกลุ่ม ติดเชื้อ ไฟไหม้ น้ําร้อนลวก เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ
ปัสสาวะเป็นหนอง (Pyuria)
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ํา ปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ํานม พบในผู้ป่วย ที่มีการอักเสบติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
นิ่วในปัสสาวะ (Calculi)
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจากมี การตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ (Chyluria)
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะทําให้ เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีปัสสาวะไม่ออก
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะ กรณีท่ีไม่สามารถไปห้องน้ําได้
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยท่ีต้องทําหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีเหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อศึกษาความผิดปกติของท่อปัสสาวะ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะท่ีขับออกมาในผู้ป่วยอาการหนักอย่างถูกต้อง
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittentcatheterization)
การใส่สายสวน ปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ําปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ เมื่อกระเพาะปัสสาวะว่างไม่มีน้ําปัสสาวะไหลออกมาแล้วจะถอดสายสวนปัสสาวะออก
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization)
การสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่ กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์
1) ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1 ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสําหรับทงิ้สําลีใช้แล้ว
2) ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ (Sterile catheterization set)
ถุงมือปลอดเชื้อ (บางโรงพยาบาลอาจแยกออกจากชุดสวนปัสสาวะ)
ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง 1 ผืน
ชามกลมใหญ่ 1 ใบ
ถ้วย 2 ใบ สําหรับใส่สําลี 6-8 ก้อน และผ้าก๊อส 1-2 ผืน
Forceps 1-2 อัน
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้ เช่น KY-jelly
น้ํากลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water) และน้ํายาทําลายเชื้อ (Antiseptic solution) เช่น Povidone-iodine (บางโรงพยาบาลไม่ใช้)
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe) ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ การเลือกใช้สายสวนปัสสาวะควรพิจารณาวัตถุประสงค์ของการใช้งานและขนาดของสายสวนปัสสาวะ
หลักการพยาบาลผู้ป่วยได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะ (Condom catheter)
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะ บ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาต จะบวม แดง และถลอก ดังนั้น ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ํา แล้ว ใช้น้ํากับสบู่ทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช็ดให้แห้ง หลังจากที่เช็ดตัวหรืออาบน้ําเสร็จแล้ว จึงใส่ ถุงยางอันใหม่ แต่ถ้าสังเกตดูพบว่าหนังหุ้มองคชาตมีรอยถลอก บวม แดง หรือมีสีเปลี่ยนไปเพราะเลือด ไหลเวียนไม่สะดวกจากการที่ถุงยางรัดเกินไปให้งดใส่ชั่วคราว และรายงานแพทย์ นอกจากนี้จะต้องคอย ดูแลให้ปัสสาวะระบายลงสู่ถุงรองรับปัสสาวะได้สะดวก โดยต้องคอยระวังไม่ให้ถุงยางบิดเป็นเกลียว หรือ ท่อสายยางของถุงรองรับปัสสาวะหัก พับงอ
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง (Clean mid-stream urine)
ให้ผู้ป่วยทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ แล้วปัสสาวะช่วงสุดท้ายทิ้งไป นําปัสสาวะไปส่งให้เจ้าหน้าที่โดยเร็วที่สุด
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้ Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นาน ประมาณ 15–30 นาที เพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
ล้างมือ สวมถุงมือสะอาด เช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
ใช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
การเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้ว ส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวม น้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น. จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา 08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น ควรแนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีน ก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆ ก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปญั หาการขับถ่ายปัสสาวะ
กรณีตัวอย่าง
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก หลังผ่าตัดได้รับการคาสายสวนปัสสาวะไว้ 7 วัน ลกั ษณะ ปัสสาวะสีเหลืองขุ่น มีตะกอน สัญญาณชีพ 38 องศาเซลเซียส ชีพจร 98 ครั้งต่อนาที หายใจ 20 ครั้งต่อ นาที ความดันโลหิต 120/70 มิลลิเมตรปรอท
การประเมิน
การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติจํานวนครั้งใน24ชั่วโมง
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ
ิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและ หลังให้การพยาบาล
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000 มิลลิลิตรต่อวัน ถ้าไม่มีข้อห้าม
ทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง โดยเฉพาะรอบ ๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ ระวังอย่าดึงสายสวนขณะทําความสะอาดเพราะจะทําให้ ท่อปัสสาวะและผนังกระเพาะปัสสาวะได้รับบาดเจ็บ
ใช้สบู่อ่อนและน้ําหรือน้ํายาทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ในการทําความ สะอาดบริเวณฝีเย็บ หลีกเลี่ยงการใช้แป้งหรือโลชั่น เพราะอาจไปจับกับเยื่อเมือกทําให้เป็นแหล่งสะสม ของเชื้อโรค
รักษาระบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ
อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ ควรเททิ้งอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง
ส่งเสริมให้ปัสสาวะเป็นกรด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ และป้องกันการเกิดนิ่ว
การเปลี่ยนสายสวนปัสสาวะควรทําเมื่อจําเป็น ระยะเวลาในการเปลี่ยนไม่เจาะจง ขนึ้ อยู่กับผู้ป่วยแต่ละคนอาจอยู่ระหว่าง 5 วัน ถึง 2 สัปดาห์
ดูแลให้ถุงรองรับปัสสาวะอยู่ต่ํากว่าระดับกระเพาะปัสสาวะเสมอ จะทําให้ปัสสาวะ ไหลสะดวกตามหลังแรงโน้มถ่วงของโลก และป้องกันไม่ใช้เชื้อโรคจากถุงปัสสาวะย้อนขึ้นไปสู่กระเพาะ ปัสสาวะ
ตรวจดูสายสวนและท่อระบายของถุงรองรับปัสสาวะเป็นระยะไม่ให้หักพับงอ หรือ ถูกทับ เพราะจะปิดกั้นการไหลของปัสสาวะ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยลุกขึ้นเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย จะทําให้ปัสสาวะไหลสะดวก และป้องกันการอุดตันของสายสวนปัสสาวะ
ถ้าเป็นไปได้ให้แยกห้องผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนปัสสาวะออกจาก ผู้ป่วยที่ไม่ติดเชื้อจากการสวนคาสายสวนหรือไม่ควรอยู่เตียงติดกัน
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
รายงานแพทย์เมื่อพบความผิดปกติ
ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์ การประเมินผล เช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ไม่พบเชื้อ
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling หรือ Retention catheter)
บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจําเป็นของการสวนปัสสาวะ วิธีทําอย่างคร่าว ๆ บอกวิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และประโยชน์ของการสวนปัสสาวะ
ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปท่ีเตียงผู้ป่วย
ก้ันม่านและจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ
แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ำกว่ากระเพาะปัสสาวะ
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วย โดยผู้หญิงจัดท่า Dorsal recumbent position เท้าห่างกันประมาณ 2 ฟุต ถอดผ้าถุงออกจัดผ้า (Drape) ให้เรียบร้อย เปิดเฉพาะบริเวณฝีเย็บ (Perineum) ผู้ชายจัดท่า Supine position ขาแยกออกจากกันเล็กน้อย กรณีผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับ สะโพกและชันเข่าไม่ได้ ให้จัดท่า Sim’s หรือ Side-lying position
ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาด
วางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย และเปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิค ปลอดเชื้อ ถ้าผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและดิ้น ให้วางชุดสวนปัสสาวะไว้บนโต๊ะคร่อมเตียง (Over bed table) ที่สะอาดและวางใกล้เตียงผู้ป่วย
ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลําดับการใช้อยู่ในบริเวณ ผ้าห่อ Set และวางห่างจากขอบผ้าเข้าไปอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว
เทน้ํายาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
ฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ แล้วใช้ Transfer forceps คีบสายสวนออกจากซอง วางลงในชามกลม ระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค
ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ
เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter โดยใช้กระบอก ฉีดยาดูดน้ํากลั่นแล้วฉีดเข้าตรงปลายหางที่มีแถบสีที่ทําไว้สําหรับใส่น้ํากลั่น สังเกตดูว่ามีการรั่วหรือไม่ เมื่อแน่ใจว่าบอลลูนไม่รั่ว ให้ดูดน้ํากลั่นออกจนหมดจนบอลลูนแฟบ แล้ววางบนบริเวณปราศจากเชื้อ
คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยให้บริเวณ เจาะกลางอยู่ตรงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกพอดี
ใช้มือซ้ายแหวก Labia ให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะแล้วใช้ Forceps คีบสําลีชุบน้ําเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะ ทิ้งในชามรูปไต (ถุงขยะ) เมื่อเช็ดเสร็จแล้ววาง Forceps ในชามรูปไตหรือขอบผ้า โดยที่มือซ้ายยังคงแหวก Labia อยู่ ส่วนเพศชายให้ทําความสะอาด รูเปิดท่อปัสสาวะและ Glans penis
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jelly ประมาณ 1-2 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-7 นิ้ว (เพศชาย)
ยกภาชนะรองรับปัสสาวะวางบนผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางระหว่างขาผู้ป่วย
ใช้ Forceps ที่เหลือหรือมือข้างที่ถนัดจับสายสวนปัสสาวะให้มั่นคง ให้ปลายเปิด ด้านโคนของสายสวนปัสสาวะวางอยู่ในภาชนะรองรับน้ําปัสสาวะ
ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ําปัสสาวะจะไหล
เมื่อใส่สายสวนเข้าไป 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) จะเห็นปัสสาวะ ไหลออกมาจากนั้นให้ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีกประมาณ 1⁄2-1 นิ้ว (เพศหญิง) หรือเกือบสุดสาย (เพศชาย) ถ้ามีแรงต้านขณะที่สายสวนผ่านเข้า Prostatic sphincter อย่าดันสายสวนเข้าไป จับสายสวน ให้อยู่กับที่สักครู่ บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ หมุนสายสวนเบาๆ ถ้ายังใส่ไม่ได้ให้หยุดทํา รายงานให้แพทย์ทราบ เพราะอาจมีการตีบตันจากต่อมลูกหมากโต
สอดปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะลอดบริเวณเจาะกลางออกมา ระวังอย่าให้ ปลายสาย contaminate แล้วต่อหางสายสวนเข้ากับปลายสายของถุงรองรับปัสสาวะให้แน่นสนิท
เช็ดบริเวณ Vulva ให้แห้งด้วยสําลีที่เหลือ
ถอดถุงมือ ติดพลาสเตอร์ยึดสายสวนกับต้นขาของผู้ป่วย และใช้เข็มกลัดติด สายของถุงรองรับปัสสาวะกับที่นอน
การถอดสายสวนปัสสาวะที่คาไว้ (Removing Indwelling or Retention catheters)
เตรียมเครื่องใช้ ได้แก่ ถุงมือสะอาด 1 คู่ Syringe สะอาดขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อันกระดาษชําระ ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติก 1 ใบ สําหรับใส่สําลีที่ทิ้ง แล้ว และใส่สายสวนปัสสาวะที่ถอดออกมา
บอกผู้ป่วย ใส่ถุงมือทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ และบริเวณ Urethra meatusให้สะอาด
ต่อ Syringe เข้ากับหางของสายสวนปัสสาวะที่ใช้สําหรับใส่น้ํากลั่นแล้วดูดน้ํากลั่น ออกจนหมด
บอกผู้ป่วยให้หายใจเข้าออกลึกๆ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ขณะที่ค่อย ๆ ดึงเอาสาย สวนออกแล้วใส่ในถุงที่เตรียมไว้
ใช้กระดาษชําระเช็ดบริเวณ Perineum ให้แห้ง
สังเกตลักษณะ จํานวนปัสสาวะในถุงก่อนเอาไปเททิ้ง ลงบันทึกวันเวลาที่เอาสาย สวนออก จํานวน สี ลักษณะของปัสสาวะลงในบันทึกทางการพยาบาล