Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย - Coggle Diagram
การวัดพฤติกรรมด้านทักษะพิสัย
ความหมาย
เป็นพฤติกรรมด้านการปฏิบัติที่แสดงออกด้วยการลงมือกระทำโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างกลไกของสมองกับกลไกของกล้ามเนื้อ กลไกทั้งสองจะทำงานประสานและกลมกลืนกัน จนทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างถูกต้อง คล่องแคล่วว่องไว เป็นอัตโนมัติ เช่น การฟ้อนรำ การว่ายน้ำ การปั้น การแกะสลัก
ลักษณะการวัด
จุดประสงค์การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะทางกาย เน้นหนักด้านการวางท่าทางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับการปฏิบัติงานแต่ละชนิด สามารถระบุพฤติกรรมที่แสดงออกได้จากการตีความทักษะหรือการปฏิบัติออกมาเป็นพฤติกรรม ซึ่งสังเกตได้จากความถูกต้องแม่นยำ ความว่องไว คล่องแคล่ว และสม่ำเสมอ
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.การเขียนตอบ (paper and pencil)
การวัดด้านการปฏิบัติอาจจะเริ่มด้วยการทดสอบทางด้านความรู้ความคิด โดยคำถามส่วนใหญ่เป็นการถามความรู้ที่เป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ผ่านมา
3.การใช้สถานการณ์จำลอง (simulated situation)
วิธีการนี้จะทำให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติงานในสถานการณ์ที่เสมือนจริง เช่น การหัดขับรถยนต์ หรือเครื่องบินในสถานการณ์จำลองเพื่อป้องกันไม่ให้ ผู้เรียนได้รับอันตราย เป็นต้น
ตัวอย่างสถานการณ์จริง (work sample)
เป็นการให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง
โดยทั่วไปวิธีที่กล่าวข้างต้นเป็นแบบที่มีความเที่ยงตรง และความเชื่อมั่นสูงกว่าวิธีอื่นๆ แต่การเลือกใช้รูปแบบของการวัดผลงานภาคปฏิบัติที่ดีนั้นขึ้นอยู่กับเรื่องที่สอบวัดเป็นหลัก
การจำแนกพฤติกรรม
1.การรับรู้
เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป้นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
การหาความถูกต้อง
เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะ เมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ ซึ่งจะพัฒนาเป็นรูปแบบของตัวเอง อาจจะเหมือนหรือไม่เหมือนกับตัวแบบเดิมก็ได้
การกระทำอย่างต่อเนื่อง
หลังจากที่ได้ตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองก็จะมีการกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และคล่องแคล่ว นั่นคือ เกิดทักษะขึ้นแล้ว การที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะได้จะต้องอาศัยการฝึกฝนในเรื่องนั้น ๆ และกระทำอย่างสม่ำเสมอ
การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ
เป็นพฤติกรรมสุดท้ายที่จะได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่อง จนสามารถปฏิบัติสิ่งนั้น ๆ ได้คล่องแคล่วว่องไว โดยอัตโนมัติ ดูเป็นไปอย่างธรรมชาติไม่ขัดเขิน ซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
เครื่องมือวัด
1.วัดกระบวนการทำงาน(process)
เวลา
การใช้เวลาปฏิบัติงานน้อย
ทักษะการปรับปรุงการทำงาน
การลดขั้นตอนการทำงาน
คุณภาพขณะปฏิบัติงาน
ความคล่องแคล่วว่องไว
ความเหมาะสมในการเลือกใช้อุปกรณ์
ความผิดพลาด
2.วัดผลผลิต(product)
ปริมาณงาน
ผลผลิตที่ได้ภายใต้เวลาที่กำหนด
ทักษะการปรับปรุงงาน
พัฒนาการของผลงานในเชิงคุณภาพและปริมาณ
คุณภาพของผลงาน
ความเหมาะสมในการนำไปใช้
จุดเด่นของผลงาน