Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่9การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ - Coggle Diagram
บทที่9การส่งเสริมการขับถ่ายปัสสาวะ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะ
การขับถ่ายปัสสาวะของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัย ดังต่อไปนี้
อายุ หรือ พัฒนาการในวัยต่างๆ
วัยเด็ก ด็กทารกกระเพาะปัสสาวะมีความจุน้อย การขับถ่ายปัสสาวะจึงบ่อยครั้งกว่าผู้ใหญ่ เด็กวัยก่อนเรียนจะเริ่มควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้เองโดยจะควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะในตอนกลางวันก่อนกลางคืน
วัยสูงอายุ ากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย เมื่อมีน้ําปัสสาวะเพียง150-200 มิลลิลิตร กระเพาะปัสสาวะก็จะบีบตัวทําให้รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะและทําให้ถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้นและมักจะตื่นขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืน
น้ําและอาหาร
จํานวนน้ําที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)ถ้าร่างกายได้รับน้ํามากจํานวนครั้งของการขับถ่ายและปริมาณปัสสาวะก็จะมาก ลักษณะของปัสสาวะก็จะเจือจางตามปริมาณน้ําที่ร่างกายได้รับ
จํานวนน้ําที่ร่างกายสูญเสีย (Loss of body fluid)เช่นการสูญเสียเหงื่อ มีไข้สูง เสียเลือดมาก อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้นก็มีผลต่อลักษณะ จํานวนครั้ง และปริมาณปัสสาวะ
อาหารที่ร่างกายได้รับ (Food intake)เช่นอาหารที่มีความเค็มมาก (มีปริมาณโซเดียมสูง) ปัสสาวะจะออกน้อยลงและเข้มข้นมากเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจะทําให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น เป็นต้น
ยา
เช่น ยาที่ขับออกทางระบบปัสสาวะจะส่งผลให้สีของน้ําปัสสาวะเปลี่ยนแปลงยาที่มีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติจะรบกวนการขับถ่ายปัสสาวะทําให้ปัสสาวะคั่ง เป็นต้น
ด้านจิตสังคม
เช่น ความเครียดและความวิตกกังวลกระตุ้นให้อยากถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น ความกลัวที่รุนแรงอาจทําให้กลั้นปัสสาวะไม่ได้ ความปวดมีผลยับยั้งการถ่ายปัสสาวะความรู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะเมื่อได้ยินคนพูดเรื่องถ่ายปัสสาวะหรือได้ยินเสียงน้ําไหล เป็นต้น
สังคมและวัฒนธรรม
สังคมและวัฒนธรรมประเพณี รวมถึงการอบรมเลี้ยงดูในครอบครัวมีอิทธิพลต่อนิสัยการขับถ่ายของบุคคล เช่น วัฒนธรรมที่ถือความเป็นส่วนตัวสูง การขับถ่ายปัสสาวะเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่ต้องการให้ใครเห็น เป็นต้น
ลักษณะท่าทาง
โดยปกติผู้ชายจะใช้ท่ายืนซึ่งพบว่าผู้ชายบางรายจะมีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะเมื่ออยู่ในท่านอนราบ ส่วนผู้หญิงจะใช้ท่านั่ง ถ้าจําเป็นต้องใช้หม้อนอนบนเตียงราบก็อาจจะไม่สามารถขับถ่ายปัสสาวะได้หมดเช่นเดียวกัน
กิจกรรมและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
การออกกําลังกายสม่ําเสมอ ทําให้การเผาผลาญอาหารเพิ่มขึ้น ทําให้มีการผลิตปัสสาวะมากขึ้นและถ่ายปัสสาวะบ่อยขึ้น และกล้ามเนื้อหูรูดทําหน้าที่ได้ดี
ผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะไว้เป็นเวลานาน ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวน้อยลงเนื่องจากปัสสาวะไหลตลอดเวลา ทําให้กระเพาะปัสสาวะไม่มีโอกาสยืดขยาย
สตรีในภาวะหมดประจําเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ก็ทําให้กระเพาะปัสสาวะตึงตัวลดลงด้วยเช่นกัน
พยาธิสภาพ
พยาธิสภาพของโรคหลายชนิดมีผลต่อการสร้างปัสสาวะทั้งปริมาณและคุณภาพ เช่นนิ่ว ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะหัวใจล้มเหลว เป็นต้น
การผ่าตัดและการตรวจเพื่อการวินิจฉัยต่างๆ
ความเครียดและความวิตกกังวลในกระบวนการรักษาทําให้ร่างกายหลั่ง ADH และยังทําให้มีการเพิ่มขึ้นของ Aldosteroneทําให้เกิดการคั่งของโซเดียมและน้ํา
การตรวจวินิจฉัยในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น การส่องกล้องเพื่อตรวจในระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง (Cystoscopy)อาจมีผลทําให้มีเลือดออกในปัสสาวะ เป็นต้น
การฉีดยาชาที่ไขสันหลัง ส่งผลต่อการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วย ทําให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอยากถ่ายปัสสาวะ การได้รับยาสลบ ยาแก้ปวดชนิดเสพติด ทําให้อัตราการกรองที่โกลเมอรูสัส ลดลง ส่งผลให้ปริมาณปัสสาวะลดลง
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะและการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
ลักษณะของปัสสาวะในคนปกติมีรายละเอียดดังนี้
แบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะในคนปกติ พบได้ดังนี้
อยากถ่ายปัสสาวะเมื่อมีปริมาณปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ100-400มิลลิลิตร
กรณีอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ทันที ต้องสามารถกลั้นได้ และเมื่อจะปัสสาวะก็สามารถปัสสาวะได้ทันที
เวลาที่ใช้ในการถ่ายปัสสาวะแต่ละครั้งมักไม่เกิน 30วินาที
ตลอดการถ่ายปัสสาวะจะไม่มีอาการเจ็บปวด
ลําปัสสาวะช่วงแรกจะพุ่งแรงและใหญ่กว่าตอนสุด
ปัสสาวะประมาณ 4-6ครั้งต่อวันและปัสสาวะกลางวันบ่อยกว่ากลางคืน
มักถ่ายปัสสาวะก่อนนอน ตอนเช้าหลังตื่นนอน ก่อนหรือหลังรับประทานอาหาร
ลักษณะของปัสสาวะที่ปกติมีดังนี้
ปริมาณปัสสาวะปกติในผู้ใหญ่ ประมาณวันละ 800–1,600 มิลลิลิตร
ลักษณะใส ไม่ขุ่น ไม่มีตะกอน
สีเหลืองจางจนถึงสีเหลืองเข้ม สีเหลืองฟางข้าว หรือสีเหลืองอําพัน
มีความเป็นกรดอ่อนๆ pH ประมาณ 4.6-8.0
มีความถ่วงจําเพาะ (Specific gravity) ประมาณ 1.015-1.025
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ไม่พบ Casts,Bacteria, Albumin หรือน้ําตาล ไม่พบเม็ดเลือดแดง
ปัสสาวะใหม่มีกลิ่นแอมโมเนียอ่อนๆ ถ้าตั้งทิ้งไว้นานๆ จะได้กลิ่นแอมโมเนียที่แรง
การขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดปกติ
ลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะที่ผิดไปจากแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะมีดังนี้
ไม่มีปัสสาวะ (Anuria/Urinary suppression)เป็นภาวะที่มีปริมาณปัสสาวะน้อยกว่า 50 มิลลิลิตรต่อวันหรือไม่มีการปัสสาวะเลย
ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เป็นภาวะที่มีปัสสาวะน้อยกว่า 500 มิลลิลิตร ใน 24 ชั่วโมงหรือน้อยกว่า 30 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง หรือ น้อยกว่า0.5-1 มิลลิลิตร/น้ําหนักตัว 1 กก./ชั่วโมงโดยทั่วไปนึกถึงภาวะขาดน้ําหรือได้รับน้ําน้อย เช่น ท้องเดิน ไข้สูง เสียเลือดมาก เป็นต้น
ปัสสาวะมากกว่าปกติ (Polyuria หรือ Diuresis)เป็นภาวะที่ไตผลิตปัสสาวะออกมาจํานวนมากกว่าปกติ (มากกว่า 2,500–3,000 มิลลิลิตรต่อวัน) อาจเป็นภาวะที่เกิดขึ้นชั่วคราว เนื่องจากดื่มน้ํามาก ได้รับยาขับปัสสาวะ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เป็นต้น
ถ่ายปัสสาวะบ่อยหรือกะปริบกะปรอย (Pollakiuria) เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งกว่าปกติ และมีจํานวนปัสสาวะที่ถ่ายออกแต่ละครั้งลดน้อยลงอาจเนื่องจากกระเพาะปัสสาวะมีความจุลดลงจากก้อนเนื้องอกนิ่ว หรือมีการหดตัวตลอดเวลาจากการอักเสบติดเชื้อ
ปัสสาวะขัด ปัสสาวะลําบาก (Dysuria)เป็นภาวะที่มีการเบ่งถ่ายปัสสาวะ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ ถ่ายลําบาก ต้องใช้เวลาและใช้แรงในการเบ่งเพิ่มขึ้น บางครั้งมีอาการปวดแสบปวดร้อนขณะถ่ายปัสสาวะ มักปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะไม่สุด อยากถ่ายปัสสาวะแบบทันทีทันใด
ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis) เป็นภาวะที่มีปัสสาวะไหลออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจในเด็กที่มีอายุมากกว่า 5 ปีขึ้นไป แต่ถ้าเกิดกับเด็กอายุน้อยกว่านี้ถือว่าปกติ เพราะประสาทที่ควบคุมการขับถ่ายยังเจริญไม่เต็มที่
ปัสสาวะตอนกลางคืน (Nocturia)เป็นภาวะที่มีการถ่ายปัสสาวะในตอนกลางคืนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป ถือเป็นความผิดปกติที่ต้องสังเกต มักพบในผู้สูงอายุชายที่มีต่อมลูกหมากโต ท่อปัสสาวะตีบแคบ
ปัสสาวะคั่ง (Urinary retention) เป็นภาวะที่มีน้ําปัสสาวะคั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเป็นจํานวนมากกว่าปกติและไม่สามารถจะถ่ายปัสสาวะออกมาได้ หรือภาวะที่ไม่มีการถ่ายปัสสาวะในระยะเวลา 8–10 ชั่วโมง กระเพาะปัสสาวะจะตึงแข็งเหนือหัวเหน่าคลําได้เป็นก้อน
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence) เป็นภาวะที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะได้ อาจมีอาการปัสสาวะกระปริดกระปรอย หรือกลั้นไม่ได้มีปัสสาวะไหลตลอดเวลา มี 5 ประเภท ดังนี้
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยสิ้นเชิง ปัสสาวะจะไหลตลอดเวลาโดยไม่มีความรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะ อาจมีสาเหตุจากการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ได้รับการผ่าตัดในอุ้งเชิงกราน ได้รับรังสีรักษาในมะเร็งปากมดลูก การคลอดบุตรยากทําให้เกิดรูรั่วระหว่างกระเพาะปัสสาวะและช่องคลอด
ปัสสาวะเล็ด (Stress incontinence) คือการที่มีปัสสาวะไหลซึมออกมาโดยไม่ตั้งใจ ขณะที่มีความดันในช่องท้องสูงขึ้น เช่น ไอ จาม หัวเราะ ยกของ ออกกําลังกาย
ปัสสาวะท้น (Overflow incontinence)เป็นภาวะที่มีปัสสาวะจํานวนมากเกินกว่าที่กระเพาะปัสสาวะจะเก็บกักไว้ได้ จึงทําให้ปัสสาวะส่วนเกินไหลออกมาโดยไม่มีความรู้สึกปวดปัสสาวะเลย
กลั้นปัสสาวะไม่ทัน หรือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะไวเกิน เป็นภาวะที่เมื่อรู้สึกปวดอยากถ่ายปัสสาวะก็มีปัสสาวะเล็ดหรือราดออกมาทันทีไม่สามารถควบคุมได้ เนื่องจากการขยายตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ
ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ที่เกิดจากภาวะหรือโรคอื่นๆ เช่น จากการติดเชื้อ สาเหตุจากจิตใจ-อารมณ์ อาการเพ้อคลั่ง (Delirium)ท่อปัสสาวะและช่องคลอดฝ่อลีบ
ส่วนประกอบของปัสสาวะที่ผิดปกติ
ปัสสาวะเป็นเลือด
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงปนออกมาในน้ําปัสสาวะ ทําให้ปัสสาวะเป็นสีแดง
น้ําตาลในปัสสาวะ
ภาวะที่มีน้ําตาลปนออกมาในน้ําปัสสาวะโดยคนปกติจะตรวจไม่พบน้ําตาลในปัสสาวะ
โปรตีนในปัสสาวะ
ภาวะที่มีโปรตีนหรือแอลบูมิน ในปัสสาวะมากกว่า 150 มิลลิกรัมต่อวัน
คีโตนในปัสสาวะ
ภาวะที่ตรวจพบคีโตนในน้ําปัสสาวะโดยคีโตนเป็นผลจากการเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงาน แทนพลังงานที่ได้จากน้ําตาล
ปัสสาวะมีสีเหลืองน้ําตาลของบิลิรูบิน
ภาวะที่ตรวจพบบิลิรูบินในน้ําปัสสาวะ โดย bilirubin เป็น Breakdown product ของ Hemoglobinซึ่งปกติจะไม่พบในปัสสาวะ
ปัสสาวะมีสีดําของฮีโมโกลบิน
ภาวะที่มีการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงทําให้เกิด Oxyhemoglobin หรือ Methemoglobin ในปัสสาวะ
ปัสสาวะเป็นหนอง
ภาวะปัสสาวะที่มีเซลล์หนอง เม็ดเลือดขาวในน้ําปัสสาวะบางครั้ง อาจพบมีแบคทีเรียร่วมด้วย จะเห็นปัสสาวะเป็นตะกอนสีขาวคล้ายน้ํานม
นิ่วในปัสสาวะ
ภาวะที่มีก้อนนิ่วปนออกมากับน้ําปัสสาวะเนื่องจากมีการตกตะกอนของเกลือแร่ในร่างกาย
ไขมันในปัสสาวะ
ภาวะปัสสาวะที่มีไขมันออกมาในน้ําปัสสาวะทําให้เห็นปัสสาวะเป็นสีขาวขุ่น แยกสีขาวขุ่นจากหนองโดยการใส่อีเธอร์ลงในปัสสาวะถ้าปัสสาวะเปลี่ยนเป็นใส แสดงว่าเป็นไขมัน ถ้ายังขุ่นเหมือนเดิม แสดงว่าอาจเป็นหนองหรือแบคทีเรีย
หลักการส่งเสริมสุขภาพในระบบทางเดินปัสสาวะ
ส่งเสริมให้กล้ามเนื้อทํางานอย่างเต็มที่
ถ้ากล้ามเนื้อภายในอุ้งเชิงกรานและช่องคลอดหย่อนสมรรถภาพ จะทําให้ปัสสาวะไม่ออกและกลั้นปัสสาวะไม่ได้ การกระตุ้นให้บริหารร่างกายอย่างสม่ําเสมอจะช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหย่อนสมรรถภาพได้ โดยการทําKegel exercise
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีปัสสาวะไม่ออก
พยาบาลควรให้การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
จัดให้ผู้ป่วยอยู่คนเดียวในที่มิดชิดขณะถ่ายปัสสาวะ
ช่วยให้ผู้ป่วยได้ถ่ายปัสสาวะในท่าที่สะดวกเป็นธรรมชาติ
การเปิดก๊อกน้ําให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงน้ําไหลจะช่วยในด้านองค์ประกอบทางอารมณ์ ซึ่งมีบทบาทสําคัญในการทําให้ถ่ายปัสสาวะได้
ให้เวลาในการขับถ่ายปัสสาวะ ไม่เร่งรัดผู้ป่วยเกินไป
ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เป็นการติดเชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดในโรงพยาบาล พยาบาลควรสอนและแนะนําผู้ป่วยในการป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ดังต่อไปนี้
ดื่มน้ําอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
ฝึกถ่ายปัสสาวะบ่อยๆ ทุก 2-4 ชั่วโมง
ดื่มน้ํา 2 แก้วก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์
อาบน้ําด้วยฝักบัวแทนอาบในอ่างอาบน้ํา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่แรง การแช่ฟองสบู่ในอ่างอาบน้ํา
ใส่ชุดชั้นในที่ทําด้วยผ้าฝ้ายดีกว่าทําด้วยไนล่อน เนื่องจากผ้าฝ้ายทําให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
หลีกเลี่ยงการใส่กางเกงที่แน่นหรือคับเกินไป เพราะทําให้ระคายเคืองบริเวณรูเปิดท่อปัสสาวะ
เพิ่มความเป็นกรดของปัสสาวะ โดยการรับประทานวิตามินซี และดื่มน้ําผลไม้ที่เป็นกรด
สอนให้นวดกระเพาะปัสสาวะ
การนวดกระเพาะปัสสาวะเป็นเทคนิคที่ช่วยทําให้กระเพาะปัสสาวะว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องที่ระบบประสาทควบคุมการถ่ายปัสสาวะจนทําให้มีปัสสาวะจํานวนมาก คั่งอยู่ในกระเพาะปัสสาวะแต่ถ่ายไม่ออก
ส่งเสริมให้ได้รับน้ําอย่างเพียงพอ
ในผู้ใหญ่ควรได้รับน้ําสะอาด อย่างน้อยวันละ 6-8แก้วหรือประมาณ 1,500-2,000 มิลลิลิตร
เสริมสร้างนิสัยของการถ่ายปัสสาวะ
เป็นวิธีที่ใช้สําหรับผู้ป่วยที่มีความบกพร่องเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในช่วงเวลาถ่ายปัสสาวะที่ยาวนานมาก จนเป็นผลให้เกิดการกลั้นปัสสาวะ
การช่วยเหลือผู้ป่วยในการขับถ่ายปัสสาวะกรณีที่ไม่สามารถไปห้องน้ําได้
พยาบาลอาจต้องนําหม้อนอน (Bedpan)ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้หญิง หรือ กระบอกปัสสาวะ (Urinal) ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นผู้ชายมาให้ผู้ป่วยที่เตียง
การสวนปัสสาวะ
วัตถุประสงค์ของการสวนปัสสาวะ
เพื่อระบายเอาน้ําปัสสาวะออกในผู้ป่วยที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะเองได้
เพื่อช่วยให้กระเพาะปัสสาวะว่างในผู้ป่วยที่ต้องทําหัตถการต่างๆ
เพื่อตรวจสอบจํานวนน้ําปัสสาวะที่เหลือค้างในกระเพาะปัสสาวะ
เพื่อเก็บน้ําปัสสาวะส่งตรวจเพาะเชื้อ
เพื่อสวนล้างกระเพาะปัสสาวะ หรือใส่ยาในกระเพาะปัสสาวะ
ชนิดของการสวนปัสสาวะ
มี 2 ชนิดคือ
การสวนปัสสาวะเป็นครั้งคราว (Intermittent catheterization) เป็นการใส่สายสวนปัสสาวะผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ เพื่อระบายน้ําปัสสาวะออกจากกระเพาะปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling catheterization or retained catheterization) เป็นการสอดใส่สายสวนปัสสาวะชนิด Foley catheter ผ่านทางท่อปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะแล้วคาสายสวนสวนปัสสาวะไว้
อุปกรณ์
อุปกรณ์สําหรับการสวนปัสสาวะประกอบด้วย
ชุดทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ 1ชุด หม้อนอน ถุงมือสะอาด 1 คู่ ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกสําหรับทิ้งสําลีใช้แล้ว
ชุดสวนปัสสาวะที่ปราศจากเชื้อ ประกอบด้วยถุงมือปลอดเชื้อ (บางโรงพยาบาลอาจแยกออกจากชุดสวนปัสสาวะ)-ผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลาง 1 ผืน-ชามกลมใหญ่ 1ใบ-ถ้วย 2 ใบ สําหรับใส่สําลี 6-8 ก้อน และผ้าก๊อส 1-2 ผืน-Forceps 1-2อัน
สารหล่อลื่นสายสวนชนิดละลายน้ําได้ เช่น KY-jellyเป็นต้น
น้ํากลั่นปลอดเชื้อ (Sterile water)และน้ํายาทําลายเชื้อ (Antiseptic solution) เช่น Povidone-iodine (บางโรงพยาบาลไม่ใช้)เป็นต้น
กระบอกฉีดยาปลอดเชื้อ (Sterile syringe)ขนาด 10 มิลลิลิตร 1 อัน
Transfer forceps
ถุงรองรับปัสสาวะปลอดเชื้อและเป็นระบบปิด (Sterile urine bag) 1 ใบ
โคมไฟ หรือไฟฉาย
พลาสเตอร์, เข็มกลัด, ผ้าปิดตา
สายสวนปัสสาวะ
วิธีการสวนปัสสาวะ
การสวนคาสายสวนปัสสาวะ (Indwelling หรือRetention catheter)มีวิธีการปฏิบัติดังนี้
บอกผู้ป่วยอธิบายให้เข้าใจถึงความจําเป็นของการสวนปัสสาวะ วิธีทําอย่างคร่าวๆ บอกวิธีปฏิบัติตัวของผู้ป่วย และประโยชน์ของการสวนปัสสาวะ
ล้างมือให้สะอาด เตรียมของใช้ ไปที่เตียงผู้ป่วย กั้นม่าน และจัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ แขวนถุงรองรับปัสสาวะกับขอบเตียงให้อยู่ต่ํากว่ากระเพาะปัสสาวะ
จัดท่า ปิดตา คลุมผ้าผู้ป่วยโดยผู้หญิงจัดท่าDorsal recumbent position
ผู้ชายจัดท่า Supine positionขาแยกออกจากกันเล็กน้อย
ทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดวางชุดสวนปัสสาวะลงบนเตียงระหว่างขาของผู้ป่วย และเปิดผ้าห่อออกด้วยเทคนิคปลอดเชื้อ
ใช้ Transfer forceps จัดวางเครื่องใช้เรียงไว้ตามลําดับการใช้อยู่ในบริเวณผ้าห่อ Set และวางห่างจากขอบผ้าเข้าไปอย่างน้อยประมาณ 1 นิ้ว เทน้ํายาลงในถ้วย บีบ KY-jelly ลงในผ้าก๊อซ (ถ้ามี) หรือในชามกลมใบใหญ่
ฉีกซองใส่สายสวนปัสสาวะ แล้วใช้ Transfer forceps คีบสายสวนออกจากซองวางลงในชามกลม ระวังการปนเปื้อนเชื้อโรค ฉีกซองกระบอกฉีดยาลงในชุดสวนปัสสาวะด้วยวิธีปลอดเชื้อ เปิดซองถุงมือและใส่ถุงมือด้วยวิธีปลอดเชื้อ
ตรวจสอบประสิทธิภาพของบอลลูนที่ปลาย Foley catheter
คลี่และวางผ้าสี่เหลี่ยมเจาะกลางบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยให้บริเวณเจาะกลางอยู่ตรงบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกพอดี ใช้มือซ้ายแหวก Labiaให้กว้างจนเห็นรูเปิดของท่อปัสสาวะแล้วใช้ Forceps คีบสําลีชุบน้ําเกลือเช็ดบริเวณเปิดของท่อปัสสาวะ ทิ้งในชามรูปไต (ถุงขยะ)
ใช้มือข้างที่ถนัดหยิบสายสวนปัสสาวะหล่อลื่น KY-Jellyประมาณ 1-2 นิ้ว(เพศหญิง) หรือ 6-7 นิ้ว(เพศชาย)
ค่อยๆ สอดสายสวนปัสสาวะเข้าไปในรูเปิดของท่อปัสสาวะลึก 2-3นิ้ว(เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย) หรือจนกว่าน้ําปัสสาวะจะไหล
เมื่อใส่สายสวนเข้าไป 2-3 นิ้ว (เพศหญิง) หรือ 6-8 นิ้ว (เพศชาย)จะเห็นปัสสาวะไหลออกมาจากนั้นให้ดันสายสวนเข้าไปให้ลึกอีกประมาณ ½-1นิ้ว(เพศหญิง) หรือเกือบสุดสาย (เพศชาย)ถ้ามีแรงต้านขณะที่สายสวนผ่านเข้า Prostaticsphincter อย่าดันสายสวนเข้าไป
หลักการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะได้
การใส่ถุงยางอนามัย เป็นการระบายปัสสาวะภายนอก ในผู้ชายให้ปัสสาวะไหลไปตามท่อลงสู่ภาชนะหรือถุงรองรับปัสสาวะ การใส่ถุงยางอนามัยจะพิจารณาผู้ที่มีปัญหา ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ
วัตถุประสงค์
เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันการระคายเคืองของผิวหนัง เนื่องจากเปียกปัสสาวะบ่อย ๆ
ป้องกันการเกิดแผลกดทับในรายที่ต้องรักษาตัวนาน ๆ
ป้องกันการติดเชื้อจากการใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้
ป้องกันการอักเสบในรายที่มีแผล
ผู้ป่วยที่ใส่ถุงยางอนามัยเพื่อระบายปัสสาวะเป็นเวลานานมีโอกาสที่ผิวหนังบริเวณองคชาต จะบวม แดง และถลอก ดังนั้น ต้องเปลี่ยนถุงยางอนามัยให้ผู้ป่วยทุกวัน ก่อนที่จะเช็ดตัวหรืออาบน้ํา แล้วใช้น้ํากับสบู่ทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เช็ดให้แห้ง
การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
วิธีการเก็บปัสสาวะจากสายสวนปัสสาวะที่คาไว้
ใช้Clamp หนีบสายสวนปัสสาวะที่ใต้รอยต่อระหว่างสายต่อของถุงกับสายสวนไว้นานประมาณ 15–30 นาทีเพื่อให้มีปัสสาวะใหม่เก็บอยู่ก่อน
เตรียม Syringe sterile เข็มปลอดเชื้อ Sterile swab น้ํายาฆ่าเชื้อ
ล้างมือสวมถุงมือสะอาดเช็ดบริเวณที่จะเก็บปัสสาวะด้วยน้ํายาฆ่าเชื้อ
ช้กระบอกฉีดยาที่มีเข็มปลอดเชื้อแทงที่สายสวนปัสสาวะตรงตําแหน่งที่ทําความสะอาดฆ่าเชื้อไว้แล้ว ดูดปัสสาวะออกมาประมาณ 10 มล. ส่งตรวจเพาะเชื้อทันที
วิธีการเก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง
เป็นการเก็บปัสสาวะที่มีการรวบรวมไว้จนครบ 24 ชั่วโมงแล้วส่งตรวจ เริ่มเก็บปัสสาวะเวลา 08.00 น. โดยให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะทิ้งก่อนเริ่มเก็บ และรวบรวมน้ําปัสสาวะที่เก็บได้หลัง 08.00 น.จนครบกําหนด 24 ชั่วโมง แล้วถ่ายปัสสาวะเก็บเป็นครั้งสุดท้าย คือ เวลา08.00 น. เช้าวันรุ่งขึ้น
แนะนําให้งดโปรตีน คาเฟอีนก่อนการเก็บปัสสาวะประมาณ 6 ชั่วโมง และให้ผู้ป่วยดื่มน้ํามากๆก่อนและระหว่างการเก็บ (ถ้าไม่มีข้อห้าม)
วิธีการเก็บปัสสาวะแบบรองเก็บปัสสาวะช่วงกลาง(Clean mid-streamurine)
โดยให้ผู้ป่วยทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ําสะอาด ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ให้ปัสสาวะทิ้งช่วงต้นไปเล็กน้อย เก็บปัสสาวะในช่วงถัดมาประมาณครึ่งภาชนะ หรือประมาณ 30-50 ml. โดยห้ามสัมผัสด้านในของภาชนะ
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมและช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายปัสสาวะ
การประเมิน
การซักประวัติแบบแผนและลักษณะการขับถ่ายปัสสาวะปกติ จํานวนครั้งใน 24 ชั่วโมง ลักษณะและสีของปัสสาวะ ปริมาณน้ําดื่มต่อวัน ยาที่รับประทานประจํา โรคประจําตัว เบาหวาน ความดันความเครียด กิจกรรมที่ทําประจําวัน เช่น การออกกําลังกายลักษณะอาหารที่รับประทานประจํา ความสามารถในการทํากิจวัตรประจําวันเป็นต้น
ตรวจร่างกายในระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ การเคาะบริเวณไต เพื่อหาตําแหน่งที่ปวด การคลําและเคาะกระเพาะปัสสาวะ ตรวจสีลักษณะและความตึงตัวของผิวหนัง และภาวะบวม
วิเคราะห์ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การวินิจฉัยทางการพยาบาล
การประเมินสามารถกําหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลดังนี้
มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
การวางแผนการพยาบาล และการปฏิบัติการพยาบาล
ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะทั้งก่อนและหลังให้การพยาบาล ได้แก่ ปัสสาวะสีขาวขุ่น มีตะกอน
ประเมินสัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก Aseptic technique
Force oral fluid มากกว่า 2,000-3,000มิลลิลิตรต่อวันถ้าไม่มีข้อห้าม
ทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บให้สะอาด วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น และหลังถ่ายอุจจาระทุกครั้ง โดยเฉพาะรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ ระวังอย่าดึงสายสวนขณะทําความสะอาดเพราะจะทําให้ท่อปัสสาวะและผนังกระเพาะปัสสาวะได้รับบาดเจ็บ
ใช้สบู่อ่อนและน้ําหรือน้ํายาทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก ในการทําความสะอาดบริเวณฝีเย็บ หลีกเลี่ยงการใช้แป้งหรือโลชั่น
รักษาระบบการระบายปัสสาวะให้เป็นระบบปิดอยู่เสมอ ไม่ปลดสายสวนและท่อสายยางของถุงรองรับปัสสาวะออกจากกัน เพื่อเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
อย่าปล่อยให้ปัสสาวะเต็มถุงรองรับ ควรเททิ้งอย่างน้อยทุก 8 ชั่วโมง ด้วยวิธีที่ถูกต้องคือก่อนและหลังเทปัสสาวะออกจากถุงควรใช้สําลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ดบริเวณปลายท่อเปิดของถุงรองรับปัสสาวะ
ประเมินผลการพยาบาล
ภายหลังให้การพยาบาลควรมีการประเมินทุกครั้งตามเกณฑ์การประเมินผลเช่น ปัสสาวะสีเหลืองใสไม่มีตะกอน สัญญาณชีพปกติ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ เป็นต้น