Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
**ชื่อหน่วยการเรียนรู้ กล้วยสารพัดนึก, ดาวน์โหลด-removebg-preview -…
**ชื่อหน่วยการเรียนรู้
กล้วยสารพัดนึก
สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ส 1.2
มาตรฐาน ส 1.2 เข้าใจตระหนักและปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และธำรงรักษาพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ
ตัวชี้วัด ช่วงชั้นปี ม.2/4 อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนา และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
บูรณาการกับวิชา การงานอาชีพ สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว
มาตรฐาน ง 1.1 เข้าใจการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทำงาน ทักษะการจัดการ ทักษะกระบวนการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแสวงหาความรู้ มีคุณธรรมและลักษณะนิสัยในการทำงาน มีจิตสำนึกในการใช้พลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิตและครอบครัว
ตัวชี้วัด ม.2/3 มีจิตสำนึกในการทำงาน และใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานอย่างประหยัดและคุ้มค่า
วิธีการสอน
ให้นักเรียนสร้างสรรค์งานฝีมือจากใบตองเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น การทำบายศรีสู่ขวัญ
สาระที่ 2 หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำรงชีวิตในสังคม ส 2.1
มาตรฐาน 2.1 เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงามและธำรงรักษา ประเพณีวัฒนธรรมไทย ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยและสังคมโลกอย่างสันติสุข
ตัวชี้วัด ช่วงชั้นปี ม.2/2
เห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานะภาพบทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
บูรณาการกับ วิชา ศิลปะ
สาระที่ 1 ทัศนศิลป์
มาตรฐาน ศ 1.1 สร้างสรรค์งาน ทัศนศิลป์ตามจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ ถ่ายทอดความรู้สึก ความคิดต่องานศิลปะอย่างอิสระ ชื่นชม และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตัวชี้วัด ม.2/3 วาดภาพด้วยเทคนิคที่หลากหลายในการสื่อความหมายและเรื่องราวต่าง ๆ
วิธีการสอน
ให้นักเรียนช่วยกันออกแบบ ลงมือปฏิบัติในการปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ ตามระยะเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งนี้การทำกิจกรรมปรับภูมิทัศน์ นักเรียนต้องรักษาเวลา มีความสามัคคี ร่วมด้วยช่วยกันในการทำกิจกรรมที่กำหนด
สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ส 3.1
มาตรฐาน ส 3.1 เข้าใจและสามารถบริการจัดการ ทรัพยากรในการผลิตและการบริโภคการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ารวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพ
ตัวชี้วัด ม. 2/3 เสนอแนวทางการพัฒนาการผลิตในท้องถิ่นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
บูรณาการกับ วิชาคณิตศาสตร์ สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.3 ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็น ช่วยในการตัดดสินใจ และการแก้ปัญหา
ตัวชี้วัด ม. 3 (1) ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นประกอบการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ
วิธีการสอน
ให้นักเรียนสำรวจข้อมูลความชอบของหวานซึ่งมีวัตถุดิบหลักเป็นกล้วย แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินความคุ้มค่าแล้วร่วมกันผลิตเมนูเพื่อการการวางขาย เลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้อย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดตามแนวคิดหลักปรีชญาเศรษฐกิจพอเพียง
**สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ส 5.2
มาตรฐาน ส 5.2 เข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมทางกายภาพก่อให้เกิดการสร้างสรรค์วัฒนธรรม มีจิตสำนึก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด ม.1/3 วิเคราะห์เชื่อมโยงสาเหตุ และแนวทางป้องกันภัยธรรมชาติ และการระวังภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย
บูรณาการกับวิชาวิทยาศาสตร์ สาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มาตรฐาน ว 2.2 เข้าใจความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในระดับท้องถิ่นประเทศและโลก นำความรู้ไปใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด ม.3/1 วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นและเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา
วิธีการสอน ให้นักเรียนศึกษาปัญหาคลองในชุมชนมีน้ำไม่พอใช้ในช่วงฤดูร้อน สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาโดยศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ท้องที่ รู้จักใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และเกิดผลประโยชน์สูงสุด
สาระที่ 4 ประวัติสาสตร์ ส 4.3
มาตรฐาน ส 4.3 เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทย มีความรัก ความภูมิใจ และธำรงความเป็นไทย
ตัวชี้วัด ม.2/3 ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อการพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา
บูรณาการกับ วิชาภาษาไทย สาระที่ 2 การเขียน
มาตรฐาน ท 2.1 ใช้กระบวนการเขียน เขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่าง ๆ เขียนรายงานขอมูลสารสนเทศ และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด ม.2/3
เขียนเรียงความ
วิธีการสอน
ให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ขนมหวานของไทยที่นำมาซึ่งความเกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลของภูมิปัญญาในการทำขนมกล้วย