Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
(hepatitis A virus: HAV)
ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคตับอักเสบเอเข้าไป
เชื้อไวรัสผ่านกระเพาะไปยังลำไส้ ประมาณ 15-50 วัน (เฉลี่ย 28 วัน) ---> กระจายเข้าสู่ตับ
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
ตรวจพบน้ำดีในปัสสาวะ ---> ตับเหลือง ตาเหลือง
ตรวจพบ alkaline phosphatase
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAVผ่านไปยังทารก
คุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
พบลักษณะอาการทางคลินิก
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV
ตรวจการทำงานของตับ
การป้องกันและการรักษา
รักษาแบบประคับประคอง
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง
แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย
มาตรวจตามนัด
หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี (Hepatitis B virus)
ผ่านทางเลือด น้ำลาย อสุจิ สิ่งคัดหลั่งทางช่องคลอด น้ำนม และผ่านทางรก
ไวรัสเข้าสู่เซลล์ตับจะแบ่งตัวได้รวดเร็ว ---> เกิดการอักเสบเรื้อรัง
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรก
เชื้อเข้าสู่ร่างกาย และแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว
ตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก
พบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จำนวนมาก
ไม่แสดงอาการ
ระยะที่สอง
2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ
อ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
พบเอนไซม์ตับสูงขึ้น
ตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจำนวน Hepatitis B virus DNA ลดลง
ระยะที่สาม
anti-HBe ทำลาย HBeAg จนเหลือ < 105 copies/mL (20,000 IU/mL)
เข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier)
ตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก
ระยะที่สี่
เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่
ตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
อาการและอาการแสดง
ฟักตัว 50-150 วัน
ไข้ต่ำ ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง
คลำพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
หายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์
บางส่วนกลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรังตับวาย และมะเร็งตับ
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 3 เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
ทารก
น้ำหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิต
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
พบอาการและอาการแสดง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การทำงานของตับ
หา antigen และ antibody
HBsAg, Anti-Hbs, Anti-HBc, HBeAg และ Anti-HBe
แนวทางการป้องกันและรักษา
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกราย โดยตรวจหา HBsAg
กรณีวินิจฉัยว่าติดเชื้อ Hepatitis B virus
พักผ่อนอย่างเพียงพอ งดการออกแรงทำงานหนัก
ทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไขมันสูง
ให้สารน้ำทาง IV ให้ยาแก้อาเจียน
รายที่มีค่า HBeAg เป็นบวก + เอนไซม์ตับสูงเกิน 2 เท่า ---> ยา Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF)
ให้พาสมาชิกในครอบครัวและสามีมาตรวจเลือด
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการ และพิจารณาให้คลอดทางช่องคลอด
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่
แนะนำแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ตระหนักถึงความสำคัญการมาตรวจตามนัด
แนะนำการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ระยะคลอด
นอนพักบนเตียง ประเมิน FHS
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ำคร่ำ และตรวจทางช่องคลอด
ศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่าง ๆ ออกจากปากและจมูกให้มากที่สุด
ทำความสะอาดทารกทันทีที่คลอด
ระยะหลังคลอด
ไม่จำเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก
เน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย
แนะนำให้นำทารกมารับวัคซีน
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการ
ตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว
กลุ่มที่มีอาการ
ผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลำตัวและแขนขา
เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ คงอยู่ 4 week
ปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ำเหลืองโตทั้งสอง
เข้าไปทำลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรก ---> เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย
ในทารกเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กำลังแบ่งตัว --->
ทำให้เซลล์ติดเชื้อ
เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กำเนิด
อาการและอาการแสดง
ไข้ต่ำ ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ
ต่อน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต ปวดข้อ
ไข้เป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป ---> มีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดงดป็นปื้น ---> เริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นตามหน้าอก ลำตัว แขนขา จนทั่วร่างกาย
เกิดในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
รู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อย
ทารก
แท้ง ตายคลอด หรือพิการแต่กำเนิด
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว
ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ำ ปอดบวม กระดูกบาง
ความผิดปกติถาวร
หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
การพยาบาล
ให้วัคซีน และหลังให้วัคซีนจะต้องคุมกำเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัส
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถาม
อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ การดำเนินของโรค และการรักษาพยาบาล
ตัดสินใจยุติการตั้งครรภ์ เตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อม
ดูแลด้านจิตใจของมารดาและครอบครัว
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ
ระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน
โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome
อาการและอาการแสดง
ไข้ต่ำ ๆ นำมาก่อนประมาณ 1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นและตุ่ม
ขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน เป็นตุ่มน้ำใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ำค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลำตัว และแผ่นหลัง
ต่อมน้ำเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลำได้ก้อนกดเจ็บ
เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น คันมาก
ตุ่มทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน จากนั้นเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ปอดอักเสบ หรือปอดบวม
ระบบหายใจล้มเหลว
ซึมลง และมีอาการชัก
เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารก
ทารก
ติดเชื้อในครรภ์
เกิดความพิการก่อนกำเนิด
ต้อกระจก
ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ
แขนขาลีบเล็ก และแผลเป็นตามตัว
ติดเชื้อปริกำเนิด
ติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด
เสียชีวิต
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgM
ตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส
รักษาแบบประคับประคอง
การรักษาแบบเจาะจง โดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใส Acyclovir
การพยาบาล
ระยะก่อนตั้งครรภ์
ฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
หลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์
เว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน
ระยะตั้งครรภ์
พักผ่อนอย่างเต็มที่ ทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง ออกกำลังกาย
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
มารดามีอาการ แยกทารกแรกจากมารดาในระยะ 5 วันแรกหลังคลอด
แนะนำให้แยกของใช้สำหรับมารดา และทารก เน้นเรื่องความสะอาด
พ้นระยะการติดต่อ แนะนำเกี่ยวกับการให้นมมารดา
ทานอาหารโปรตีนและวิตามินซีสูง พักผ่อนเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เน้นย้ำการมาตรวจตามนัด
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส
(Cytomegalovirus: CMV)
พยาธิสรีรภาพ
เข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
แหล่งของเชื้อ CMV พบได้จากสารคัดหลั่งหลายชนิด
ส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้วตั้งแต่วัยเด็ก โดยไม่มีอาการของโรค
อาการและอาการแสดง
mononucleosis syndrome
ไข้สูงนาน ปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวม ตับอักเสบ และอาการทางสมอง
ในเด็กทารก
รุนแรงทางสมองและระบบประสาท
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
แท้ง คลอดก่อนกำหนด
รกลอกตัวก่อนกำหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ำคร่ำ
ทารก
IUGR แท้ง fetal distress
คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือด
Amniocentesis for CMV DNA PCR
ตรวจ Plasma specimen for culture หรือ quantitative real-time PCR
ตรวจพิเศษ
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
ให้วัคซีน
วางแผนเว้นระยะการมีบุตรไปก่อนอย่างน้อย 2 ปี
รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การรักษา
ให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegalo viral human
ให้ยาต้านไวรัส
ประเมินอาการและอาการ
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ซักประวัติ เพื่อคัดกรอง
อธิบายเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง การดำเนินของโรค ผลกระทบ และแผนการรักษาพยาบาล
งดมีเพศสัมพันธ์ ใช้ถุงยาง
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution
ควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
เน้นหลัก Universal precaution
งดให้นมมารดา
เน้นย้ำการรักษาความสะอาดและการมาตรวจตามนัด
สังเกตอาการผิดปกติของทารก
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ
กลุ่มอาการของ Mononucleosis
มีพยาธิที่สมอง Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
รุนแรง ---> ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
แท้ง คลอดก่อนกำเนิด
ถุงน้ำคร่ำและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก
ติดเชื้อแต่กำเนิดทารกแรก
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis
หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต
เสียชีวิตหลังคลอด และสมองและตาจะถูกทำลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ
ตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ำคร่ำ
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นดูแลแมวแทน ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
ทำความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาด
หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้าง ไข่ดิบ นมสดที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์
ดูแลสวนหญ้า แนะนำให้สวมถุงมือยาง
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค
ติดตามผลการตรวจเลือด
เน้นการรักษาอย่างต่อเนื่อง
แนะนำเกี่ยวกับการสัมผัสเชื้อ
ระยะคลอด
เน้นหลัก Universal precaution
หลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที จากนั้นป้ายตา
ระยะหลังคลอด
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อ
เน้นเรื่องการรักษาความสะอาด การมาตรวจตามนัด
การติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika)
อาการและอาการแสดง
ไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน
อาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
แสดงอาการมากในไตรมาสที่ 3
มีผื่นขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
ทารก
ผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น
ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
IUGR
ภาวะแทรกซ้อน ---> ศีรษะเล็ก
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวงร่างกาย
ทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)
ตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA หรือ Immunofluorescence
ตรวจพิเศษ
ตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกัน
ระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา
ระบบเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา
ระบบเฝ้าระวังทารกที่มีความผิดพิการแต่กำเนิด
ระบบเฝ้าระวังกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบประสาท
การรักษา
ทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมาก ๆ และรักษาตามอาการ
การพยาบาล
ให้คำแนะนำในการป้องกัน
ใช้ยากำจัดแมลง/ยาทากันยุงกัด
นอนในมุ้ง และปิดหน้าต่าง
สวมเสื้อผ้าเนื้อหนา สีอ่อน ๆ
กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรค
ใช้ถุงยางอนามัย
การติดเชื้อในระยะตั้งครรภ์
อธิบายเกี่ยวกับการดำเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบ
ประเมินสัญญาณชีพโดยเฉพาะอุณหภูมิ
ประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ โดยการฟังเสียงหัวใจทารก การวัดระดับยอดมดลูก
เน้นย้ำการมาตรวจครรภ์ตามนัด
ยึดหลัก universal precaution
ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด
เน้นย้ำการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง
การมาตรวจตามนัด
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์
(COVID-19 during Pregnancy)
อาการและอาการแสดง
T ตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
อาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
ติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกำหนด
ทารก
พัฒนาการล่าช้า
คลอดน้ำหนักตัวน้อย
คลอดก่อนกำหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ำ
ตรวจหา viralnucleic acid ด้วยวิธี real-time polymerase chain reaction (RT-PCR) จากสารคัดหลั่ง
ส่งสิ่งคัดหลั่งตรวจหาเชื้อไวรัสอื่น
ส่งเพาะเชื้อแบคทีเรียจากเลือด
การตรวจพิเศษ
ตรวจเอกซเรย์ปอดหรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องอก
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากร
เน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPE
การดูแลรักษา
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19
มีไข้ ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
เลื่อนการนัดผ่าตัดคลอดหรือการกระตุ้นคลอดออกไปอย่างน้อย 14 วัน
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรง
ยาต้านไวรัส
สตรีตั้งครรภ์ที่มีอาการรุนแรง
หากอาการแย่ลง ควรคิดถึงภาวะ pulmonary embolism
ไม่ให้ออกซิเจนทาง face mask หรือ face mask with bag
On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ให้ยาต้านไวรัสและ/หรือยาอื่น ๆ
ยุติการตั้งครรภ์
การดูแลรักษากรณีฉุกเฉิน
บุคลากรใส่ชุด full PPE
การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด
On EFM ถ้าอายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง
ทำ epidural block
ใช้ก๊าซสูดดม
ทำการผ่าตัดในห้องแยกความดันลบ
หลีกเลี่ยง general anesthesia
กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ให้ corticosteroids สำหรับกระตุ้นปอดทารก
ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก ไม่ควรใช้ยา indomethacin
ไม่แนะนำให้ยับยั้งการหดรัดตัวของมดลูก
ให้ magnesium sulfate
การดูแลทารกแรกเกิด
ทารกดูดนมจากเต้า
แยกทารกออกจากมารดาชั่วคราว
การดูแลมารดาหลังคลอด
หลีกเลี่ยงการเข้าไปสัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด
การดูแลด้านจิตใจ
เฝ้าระวังและประเมินความเครียดและอาการซึมเศร้า
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้
รักษาระยะห่าง social distancing
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ
หลีกเลี่ยงการใช้ภาชนะ ของใช้ส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที
ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
เน้นย้ำให้มาตรวจตามนัด
กลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
แยกตนเอง และสังเกตอาการจนครบ 14 วัน
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะ
อธิบายถึงความเสี่ยง ความจำเป็น และประโยชน์ ของการแยกแม่ออกจากทารกชั่วคราว
การปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
แนะนำการปฏิบัติ
เตรียมนมและการปั๊มนม
อาบน้ำหรือเช็ดทำความสะอาดบริเวณเต้านมและหัวนมด้วยน้ำและสบู่
ล้างมือให้สะอาด
สวมหน้ากากอนามัย
ล้างทำความสะอาดอุปกรณ์