Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ (hepatitis A virus: HAV)
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การสัมผัสเชื้อโรค
การตรวจร่างกาย มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด และอาจมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ตรวจหา antibody-HAV และ IgM-anti HAV และตรวจการทํางานของตับ
การป้องกันและการรักษา
เป็นการรักษาแบบประคับประคองตามอาการที่ปรากฏ ถึงแม้ว่าเชื้อ HAV จะไม่ผ่านรก แต่หากสตรีตั้งครรภ์ติดเชื้อในระยะใกล้คลอด
ทารกมีโอกาสติดเชื้อหลังคลอดได้ ดังนั้นอาจพิจารณาให้ immune serum globulin (ISG) ในรายที่สัมผัสเชื้อ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือน
หากสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ
เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง
ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค
ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ
การติดเชื้อโปรโตซัว (Toxoplasmosis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การแท้ง คลอดก่อนกําเนิด ถุงน้ําคร่ําและเยื่อหุ้มทารกอักเสบ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ไข้ ชัก ทารกหัวบาตร microcephaly, chorioretinitis, หินปูนจับในสมอง (Cerebral calcification) ตับและม้ามโต ตาและตัวเหลือง ทารกมักเสียชีวิตหลังคลอด และทารกที่ติดเชื้อ สมองและตาจะถูกทําลาย
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมักไม่แสดงอาการ หรือมีอ่อนเพลียเล็กน้อย
การตรวจเลือดหา DNA ของเชื้อ การวินิจฉัยก่อนคลอด โดยการตรวจเลือดสายสะดือทารกหรือน้ําคร่ํา การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
การซักประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสสัตว์ที่เป็นโรค
อาการและอาการแสดง
อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ แต่อาจมีกลุ่มอาการของ Mononucleosis รายที่รุนแรงจะมีพยาธิที่สมอง
Chorioretinitis ปอดบวม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ รายที่รุนแรงมักพบในผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
แนวทางการป้องกันและการรักษา
ให้ผู้อื่นเป็นผู้ดูแลแมวแทนในช่วงที่ตั้งครรภ์ ไม่ปล่อยให้แมวออกนอกบ้าน
หากจําเป็นต้องทําความสะอาดอุจจาระแมว สวมถุงมือยาง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่ปรุงสุก ผักผลไม้ที่ไม่ผ่านการล้างไข่ดิบ
เมื่อต้องให้การดูแลสวนหญ้า แนะนําให้สวมถุงมือยาง
การพยาบาล
ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเปิดโอกาสให้ซักถาม
ติดตามผลการตรวจเลือด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ภายหลังทารกคลอดเช็ดตาด้วย 0.9%NSS เช็ดตาทันที
เฝ้าระวังการตกเลือดและการติดเชื้อหลังคลอด
สุกใส (Varicella-zoster virus: VZV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
มีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบ
หายใจล้มเหลว
ผลกระทบต่อทารก
อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้ ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง(ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อสุกใส หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ
การตรวจร่างกายมีไข้มีผื่นตุ่มน้ําใสตามไรผม ตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง
อาการและอาการแสดง
มักจะมีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม
เป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การป้องกันโดยไม่สัมผัสโรค หลีกเลี่ยงคนที่ป่วยเป็นสุกใส การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันสุกใส
การรักษาแบบประคับประคอง เพื่อบรรเทาอาการ
การรักษาแบบเจาะจงโดยการใช้ยาต้านเชื้อไวรัสสุกใสAcyclovir
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน
เกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง
ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์
ระยะหลังคลอด
กรณีที่มารดามีอาการให้แยกทารกแรกเกิดจากมารดาในระยะ5วันแรกหลังคลอด
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค โดยการใช้หลักuniversal precaution
หัดเยอรมัน (Rubella/German measles)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง
ความผิดปกติถาวรได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง
อาการและอาการแสดง
มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต
ไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง เป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อหัดเยอรมัน หรือผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อ อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกายอาจพบผื่นสีแดงคล้ายหัด ตาแดง ไอ จาม เจ็บคอ ปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยตรวจ Hemagglutination inhibition test (HAI)
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์
การป้องกันและการรักษา
ทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อหัดเยอรมัน ภายหลังคลอดต้องเก็บเลือดจากสายสะดือส่งตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อและตรวจร่างกายอย่างละเอียด
ให้ภูมิคุ้มกันเนื่องจากเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูง คุ้มกับค่าใช้จ่าย และควรเน้นการฉีดวัคซีนในเด็กหญิง สตรีวัยเจริญพันธุ์
การพยาบาล
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน
โรคติดเชื้อไซโทเมกะโรไวรัส (Cytomegalovirus: CMV)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกําหนด รกลอกตัวก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของถุงน้ําคร่ํา
ผลกระทบต่อทารก
ทารกในครรภ์เสี่ยงต่อภาวะ IUGR แท้ง fetal distress คลอดก่อนกําหนด น้ําหนักแรกเกิดน้อย ทารกเสียชีวิตในครรภ์ และตายคลอด
การประเมินและการการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ คออักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ข้ออักเสบและตรวจพบอาการและอาการแสดงของโรค
การเจาะเลือดส่งตรวจพบ Atypical Lymphocytes Amniocentesis for CMV DNA PCR การตรวจPlasma specimen for culture
การซักประวัติเกี่ยวกับประวัติการติดเชื้อในอดีต ลักษณะของอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้น
อาการและอาการแสดง
มีอาการแสดงของ mononucleosis syndrome คือ ไข้สูงนานปวดกล้ามเนื้อ หรือมีอาการ ปอดบวมตับอักเสบ และอาการทางสมอง
การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์เป็นการติดเชื้อในครรภ์ตรวจได้จากปัสสาวะภายใน 2 สัปดาห์หลังคลอด อาการในเด็กทารกมีตั้งแต่อาการอย่างอ่อน ถึงอาการที่รุนแรงทางสมองและระบบประสาท
แนวทางการป้องกันและการรักษา
การรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล ล้างมือด้วยสบู่
การให้ immunoglobulin ของ anti-cytomegaloviral human เป็นการให้ยาที่มีแอนติบอดีต่อ CMV
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่มีการติดเชื้อ
การประเมินอาการและอาการแสดงของทารกแรกเกิดที่มีการติดเชื้อ
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ CMV ติดต่อเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ก็แพร่กระจายไปในหมู่ประชากรทั่วโลก ประชากรส่วนใหญ่มักจะได้รับเชื้อไวรัสชนิดนี้แล้วตั้งแต่วัยเด็ก โดยไม่มีอาการของโรค นอกจากบางกลุ่มที่อาจเป็นโรค Mononucleosis
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลในระยะหลังคลอดเหมือนมารดาทั่วไป
งดให้นมมารดา หากมารดาหลังคลอดมีการติดเชื้อ
แนะนําการปฏิบัติตนหลังคลอด
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายสตรีตั้งครรภ์และครอบครัวทราบเกี่ยวกับโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง
แนะนําและเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ซักประวัติ เพื่อคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกรายเกี่ยวกับการเจ็บป่วยติดเชื้อ CMV ในอดีต
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี(Hepatitis B virus)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบ
ไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ การเป็นพาหะของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี หรือเคยมีอาการแสดงของโรคตับอักเสบจากไวรัสบี
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ตับโต ตัวเหลืองตาเหลือง
อาการและอาการแสดง
เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน
ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่
พยาธิสรีรภาพ
ระยะที่สอง : ประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง
ระยะที่สาม : เป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL ตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ
ระยะแรก : เมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ยังไม่มีอาการ
ระยะที่สี่ : เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก
การติดเชื้อไวรัสซิก้า(Zika)
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้ อ่อนแรง เยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ําเหลืองโต ตัวเหลือง ซีด
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการโดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่นเลือด ปัสสาวะ น้ําลาย
ซักประวัติอาการของผู้ป่วย
แนวทางการป้องกันและการรักษา
รักษาทําได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ํามาก ๆ และรักษาตามอาการ
ได้กําหนดมาตรการด้านการเฝ้าระวังคัดกรองโรค โดยได้มีระบบการเฝ้าระวัง ครอบคลุม 4 ด้าน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
อาการไข้ หนาวสั่นรู้สึกไม่สุขสบาย ปวดข้อ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงตัว เพลียแรง ตัวตาเหลือง ชา อัมพาตครึ่งซีก
ผลกระทบต่อทารก
เกี่ยวกับระบบประสาท ตาและการมองเห็น ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า ทารกตายในครรภ์ และตายหลังคลอด
การพยาบาล
อธิบายเกี่ยวกับการดําเนินของโรค สาเหตุ อาการและอาการแสดง ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก การวินิจฉัย
ให้คําแนะนําในการป้องกันสาเหตุและปัจจัยที่ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อาการและอาการแสดงของโรค ความรุนแรงของโรค วิธีการปฏิบัติ
การดูแลในระยะคลอดให้การดูแลเหมือนผู้คลอดทั่วไป ทั้งนี้ให้ยึดหลัก universal precaution
รวจร่างกายทารกแรกเกิด ประเมินสภาพร่างกายทั่วไปโดยเฉพาะการวัดขนาดของศีรษะ หากน้อยกว่าปกติให้รีบรายงานกุมารแพทย์ทราบ
อาการและอาการแสดง
ได้รับเชื้อระยะฟักตัวอยู่ที่ประมาณ 3-12 วัน ส่วนใหญ่มักมีอาการไข้ ผื่นแดง ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ส่วนน้อยที่มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน ทําให้พบอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างน้อย
โรคโควิด-19 กับการตั้งครรภ์ (COVID-19 during Pregnancy)
ผลกระทบต่อการสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกําหนด มีการติดเชื้อของเยื่อหุ้มเด็ก ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด รกเสื่อม และรกลอกตัวก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ทารกในครรภ์พัฒนาการล่าช้า คลอดน้ําหนักตัวน้อย คลอดก่อนกําหนด
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจร่างกายมีไข้สูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส อ่อนเพลีย ปวดกล้ามเนื้อ ไอแห้ง หายใจติดขัด อาจมีคัดจมูก มีน้ามูกเจ็บคอไอเป็นเลือด หรือท้องเสีย
การตรวจเลือดจะพบเม็ดเลือดขาวต่ําโดยเฉพาะ lymphocyte ค่า C-reactive protein สูงขึ้น
ประวัติเกี่ยวกับการสัมผัสผู้ที่การติดเชื้อ ระยะเวลาและประวัติการเดินทางไปในพื้นที่เสี่ยง
อาการและอาการแสดง
ไม่แสดงอาการใด ๆ และมีอาการและอาการแสดงของอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ให้ประวัติว่ามีไข้ในการป่วยครั้งนี้ร่วมกับมีอาการของระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ไอ น้ามูกเจ็บคอ หายใจติดขัด หรือหายใจลําบาก
แนวทางการรักษา
สถานที่และบุคลากรเน้นให้บุคลากรใส่ชุด PPEการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในรพ.และไปกับรถพยาบาล บุคลากรต้องใส่ fullPPE
สตรีตั้งครรภ์ที่สงสัยจะติดเชื้อโรคโควิด-19 ถ้ามีไข้ห้ามใช้ยากลุ่ม NSAIDs
สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อแต่อาการไม่รุนแรงให้ยาต้านไวรัส พิจารณาตามแนวทางของกรมควบคุมโรค
กรณีเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ให้ corticosteroids สําหรับกระตุ้นปอดทารกในครรภ์
การพยาบาล
มีการแยกตัวออกจากผู้อื่น และต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน บุคลากรทางการแพทย์ ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจําเป็น และประโยชน์
การดูแลสตรีตั้งครรภ์ มารดาหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีประวัติการเดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย COVID-19
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เมื่อคํานึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
การดูแลและการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ COVID-19