Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 9 ความขัดเเย้ง - Coggle Diagram
บทที่ 9 ความขัดเเย้ง
-
ประเภทของความขัดแย้ง
1.ความขัดแย้งภายในบุคคล เป็นความขัดแย้งซึ่งเกิดจากการไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจการทำสิ่งหนึ่งลงไปแล้ว ผลจะเกิดขึ้นในทางใด หากบุคคลพบว่าทางเลือกหลายทาง แต่ต้องตัดสินใจเลือกเอาทางใดทางหนึ่งซึ่งแต่ละทางเลือกมีความเป็นไปได้ที่จะให้ผลออกมาทั้งทางบวกและทางลบ
2.ความขัดแย้งระหว่างบุคคล เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากการที่บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านความเชื่อ ภาษาทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกภาพ
3.ความขัดแย้งภายในกลุ่ม เมื่อบุคคลหมายคนรวมตัวกันเป็นกลุ่มซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีการกำหนดแนวทางและข้อตกลงที่เป็นบรรทัดฐานของกลุ่ม ทำให้เกิดความขัดแย้งภายในกลุ่มโดยอาจทำให้แตกความสามัคคี
4.ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มจะมีเป้าหมายและแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไปจากกลุ่มอื่น เมื่อกลุ่มคนที่แตกต่างกันต้องมาเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์ต่อกันก็อาจเกิดความขัดแย้งกันได้
5.ความขัดแย้งภายในองค์กร ความขัดแย้งทุกประเภทที่กล่าวมาข้างต้น สาเหตุของความขัดแย้งภายในองค์กรเกิดจากการที่บุคคลจำนวนมากต้องมาอยู่ร่วมกันแต่ละคน ก็มีความคิดเห็นและเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป
สาเหตุของความขัดแย้ง
1.การมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน ในองค์กรย่อมมีการแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่างๆ ซึ่งแต่ละฝ่ายงานย่อมมีหน้าที่รับผิดชอบ ลักษณะงาน เป้าหมายแตกต่างกันไปซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
2.การแข่งขันด้านทรัพยากร เมื่อองค์กรมีทรัพยากรให้ใช้อย่างจำกัดฝ่ายงานทุกฝ่ายจึงต้องแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ให้ตกอยู่ในฝ่ายงานของตนให้มากที่สุด
3.การสื่อสารที่บกพร่องและการกำหนดรู้ที่ผิดเพี้ยน แม้ว่าองค์กรจะมีการให้ข้อมูลในการทำงานแก่ทุกฝ่ายงานแต่ข้อมูลที่แตะลฝ่ายงานได้รับอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหน้าที่ที่รับผิดชอบของแต่ละฝ่าย
4.ความไม่ลงรอยกันในมาตรฐานการปฏิบัติงาน ในแต่ละฝ่ายงานขององค์กรย่อมมีมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันไปและความแตกต่างเช่นว่านี้อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้
5.โครงสร้างองค์กรที่ไม่สอดคล้องกัน บางองค์กรอาจมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบไมท่ชัดเจน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความสับสน ก้าวก่ายงานหรือการทำงานซ้ำซ้อนกัน แม้ว่าสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
การจัดการความขัดแย้ง
1.การหลีกเลี่ยง การหลีกเลี่ยงเป็นวิธีการที่ให้ประสิทธิภาพน้อยที่สุด เนื่องจากการหลีกเลี่ยงไม่ได้ทำให้ความขัดแย้งนั้นหมดไป
2.การปรองดอง เป็นวิธีการแก้ปัญหาด้วยการยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการของตน
-
4.การแข่งขัน เป็นการใช้วิธีแพ้ชนะ เพื่อให้ตนเองสามารถบรรลุความต้องการ อาจจะต้องใช้อำนาจหรือการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง อันอาจจะเกิดมาจากเมื่อมีอุปสรรคหรือสิ่งขัดขวางมิให้บรรลุเป้าหมาย จึงใช้วิธีการที่อาจจะทำลายอีกฝั่งหนึ่ง
5.การร่วมมือ เป็นการทำความตกลงกันในลักษณะการบรรลุถึงข้อยุติโดยวิธีการซึ่งคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจ
-
ความหมายของความขัดเเย้ง
ความขัดแย้งหมายถึง การที่บุคคลตั้งแต่ สองคนขึ้นไป มีความแตกต่างในเรื่องของความสนใจ ความคิด ทัศนคติ ที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดเป็นความขัดแย้งเกิดขึ้น
-
ทฤษฎีความขัดเเย้ง
ทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งนั้นมีพัฒนาจากทฤษฎีดั้งเดิมที่เป็นแนวคิดขั้นคลาสสิก ก่อนที่จะมีพัฒนาและขยายให้กว้างขึ้นตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ทรรศนะไว้ดังนี้
2.ทฤษฎีความขัดแย้งของ Immanuel Kant ความขัดแย้งเริ่มต้นจาก ข้อเสนอเบื้องต้น แล้วมีข้อขัดแย้ง จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกันขขึ้น
3.ทฤษฎีความขัดแย้งตามแนวคิดของ Fredrich Hegel โดยมองว่าความขัดแย้งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผุ้ปกครองรัฐบางรัฐ พยายามที่จะครอบครองและควบคุมรัฐอื่นๆไว้ จึงเป็นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างรัฐ
4.ทฤษฎีความขัดแย้งตามแนวคิดของ Ludwig Feuerbach มนุษย์แต่ละคนต่างมีความเห็นแก่ตัวและมีความพยายามที่จะครอบครองวัตถุต่างๆไว้ให้ได้มากที่สุด และเมื่อมนุษย์ไม่สามารถที่จะครอบครองวัตถุได้มากดังที่ตั้งใจ ความขัดแย้งจากการแก่งเเย่งแข่งขันจึงเกิดขึ้น
5.ทฤษฎีความขัดแย้งตามแนวคิดของ Karl mark เชื่อว่าความขัดแย้งเป็นของคู่กัน ความขัดแย้งเป็นกฎพื้นฐานของชีวิต และความขัดแย้งเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาสังคม
6.ทฤษฎีความขัดแย้งตามแนวคิดของ Max Weber ความขัดแย้งเกิดจากการกระทำของบุคคลที่ต้องการที่จะบรรลุความปราถนาของตนเกิดปะทะกับการต่อต้านของอีกฝ่ายหนึ่ง และความขัดแย้งเป็นผลมาจากการมีทรัพยากรหรือรางวัลอย่างจำกัด
1.ทฤษฎีความขัดแย่งตามแนวคิดของ Socrates นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่ใช้การถามตอบหรีอวาทศิลป์ ผู้ถามมักจะต้องถามจนผุ้ตอบไม่สามารถโต้แย้งได้และยอมจำนน ผู้ถามจึงบอกคำตอบที่ถูกต้องให้