Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
โภชนาการ
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นําสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย รวมทั้งการกําจัดสารที่เหลือใช้ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังต้องคํานึงถึงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและจิตวิทยาที่ เกี่ยวข้องกับอาหารและการบริโภคอาหารอีกด้วย
ภาวะโภชนาการ
ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภค อาหาร
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และ ร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกิน ความต้องการของร่างกาย จึงทําให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
ภาวะโภชนาการต่ํากว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
เพศ
ภาวะสุขภาพ
ความชอบส่วนบุคคล
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
วิถีชีวิต
เศรษฐานะ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความสําคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายใน ภาวะเจ็บป่วย
อาหารจึงมีความสําคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติ และภาวะ เจ็บป่วยภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน เป็นการสืบทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษในการดูแลสุขภาพของ ตนเองครอบครัว และชุมชน ภายใต้บริบทของวัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น ที่ยังคงอยู่ตั้งแต่ โบราณจนถึงปัจจุบัน พยาบาลจึงควรมีความรู้ ความเข้าใจในวิถีการดําเนินชีวิตของผู้ป่วย และนําองค์ ความรู้ของศาสตร์การแพทย์แผนปัจจุบันมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพ
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE) หมายถึง ผลรวม ของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน ซึ่งรวมถึง BEE พลังงานที่ใช้ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร การใช้ พลังงานจากการทํางานของร่างกายในแต่ละวัน และการใช้พลังงานของผู้ป่วยเฉพาะโรค
สูตร BEE เพศชาย BEE = 66.47+ (13.75 x น้ําหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm ) - (6.75 x อายุ (ปี)
สูตร BEE เพศหญิง BEE = 655.09 + (9.56 x น้ําหนัก (Kg) +(1.85 x ความสูง (Cm )) -(4.68 x อายุ (ปี)
การประเมินภาวะโภชนาการ
ใช้สัญญาลักษณ์ย่อ “ABCD”
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B) เป็นวิธีการเจาะ เลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia) ใช้ค่าของฮีโมโกลบิน (Hb) และค่าฮีมาโตรคิต (Hct) Hemoglobin (Hb)
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
1) คํานวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน 2) จํากัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร 3) จํากัดการใช้น้ํามัน ไขมัน น้ําตาล 4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง 5) รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจํากัดอาหารมื้อเย็น 6) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์ 7) เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
8) ส่งเสริมให้ออกกําลังกายอย่างสม่ําเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
ภาวะผอมแห้ง
Anorexia nervosa ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทาน อาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
Bulimia Nervosa เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ รับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและ รู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
1) หาสาเหตุ
2) ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
3) ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย
4) การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
5) การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
(1) จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน
(2) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก ช่วยลูบหลังลงเบา ๆ เพื่อ ป้องกันการสําลักอาเจียนเข้าสู่หลอดลม
(3) คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยกําลังอาเจียน
สังเกตสิ่งต่าง ๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ได้รับอาหารตาม ความต้องการของร่างกาย
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
1) เป็นทางให้อาหาร น้ํา หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือ ได้รับไม่เพียงพอ
2) เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลําไส้ (Decompression) เพื่อให้ แก๊ส สิ่งที่ค้างอยู่หรือน้ําคัดหลั่งระบายออก มักต้องต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศ
3) เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
4) ล้างภายในกระเพาะอาหาร
5) เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การให้อาหารทางสายให้อาหารทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทาน อาหารทางปาก แต่การทํางานของระบบทางเดินอาหารยังอยู่ในภาวะปกติ โดยให้อาหารผ่านทางสาย ให้อาหารซึ่งสอดผ่านทางจมูกเข้าสู่กระเพาะอาหาร
Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey Syringe
Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo)
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การถอดสายให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อ วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาล เมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป เช่น ให้เริ่มรับประทานอาหารหลังจากแผนการรักษาให้งดอาหารและน้ํา ทางปาก หรือผู้ป่วยรู้สึกตัวดีสามารรับประทานอาหารเองได้
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
วัตถุประสงค์
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจํานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนํา เสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้