Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ - Coggle Diagram
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
1. ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
ในภาวะปกติอุจจระมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนที่เป็นของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระเเสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
โดยทั่วไปความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระมักเกิดขึ้นเมื่อตื่นนอนหรือหลังมื้ออาหาร ทั้งนี้เป็นเพราะการตื่นนอนและการลุกขึ้นเดินทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น และการรับประทานอาหารทำให้เกิดปฏิกิริยารีเฟล็กซ์กระเพาะอาหารถึงลำไส้ใหญ่
การขับถ่ายอุจจาระเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสมของเสียตกค้างเป็นเวลานานขึ้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าในร่างกาย
2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
อายุ (Age)
ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
อารมณ์ (Emotion)
ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits)
ความเหมาะสม (Opportunity)
ยา (Medication)
การตั้งครรภ์ (Preganacy)
อาการปวด (Pain)
การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
3. ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Type 1 ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียก ขี้เเพะ
Type 2 ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน
Type 3 ลักษณะยางหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่มๆ
Type 4 ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม
Type 5 ลักษณะเป็นก้อนนุ่มๆ แยกออกจากกันชัดเจน
Type 6 ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ
Type 7 ลักษณะเป็นน้ำไม่มีเนื้ออุจจาระปน
สี
ปกติ
เด็ก มีสีเหลือง
ผู้ใหญ่ มีสีน้ำตาล
ผิดปกติ
เด็ก มีสีขาวหรือคล้ายดินเหนียว
ผู้ใหญ่ มีสีดำ แกง ซีด และเป็นมันเยิ้ม
สาเหตุ
เด็ก ไม่มีน้ำดี
ผู้ใหญ่ มีธาตุเหล็กปนอยู่ มีเลือดออกในทางเดินอาหาร มีริดสีดวงทวาร
กลิ่น
ปกติ
มีกลิ่นเฉพาะจากอาหารตกค้าง
ผิดปกติ
กลิ่นเปลี่ยนเหม็นมาก
สาเหตุ
การติดเชื้อจากเลือดในอุจจาระ
ลักษณะ
ปกติ
อ่อนนุ่ม
ผิดปกติ
เหลว
สาเหตุ
ท้องเสียหรือการดูดซึมลดลง
อื่นๆ
ปกติ
อาหารไม่ย่อย แบคมีเรียที่ตายแล้ว ไขมัน สีน้ำดี
ผิดปกติ
เลือด หนอง แปลกปลอม อุจจาระเป็นมันเยิ้ม
สาเหตุ
มีการระคายเคือง การอักเสบ ลำไส้อักเสบ โรคของตับอ่อน
รูปร่าง
ปกติ
เท่ากับขนาดความกว้างของลำไส้ตรง
ผิดปกติ
ขนาดเล็กคล้ายดินสอ
สาเหตุ
มีการอุดตันในทางเดินอาหารหรือมีการบีบตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น
ความถี่
ปกติ
เด็ก (นมมารดา) วันละ 4-6 ครั้ง (นมขวด) วันละ 1-3 ครั้ง
ผู้ใหญ่ วันละ 2 ครั้ง หรือสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
ผิดปกติ
เด็ก มากกว่าวันละ 6 ครั้งหรือ 1-2 วันครั้ง
ผู้ใหญ่ มากกว่าวันละ 3 ครั้ง หรือสัปดาห์ละครั้ง
สาเหตุ
มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
4. สาเหตุและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
1. ภาวะท้องผูก (Contipation)
สาเหตุ
แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ มีความสัมพันธ์กับการรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ
ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยหรือการรักษาด้วยยา
ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบาย
เกิดอาหารปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น
เป็นโรคริดสีดวงทวาร
แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปยังสมองผู้ป่วยโรคตับ
ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง
การกลั้นอุจจาระไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูก
แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ โดยอย่างยิ่งอาหารที่มีเส้นใยและกากมากๆ
แนะนำ กระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ
จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
แนะนำให้ออกกำลังกาย
สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย
แนะนำสมุนไพร ซึ่งจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระ
2. การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
สาเหตุ
อาการเริ่มแรกคือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระเป็นน้ำเหลวไหลซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมมไม่ได้
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
ช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกายโดยการล้วงอุจจาระ และอาจใช้ยาระบายเพื่อให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่น
3. ภาวะท้องอืด (Flatulence)
สาเหตุ
มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย
มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
มีการสะสมของอุจจาระมาก
ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น
อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด
ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
4. การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
ผลด้านร่างกาย
ผลด้านจิตใจ
ผลด้านสังคม
ผลด้านจิตวิญญาณ
การพยาบาลผู้ป่วยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายเป็นเวลาเลือก
ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา
ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด
ดูแลเรื่องจิตใจเป็นสำคัญ อาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด
5. ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
สาเหตุ
จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม
จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ อารมณ์
การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องเสีย
ประเมินสภาพผู้ป่วย
ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มีจำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
การดูแลเรื่องอาหาร
ติดตาม เฝ้าระวัง ป้องกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำ
สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ ความถี่ ความรุนแรง
สังเกตความผิดปกติอื่นๆที่เกิดร่วมด้วย
ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ
การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก
6. การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระหน้าท้อง
ทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบๆ
เมื่อทำความสะอาดเสร็จต้องปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบๆสัมผัสกับอุจจาระที่ผ่านออกจากลำไส้
รับประทานอาหารที่เหมาะสม
ควรออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดินเล่น
การฝึกหัดการขับถ่าย โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง
ภาวะแทรกซ้อน สังเกตและดูแลตนเอง
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้หน้าท้อง
หลังผ่าตัดประมาณ 7-10 วัน แผลที่ Stoma ก็จะแห้งสนิท และระบบขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน
5. การสวนอุจจาระ
วัตถุประสงค์
ลดปัญหาอาการท้องผูก
เตรียมตรวจทางรังสี
เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
เตรียมคลอด
เพื่อการรักษา เช่น การระบายพิษจากแอมโมเนีย
ชนิดของการสวนอุจจาระ
Clensing enema เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส้
Retention enema การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่ ให้ลำไส้มีการบีบตัวดีขึ้น
อุปกรณ์เครื่องใช้
หม้อสวน
หัวสวนอุจจาระ
สารหล่อลื่น เช่น KY jelly
ชามรูปไต
กระดาษชำระ
กระโถนนอน
ผ้าปิดกระโถนนอน
ผ้ายางกันเปื้อน
สารละลายที่ใช้ในการสวนอุจจาระ
เหยือกน้ำ
เสาน้ำเกลือ
ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ mask
วิธีปฏิบัติ
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบถ้วน สะดวกในการปฏิบัติ
นำเครื่องใช้มาที่เตียง บอกผู้ป่วยให้ทราบถึงเหตุผลการสวน
ปูผ้ายางรองก้นบริเวณก้นของผู้ป่วย
จัดท่านอนให้ถูกต้อง คือ นอนตะแคงซ้าย
คลุมผ้าเปิดเฉพาะบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย
ล้างมือ สวมถุงมือ และต่อหัวสวนกับสายสวนให้แน่น
ปิด clamp หัวสวนไว้ เทน้ำยาใส่หม้อสวน แขวนหม้อสวนสูงกว่าระดับทวารหนักของผู้ป่วย
เปิด clamp เพื่อไล่อากาศในสายสวน และหัวสวน
บอกให้ผู้ป่วยทราบว่าจะทำการสวนอุจจาระ โดยการแตะหัวสวนที่ทวารหนักอย่างนุ่มนวลเบาๆ
สอดหัวสวนเข้าทวารหนักให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 3 นิ้ว
จับหัวสวนให้แน่นกระชับมือ เปิด clamp ให้น้ำไหลช้าๆ
ค่อยๆ ดึงสายสวนออกเบาๆ ปลดหัวสวนออก ห่อด้วยกระดาษชำระวางในชามรูปไต
สอด Bed pan กั้นม่านให้มิดชิด หลังถ่ายเสร็จใช้ Bed pad ปิดคลุม
เก็บเครื่องใช้ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ถอดถุงมือ
ลงบันทึกทางการพยาบาล
6. ข้อคำนึงในการสวนอุจจาระ
อุณหภูมิของสารน้ำ คือ 105 ฟาเรนไฮด์
ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
ท่านอนของผู้ป่วย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ
แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุต
การปล่อยน้ำ เปิด clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้ และลักษณะของสายสวนอุจจาระ การสอดสายสวนเข้าทวารหนัก สอดลึก 2-4 นิ้ว
การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่น KY jelly
ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบนปลายกลับ
ระยะเวลาที่สารน้ำกักเก็บอยู่ในลำไส้ใหญ่ หลังจากที่ปล่อยสารน้ำเข้าไปในลำไส้ใหญ่จนผู้ป่วยรู้สึกทนต่อไปไม่ได้ ควรให้ผู้ป่วยหายใจทางปาก
การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ จากสาเหตุที่ผู้ป่วยเบ่ง ควรให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจเข้ายาวๆ
อาการแทรกซ้อน
การระคายเคืองต่อยเยื่อบุลำไส้
ผนังลำไส้ถลอก หรือทะลุ
ภาวะเป็นพิษจากน้ำ
การติดเชื้อ เช่น ลำไส้อักเสบ
การคั่งของโซเดียว เพราะปกติลำไส้จะดูดซึมโซเดียมได้ดีมาก
ภาวะ Methemoglobinemia เป็นภาวะที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายลดความสามารถในการขนส่งออกซิเจนลง
ข้อห้ามในการสวนอุจจาระ
ลำไส้อุดตัน
มีการอักเสบของลำไส้ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ
มีการติดเชื้อในช่องท้อง
ผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดลำไส้สวนปลาย
7. การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
1. ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ
การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง
การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ
2. อุปกรณ์เครื่องใช้
ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
ใบส่งตรวจ
ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
กระดาษชำระ
หม้อนอน
3. วิธีปฏิบัติ
การเก็บอุจจาระหาความผิดปกติ
อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการเก็บอุจจจาระส่งตรวจ
ให้ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระลงในหม้อนอนที่สะอาดและแห้ง ใช้ไม้แบนเขี่ยอุจจาระเล็กน้อยใส่ภาชนะ
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที
ลงบันทึกทางการพยาบาล
การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
ให้ผู้ป่วยเบ่งถ่ายเล็กน้อย ใช้ไม้พันสำลีใส่เข้าไปในรูทวาร 1-2 นิ้ว
ส่งห้องปฏิบัติการทันทีภายใน 30 นาที
ลงบันทึกทางการพยาบาล
8. กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
การประเมินภาวะสุขภาพ
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การวางแผนการพยาบาล
เกณฑ์การประเมินผล
การวางแผน
การปฏิบัตการพยาบาล
การประเมินผลการพยาบาล