Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
บทที่ 8
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
8.2 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
การใช้ยา
ภาวะสุขภาพ
เพศ
ความชอบส่วนบุคคล
อายุ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
วิถีชีวิต
เศรษฐานะ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ปัจจัยด้านจิตใจ
8.4 การประเมินภาวะโภชนาการ
1 การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
2 การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B) เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
3 การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C) เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
4 การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)ประกอบด้วย ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
8.3 ความสำคัญของอาหารต่อความเจ็บป่วย และความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
1 ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก และความรุนแรงของโรค
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE) เป็นพลังงานที่เพียงพอ
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) หรือพลังงานที่ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE )
สูตร BEE เพศหญิง
BEE = 655.09 + (9.56 x น้าหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง (Cm )) –(4.68 x อายุ (ปี))
สูตร BEE เพศชาย
BEE = 66.47+ (13.75 x น้ำหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm )) – (6.75 x อายุ (ปี))
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE) หมายถึง ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
8.1 ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
1 ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะของการกิน คือ มิได้มุ่งหวังเพียงจัดการปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติดี สีสันสวยงาม ราคาถูกมาบริโภคเท่านั้น แต่ยังต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร หรือปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายจะนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดอีกด้วย
2 ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1) ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่
ถูกหลักโภชนาการ
2) ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
(1) ภาวะโภชนาการต่ากว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
(2) ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
8.6 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
8.6.1 การป้อนอาหาร
อุปกรณ์
1) ถาดอาหารพร้อมอาหาร
2) ช้อนหรือช้อนส้อม
3) แก้วน้ำพร้อมน้าดื่ม และหลอดดูดน้ำ
4) กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
5) ผ้ากันเปื้อน
วิธีปฏิบัติ
1) การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
(1) ก่อนเวลาอาหาร แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง โดยเฉพาะในรายที่เคลื่อนไหวด้วยตนเองได้
(2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง กรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
(3) ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป หากผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนตะแคง ควรปูบนที่ไหล่และหมอนด้วย
(4) วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้
(5) วางเครื่องใช้อื่น ๆ ในตำแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
(6) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
2) การป้อนอาหาร
(1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
(2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
(3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทำอาหารหกรดผู้ป่วย
(4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้สะอาด
(5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
(6) ลงบันทึกทางการพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยกลืนลาบาก
(1) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลัก
(2) สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก เพื่อดูว่ามีอาหารที่เหลือค้างในปากหรือไม่
(3) สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
(4) ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อน เพราะอาหารอ่อนจะง่ายต่อการกลืน
(5) ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
(6) ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะ ๆ จะช่วยให้ได้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
8.6.2 การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
อุปกรณ์
1) ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
2) สาย NG tube เบอร์ 14-18 fr.
3) Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
4) ถุงมือสะอาด 1 คู่
5) Stethoscope
6) สารหล่อลื่น เช่น K.Y. jelly เป็นต้น
7) แก้วน้ำ
8) หลอดดูดน้ำ
9) พลาสเตอร์
10) กระดาษเช็ดปาก
11) ชามรูปไต
12) ผ้าเช็ดตัว
วิธีการปฏิบัติ
1) ตรวจสอบความถูกต้องของคาสั่งการรักษา
2) ล้างมือให้สะอาด
3) นำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบโดยดูป้ายชื่อ และสอบถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยให้ถูกต้อง (ถูกคนถูกเตียง)
4) บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใส่สายยางจากจมูกถึงกระเพาะ
5) จัดท่าให้ผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูง
6) ใส่ถุงมือสะอาด และ Mask ตรวจดูรูจมูก ผนังกั้นจมูก
7) เปิดซองสาย NG tube จากนั้นบีบ K.Y. jelly ลงด้านในของซองสาย NGtube โดยยังไม่หล่อลื่นสาย NG tube
8) นำสาย NG tube วัดตามแหน่งที่จะใส่สาย โดยวัดจากปลายจมูกถึงปลายติ่งหู
9) เปิดห่อ Toomey syringe แล้วใส่ Plunger ให้เรียบร้อย พันสาย NG ให้อยู่ในมือซ้าย พร้อมใส่สาย NG โดยใช้มือขวาจับปลายสาย NG แล้วหล่อลื่นปลายสาย NG
10) บอกให้ผู้ป่วยตั้งศีรษะให้ตรงหรือเงยหน้าเล็กน้อย ใช้มือขวาจับปลายสายด้านที่หล่อลื่นเเล้ว
11) เมื่อสายผ่านถึงคอ (Posterior nasopharynx) ผู้ใส่หักข้อมือเล็กน้อยให้ผู้ป่วยก้มศีรษะลง บอกให้ผู้ป่วยช่วยกลืนสายโดยกลืนน้าลายหรือดูดน้าที่เตรียมไว้พร้อมทั้งค่อยๆ ดัน
13) ใช้พลาสเตอร์พันสายติดกับจมูก
12) ตรวจสอบว่าสาย NG เข้าไปถึงกระเพาะอาหาร
14) ทำความสะอาดปาก และจมูก
15) นำเครื่องใช้ไปทำความสะอาด เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
16) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.6.3 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารทางสายยางมี 2 วิธี
1) Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
2) Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo) เหมาะสาหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
อุปกรณ์
1) ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
2) อาหารเหลวสำเร็จรูป หรืออาหารปั่น (Blenderized diet)
3) ในกรณีที่มียาหลังอาหารบดยาเป็นผงและละลายน้ำประมาณ 15-30 ซีซี
4) ผ้ากันเปื้อน
5) Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
6) ถุงมือสะอาด 1 คู่
7) Stethoscope
8) แก้วน้ำ
9) กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
10) สำลีชุบ 70% Alcohol 2 ก้อน
11) ชุดทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก
วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล ข้อดีและประโยชน์ในการให้อาหารทางสายให้อาหาร
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง ในกรณีที่ผู้ป่วยนั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวา
3) ทำความสะอาดปาก ฟัน กรณีใช้เครื่องช่วยหายใจต้องทำการดูดเสมหะก่อน
4) ปูผ้ากันเปื้อนรองตรงปลายสายให้อาหาร
5) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทำความสะอาดปลายสายด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
6) ทดสอบตาแหน่งของสายให้อาหาร ได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสาย ดูด Gastric contentออกมาตรวจดูปริมาณ เป็นการตรวจสอบการทำหน้าที่ของกระเพาะอาหารในการย่อยอาหาร
วิธีที่ 2 วาง Stethoscope ที่บริเวณ Epigastrium และใช้ Toomeysyringe ดันอากาศประมาณ 5-10 มล. เข้าไปทางสายให้อาหาร
7) หักพับสาย ถอด Toomey syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบเข้ากับส่วนปลายของสาย NG
8) เทอาหารใส่กระบอก Syringe คลายรอยพับออก และปล่อยให้อาหารไหลลงช้า ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่ให้ขาดระยะ
9) กรณีให้ยาหลังอาหาร
ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารไว้ใน Syringe ประมาณ 10 ซีซีและควรรินยาลงไปตรงๆ
ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 ซีซี เติมน้ำสะอาดเพื่อไล่เศษอาหารและยาที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
10) หักพับปลายสายให้อาหาร และเช็ดปลายสายด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
11) ปิดจุกสาย NG ใช้ก๊อสปิดไว้ให้เรียบร้อย
12) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อนกลับอาจทำให้สำลักได้
8.6.4 การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
อุปกรณ์
1) ผ้ากันเปื้อนหรือผ้าเช็ดตัว
2) ชามรูปไต
3) น้ำยาบ้วนปาก
4) สำลีชุบ 70% Alcohol
5) ไม้พันสำลีชุบเบนซิน (Benzene) และน้ำเกลือ (Normal saline)
6) ถุงมือสะอาด
7) ผ้าก๊อสสะอาด
วิธีการปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่านั่ง
3) ตรวจคาสั่งการรักษา เพื่อยืนยันแผนการรักษา
4) ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้งและใส่ถุงมือ สวมmask
5) ปูผ้ากันเปื้อนหรือผ้าขนหนู และแกะพลาสเตอร์ที่ยึดสายจมูกออก
6) หักพับสาย และดึงสายออก ขณะดึงสายให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ ใช้ผ้าก๊อสจับสายที่ดึงออกมาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง การดึงควรดึงอย่างนุ่มนวลแต่เร็วระวังสายยางสะบัด
7) เช็ดรอยพลาสเตอร์ด้วยเบนซิน เช็ดตามด้วยน้ำเกลือและแอลกอฮอล์แล้วเช็ดให้เเห้ง
8) ทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก เพื่อช่วยให้รู้สึกสะอาด และสดชื่น
8.6.5 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
อุปกรณ์
เหมือนกับการให้อาหารทางสาย NG tube
วิธีปฏิบัติ
1) แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจจุดประสงค์และวิธีทำ
2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง หรือนอนในท่าศีรษะสูง
3) เปิดเสื้อผ้าบริเวณ Gastrostomy tube หรือ Jejunostomy tube ออก ปูผ้ากันเปื้อนไว้ใต้ Tube
4) ล้างมือให้สะอาด ใส่ Mask
5) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
6) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทำความสะอาดปลายสายด้วยสำลีชุบ 70% Alcohol
7) ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายดูด Gastric content เพื่อตรวจสอบความสามารถของกระเพาะอาหารในการบีบไล่อาหาร
8) หักพับสาย ถอด Syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบเข้ากับสายให้อาหาร
9) เทอาหารใส่กระบอก Syringe และปล่อยให้อาหารไหลเข้าช้า ๆ ต่อเนื่องกันไปไม่ให้ขาดระยะ
10) กรณีให้ยาหลังอาหาร
(1) ก่อนที่อาหารจะหมดควรเหลืออาหารค้างในSyringe ประมาณ 10 ซีซีและควรรินยาลงไปตรง ๆ
(2) ก่อนยาจะหมด เหลือค้างใน Syringe ประมาณ 5 มล. เติมน้ำสะอาดเพื่อไล่เศษอาหารและยา ที่ตกค้างอยู่ในสายให้อาหาร
11) เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
12) หักพับปลายสายให้อาหาร เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร
13) ปิดปลายสายอาหารให้เรียบร้อย
14) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อน
15) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
16) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.7 การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
อุปกรณ์
1) ชุดล้างกระเพาะอาหาร (ภาชนะสำหรับใส่สารละลายทั้งสำหรับเทสารละลายและที่ดูดออกจากผู้ป่วย และ Toomey syringe)
2) สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร ใช้น้ำเกลือ (Isotonic saline)
3) ชามรูปไตหรืออ่างกลม
4) ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าขนหนูผืนเล็ก หรือผ้ากันเปื้อน
5) สายยางสำหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
6) Ky jelly
7) ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ Mask
วิธีการปฏิบัติ
1) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
2) ประเมินสภาพผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
3) ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้
4) เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อม นำเครื่องใช้ต่าง ๆ ใส่ถาดหรือรถเข็นแล้วไปเตียงผู้ป่วย
5) ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
6) ใช้ Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
7) หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ จากนั้นต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสายที่หักพับไว้ ค่อยดันสารละลายผ่านกระบอกฉีดยาเข้าทางสาย ถ้ามีแรงต้าน ตรวจสอบการหักหรือพับงอของสาย และให้ผู้ป่วยพลิกตัวไปมา ถ้ายังมีแรงต้านให้รายงานแพทย์
8) ดูดน้ำออกเบา ๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง ถ้าไม่มีน้ำออกให้ผู้ป่วยพลิกตัวไปมา
9) ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้ำออกเรื่อยๆจนการไหลผ่านดี หรือครบจานวนตามแผนการรักษาพับสายไว้ ปลดกระบอกฉีดยา ปิดปลายสาย
10) ถ้ากรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทำการล้างจนสารน้ามีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือมีลักษณะใส
11) เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทำความสะอาดช่องปากและจัดท่าผู้ป่วยในท่าที่สุขสบาย
12) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
13) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8.5 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
1 Obesity (ภาวะอ้วน)
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
1) คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
2) จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
3) จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
5) รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
6) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
7) เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
8) ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
2 Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
1 Anorexia nervosa ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร
2 Bulimia Nervosa เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะรับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนัก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย
การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง
3 Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
1 เมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน พยาบาลต้องรีบให้การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
(1) จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน เตรียมกระดาษเช็ดปากหรือผ้าไว้ให้ผู้ป่วยสำหรับเช็ดปาก
(2) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก ช่วยลูบหลังลงเบา ๆ เพื่อป้องกันการสาลักอาเจียนเข้าสู่หลอดลม
(3) คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยกำลังอาเจียน พยาบาลควรเฝ้าดูด้วยความเห็นใจ สงบ
2) สังเกตสิ่งต่าง ๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
3) การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
(1) ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
(2) จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท วางของให้เป็นระเบียบ ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและพักผ่อนได้
(3) ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ลดการรบกวนจากภายนอก
(4) น้ำและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย เมื่ออาการดีขึ้นจึงให้อาหารธรรมดา
4) การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
(1) พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
(2) พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียด
(3) ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ยาว ๆ ภายหลังอาเจียน
(4) หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็ว ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยง การมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ ไปมา
(5) พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน (Antiemetic drug) ตามแผนการรักษา
5) ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
6) เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ำ
4 Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
1) จัดให้นอนศีรษะสูง 45-60องศา เพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
2) งดอาหารที่ทาให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด เป็นต้น
3) แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
4) ค้นหาสาเหตุที่ทาให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
5 Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้
1) สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือค่อย ๆ มากขึ้น ชนิดของอาหารที่กลืนไม่ได้ มีอาการเจ็บร่วมด้วยหรือไม่
2) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
3) ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
4) ระมัดระวังการสำลัก
5) ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
6) การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา การตรวจรักษาโดยการส่องกล้องเข้าไปดูที่หลอดอาหาร
7) การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ
8.8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)