Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
1 ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
1.2 ภาวะโภชนาการ(Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการหมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
1) ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ
2) ภาวะโภชนาการไม่ดี (Badnutritionalstatus) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพโภชนาการ(Malnutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์
จากสารอาหารที่ได้รับ
1.1 ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นำสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้งทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย
2 ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
5) ความชอบส่วนบุคคล พบว่า ความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมีผลต่อภาวะโภชนาการ
6) ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนไป
4) ภาวะสุขภาพ พบว่า การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
7) วิถีชีวิตปัจจุบันมีผู้เลือกดำเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากสัตว์ พบว่า มักขาดสารอาหารโปรตีนจึงควรต้องเสริมอาหารโปรตีน
3) การใช้ยา พบว่า ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
8) เศรษฐานะ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจดีทำให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการ
2) เพศ พบว่า เพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
9) วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนาพบว่าการด าเนินชีวิตตามบริบทของวัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนายังดำเนินชีวิตอยู่ในกระบวนทัศน์เดิม มีผลต่อภาวะโภชนาการทั้งสิ้น
1) อายุ พบว่า ในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพราะเด็กต้องการสารอาหารโปรตีนไปสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
10) ปัจจัยด้านจิตใจ พบว่า ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลงรู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ หรือมีอาการปากคอขมโดยไม่ทราบสาเหตุ
4 การประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโภชนาการใช้สัญญาลักษณ์ย่อ “ABCD”
แบ่งออกเป็น
4.2 การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment:B)
เป็นวิธีการเจาะเลือดเพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia) ใช้ค่าของฮีโมโกลบิน (Hb) และค่าฮีมาโตรคิต (Hct)
Hemoglobin (Hb) การแปลผลค่าต่ำกว่า 10 mg % แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชายค่าปกติ 14 –18 mg %
หญิงค่าปกติ 12-16mg %
Hematocrit (Hct) การแปลผลค่าต่ำกว่า 30 % แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชายค่าปกติ 40 –54 %
หญิงค่าปกติ 37-47 %
4.3 การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment:C)
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น
ได้แก่
ฟัน
เหงือก
ผม
ริมฝีปาก
ผิวหนัง
ลิ้น
เปลือกตา
4.1 การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement:A)
ดังนี้
1) ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด โดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักแล้วนำมาประเมินภาวะโภชนาการโดยคำนวณหาดัชนีมวลของร่างกายมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตร
4.4การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment:D)
ประกอบด้วย ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ตัวอย่าง
มีประวัติรับประทานอาหารเจตลอดชีวิต
ผลการประเมิน : มีโอกาสขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
มีประวัติชอบรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
ผลการประเมิน : มีโอกาสเกิดโรคพยาธิใบไม้ในตับ
มีประวัติเลือกรับประทานอาหารประเภททอด และอาหารรสหวาน
ผลการประเมิน : มีโอกาสเกิดภาวะโภชนาการเกิน (น้ำหนักเกินมาตรฐาน)
5 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
5.2 Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อตารางเมตรและน้ำหนักลดลงตลอดเวลาและลดลงเป็นเวลานานร่วมกับขาดสารอาหาร
ผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ได้แก่
2 BulimiaNervosa เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทานโดยจะรับประทานวันละหลายๆ ครั้ง ครั้งละมากๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจ จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด
3 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ AnorexianervosaและBulimianervosa
2) ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
3)ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหารเท่าที่ทำได้
1) หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อยๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้นแล้วขจัดสาเหตุ
4) การใช้ยา แพทย์อาจพิจารณาให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
5) การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
5.1 พยายามให้รับประทานอาหารทางปากมากที่สุด
5.2 พิจารณาและแนะนำเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
5.3 ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย หรือทำกิจกรรมตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย
5.4 การให้อาหารด้วยวิธีพิเศษ เช่น การให้อาหารทางสายที่ใส่ทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร
1 Anorexianervosa ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน
5.3 Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก
อาการที่มักเกิดร่วมด้วย คือ มีน้ำลายมาก อาจเป็นลม ตาลาย เวียนศีรษะ ความดันเลือดลดลง ชีพจรเร็วขึ้นแล้วกลับช้าลง หายใจเร็วขึ้น เหงื่อออกชุ่มที่หน้าผาก และทั่วตัว
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
1) การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียนเมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน พยาบาลต้องรีบให้การช่วยเหลือโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
2) สังเกตสิ่งต่างๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
3) การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน
(1) ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
(2) จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย
(3) ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ ลดการรบกวนจากภายนอก
(4) น้ำและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย เมื่ออาการดีขึ้นจึงให้อาหารธรรมดา
4) การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
(4) หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวร่างกายหรือเปลี่ยนท่าเร็วๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการมองสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วๆ
(5) พิจารณาให้ยาระงับอาเจียน (Antiemetic drug) ตามแผนการรักษา
(3) ให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ ภายหลังอาเจียน และเมื่อรู้สึกคลื่นไส้
(6) ถ้าผู้ป่วยมีอาเจียนอย่างต่อเนื่องมักใส่สายเข้าทางจมูกลงสู่กระเพาะ
(2) พยายามหลีกเลี่ยงและลดแหล่งของความเครียดต่างๆ
(1) พยายามหาสาเหตุแล้วแก้ไขที่สาเหตุ
5) ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
6) เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ำ
5.1 Obesity (ภาวะอ้วน)
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
5) รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
3) จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
6) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
2) จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
7) เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
1) คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
8) ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
คือ ร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
5.4 Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
1 การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะท้องอืด
3) แสดงความเข้าใจและเห็นใจและยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
4) ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
2) งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด เป็นต้น
1) จัดให้นอนศีรษะสูง 45 องศา-60 องศา เพื่อช่วยลดอาการแน่นท้อง และผายลมสะดวก
5.5 Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
3) ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
4) ระมัดระวังการสำลัก
2) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
5) ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
1) สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบากว่าเกิดขึ้นทันทีทันใดหรือค่อยๆ มากขึ้น
6)การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
7) การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ การสังเกตและการดูแลเอาใจใส่ที่ดี
3 ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ เพราะต้องช่วยในการสร้างฟื้นฟู และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำให้ร่างกายหายเป็นปกติ มีสุขภาวะสมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตดี
ผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ
ผลกระทบ
3) การหายของแผลช้า
4) ความแข็งแรงและโครงสร้างของผิวหนังผิดปกติ
2) ภูมิคุ้มกันโรคลดลง
5) วันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
1) เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
6) อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
อาหารจึงมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติ และภาวะเจ็บป่วยภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้าน
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ าหนัก และความรุนแรงของโรค
สูตรคำนวณความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energyexpenditure:BEE) หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total EnergyExpenditure:TEE) หมายถึง ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน
สูตร BEE เพศชาย
BEE = 66.47+ (13.75 x น้ าหนัก(Kg )) + (5.00 x ความสูง (Cm )) –(6.75 x อายุ (ปี))
สูตร BEE เพศหญิง
BEE = 655.09 + (9.56 x น้ าหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง(Cm )) –(4.68 x อายุ(ปี))
6 การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
6.3 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารทางสายยางมี 2 วิธี
ได้แก่
1) Bolus doseเป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
2) Drip feedingเป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร(Kangaroo)
เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมอง
6.4 การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาลเมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป
เช่น ให้เริ่มรับประทานอาหารหลังจากแผนการรักษาให้งดอาหารและน้ำทางปาก หรือผู้ป่วยรูสึกตัวดีสามารรับประทานอาหารเองได้ เป็นต้น
6.2 การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
3) เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
4) ล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษได้รับยาเกินขนาด
2) เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
5) เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
1) เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือได้รับไม่เพียงพอ
6.5 การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
6.1 การป้อนอาหาร (Feeding)
หมายถึง การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
วิธีปฏิบัติ
1) การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
(3) ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไป
(4) วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้
(2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง กรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
(5) วางเครื่องใช้อื่นๆ ในตำแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
(6) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
(1) ก่อนเวลาอาหาร แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง
2) การป้อนอาหาร
(1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
(2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหารของผู้ป่วย
(3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย
(4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ บ้วนปากหรือแปรงฟัน
(5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่างๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
(6) ลงบันทึกทางการพยาบาล
3) สำหรับผู้ป่วยพิการ ควรปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มเติมดังนี้
(1) ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
(2) ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
4) สำหรับผู้ป่วยกลืนลำบาก ควรปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มเติมดังนี้
(2) สอบถามผู้ป่วยถึงความรู้สึกเกี่ยวกับอาหารในปาก เพื่อดูว่ามีอาหารที่เหลือค้างในปาก
(3) สอนวิธีการใช้ลิ้นและการกลืน เพื่อช่วยให้การกลืนได้ดีขึ้น
(1) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือศีรษะสูงในลักษณะก้มเล็กน้อย เพื่อป้องกันการสำลัก
(4) ควรเริ่มจากอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวก่อน เพราะอาหารอ่อนจะง่ายต่อการกลืน
(5) ให้อาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
(6) ในขณะรับประทานอาหารควรหยุดพักเป็นระยะๆจะช่วยให้ได้รับประทานอาหารได้มากขึ้น
7 การล้างภายในกระเพาะอาหาร(Gastric lavage)
วิธีปฏิบัติ
6) ใช้Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
7) หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ จากนั้นต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสายที่หักพับไว้ ค่อยดันสารละลายผ่านกระบอกฉีดยาเข้าทางสาย
5) ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
8) ดูดน้ำออกเบาๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง ถ้าไม่มีน้ำออกให้ผู้ป่วยพลิกตัวไปมา
4) เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อม
9) ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้ำออกเรื่อยๆ จนการไหลผ่านดี
3) ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้
10) ถ้ากรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทำการล้างจนสารน้ำมีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือมีลักษณะใส
2) ประเมินสภาพผู้ป่วยอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
11) เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทำความสะอาดช่องปากและจัดท่าผู้ป่วยในท่าที่สุขสบาย
12) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
13) ลงบันทึกทางการพยาบาล
1) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ชุดล้างกระเพาะอาหาร
2) สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหารใช้น้ำเกลือ (Isotonic saline)
3) ชามรูปไตหรืออ่างกลม
4) ผ้าเช็ดปากหรือผ้าขนหนูผืนเล็กหรือผ้ากันเปื้อน
5) สายยางสำหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
6) Ky jelly
7) ถุงมือสะอาด 1 คู่และ Mask
วัตถุประสงค์
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม ในกรณีที่ไม่สามารถนำเสมหะจากผู้ป่วยไปตรวจได้ ปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะใช้เครื่องดูดเสมหะได้
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจำนวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
8กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
3.การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
5.การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
สิ่งที่ต้องประเมิน คือ
5.1 ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
5.2 ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)