Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
โภชนาการ คือ
โภชนาการมิได้มุ่งหวังเพียงจัดการปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติดี สีสัน สวยงาม ราคาถูกมาบริโภคเท่านั้น แต่ยังต้องมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพของอาหาร หรือปริมาณของสารอาหารที่ร่างกายจะนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดอีกด้วย
ภาวะโภชนาการ คือ
Good nutritional status
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
Malnutrition
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอ
แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
Over nutrition
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
วัตถุประสงค์
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม
วิธีปฏิบัติ
1) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
2) ประเมินสภาพผู้ป่วย อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ ปิดประตูหรือกั้นม่านให้เรียบร้อย
3) ล้างมือก่อนจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้
4) เตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้พร้อม
5) ปูผ้าคลุมบนเตียงและตัวผู้ป่วยตรงที่จะปลดสาย
6) ใช้ Toomey syringe ดูดสารละลาย 50 ซีซี
7) หักพับสายไว้ก่อนปลดรอยต่อ จากนั้นต่อสายกับกระบอกฉีดยาแล้วปล่อยสาย
8) ดูดน้ำออกเบา ๆ หรือปล่อยให้สารละลายไหลออกเอง
9) ใส่สารละลายเข้าไปแล้วปล่อยหรือดูดน้ำออกเรื่อย ๆ
10) ถ้ากรณีล้างกระเพาะอาหาร เพื่อห้ามเลือดในกระเพาะอาหาร ต้องทำการล้างจนสารน้ำมีลักษณะสีแดงจางที่สุด หรือมีลักษณะใส
11) เมื่อสิ้นสุดการล้างกระเพาะอาหารแล้ว ให้ทำความสะอาดช่องปาก
12) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
13) ลงบันทึกทางการพยาบาล
ความสำคัญของอาหารต่อความเจ็บป่วย
และความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความสำคัญของอาหารต่อความเจ็บป่วย
เป็นการสืบทอดองค์ความรู้จากบรรพบุรุษในการดูแลสุขภาพของ
ตนเองครอบครัว และชุมชน
ภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ
ช่วยในการสร้างฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทาให้ร่างกายหายเป็นปกติ
ถ้าผู้ป่วยได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบ ดังนี้
1) เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ 2) ภูมิคุ้มกันโรคลดลง 3) การหายของแผลช้า
4)ความแข็งแรงและโครงสร้างของผิวหนังผิดปกติ 5) วันนอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น 6) อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE) เป็นพลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง ATP
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ ส่วนสูง น้าหนัก และความรุนแรงของโรค สูตรคานวณความต้องการพลังงานพื้นฐาน
BEE หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ
TEE หมายถึง ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน ซึ่งรวมถึง BEE
การประเมินภาวะโภชนาการ
“ABCD”
Anthropometric measurement: A
การวัดส่วนสูงและน้ำหนักแล้วนำมาคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
Biochemical assessment: B
วิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
Clinical assessment: C
ให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
Dietary assessment: D
ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร เป็นต้น
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
ภาวะสุขภาพ พบว่า การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล พบว่าความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมีผลต่อภาวะโภชนาการ
การใช้ยา พบว่า ยาที่มีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ทำให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนไป
เพศ พบว่าเพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
วิถีชีวิต ปัจจุบันมีผู้เลือกดำเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์
อายุ พบว่าในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
เศรษฐานะ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจดีทาให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ปัจจัยด้านจิตใจ พบว่า ความเครียด และความกลัวทำให้ความอยากอาหารลดลง
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
1) เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้
2) เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ เพื่อให้แก๊ส สิ่งที่ค้างอยู่หรือน้าคัดหลั่งระบายออก มักต้องต่อกับเครื่องดูดสุญญากาศ
3) เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
4) ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษได้รับยาเกินขนาด (Over dose)
5) เก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
วิธีปฏิบัติ
1) ตรวจสอบความถูกต้องของคำสั่งการรักษา
2) ล้างมือให้สะอาด
3) นำอุปกรณ์ที่เตรียมไว้ไปที่เตียงผู้ป่วย ตรวจสอบโดยดูป้ายชื่อ และสอบถามชื่อ-สกุลผู้ป่วยให้ถูกต้อง
4) บอกให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ของการใส่สายยางจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
5) จัดท่าให้ผู้ป่วย จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งหรือนอนศีรษะสูง
6) ใส่ถุงมือสะอาด และ Mask ตรวจดูรูจมูก ผนังกั้นจมูก
7) เปิดซองสาย NG tube จากนั้นบีบ K.Y. jelly ลงด้านในของซองสาย NG tube โดยยังไม่หล่อลื่นสาย NG tube
8) นำสาย NG tube วัดตาแหน่งที่จะใส่สาย โดยวัดจากปลายจมูกถึงปลายติ่งหูและจากปลายติ่งหูถึงปลายกระดูกอก (Xiphoid process)
9) เปิดห่อ Toomey syringe แล้วใส่ Plunger ให้เรียบร้อย
10) บอกให้ผู้ป่วยตั้งศีรษะให้ตรงหรือเงยหน้าเล็กน้อย
11) เมื่อสายผ่านถึงคอ (Posterior nasopharynx) ผู้ใส่หักข้อมือเล็กน้อยให้ผู้ป่วยก้มศีรษะลง บอกให้ผู้ป่วยช่วยกลืนสายโดยกลืนน้าลายหรือดูดน้ำที่เตรียมไว้พร้อมทั้งค่อย ๆ ดัน
12) ตรวจสอบว่าสาย NG เข้าไปถึงกระเพาะอาหาร
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
Bolus dose
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาน้ำหนักตัวน้อย เป็นต้น
Drip feeding
เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo)เหมาะสาหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมอง
วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล ข้อดีและประโยชน์ในการให้อาหารทางสายให้อาหาร
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง
3) ทำความสะอาดปาก ฟัน กรณีใช้เครื่องช่วยหายใจต้องทำการดูดเสมหะก่อน
4) ปูผ้ากันเปื้อนรองตรงปลายสายให้อาหาร
5) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทาความสะอาดปลายสาย
6) ทดสอบตำแหน่งของสายให้อาหาร
7) หักพับสาย ถอด Toomey syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบเข้ากับส่วนปลายของสาย NG
8) เทอาหารใส่กระบอก Syringe คลายรอยพับออก และปล่อยให้อาหารไหลลงช้า ๆ ต่อเนื่องกัน
9)หักพับปลายสายให้อาหาร และเช็ดปลายสายด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
10) ปิดจุกสาย NG ใช้ก๊อสปิดไว้ให้เรียบร้อย
11)ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที
12)เก็บเครื่องใช้ทาความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
13) ลงบันทึกทางการพยาบาล
การป้อนอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตาม
ความต้องการของร่างกาย
วิธีปฏิบัติ
(1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
(2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหารเคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
(3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทาอาหารหกรดผู้ป่วย และเช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
(4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้สะอาด
(5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
(6) ลงบันทึกทางการพยาบาล
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีปฏิบัติ
1) อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเหตุผล
2) ไขหัวเตียงสูงเพื่อจัดให้ผู้ป่วยอยู่ท่านั่ง
3) ตรวจคำสั่งการรักษา เพื่อยืนยันแผนการรักษา
4) ล้างมือให้สะอาด เช็ดให้แห้งและใส่ถุงมือ สวมmask
5) ปูผ้ากันเปื้อนหรือผ้าขนหนู และแกะพลาสเตอร์ที่ยึดสายจมูกออก
6) หักพับสาย และดึงสายออก ขณะดึงสายให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ ใช้ผ้า
ก๊อสจับสายที่ดึงออกมาด้วยมืออีกข้างหนึ่ง การดึงควรดึงอย่างนุ่มนวลแต่เร็วระวังสายยางสะบัด
7) เช็ดรอยพลาสเตอร์ด้วยเบนซิน เช็ดตามด้วยน้ำเกลือและแอลกอฮอล์แล้วเช็ดให้แห้ง
8) ทำความสะอาดปาก ฟัน และจมูก เพื่อช่วยให้รู้สึกสะอาด และสดชื่น
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
วิธีปฏิบัติ
1) แจ้งและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจจุดประสงค์และวิธีทา
2) จัดให้อยู่ในท่านั่ง หรือนอนในท่าศีรษะสูง
3) เปิดเสื้อผ้าบริเวณ Gastrostomy tube หรือ Jejunostomy tube ออก
4) ล้างมือให้สะอาด ใส่ Mask
5) ตรวจสอบคำสั่งการรักษา
6) ปลดผ้าก๊อซที่หุ้มปลายสายให้อาหารออกทำความสะอาดปลายสาย
7) ใช้ Toomey syringe ต่อกับปลายสายดูด Gastric content
8) หักพับสาย ถอด Syringe แล้วดึง Plunger ออก และต่อกระบอกสูบ
9) เทอาหารใส่กระบอก Syringe และปล่อยให้อาหารไหลเข้าช้า ๆ ต่อเนื่องกัน
10) เช็ดปลายสายให้อาหารด้วยสาลีชุบ 70% Alcohol
11) หักพับปลายสายให้อาหาร เพื่อป้องกันอากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร
12) ปิดปลายสายอาหารให้เรียบร้อย
13) ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าเดิมอย่างน้อย 30 นาที เพื่อป้องกันอาหารไหลย้อน
14) เก็บเครื่องใช้ทำความสะอาด และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
15) ลงบันทึกทางการพยาบาล
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
เกณฑ์การประเมิน
1) ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตรงตามแผนการรักษาของแพทย์
2) ผู้ป่วยมีค่าดัชนีมวลกาย อยู่ในเกณฑ์ปกติ
4.การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
1) ตรวจสอบแผนการรักษา ชื่อผู้ป่วย และอาหารปั่นให้ตรงกัน
2) จัดเตรียมอุปกรณ์ในการใส่สาย NG และอาหารปั่นให้พร้อม ยกไปที่เตียงผู้ป่วย
3) บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จัดท่าให้เหมาะสม ปิดกั้นม่าน
4) ใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติ
5) ให้อาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
6) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 30 นาที หลังให้อาหารทางสายยาง
7) ลงบันทึกทางการพยาบาล
8) ติดตาม ประเมินน้ำหนักตัวของผู้ป่วย โดยชั่งน้ำหนักทุกเช้า วันเว้นวัน
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
การพยาบาล
1) คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
2) จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
3) จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
4) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
5) รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
6) หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
7) เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
8) ส่งเสริมให้ออกกาลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
BMI ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป , ขนาดรอบเอวในผู้ชายรอบเอวมากกว่า 40 นิ้ว ผู้หญิง 35 นิ้ว , อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพกเพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อตารางเมตร
Anorexia nervosa
เบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะรับประทานวันละหลาย ๆ ครั้ง ครั้งละมาก ๆ
หลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและรู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย
ต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
การพยาบาล
1) หาสาเหตุ ที่พบได้บ่อย ๆ เช่น โรคปากและฟัน คออักเสบ โรคมะเร็ง เป็นต้น
2) ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
3) ดูแลด้านจิตใจ พยายามให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย
4) การใช้ยา
5) การดูแลให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
การพยาบาล
จัดหาภาชนะรองรับอาเจียน เตรียมกระดาษเช็ดปากหรือผ้าไว้
จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่อาเจียนออกได้สะดวก
คอยอยู่เป็นเพื่อนขณะที่ผู้ป่วยกำลังอาเจียน
สังเกตสิ่งต่าง ๆ เพื่อบันทึกและรายงานอย่างถูกต้อง
ดูแลความสะอาดของร่างกายและเครื่องใช้
จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ
น้ำและอาหาร ในระยะแรกให้งดอาหารและน้ำ และเริ่มให้ทีละน้อย
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็นอาการนาก่อนอาเจียน แต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้
อาการอาเจียน คือ การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
การพยาบาล
1) จัดให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา
2) งดอาหารที่ทาให้เกิดแก๊ส เช่น มะม่วงดิบ แตงโม ผักสด เป็นต้น
3) แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
4) ค้นหาสาเหตุที่ทาให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม
Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
การพยาบาล
1) สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลาบากว่าเกิดขึ้น
2) ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
3) ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
4) ระมัดระวังการสำลัก
5) ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย
6) การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
7) การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ
Dysphagia เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน
Aphagia ไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหาร
ธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว