Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
บทที่ 8 การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ ในอาหารหรือสารอาหาร ตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นาสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย
โภชนาการ หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้ง ทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือเรียกอีกอย่างว่า ภาวะทุพ โภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอ แต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการต่ากว่าเกณฑ์(Malnutrition) หมายถึงภาวะที่ร่างกายได้รับ สารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจ ขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน (Kwashiorkor) โรคขาดพลังงาน (Marasmus)
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหาร มากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้ พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทาให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับ สารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุพบว่าในวัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพราะเด็กต้องการสารอาหารโปรตีนไปสร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
เพศ พบว่าเพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
การใช้ยาพบว่ายาทมี่ีผลข้างเคียงให้เกิดอาการเบื่ออาหารคลื่นไส้อาเจียนเช่นยา รักษาวัณโรค-พีเอเอส (Paraaminobenzoic acid: PAS) ยาลดความอ้วน ยารักษาโรคเบาหวานบาง ตัว เช่น เฟนฟอร์มิน (Phenformin) เมตฟอร์มิน (Metformin)
ภาวะสุขภาพ พบว่า การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล พบว่าความชอบและไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมี ผลต่อภาวะโภชนาการ เช่น บางคนชอบรับประทานอาหารหวานจัด
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทาให้ความรู้สึกอยากอาหารลดลง
วิถีชีวิต ปัจจุบันมีผู้เลือกดาเนินชีวิตตามวิถีสุขภาพโดยเลือกงดรับประทานสัตว์และ ผลิตภัณฑ์ที่ทามาจากสัตว์ ผู้ที่เลือกรับประธานอาหารเจ เป็นเวลานาน ๆ หรือเลือกรับประทานตลอด ชีวิต พบว่ามักขาดสารอาหารโปรตีนจึงควรต้องเสริมอาหารโปรตีนที่ทามาจากพืชให้เพียงพอ
เศรษฐานะ พบว่า ภาวะเศรษฐกิจดีทาให้ผู้คนเลือกรับประทานอาหารได้ตามความ ต้องการ ตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อาจลดปริมาณ ลงหรือหยุดรับประทานไปจนกว่าจะมีกาลังซื้อกลับคืนมาอีกครั้ง
ความสาคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายใน ภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องการใช้ (Energy Expenditure: EE) เป็น พลังงานที่เพียงพอหรือเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายในการสร้าง Adenosine triphosphate: ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) หรือพลังงานที่ ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE ) BEE หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทาให้ เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทางานของอวัยวะอื่น ๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE) หมายถึง ผลรวม ของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน ซึ่งรวมถึง BEE พลังงานที่ใช้ในการย่อย และดูดซึมสารอาหาร การใช้ พลังงานจากการทางานของร่างกายในแต่ละวัน และการใช้พลังงานของผู้ป่วยเฉพาะโรค
สูตร BEE เพศชาย
BEE = 66.47+ (13.75 x น้าหนัก (Kg )) + (5. 00 x ความสูง (Cm )) – (6.75 x อายุ (ปี))
สูตร BEE เพศหญิง
BEE = 655.09 + (9.56 x น้าหนัก (Kg)) +(1.85 x ความสูง (Cm )) –(4.68 x อายุ (ป)ี )
อาหาร (Food) และสารอาหาร (Nutrient) มีความสำคัญต่อภาวะการเจ็บป่วย และ ด้วยศาสตร์การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์ทางเลือก การแพทย์ผสมผสาน ดังภูมิปัญญาของหมอ กระดูกพื้นบ้านในการรักษาผู้ป่วยกระดูกหักของจังหวัดจันทบุรี พบว่า อาหารที่ผู้ป่วยกระดูกหักควร งด ได้แก่ กุ้งปลาหมึก ทาให้การรักษาถอยหลัง ปลามีเงี่ยง ทาให้ปวด หน่อไม้ มะละกอ กล้วยทุกชนิด ดอกกะหล่า น้าเต้า ผักกระเฉด ส่วนภูมิปัญญาของหมอกระดูกพื้นบ้านภาคใต้ พบว่า ผู้ป่วยกระดูกหัก ห้ามรับประทานกล้วย (ทำให้บวม) ข้าวเหนียว ของดอง หน่อไม้ ของเย็น ยาแคลเซียม
(เพราะจะทำให้กระดูกพองตัวหนาทำให้หายช้า)
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด โดยวัดส่วนสูงและน้าหนักแล้ว นามา ประเมินภาวะโภชนาการโดยคานวณหาดัชนีมวลของร่างกายมีหน่วยเป็นกิโลกรัมต่อตารางเมตร จาก สูตรการคานวณ
BMI = น้าหนักตัว (กิโลกรัม) หาร ส่วนสูง (เมตร)2
การประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B) เป็นวิธีการเจาะ เลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C) เป็นวิธีการตรวจ ร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร(Dietary assessment: D)
ประกอบด้วย ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทาน อาหาร เป็นต้น
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
ภาวะอ้วน คือร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไปมีค่าดัชนีมวล กาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป และจากการวัดขนาดรอบเอวในผู้ชายรอบเอว มากกว่า 40 นิ้ว (102 เซนติเมตร) ผู้หญิง 35 นิ้ว (88 เซนติเมตร) อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก เพศชาย ≥ 0.9 เพศหญิง ≥ 0.85
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
ภาวะผอมแห้ง คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัมต่อ ตารางเมตร และน้าหนักลดลงตลอดเวลาและลดลงเป็นเวลานาน ร่วมกับขาดสารอาหาร มีการ ควบคุมอาหารหรืออดอาหาร ออกกาลังกายมากเกินไป
Anorexia nervosa ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทาน อาหาร อาจรู้สึกต่อต้าน เมื่อนึกถึงหรือเมื่อเห็นอาหาร รับประทานแล้วไม่ค่อยรู้สึกอร่อย ตรงข้ามกับ ความรู้สึกอยากอาหาร (Appetite) อาการเบื่ออาหารอาจเกิดควบคู่กับคลื่นไส้ อาเจียน
Bulimia Nervosa เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ รับประทานวันละหลายๆ ครั้งครั้งละมากๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและ รู้สึกผิดที่รับประทานเข้าไปมากมาย จึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมด หรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็น อาการก่อนอาเจียน แต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้ อาการที่มักเกิดร่วมด้วย คือ มีน้ำลายมาก อาจเป็นลม ตาลาย เวียนศีรษะ ความดันเลือดลดลง ชีพจรเร็วขึ้นแล้วกลับช้าลง หายใจเร็วขึ้น
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
ภาวะท้องอืด เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม ทำให้เกิดอาการที่ตามมา เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากแรงดันในท้องที่เพิ่มจะดันกระบัง ลมให้สูงขึ้น ปอดขยายไม่เต็มที่ทาให้หายใจลาบาก ผู้ป่วยมักกระวนกระวายไม่อยากอาหาร หรือน้ำ ถ้าเป็นติดต่อกันนานจะทำให้เกิดการขาดอาหารหรือน้ำตามมาได้
Dysphagia and aphagia
(ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน อาจ รู้สึกว่ากลืนแล้วติดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บทั้งสองอย่าง
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia) จึงไม่สามารถกลืนได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหาร ธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับอาหารตาม ความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถาดอาหารพร้อมอาหาร
2) ช้อนหรือช้อนส้อม
3) แก้วน้าพร้อมน้ำดื่ม และหลอดดูดน้ำ
5) ผ้ากันเปื้อน
4) กระดาษหรือผ้าเช็ดปาก
วิธีปฏิบัติ
การเตรียมผู้ป่วยและสิ่งแวดล้อม
(1) ก่อนเวลาอาหาร แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายบ้าง โดยเฉพาะในรายที่ เคลื่อนไหวด้วยตนเองได้ และควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่สุขสบาย เช่น เจาะเลือด ฉีดยา เป็นต้น
(2)จัดให้อยู่ในท่านั่งกรณีที่นั่งไม่ได้จัดให้นอนตะแคงขวาเล็กน้อย
(3) ปูผ้ากันเปื้อนตั้งแต่ใต้คางลงไปหากผู้ป่วยที่อยู่ในท่านอนตะแคงควรปู บนที่ไหล่และหมอนด้วย
(4) วางถาดอาหารในตำแหน่งที่ผู้ป่วยสามารถมองเห็นชนิดของอาหารได้ บอกรายการอาหารและเชิญชวนให้เกิดความอยากอาหารมื้อนั้น
(5) วางเครื่องใช้อื่นๆในตำแหน่งที่สามารถหยิบได้สะดวก
(6) ล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้แห้ง
การป้อนอาหาร
(1) ขณะป้อนอาหารตักอาหารให้มีปริมาณที่เหมาะสม
(2) จังหวะในการป้อนต้องสัมพันธ์กับความสามารถในการรับประทานอาหาร เคี้ยวและกลืนของผู้ป่วย
(3) ไม่ควรจ้องหน้าผู้ป่วย ระวังการตักอาหารไม่ทาอาหารหกรดผู้ป่วย และ เช็ดปากให้เมื่อเปื้อนอาหาร
(4) หลังป้อนอาหารให้ผู้ป่วยดื่มน้า บ้วนปาก หรือแปรงฟัน และเช็ดปากให้
(5) เก็บถาดอาหาร และเครื่องใช้ต่าง ๆ เมื่อผู้ป่วยรับประทานเสร็จ
(6) ลงบันทึกทางการพยาบาล
สำหรับผู้ป่วยพิการ
(1) ถ้าผู้ป่วยจับช้อนไม่ถนัดควรสาธิตการใช้ช้อนและส้อมในการตักอาหารใส่ ปากหรือดัดแปลงที่จับของให้จับได้สะดวก
(2) ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย ควรรับประทานอาหารเหลวที่ สอดคล้องกับการแผนรักษาของแพทย์
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubation)
วัตถุประสงค์
เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานทางปากไม่ได้หรือ ได้รับไม่เพียงพอ
เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารหรือลำไส้(Decompression)เพื่อให้ แก๊ส สิ่งที่ค้างอยู่หรือน้ำคัดหลั่งระบายออก
เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร(Compression)โดยใช้ สายที่มีลูกโป่งทางด้านนอกสามารถเป่าลมเข้าไปทำให้โป่งขึ้น
ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ใช้มากในกรณีที่กินยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด (Over dose)
อุปกรณ์เครื่องใช้
4) ถุงมือสะอาด 1 คู่
1) ถาดสำหรับใส่เครื่องใช้
2) สาย NG tube เบอร์ 14-18 fr.
3) Toomey syringe ขนาด 50 ml 1 อัน
5) Stethoscope
6) สารหล่อลื่น เช่น K.Y. jelly เป็นต้น
8) หลอดดูดน้า
9) พลาสเตอร์
10) กระดาษเช็ดปาก
11) ชามรูปไต
12) ผ้าเช็ดตัว
7 แก้วน้ำ
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
วิธีการให้อาหารทางสายยางมี 2 วิธี
1) Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะ สาหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
2) Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo) มีลักษณะคล้ายกับชุดให้สารน้ำสามารถปรับจำนวนหยดของอาหาร และควบคุมเวลาการให้ อาหารได้ตามความต้องการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การถอดสายให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อ วัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาล เมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป เช่นให้เริ่มรับประทานอาหารหลังจากแผนการรักษาให้งดอาหารและน้ำ ทางปาก หรือผู้ป่วยรูสึกตัวดีสามารรับประทานอาหารเองได้ เป็นต้น
อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ผ้ากันเปื้อนหรือผ้าเช็ดตัว
2) ชามรูปไต
3) น้ายาบ้วนปาก
4) สาลีชุบ 70% Alcohol
5) ไม้พันสาลีชุบเบนซิน (Benzene) และน้ำเกลือ (Normal saline)
7) ผ้าก๊อสสะอาด
6) ถุงมือสะอาด
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
อุปกรณ์เครื่องใช้ เหมือนกับการให้อาหารทางสาย NG tube
หมายเหตุ: การให้อาหารวิธีนี้เป็นหัตถการโดยแพทย์ และมีรอยแผลตาแหน่งที่เปิดออกทางหน้าท้อง จึงต้องทำแผลวันละครั้ง หรือเมื่อจำเป็น และให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลด้วย
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
วัตถุประสงค์
1) ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
2) ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจานวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
3) ตรวจสอบการอุดตันของสาย
4) ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม
อุปกรณ์เครื่องใช้
ชุดล้างกระเพาะอาหาร (ภาชนะสำหรับใส่สารละลายทั้งสำหรับเทสารละลาย และที่ดูดออกจากผู้ป่วย และ Toomey syringe)
สารละลายที่ใช้ล้างกระเพาะอาหาร ใช้น้ำเกลือ (Isotonic saline)
ชามรูปไตหรืออ่างกลม
ผ้าเช็ดปาก หรือผ้าขนหนูผืนเล็ก หรือผ้ากันเปื้อน
สายยางสำหรับใส่ในกระเพาะอาหาร
Ky jelly
ถุงมือสะอาด 1 คู่ และ Mask
ในการล้างกระเพาะอาหารยังสามารถเก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร เพื่อส่งตรวจ ได้
ด้วย โดยปฏิบัติหลังจากการใส่สายยางแล้วดูด Content ออกใส่ภาชนะส่งตรวจ หรือเก็บจากสารน้ำ ที่ออกมาขณะล้างกระเพาะอาหารส่งตรวจก็ได้
การล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกิน ขนาด (Over dose) รวมถึงเป็นการล้างกระเพาะอาหารเพื่อห้ามเลือด สำหรับการตรวจโดยการส่อง กล้อง เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning) วัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
2)จัดเตรียมอุปกรณ์การใส่สายNGและอาหารปั่นให้พร้อมยกไปที่เตียงผู้ป่วย
1) ตรวจสอบแผนการรักษา ชื่อผู้ป่วย และอาหารปั่นให้ตรงกัน
5) ให้อาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารตามแผนการรักษา
6) จัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง อย่างน้อย 30 นาที หลังให้อาหารทางสายยาง
8) ติดตาม ประเมินน้าหนักตัวของผู้ป่วย โดยชั่งน้าหนักทุกเช้า วันเว้นวัน
3) บอกวัตถุประสงค์ เตรียมความพร้อมของผู้ป่วย จัดท่าให้เหมาะสม ปิดกั้นม่าน
7) ลงบันทึกทางการพยาบาล
4) ใส่สายยางทางจมูกถึงกระเพาะอาหารให้แก่ผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติ
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
1) ประเมินความสุขสบายของผู้ป่วย สังเกตสีหน้าท่าทางของผู้ป่วย
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล
1) ประเมินการปฏิบัติถูกต้องครบและเป็นไปตามขั้นตอนของแนวปฏิบัติ
2) ประเมินผลภายหลังผู้ป่วยได้รับอาหารทางสายยางทางจมูกถึงกระเพาะ อาหาร ไม่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น