Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร สารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่
ในอาหารหรือสารอาหารตลอดจนปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการที่สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง นำสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกาย รวมทั้งการกำจัดสารที่เหลือใช้ของร่างกาย
วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้ง
ทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย ผ่านกระบวนการย่อย การดูดซึม การใช้จ่ายสารอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย การเก็บสะสมสารอาหารที่เหลือใช้ และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ
มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status)
ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่าและอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
ความชอบส่วนบุคคล
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
วิถีชีวิต
การใช้ยา
เศรษฐานะ
เพศ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ภาวะสุขภาพ
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ในภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ เพราะต้องช่วยในการสร้างฟื้นฟู และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำให้ร่างกายหายเป็นปกติ มีสุขภาวะสมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตดี
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ
ส่วนสูง น้ำหนัก และความรุนแรงของโรค
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basal energy expenditure: BEE) หรือพลังงานที่ต้องการขณะพัก (Resting Energy Expenditure: REE )
BEE หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอลิสซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE) หมายถึง ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index ; BMI)
ฺBMI = น้ำหนัก (กก.)/ส่วนสูง (เมตร)2
การประเมินทางชีวเคมี
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การตรวจร่างกายทางคลินิก
เป็นวิธีการตรวจร่างกายเช่นเดียวกับการประเมินภาวะสุขภาพ
แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร
ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค
พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มี
ปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
ร่างกายมีการสะสมของมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ทั้งเพศชายและเพศหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
การพยาบาลผู้ที่มีภาวะอ้วน
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจ ากัดอาหารมื้อเย็น
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทานอาหาร อาจรู้สึกต่อต้านทำให้อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ขาดอาหาร อาจเป็นโรคจากการขาดสารอาหารและพลังงาน หรือโรคแผลในกระเพาะอาหารได
Nausea and vomiting
อาการคลื่นไส้ เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก มักเป็นอาการนำก่อนอาเจียนแต่อาจเกิดคลื่นไส้โดยไม่อาเจียนได้ อาการที่มักเกิดร่วมด้วย คือ มีน้ำลายมากอาจเป็นลมทำให้เกิดความไม่สุขสบาย รับประทานอาหารไม่ได้ เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้ติดต่อกันแม้จะไม่อาเจียนก็ทำให้ร่างกายขาดอาหารได้
อาการอาเจียน คือ การที่มีแรงดันจากภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้นออกมาทางปาก เป็นผลจากมีการบีบตัวของลำไส้เล็กส่วนต้น หรือกระเพาะอาหารส่วนล่างอย่างแรง
Abdominal distention
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่สบายในท้องที่เกิดจากมีแรงดันในท้องเพิ่ม
ทำให้เกิดอาการที่ตามมา ถ้าเป็นมากแรงดันในท้องที่เพิ่มจะดันกระบังลมให้สูงขึ้น ปอดขยายไม่เต็มที่ทำให้หายใจลำบาก ผู้ป่วยมักกระวนกระวายไม่อยากอาหาร หรือน้ำ
Bulimia Nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการรับประทาน โดยจะ
รับประทานวันละหลาย ๆ ครั้งครั้งละมาก ๆ โดยหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจและจึงต้องหาวิธีเอาออกโดยอาจล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
Dysphagia and aphagia
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia) เป็นความรู้สึกที่ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน อาจรู้สึกว่ากลืนแล้วติดอยู่ที่ใดที่หนึ่งหรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บทั้งสองอย่าง
ภาวะกลืนไม่ได้(Aphagia) จึงไม่สามารถกลืนได้ไม่ว่าจะเป็นอาหารแข็ง อาหารธรรมดา อาหารอ่อน อาหารเหลว จนกระทั่งรุนแรงมากที่สุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้ำหรือน้ำลาย
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
การช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก โดยผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร หรือมีความอ่อนเพลียจากการเจ็บป่วย
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubation)
การใส่สายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า การใส่ NG tube
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
Bolus dose เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe
Drip feeding เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร (Kangaroo)
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
การถอดสายให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง แต่การถอดสายให้อาหารออกนั้นเป็นบทบาทกึ่งอิสระของพยาบาลเมื่อแผนการรักษาเปลี่ยนไป
การให้อาหารทางสายยางให้อาหาร
ที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
การล้างภายในกระเพาะอาหาร ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด (Over dose)) รวมถึงเป็นการล้างกระเพาะอาหารเพื่อห้ามเลือด สำหรับการตรวจโดยการส่องกล้อง เพื่อวินิจฉัยภาวะเลือดออกในกระเพาะอาหาร
ในการล้างกระเพาะอาหารยังสามารถเก็บสิ่งตกค้างในกระเพาะอาหาร เพื่อส่งตรวจ ได้ด้วย โดยปฏิบัติหลังจากการใส่สายยางแล้วดูด Content ออกใส่ภาชนะส่งตรวจ หรือเก็บจากสารน้ำที่ออกมาขณะล้างกระเพาะอาหารส่งตรวจก็ได้
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล
ประเมินผลกิจกรรมการพยาบาล