Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ, ภาพหน้าจอ 2563-08-17 เวลา 09.06.03, ภาพหน้าจอ…
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
วิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสารอาหาร และสารอื่นที่มีอยู่ในอาหารหรือสารอาหาร
ปฏิกิริยาระหว่างกันของสารอาหารที่สิ่งมีชีวิตย่อย ดูดซึม ขนส่ง
นำสารอาหารไปใช้และสะสมในร่างกายการกำจัดสารที่เหลือใช้ของร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
สิ่งที่แสดงถึงระดับที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร
เพื่อนำมาใช้ในด้านสรีระอย่างเพียงพอ
ภาวะโภชนาการดี
(Good nutritional status)
มีสารอาหารครบถ้วนในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ร่างกายใช้สารอาหารเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ภาวะโภชนาการไม่ดี
(Bad nutritional status)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
แบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ
โดยขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิดหรือมากกว่า
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
วัยเด็กมีความต้องการสารอาหารมากกว่าในวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
เพศ
เพศชายต้องการพลังงานในหนึ่งวันมากกว่าเพศหญิง
การใช้ยา
ยาทำให้เกิดอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ภาวะสุขภาพ
การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล
ชอบรับประทานอาหารหวานจัด อาหารไขมันสูงทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน
กินยากหรือไม่ชอบรับประทานเพราะกลัวอ้วนทำให้มีภาวะโภชนาการต่ำ
ดื่มแอลกอฮอล์
รู้สึกอยากอาหารลดลง
วิถีชีวิต
รับประธานอาหารเจเป็นเวลานานๆ ขาดสารอาหารโปรตีน
เศรษฐานะ
เศรษฐกิจดีทำให้เลือกรับประทานอาหารได้ตามความต้องการตรงกันข้ามในภาวะเศรษฐกิจไม่ดี
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
รับประทานของดิบๆสุกๆ ตามความเชื่อทำให้ร่างกายแข็งแรงอาจก่อให้เกิดพยาธิใบไม้ในตับ
ปัจจัยด้านจิตใจ
ความเครียด และความกลัว
ความอยากอาหารลดลง รู้สึกเบื่ออาหาร กลืนอาหารไม่ลงคอ
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วย
ภาวะเจ็บป่วยความต้องการพลังงานต้องมากกว่าในภาวะปกติ เพราะต้องช่วยในการสร้างฟื้นฟู
และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอทำให้ร่างกายหายเป็นปกติ มีสุขภาวะสมบูรณ์ และมีคุณภาพชีวิตดี
หากได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ
เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ภูมิคุ้มกันโรคลดลง
การหายของแผลช้า
ความแข็งแรงและโครงสร้างของผิวหนังผิดปกติ
นอนโรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายมากขึ้น
อัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index: BMI)
BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (เมตร)2
ประเมินทางชีวเคมี (Biochemical assessment: B)
ตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
ประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร (Dietary assessment: D)
การส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่แป้งและไขมันสูง
รับประทานอาหารครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารขณะดูโทรทัศน์
เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีใยอาหารจากผักผลไม้ และธัญพืชที่ไม่ขัดสี
ออกกำลังกายอย่างสม่าเสมอหรือสัปดาห์ละ 3 วัน
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
Anorexia nervosa
เบื่ออาหารเป็นความรู้สึกไม่อยากรับประทาน อาหาร รู้สึกต่อต้าน
Bulimia Nervosa
รับประทานวันละหลายๆครั้ง ครั้งละมาก ๆหลังจากรับประทานเสร็จจะรู้สึกไม่สบายใจ
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุด
สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายขณะที่รับประทานอาหาร
ใช้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
Nausea and vomiting
(อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
จัดสิ่งแวดล้อม ดูแลให้อากาศถ่ายเท
ให้ผู้ป่วยพักผ่อนในบรรยากาศที่สงบ
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
จัดให้นอนศีรษะสูง 45 องศา - 60 องศา
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
Dysphagia and aphagia
(ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ระมัดระวังการสำลัก
การส่งเสริมภาวะโภชนาการใน
ผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอาหารเข้าสู่ร่างกายทางปาก ผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร หรือมีความอ่อนเพลียจากการเจ็บป่วย
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
(Nasogastric intubation)
การใส่ NG tube
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
ให้อาหารแก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทาน อาหารทางปาก
แต่การทำงานของระบบทางเดินอาหารยังอยู่ในภาวะปกติ
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
เริ่มรับประทานอาหารหลังจากงดอาหารและน้ำทางปากหรือผู้ป่วยรู้สึกตัวดีสามารรับประทานอาหารเองได้
การให้อาหารทางสายยางให้อาหาร
ที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
กรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกิน ขนาด (Over dose)
กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมภาวะโภชนาการ
ประเมินภาวะสุขภาพ (Assessment)
วินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
วางแผนการพยาบาล (Planning)
ปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
ประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)