Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ💩, ✨🌙จัดทำโดย 💕🌈 …
การส่งเสริมการขับถ่ายอุจจาระ
💩
10.1 ความสำคัญของการขับถ่ายอุจจาระ
กลไกการขับถ่ายอุจจาระ (Defecation)
เป็นกระบวนการของร่างกายในภาวะปกติ ที่
ขับของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารในร่างกาย เมื่อรับประทานอาหาร ลำไส้จะถูกกระตุ้นทำให้
เกิดรีเฟล็กซ์ เมื่อมีการยืดขยายของลำไส้ส่วนต้น จะทำให้การเกิดเคลื่อนไหวโดยการหดตัวของ
กล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร ซึ่งหดตัวเป็นช่วง ๆ
ทำให้อาหารเคลื่อนที่และช่วยในการย่อย
อาหาร เรียกการเคลื่อนไหวนี้ว่า Peristalsis ความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระหรืออาการปวดอุจจาระ
เกิดขึ้นเมื่ออุจจาระที่มีปริมาณมากพอเข้ามาในลำไส้ส่วนปลายที่เรียกว่า “ไส้ตรง”
ในภาวะปกติอุจจาระจะมีส่วนประกอบเป็นน้ำประมาณร้อยละ 70-80 ส่วนเป็น
ของแข็งครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเป็นแบคทีเรีย
ส่วนใหญ่สารอาหารและสิ่งที่มีคุณค่าจากอาหาร จะ
ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางลำไส้เล็กก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ
เส้นใยอาหาร
ประเภทเซลลูโลสและลิกนินซึ่งไม่ถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียจะเหลืออยู่ในอุจจาระและช่วยอุจจาระอุ้มน้ำไว
น้ำหนักของอุจจาระขึ้นอยู่กลับปริมาณของเส้นใยอาหาร หากรับประทานอาหารที่มีเส้นใย
อาหารต่ำ
น้ำหนักอุจจาระเฉลี่ยวันละ 75 กรัม
ในคนที่บริโภคอาหารที่มีเส้นใยสูง น้ำหนักอุจจาระ
อาจสูงถึงวันละ 500 กรัมได
ในคนไทยโดยเฉลี่ยวันละ 150 กรัม มากกว่าค่าเฉลี่ยของชาวตะวันตก
ประมาณเท่าครึ่ง
นอกจากนี้ในการทำงานของลำไส้ใหญ่ที่บีบตัวเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งวัน เพื่อผลักดัน
ให้อุจจาระเคลื่อนต่อไปยังไส้ตรง
ทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนรูปร่างเหมือนไส้กรอกและขับถ่าย
ออกมาได้ง่าย
ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นการขับของเสียออกจากร่างกาย
หากร่างกายไม่ขับถ่ายอาจทำให้เกิดสารพิษและของเสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส
ยิ่งถ้าร่างกายมีการสะสม
ของเสียตกค้างเป็นเวลานานนั้น ย่อมมีโอกาสในการได้รับสารพิษกลับเข้าไปในร่างกาย
เพิ่มความ
เสี่ยงในการเกิดมะเร็งล าไส้มากขึ้น
ดังนั้นการขับถ่ายอุจจาระจึงถือได้ว่าเป็นทั้งการนำสารพิษและของ
เสียที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ออกไปและเป็นการสร้างระบบขับถ่ายที่ดีต่อร่างกายและดีต่อสุขภาพ
10.4 สาเหตุและการพยาบาลผู้ปุวยที่มีปัญหาการขับถ่ายอุจจาระ
10.4.3 ภาวะท้องอืด (Flatulence หรือ Abdominal distention)
เป็นความรู้สึกแน่น อึดอัด ไม่ผายลม ไม่สบายในท้องซึ่งเกิดจากมีแรงดันในช่องท้อง
เพิ่มขึ้นจากลมภายในลำไส้ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ
เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
10.4.3.1 สาเหตุ
1) มีการสะสมของอาหารหรือน้ำมาก อาหารไม่ย่อย รับประทานอาหารมาก
เกินไป หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
2) มีแก๊สในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ปริมาณมาก
3) มีการสะสมของอุจจาระมาก เนื่องจากไม่ได้ขับถ่ายออกตามปกติ
4) ปริมาตรของช่องท้องลดลงจากความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น
ตับโต ม้ามโต ท้องมานน้ า (Ascites )
10.4.3.2 การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องอืด
1) จัดท่านอน ให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา เพื่อให้กระบังลมหย่อยตัว ปอด
ขยายตัวได้ดีขึ้นลดอาการแน่นหน้าอกและทำให้หายใจสะดวก
2) อธิบายสาเหตุและวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องอืด แสดงความเห็นอก
เห็นใจและให้กำลังใจ
3) ค้นหาสาเหตุของอาการท้องอืดและให้การช่วยเหลือตามสาเหตุ
10.4.2 การอัดแน่นของอุจจาระ (Fecal impaction)
10.4.2.1 สาเหตุ อาการเริ่มแรก
คือ ไม่ได้ถ่ายอุจจาระติดต่อกันนานแล้ว พบอุจจาระ
เป็นน้ำเหลวไหวซึมทางทวารหนักทีละเล็กละน้อยอย่างควบคุมไม่ได้
ซึ่งต่างจากท้องเดิน ผู้ปุวยจะรู้สึก
ปวดท้องมาก ปวดอุจจาระ อยากถ่ายตลอดเวลาแต่ถ่ายไม่ออก อาจมีอาการอื่นร่วมด้วยคือ บั้นเอว
ท้องอืด แน่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจตื้นๆ
10.4.2.2 การพยาบาลผู้ปุวยที่มีการอัดแน่นของอุจจาระ
เป้าหมายสำคัญของการพยาบาล คือ การช่วยเหลือเอาก้อนอุจจาระออกจากร่างกาย
โดยการล้วงอุจจาระ (Evacuation)
และอาจใช้ยาระบายเพื่อทำให้ก้อนอุจจาระอ่อนนุ่มและหล่อลื่น
หรือการสวนอุจจาระในกรณีที่ใช้ยาไม่ได้ผล
10.4.2.3 การล้วงอุจจาระ (Evacuation)
คือ การล้วงอุจจาระออกโดยตรง เป็นการ
ช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระออกเองไม่ได้ อุจจาระจับเป็นก้อนและไม่ถูกขับออกมา
ตามปกติ ประมาณ 4-5 วัน หรือมีอาการท้องอืดตึง
10.4.2.5 วิธีปฏิบัติ
1) แนะนำตัว และบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้ป่วยทราบ
2) ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ ขาขวา งอเล็กน้อย (Sim’s position)
3) ปูผ้ายางรองให้ผู้ป่วย และวางหม้อนอนหรือถุงพลาสติกไว้ใกล้ ๆ
4) พยาบาลสวมถุงมือ 2 ชั้น แล้วใช้นิ้วชี้หล่อลื่นด้วยเจลหล่อลื่น (วาสลินหรือ
สบู่เหลว) บอกผู้ป่วยให้รู้ตัวแล้วสอดนิ้วชี้เข้าทางทวารหนัก พร้อมให้ผู้ป่วยช่วยอ้าปากหายใจยาว ๆ
เพื่อช่วยผู้ป่วยผ่อนคลายและไม่รู้สึกเจ็บ
5) ล้วงเอาก้อนอุจจาระออกใส่ในหม้อนอนหรือถุงพลาสติกที่เตรียมไว้พยาบาล
ต้องทำด้วยความนุ่มนวลและรวดเร็วเนื่องจากอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกเจ็บและเขินอายได้
6) เช็ดทำความสะอาด จัดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย และเก็บเครื่องใช้
7) ทำความสะอาดเครื่องใช้และเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
8) ลงบันทึกทางการพยาบาล
10.4.2.4 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ถุงมือสะอาด 2 คู่ และหน้ากากอนามัย (Mask)
2) สารหล่อเลื่อน เจล หล่อลื่น ถ้าไม่มีใช้วาสลิน หรือสบู่เหลว
3) ผ้ายางรองก้นและกระดาษช าระ
4) หม้อนอนหรือ ถุงพลาสติกส าหรับใช่อุจจาระ
10.4.4 การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Fecal incontinence)
การกลั้นอุจจาระไม่ได้ทำให้มีการถ่ายอุจจาระและผายลมออกมาทันทีเมื่อรู้สึกปวด
ถ่าย ซึ่งเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย มักเกิดจากการรบกวนที่หูรูดทวารหนัก
เช่น มีการกดทับ
จากก้อนอุจจาระเป็นเวลานาน หรือความผิดปกติของปลายประสาทรับความรู้สึกบริเวณทวารหนัก
10.4.4.1 ผลของการกลั้นอุจจาระไม่ได้
2) ผลด้านจิตใจ
เนื่องด้วยอุจจาระเป็นเรื่องของความไม่สะอาดทั้งกลิ่นและสิ่งขับถ่าย อุจจาระจึงท า
ให้เกิดการสูญเสียความรู้สึกมีคุณค่าและความนับถือต่อตนเอง
3) ผลด้านสังคม
เนื่องด้วยการถ่ายอุจจาระ เป็นเรื่องส่วนตัวที่ต้องควรระมัดระวัง เมื่อการกลั้น
อุจจาระไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอับอายส่งผลให้ไม่ต้องการออกสังคม หรือพบปะผู้คนโดยไม่มีเหตุจำเป็น
1) ผลด้านร่างกาย
เนื่องด้วยการขับถ่ายอุจจาระที่ควบคุมไม่ได้ จึงทำให้มีอุจจาระไหลออกมาโดยไม่รู้ตัว
จึงเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง
4) ผลด้านจิตวิญญาณ
สืบเนื่องด้วยผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ส่งผลให้ด้านจิตวิญญาณ
คือ
ความรู้สึกเสียคุณค่าในตนเองลดลง และขาดการแสดงออกถึงความต้องการการมีส่วนร่วมในกิจกรรม
ทางศาสนากลัวสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคต
10.4.4.2 การพยาบาลผู้ปุวยที่กลั้นอุจจาระไม่ได้
1) ด้านร่างกาย
(1) ความสะอาดทั่วไปของร่างกาย
(2) การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระโดยใช้วิธีการฝึกถ่ายอุจจาระเป็นเวลาเลือก
เป็นเวลาที่สะดวก เช่น ตอนเช้าตรู่
(3) ให้การดูแลผิวหนังให้สะอาด และแห้งตลอดเวลา โดยเฉพาะหลังการขับถ่าย
อุจจาระทุกครั้งเพื่อป้องกันการระคายเคืองและเกิดแผล
(4) ดูแลเสื้อผ้า ที่นอน ให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
(5) รักษาสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหวัด ซึ่งจะทำให้มีอาการไอ
จาม อาจทำให้มีอุจจาระเล็ดออกมาขณะไอและจามได้ ส่งผลให้ขาดความมั่นใจในการใช้ ชีวิตประจำวัน
2) ด้านจิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ
การดูแลเรื่องจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจส่งผลให้เกิดภาวะเก็บกด (Depression)
พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม และเก็บตัวไม่ยอมรับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนไป
ดังนั้นผู้ดูแลจึงควรให้
กำลังใจ และสร้างเสริมกำลังใจกับผู้ปุวยให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และกล้าที่ออก
สังคมอย่างมั่นใจ ส่วนด้านจิตวิญญาณให้ทำสมาธิและมีสติรู้อยู่เป็นปัจจุบันตลอดเวลา
10.4.1 ภาวะท้องผูก (Constipation)
2 ประเภท
1) ภาวะท้องผูกแบบปฐมภูมิ
โดยภาวะท้องผูกปฐมภูมินี้มีความสัมพันธ์กับการ
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ภาวะขาดน้ำ การเคลื่อนไหวลดลงแรงตึงตัวของกล้ามเนื้อลดลง
2) ภาวะท้องผูกแบบทุติยภูมิ
อาจเกิดจากความเจ็บปุวยหรือการรักษาด้วยยา มี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
สรุปสาเหตุของภาวะท้องผูก
ไม่ได้ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา รับประทานอาหารที่ไม่
มีกากใย หรือกากใยน้อยติดต่อกันหลายมื้อ หรือรับอาหารโปรตีนมากเกินไป
ดื่มน้ำน้อยเกินไป ทำให้
ได้รับน้ำไม่เพียงพอ อดื่มน้ำเพียงพอแต่อาจเกิดจากอากาศร้อนทำให้สูญเสียน้ำออกจากร่างกาย
มากกว่าปกติ
ต้องพิจารณาดื่มน้ำเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สังเกตได้จาก
อาการกระหายน้ำในแต่ละวัน
พร่องการออกกำลังกายประจำสัปดาห์ หรือร่างกายถูกจำกัดการ
เคลื่อนไหวประจำวัน
เช่น การนอนนอนติดเตียง (Bed ridden) จากเจ็บป่วยเรื้อรัง
เกิดความเครียด วิตกกังวล หรืออารมณ์ซึมเศร้า ทำให้การทำงานของประสาทซิม
พาเธติคลดลง
พยาธิสภาพหรือความผิดปกติทางร่างกาย
ได้แก่ ความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ การ
เปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ โรคของต่อมไทรอยด์ เบาหวาน
การบาดเจ็บของ
ระบบประสาท ที่พบบ่อย
ได้แก่ การบาดเจ็บของไขสันหลัง และจากอาการข้างเคียงของยา
10.4.1.2 ผลที่เกิดจากภาวะท้องผูก
เมื่ออาหารที่รับประทานเข้าไปถูกย่อยลำไส้เล็กจะมีหน้าที่ในการดูดซึมสารอาหารเข้าสู่
ร่างกาย ลำไส้ใหญ่มีหน้าท
2) ดูดซึมน้ำและอิเล็คโตรไลท์จากอาหาร
ที่ถูกย่อยแล้ว
3) ทำหน้าที่เก็บ
กากอาหารไว้จนกว่าจะถึงเวลาอันสมควรที่จะถ่ายเป็นอุจจาระออกนอกร่างกาย
1) ช่วยย่อยอาหารเพียงเล็กน้อย
เก็บอุจจาระไว้นานจนทำให้เกิดอาการท้องผูกจะส่งผลต่อร่างกาย
2) เกิดอาการปากแตก ลิ้นแตก ลมหายใจเหม็น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
3) เป็นโรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เกิดจากอุจจาระที่แห้งแข็งกดหลอด
เลือดดำรอบๆ ทวารหนัก ทำให้เลือดไหลกลับไม่สะดวกเกิดโป่งพอง และแตกได้
1) เกิดอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง ไม่สุขสบายเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
ปวดศีรษะวิงเวียน
4) แบคทีเรียในลำไส้ จะเปลี่ยนยูเรียจากกากอาหาร เป็นแอมโมเนีย ดูดซึมเข้าอาการ Hepatic encephalopathy คือ ภาวะที่ผู้ป่วย
เกิดมีอาการทางสมอง ได้แก่สับสน ซึม และโคม่า เป็นผลจากภาวะตับวาย อาการรุนแรงเรียกว่า Hepatic coma ทำให้เสียชีวิตได้
5) ถ้าทิ้งไว้นานอุจจาระอาจอัดกันเป็นก้อนแข็ง หรือผนังลำไส้หย่อนตัวเป็นถุง
สะสมอุจจาระไว้ พบในผู้ปุวยสูงอายุ หรือผู้ปุวยอัมพาต
6) การกลั้นอุจจาระไม่ได้ (Incontinence) เนื่องจากก้อนอุจจาระไปกดปลาย
ประสาทของกล้ามเนื้อหูรูดที่ควบคุมการขับถ่ายสูญเสียหน้าที่
10.4.1.3 การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องผูก
4) แนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับการถ่ายอุจจาระ และควรฝึกระบบขับถ่าย
อุจจาระให้เป็นเวลา
5) จัดสรรเวลาในตอนเช้าเพื่อฝึกให้เคยชินกับการถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
3) แนะนำกระตุ้น และช่วยให้ผู้ป่วยได้รับน้ำให้เพียงพอ
6) แนะนำให้ออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของร่างกายจะมีผลต่อการบีบตัวของ
ลำไส้ช่วยให้การถ่ายอุจจาระเป็นปกต
2) แนะนำและกระตุ้นให้ผู้ปุวยรับประทานอาหารให้มากเพียงพอ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งอาหารที่มีเส้นใยและกากมาก ๆ
เช่น ผักและผลไม้สด อาหารที่มีธัญพืช ถั่วต่าง ๆ ลูกพรุน
7) สังเกตความถี่การใช้ยาระบายหรือยาถ่าย พยายามลดการใช้จนสามารถเลิก
ใช้ยาระบาย หรือใช้ในกรณีที่จำเป็นเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยต้องเบ่งถ่ายอุจจาระ
1) แนะนำให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล
8) แนะนำสมุนไพรซึ่งเป็นอาหารหรือนำมาปรุงอาหารจะช่วยการขับถ่ายอุจจาระ
ใช้เป็นยาระบายอ่อน ๆ เช่น แกงขี้เหล็ก แกงส้มผักกระเฉด กล้วยน้ำว้าสุก
10.4.5 ภาวะท้องเสีย (Diarrhea)
ภาวะท้องเสีย หรืออุจจาระร่วง หมายถึง การเพิ่มจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระ
และการที่อุจจาระเป็นน้ำเหลว หรือมีมูกปน โดยถือว่าถ่ายเป็นน้ำเหลว 3 ครั้งในเวลา 12 ชั่วโมง หรือ
ถ่ายเป็นน้ำปนมูกเพียงครั้งเดียว มักกลั้นอุจจาระไว้ไม่ได้นาน หรือกลั้นไม่ได้เลย
10.4.5.1 สาเหตุของภาวะท้องเสีย
1) จากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
2) จากการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และอารมณ
3) การได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะและมีอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
(Side effect)
10.4.5.2 ผลที่เกิดจากภาวะท้องเสีย
2) เกิดความไม่สุขสบาย ปวดท้อง เนื่องจากการบีบตัวของลำไส้และการถ่าย
อุจจาระหลาย ๆ ครั้ง
1) เกิดภาวะเสียสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte imbalance)
10.4.5.3 การพยาบาลผู้ปุวยที่มีภาวะท้องเสีย
2) ให้การช่วยเหลือดูแลในการขับถ่ายอุจจาระที่มี
จำนวนครั้งค่อนข้างบ่อย
3) การดูแลเรื่องอาหาร ในระยะแรกมักให้งดอาหารและน้ำทางปาก (NPO)
ให้ดื่มเฉพาะน้ำ หรือสารน้ าซึ่งสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย
1) ประเมินสภาพผู้ป่วย
4) ติดตาม เฝ้าระวัง ปูองกัน และช่วยแก้ไขอาการขาดน้ำและเกลือแร่
5) สังเกตความผิดปกติอื่น ๆ ที่เกิดร่วมด้วย พร้อมทั้งสังเกตประเมินอาการ และ
ติดตามผลการตรวจเลือด และอุจจาระทางห้องปฏิบัติการ
6) สังเกตและบันทึกลักษณะอุจจาระ ความถี่ของการถ่ายอุจจาระ และประเมิน
ความรุนแรงของอาการและอาการแสดง
7) ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับ ให้การพยาบาลตามความจำเป็นและเหมาะสม
เพื่อให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
8) การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ หรือการกลับซ้ำเป็นอีก กรณีที่มีการติดเชื้อ
ของระบบทางเดินอาหาร
10.4.6 การถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง (Fecal diversion)
การผ่าตัดเอาลำไส้มาเปิดออกทางหน้าท้อง เพื่อให้เป็นทางออกของอุจจาระ มักทำใน
ผู้ปุวยที่มีพยาธิสภาพที่ลำไส
เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก การติดเชื้อที่ทำให้ลำไส้เกิดเนื้อตาย
(Ulcerative colitis and Crohn’s disease)
การมีถุงยื่นออกมาร่วมกับมีการอักเสบร่วมกับลำไส้
ใหญ่ (Diverticulitis) การมีติ่งเนื้อในลำไส้(Familial polyposis)
การได้รับบาดเจ็บบริเวณลำไส้ใหญ่
และทวารหนัก การอุดตันของลำไส้ใหญ่จากลำไส้กลืนกัน (Volvulus) และการอักเสบของลำไส้ใหญ่
จากการได้รับรังสีรักษา
การผ่าตัดเปิดลำไส้ใหญ่ทางหน้าท้อง เรียกว่า “Colostomy” การ
ผ่าตัดเปิดลำไส้เล็กทางหน้าท้อง เรียกว่า “Ileostomy”
เพื่อให้อุจจาระออกแทนทวารหนักเดิม
บริเวณรูเปิดลำไส้ส่วนที่โผล่พ้นผิวหนังเรียกว่า “Stoma” หรือทวารเทียม
“Stoma” หรือทวารเทียม แบ่งออก 2 ชนิด
Colostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้ใหญ่ ลำไส้ที่นำมาเปิดออกหน้าท้อง
Ileostomy เป็นทวารหนักชนิดลำไส้เล็ก ลำไส้ที่นำมาเปิดออกจะเป็นส่วนปลายของ
ลำไส้เล็ก (Ileum) อยู่ที่หน้าท้องส่วนล่างด้านขวา มีทั้งชนิดที่เป็นรูเปิดเดียว (End ileostomy)
“Colostomy bag” อุปกรณ์รองรับอุจจาระที่ร่างกายขับถ่ายออกมาลักษณะเป็นถุง
10.4.6.1 การพยาบาลผู้ป่วยที่ถ่ายอุจจาระทางหน้าท้อง
หลังการผ่าตัดในระยะแรกพยาบาลต้องเป็นผู้ให้การดูแล แล้วค่อย ๆ เริ่มสอนผู้ปุวยให้
ดูแลตนเองตามความสามารถทางร่างกาย ปรับให้เข้ากับแผนการดำชีวิตในแต่ละวัน
1) การทำความสะอาดช่องเปิดของลำไส้ และผิวหนังรอบ ๆ
2) การปิดถุงรองรับอุจจาระ เมื่อทำความสะอาด Stoma และผิวหนังรอบ ๆ แล้ว ต้อง
ปิดด้วยถุงรองรับอุจจาระเพื่อป้องกันผิวหนังรอบ ๆ
3) การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ผู้ปุวยต้องปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร
ควรทราบถึงการเลือกชนิดของอาหารที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ
4) การออกกำลังกายและการทำงาน
5) การฝึกหัดการขับถ่าย โดยใช้กล้ามเนื้อหน้าท้อง ต้องหัดเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง และ
เบ่งถ่ายอุจจาระทุกวัน
6) ภาวะแทรกซ้อน สังเกตและดูแลตนเอง จากภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย
10.4.6.2 การทำความสะอาดแผลทวารเทียม
เนื่องด้วยลำไส้ที่เปิดออกมาทำหน้าที่ระบายอุจจาระออกมามีถุงรองรับ
ต้องเปลี่ยน
ถุงรองรับ ด้วยการดึงถุงที่มีกาวติดกับผิวหนังออก แล้วใช้ล าสีสะอาดชุบน้ำสะอาดเช็ดทำความสะอาด
Stoma ก่อน แล้วเช็ดผิวหนังรอบ ๆ ให้สะอาด เช็ดด้วยสำลีแห้ง แล้วปิดถุงใหม่ลงไป สังเกตรอยแดง
หรือผื่น และระวังมีแผลถลอกจากการดึงพลาสติกกาวที่ติดแน่นกับผิวหนัง
10.4.6.3 คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง
คำแนะนำสำหรับผู้ปุวยผ่าตัดเปิดลำไส้ทางหน้าท้อง แผลที่บริเวณ Stoma ก็จะแห้งสนิท และระบบ
ขับถ่ายอุจจาระก็จะเข้าสู่ภาวะปกติเช่นกัน
ผู้ป่วยจึงสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามเดิม
หลังผ่าตัด 6–8 เดือน
สามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่หักโหมรุนแรง และ ไม่ควรยก
ของหนักเพราะอาจเป็นสาเหตุการเกิดไส้เลื่อนได
รับประทานอาหารได้ทุกประเภท ยกเว้นบางโรคที่
ต้องควบคุมการรับประทานอาหาร
อาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์
6) ท้องผูก ไม่ถ่ายอุจจาระ ท้องอืด อาเจียน
3) ไส้เลื่อน หรือ ลำไส้ยื่นออกมามากผิดปกติ
2) ลำไส้ที่ทำทวารเทียมตีบแคบ บวม หรือ มีสีดำคล้ำ
4) เลือดออกมาก
1) ผิวหนังรอบทวารเทียมอักเสบหรือเกิดแผลเปื่อยจากอุจจาระสัมผัสบริเวณ
ผิวหนัง
5) ท้องเสียรุนแรง อุจจาระเหม็นผิดปกต
10.2 ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขับถ่ายอุจจาระ
ปัจจัยที่มีผลต่อการขับถ่ายอุจจาระ
10.2.7 ความเหมาะสม (Opportunity)
สิ่งแวดล้อมมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
สถานที่ไม่เป็นส่วนตัว
ห้องน้ำไม่สะอาดส่งผลให้บุคคลไม่อยากถ่ายอุจจาระจึงกลั้นอุจจาระ และ
ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้
ท่าทางในการขับถ่าย (Opportunity and position)
10.2.8 ยา (Medication)
อาการข้างเคียงของยาบางชนิดมีผลต่อระบบทางเดิน
อาหารอาจทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได
เช่น ยาที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้า
10.2.6 ความสม่ำเสมอในการขับถ่าย (Defecation habits )
การเปลี่ยนแปลง
เกี่ยวกับกิจวัตรประจำวัน
การรับประทานอาหาร น้ำ รวมทั้งการออกกำลังกาย และการพักผ่อน
ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการขับถ่ายอุจจาระได้
ดังนั้นควรมีการฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา หรือ
เมื่อรู้สึกอยากถ่ายให้รีบไปถ่าย
มีการกลั้นอุจจาระไว้จะทำให้เกิดท้องผูกได้
10.2.9 การตั้งครรภ์(Pregnancy)
เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น ทารกในครรภ์โตขึ้นมด
ลงก็ขยายตัวโตด้วย ทำให้จะไปเบียดกดลำไส้ส่วนปลาย
ในการเบ่งถ่ายอุจจาระจึงต้องใช้แรงเพิ่มขึ้น
ส่งผลให้เกิดอาการท้องผูกเป็นประจำ และเกิดโรคริดสีดวงทวารในหญิงตั้งครรภ์
10.2. 5 อารมณ์ (Emotion)
เมื่ออารมณ์มีการเปลี่ยนแปลง
เช่น
หงุดหงิด หรือวิตก
กังวล
จะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน และการทำงานของระบบประสาท Sympathetic
มีการเปลี่ยนแปลง
ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นหรือลดลงได
อารมณ์ของบุคคลจะมีผลกระทบต่อ
การทำงานของลำไส
10.2.10 อาการปวด (Pain) ) โรคริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid)
การผ่าตัดส่วนลำไส้
ตรง (Rectal surgery) และการผ่าตัดหน้าท้อง (Abdominal surgery)
เมื่อมีอาการปวดถ่ายอุจจาระ
ผู้ป่วยจะไม่ยอมเบ่งถ่ายอุจจาระเพราะกลัวเจ็บทำให้อั้นอุจจาระไว้ เกิดท้องผูกตามมา
10.2.4 การเคลื่อนไหวของร่างกาย (Body movement)
การเคลื่อนไหวของ
ร่างกาย จะช่วยทำให้การทำงานของลำไส้เป็นไปอย่างปกติ ส่งผลให้มีถ่ายอุจจาระได้ปกติ
ผู้ปุวยที่
เคลื่อนไหวได้น้อย หรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหวจะทำให้การทำงานของลำไส้ลดลง
กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการถ่ายอุจจาระ
อุจจาระมักจะแข็งเป็นก้อนหรืออาจเกิดท้องผูกได้
10.2.11 การผ่าตัดและการดมยาสลบ (Surgery and Anesthesia)
การดมยาสลบ
ชนิดทั่วไป (General anesthesia: GA)
เป็นสาเหตุของการเกิด Peristalsis ลดลง
ขณะทำการ
ผ่าตัดจะไปกระทบกระเทือนการทำงานของลำไส้ทำให้เกิด Peristalsis ลดลงชั่วคราว
เรียกว่า
“Paralytic ileus”
ใช้เวลาหลายชั่วโมง หรือหลายวันในการกลับคืนสู่การทำงานปกติ
10.2.3 ปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับ (Fluid intake)
น้ำจะเป็นตัวสำคัญที่ทำให้
อุจจาระมีลักษณะนุ่มพอดี ไม่แห้ง แข็งเกินไป
ทำให้อุจจาระอ่อนตัว และยังช่วยกระตุ้นให้มีการ
เคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ได้ดี
นอกจากการดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8
แก้วจะช่วยเรื่องการขับถ่ายอุจจาระเป็นไปตามปกติแล้ว
น้ำลูกพรุน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
น้ าส้ม น้ำมะนาวช่วยกระตุ้นให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหว ขับอุจจาระได้ดีขึ้น
กรณีที่มีอาการท้องผูก
แต่ดื่มในปริมาณที่มากเกินไปก็ส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย ถ่ายเหลวได
10.2.12 การตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic test)
การตรวจวินิจฉัยโรคของระบบ
ทางเดินอาหารส่งผลรบกวนการทำงานของลำไส้ชั่วคราว
มีความจำเป็นต้องทำให้ลำไส้สะอาด
ผู้ป่วยต้องได้รับ การงดน้ำและอาหาร (NPO) หรือรับประทานอาหารเหลวใส (Clear liquid)
ทำ
การสวนอุจจาระ(Enema) จนทำให้ลำไส้สะอาดก่อนการส่งตรวจเรียกว่า “การเตรียมลำไส้” (Bowel
prep)
10.2.2 ชนิดของอาหารที่รับประทาน (Food intake)
อาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ ที่
มีกากใยมาก
เช่น
คะน้า กระเฉด มะละกอ ลูกพรุน
จะช่วยทำให้อุจจาระสามารถขับเคลื่อน
ได้ดีกว่าอาหารที่กากใยน้อย
เนื่องจากจะช่วยเพิ่มน้ำหนักอุจจาระ และช่วยทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม
10.2.1 อายุ (Age)
ในเด็กเล็ก ความสามารถในการควบคุมการขับถ่ายได้เมื่ออายุตั้งแต่ 24-30 เดือนขึ้นไป
เด็กเล็กอาจมีการถ่ายอุจจาระวันละหลาย ๆ ครั้ง
เมื่ออายุมากขึ้นเซลล์
กล้ามเนื้อจะลดขนาดลง และกำลังกล้ามเนื้อก็จะลดลง
ในผู้สูงอายุมักจะมีปัญหา กล้ามเนื้อหูรูดหย่อนยาน
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง ปัญหาการ
ขับถ่ายอุจจาระจึงเกิดขึ้นได้มากกว่าวัยอื่น
10.3 ลักษณะของอุจจาระปกติและสาเหตุของอุจจาระที่ผิดปกติ
Bristol Stool Form Scale
Type 4
Like a sausage or snake, smooth and soft
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน เรียบ และนุ่ม)
Type 5
Soft blobs with clear-cut edges
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่ม ๆ แยกออกจากันชัดเจน)
Type 3
Like a sausage but with cracks on surface
(ลักษณะยาวหรือขดม้วน แต่พื้นผิวบนนุ่ม ๆ)
Type 6
Fluffy pieces with ragged edges, a mushy stool
(ลักษณะเป็นก้อนนุ่มปุย มีขอบขยักไม่เรียบ)
Type 2
Sausage shaped but lumpy
(ลักษณะยาวแต่เป็นก้อน)
Type 7
Watery, no solid pieces (entirely liquid)
(ลักษณะเป็นน้ าไม่มีเนื้ออุจจาระปน)
Type 1
Separate hard lumps, like nuts (Difficult to pass)
ลักษณะแข็งคล้ายเมล็ดถั่ว คนไทยเรียกว่า “ขี้แพะ”
แสดงลักษณะของอุจจาระปกติ ผิดปกติและสาเหตุ
ลักษณะ
ปกติ
อ่อนนุ่ม
ผิดปกติ
เหลว
ท้องเสียหรือการดูดซึมลดลง
แข็ง
ท้องผูก
ความถี่
ปกติ
เด็ก:
(นมมารดา) วันละ 4-6 ครั้ง
(นมขวด) วันละ 1-3 ครั้ง
ผู้ใหญ่: วันละ 2 ครั้ง
หรือ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
สาเหตุ
มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากเกินไป
หรือน้อยเกินไป
ผิดปกติ
มากกว่า วันละ 6 ครั้ง
หรือ 1-2 วัน ครั้งเดียว
มากกว่าวันละ 3 ครั้ง
หรือ สัปดาห์ละครั้ง
กลิ่น
ปกติ
มีกลิ่นเฉพาะจากอาหาร
ตกค้าง
ผิดปกติ
กลิ่นเปลี่ยนเหม็นมาก
สาเหตุ
การติดเชื้อจากเลือดในอุจจาระ
รูปร่าง
ปกติ
เท่ากับขนาดความกว้างของ
ลำไส้ตรง
ผิดปกติ
ขนาดเล็กคล้ายดินสอ
สาเหตุ
มีการอุดตันในทางเดินอาหารหรือมี
การบีบตัวของลำไส้เพิ่มขึ้น
สี
ผิดปกติ
ดำ (Melena)
สาเหตุ มีธาตุเหล็กปนอยู่หรือ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
แดง
สาเหตุ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร
มีริดสีดวงทวาร หรือบริโภคผัก
เช่น
หัวผักกาดแดงหรือผลไม้
เช่น แก้ว
มังกรสีแดง
ขาว หรือคล้ายดินเหนียว
สาเหตุ ไม่มีน้ำดี
ซีด และเป็นมันเยิ้ม
สาเหตุ พร่องหน้าที่การดูดซึมของไขมัน
ปกติ
เด็ก: สีเหลือง
ผู้ใหญ่: สีน้ำตาล
อื่นๆ
ปกติ
อาหารไม่ย่อย, แบคทีเรียที่
ตายแล้ว, ไขมัน, สีน้ำดี , เซลล์หรือเยื่อบุลำไส้, น้ำ
ผิดปกติ
เลือด, หนอง, มูก,แปลกปลอม
, พยาธิ
มีเลือดออกในทางเดินอาหาร, รับประทานอาหารบูด, มีการระคาย
เคือง, มีการอักเสบ,และมีพยาธ
อุจจาระเป็นน้ำมันเยิ้ม
กลุ่มอาการพร่องการดูดซึม, ล าไส้
อักเสบ, โรคของตับอ่อน, มีการผ่าตัด
เกี่ยวกับลำไส้
เป็นมูก
มีการระคายเคืองของลำไส้, มีการ
อักเสบ, มีการติดเชื้อหรือได้รับ
อันตราย
10.5 การสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระ (Enema) เป็นกิจกรรมทางการพยาบาลซึ่งเป็นบทบาทกึ่งอิสระ ที่มีการใส่
สารอาจจะเป็นน้ำ น้ำมัน หรือสารเคมีเข้าไปในลำไส้ใหญ่ส่วนล่างโดยผ่านทางทวารหนัก
10.5.1 วัตถุประสงค์
1) ลดปัญหาอาการท้องผูก
2) เตรียมตรวจทางรังสี
3) เตรียมผ่าตัดในรายที่ผู้ป่วยจะต้องดมยาสลบ
4) เตรียมคลอด
5) เพื่อการรักษา เช่น การระบายพิษจากแอมโมเนียคั่งในกระแสเลือดในผู้ป่วย
โรคตับ
10.5.2 ชนิดของการสวนอุจจาระ
10.5.2.1 Cleansing enema
เป็นการสวนน้ำหรือน้ำยาเข้าไปในลำไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้น
ให้มีการเคลื่อนไหวของลำไส
10.5.2.2 Retention enema
การสวนเก็บ เป็นการสวนน้ำยาเข้าไปเก็บไว้ในลำไส้ใหญ่
ในผู้ใหญ่ไม่เกิน 200 ml
10.5.3 อุปกรณ์เครื่องใช้
หม้อสวน หัวสวนอุจจาระ สารหล่อหลื่น ชามรูปไต กระดาษชำระ กระโถนนอน ผ้ายางกันเป้อน สารละลายที่ใช้สวนอุจจาระ เหยือกน้ำ เสาน้ำเหลือ ถุงมือสะอาด แมส
10.5.4 วิธีปฏิบัติ
การเตรียมอุปกรณ์เครื่องใช้ให้ครบ
นำทุกอย่างมาที่เตียง
ปูผ้ายางรองก้นบริเวณก้นผู้ป่วย ปิดม่านให้เรียบร้อย
4, จัดท่านอนให้ถูกต้อง นอนตะแคงซ้าย งอเข่าไปข้างหน้า
คลุมผ้าบริเวณทวารหนักไม่เปิดเผย ลดอาการเกร็งของผู้ป่วย
ล้างมือ สวมถุงมือ และ ต่อหัวสวนให้แย่ย ป้องกันหัวสวนหลุดเข้าช่องทวารหนัก และ ขณะสวนและ ทำรั่วทำเปียกเลอะเทอะ
close clamp หัวสวมไว้ เทยาใส่หม้มอสวน แขวนหม้อสวนสูงกว่าระดับทวารหนักของผู้ป่วย 1 ฟุต (12ฟุต) เหนือจากระดับหัวที่นอน เพื่อควบคุมแรงนันน้ำ
เปิด calmp เพื่อไล่อากาศในสายสวน และ หัวสวน ปิด calmp หัวสวน หล่อลื่นหัวสวนด้วย KY jelly ไล่อากาศ ทดสอบว่าหัวสวนไม่อุดตัน และ ไม่เป็นการนำลมเข้าลำไส้ หล่อลื่นหัวสวนเพื่อ ป้องกันการเสียดสีของทวารหนัก และ ลดความเจ็บปวดขณะสอดหัวสวนเข้าช่องทวารหนัก
จับหัวสวนไม่กระชับมือ เปิด clamp ให้น้ำไหลช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที ระหว่างทำการสวนให้ผู้ป่วยอ้าปากหายใจยาวๆ
สอดหัวสวนเข้าทวารหนัก ให้ปลายหัวสวนสูงมุงไปทิศทางสะดือ ประมาณ 3 นิ้ว และ เบนปลายกับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหนังตามลักษณะการโค้งของลำไส้
เก็บเครื่องใช้ ทำความสะอาดให้เรียบร้อย ถอดถุงมือ ล้างมือให้สะอาด
ลงบันทึกการพยาบาล
ค่อยๆ ดึงสายสวนออกเบาๆ ปลดหัวสวนออก ห่อด้วยกระดาษชำระวางในชามรูปไต บอกให้ผู้ป่วยนอนท่าดิมพยายามเก็บน้ำไว้ในลำไส้ 5-10 นาที การเก็บน้ำให้ได้นานที่สุงเมื่อถ่ายอุจจาระออกได้มากจะทำให้ลำไส้สะอาดได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สอด Ben pan กั้นม่านให้มิดชิด หลังถ่ายเสร็จใช้ ben pad ปิดคลุม Ben pan หรือ ในรายที่เดินได้ให้ผู้ป่วยเข้าห้องน่ำเอง
บอกให้ผู้ป่วยทราบว่า จะทำการสวนอุจจาระ โดยการแตะหัวสวนที่ทวารหนักอย่างนุ่มนวนเบาๆ ใช้มือข้างที่ไม่ถนัด ยก buttock ให้เห็นช่องทวารหนัก บอกให้ผู้ป่วยหายใจยาวๆ
10.8 กระบวนการพยาบาลในการส่งเสริมการขับถ่ายอุจาจาระ
ตัวอย่าง หญิงไทยรายหนึ่ง อายุ 35 ปี ให้ประวัติว่ามีอาการท้องผูกต้องใช้ยาระบายก่อนนอน
เป็นประจำทุกคืน และมีพฤติกรรมไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ ดื่มน้ าน้อยวันละไม่ถึง 1,000 ml.
การประเมินภาวะสุขภาพ (Health assessment)
S: “ทานยาระบายก่อนนอนเป็นประจ าทุกคืน ไม่ชอบอาหารประเภทผัก และผลไม้”
O: จากการตรวจร่างกาย พบAbdomen: Distension, Tympanic sound, Decrease
bowel sound 1-2 time/min
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis)
ท้องผูกเนื่องจากมีพฤติกรรมใช้ยาระบายเป็นประจำ
การวางแผนการพยาบาล (Planning)
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปุวยมีพฤติกรรมในการรับประทานอาหารที่ถูกต้อง
เกณฑ์การประเมินผล
ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำ
อย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระ
การวางแผน
วางแผนให้ความรู้และเน้นความสำคัญของการดูแลสุขภาพเรื่องการโรคของระบบ
ทางเดินอาหารและลำไส้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
การปฏิบัติการพยาบาล (Implementation)
แนะนำการออกกำลังที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นลำไส้
ทำจิตใจให้แจ่งใส ลดความเครียดหรือวิตกกังวล
อธิบายประโยชน์ การดื่มน้ำที่เพียงพอ
ให้ความรู้ด้านสมุนไพร ที่ช่วยในการขับถ่าย
ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคทางระบบทางเดินอาหารและลำไส้
ฝึกการขับถ่ายที่เป็นเวลา
แนะนพให้ความรู้ความสำคัญของการ บริโภคอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้
การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)
มีการถ่ายอุจจาระได้โดยไม่ใช้ยาระบาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการขับถ่ายอุจจาระตรงเวลาทุกวัน
เลือกรับประทานอาหารที่มีกากใย และดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว
10.7 การเก็บอุจจาระส่งตรวจ
10.7.1 ชนิดการเก็บอุจจาระส่งตรวจ
2) การตรวจอุจจาระหาเลือดแฝง (Occult blood) ตรวจในรายที่สงสัยว่า มีเลือดแฝง
ในอุจจาระ
3) การตรวจอุจจาระโดยการเพาะเชื้อ (Stool culture) เพื่อน าไปเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อ
แบคทีเรียและดูความไวต่อยาของเชื้อที่เพาะได้
1) การตรวจอุจจาระหาความผิดปกติ(Fecal examination หรือ Stool
examination)
10.7.2 อุปกรณ์เครื่องใช้
1) ภาชนะมีฝาปิดมิดชิด
2) ใบส่งตรวจ
3) ไม้แบน สำหรับเขี่ยอุจจาระ
4) กระดาษชำระ
5) หม้อนอน
10.7.3 วิธีปฏิบัติ
1) การเก็บอุจจาระส่งตรวจหาความผิดปกติและส่งตรวจหาเลือดแฝง
2) การเก็บอุจจาระส่งตรวจเพาะเชื้อ
10.6 ข้อควรคำนึงในการสวนอุจจาระ
การสวนอุจจาระเป็นการใส่สายสวนและสารละลายเข้าสู่ร่างกาย เพื่อความปลอดภัย
ของการสวนอุจจาระมีข้อควรระวังในการสวนอุจจาระ
1) อุณหภูมิของสารน้ำ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 105˚F (40.5 ˚C)
2) ปริมาณสารละลายใช้สวนอุจจาระ ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดร่างกาย
3) ท่านอนของผู้ปุวย ท่านอนตะแคงซ้ายกึ่งคว่ำ(Sim’s position)
4) แรงดันของสารน้ำที่สวนให้แก่ผู้ป่วย ควรแขวนหม้อสวนให้สูงไม่เกิน 1 ฟุตเหนือ
ระดับที่นอน ในเด็กเล็กไม่ควรเกิน 3 นิ้ว
5) การปล่อยน้ำ เปิด Clamp ให้น้ำไหลช้า ๆ ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
6) ความลึกของสายสวนที่สอดเข้าไปในลำไส้และลักษณะของสายสวนอุจจาระ การ
สอดสายสวนเข้าทวารหนัก สอดลึก 2-4 นิ้ว
7) การหล่อลื่นหัวสวนด้วยสารหล่อลื่น เช่น KY jelly
8) ทิศทางการสอดหัวสวน ให้ปลายหัวสวนมุ่งไปทิศทางสะดือลึกประมาณ 2 นิ้วแล้วเบน
ปลายกลับให้ขนานกับแนวกระดูกสันหลังตามลักษณะโค้งของลำไส
9) ระยะเวลาที่สารน้ ากักเก็บอยู่ในล าไส้ใหญ
10) การแก้ไขเมื่อสารละลายในหม้อสวนไม่ไหลเป็นปกติ
✨🌙
จัดทำโดย 💕🌈
นางสาวพลินี จำปา 19A 6201210378