Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
มีการตกขาวเพิ่มมากกว่าปกติ + มีอาการคัน/ปวดแสบร้อน กลิ่นเหม็น และอาการจะไม่หายไปเอง
การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
เกิดจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงขณะตั้งครรภ์ ทำให้เนื้อเยื่อและผิวหนังอ่อนนุ่มลง บอบบางมากขึ้น
Candida albicans ระยะฟักตัว 14 วัน พบได้ในช่องปาก ทางเดินอาหาร และอวัยวะสืบพันธ์
ปัจจัยและปัจจัยเสี่ยง
การรับประทานยาปฏิชีวนะ
ได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์ และยากดภูมิต้านทาน
ทานยาคุมกำเนิดที่มีปริมาณฮอร์โมนมาก (high dose)
ภูมิต้านทานของร่างกาย
ควบคุมภาวะเบาหวานไม่ดี
ทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมาก การดื่มเหล้า
สวมใส่ชุดชั้นในที่แน่นเกินไป
ใช้น้ำยาล้างทำความสะอาดช่องคลอด
ใส่แผ่นอนามัยโดยไม่เปลี่ยน
เครียด พักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
การตั้งครรภ์ & ขบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต
อาการและอาการแสดง
คัน & ระคายเคืองมากในช่องคลอด
ปากช่องคลอดเป็นผื่นแดง ช่องคลอดอักเสบ และบวมแดง
สีขาวขุ่น อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเหมือนนมตกตะกอน
เจ็บขณะร่วมเพศ (dyspareunia)
ปัสสาวะลำบาก & แสบขัดตอนสุด
ผลกระทบ
ทารก
เป็นเชื้อราในช่องปาก (oral thrush)
สตรีตั้งครรภ์
ติดเชื้อราในช่องคลอดเป็นมากขึ้นเป็น 2 เท่า ระคายเคือง คัน
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ช่องคลอดบวมแดง และตกขาวขุ่น
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจด้วยวิธี wet mount smear
ตรวจด้วยวิธีแกรมสเตน (gram stain)
แนวทางการรักษา
:
2% Miconazole cream 5 กรัม ทาช่องคลอด 7 วัน หรือ
Miconazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 7 วัน หรือ
Clotrimazole 100 มิลลิกรัม 1 เม็ด เหน็บช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน หรือ
1% Clotrimazole cream 5 กรัม ทางช่องคลอด 6 วัน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้เข้าใจสาเหตุและการดูแลตนเอง
แนะนำการใช้ยาทา และยาเหน็บ
ทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และทำความสะอาดชุดชั้นใน
ระยะคลอด
คลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง
เน้นการดูแลความสะอาด
เลี้ยงด้วยนมมารดาได้ โดยต้องล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ (vaginal trichomoniasis)
อาการและอาการแสดง
ตกขาวมีสีขาวปนเทา/สีเหลืองเขียว เป็นฟอง มีกลิ่นเหม็น
ระคายเคืองที่ปากช่องคลอด ปากช่องคลอดบวมแดง มีจุดเลือดออกเป็นหย่อม ๆ
ปัสสาวะแสบขัด/บ่อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณต้นขาด้านใน
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์
คลอดก่อนกำหนด
มีน้ำหนักตัวน้อย
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจภายในช่องคลอด
ตกขาวเป็นฟองสีเหลือเขียว
พบจุดเลือดออกเป็นหย่อมๆ
ตรวจทางห้องปฏิบัติ
wet mount smear
เม็ดเลือดขาวจำนวนมาก
ตกขาวมีฤทธิ์เป็นด่าง
ค่า pH มากกว่า 4.5
แนวทางการรักษา
metronidazole ห้ามใช้ในไตรมาสแรก
clotriamazole สอดเข้าช่องคลอดก่อนนอนเป็นเวลา 6 วัน
ไตรมาสแรกไปแล้ว รักษาด้วย metronidazole
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนำการเหน็บยา/การรับประทานยา
แนะนำให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
แนะนำการมีเพศสัมพันธ์โดยการสวมถุงยาง
รักษาความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายให้แห้ง และซักชุดชั้นใน
ระยะคลอด
คลอดทางช่อ'คลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
อาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์
ติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ต้องได้รับการรักษาทั้งสามีและภรรยา
การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (bacterial vaginosis)
อาการและอาการแสดง
คัน ปวดแสบปวดร้อนปากช่องคลอด ในช่องคลอด
ถ่ายปัสสาวะลำบาก แสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ
ตกขาวสีขาว/เทา/เหลือง ข้นเหนียว เหม็นเน่าเหมือนคาวปลา (fishy smell)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ไม่ได้รักษาทำให้มีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น
แท้ง ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด และเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
หลังคลอดอาจมีไข้ ปวดท้องมาก
ทารก
น้ำหนักตัวน้อย และทารกคลอดก่อนกำหนด
มีเชื้อแบคทีเรียในหลอดลม ----> หายใจลำบาก
แบคทีเรียในเลือด ----> รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางช่องคลอด & การทำ pap smear
ตรวจทางห้องปฏิบัติ
ตรวจ Wet smear
เพาะเชื้อ (culture) ตกขาวใน columbia agar
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
รับประทานยาให้ครบ และเน้นย้ำการมาตรวจตามนัด
ทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์โดยใช้น้ำธรรมดา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่
แนะนำให้พาสามีไปตรวจและรักษาโรคพร้อมกัน
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
ระยะคลอด
คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้ง
เน้นการทำความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์
มีอาการผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์
แนวทางการรักษา
metronidazole 250 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง หรือ
metronidazole 500 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7-10 วัน
ampicillin 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 7 วัน
ซิฟิลิส (Syphilis)
พยาธิสรีรภาพ
หลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนัง ประมาณ 10-14 วันร่างกายจะสร้าง antibody และแบ่งตัว
ทำให้เชื้อผ่านเข้าไปเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อ
ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม
จากนั้นเชื้อแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือด
ทำให้หลอดเลือดอุดตัน เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง
เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย
และกลายเป็นแผล เป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ
เชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือด
หลอดเลือดส่วนปลายเกิดการอักเสบ
-----> เกิดผื่นทั่วร่างกาย
เข้าไปยังต่อมน้ำเหลือง ----> ต่อมน้ำเหลืองโตแต่กดไม่เจ็บ
อาการและอาการแสดง
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน/ประมาณ 3 สัปดาห์
เกิดแผล กลม นิ่ม ขอบนูนแข็ง ไม่เจ็บ เรียว่าแผล chancre
ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบโตแต่กดไม่เจ็บ
แผลเป็นประมาณ 3-6 สัปดาห์ จากนั้นหายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
ขณะที่แผลกำลังจะหาย
พบผื่นกระจายทั่วร่างกาย ฝ่ามือฝ่าเท้า
บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์จะยกนูน + ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ
ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ปวดศีรษะ น้ำหนักลด
หายได้เองแม้ไม่ได้รับการรักษา
ระยะแฝง (latent syphilis)
ไม่มีอาการใด ๆ
สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ + มีการกำเริบของโรคได้
ซึ่งอยู่ได้นานเป็นปี
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส
(tertiary syphilis)
ไปทำลายระบบหัวใจและหลอดเลือด ---->
เกิด aortic aneurysm และ aortic insufficiency
เข้าสู่ระบบประสาท
ผิวหนังอักเสบ กระดูกผุ เยื่อบุสมองอักเสบ เสียชีวิต
พบรูม่านตาค่อนข้างเล็ก และหดเล็กลงเมื่อมองใกล้ แต่ไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแสง
เกิดรอยโรคที่อวัยวะภายในและกระดูกเรียกว่า gumma lesion
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ
คลอดก่อนกำหนด และแท้งบุตร
ทารก
คลอดก่อนกำหนด ตายคลอด
ติดเชื้อซิฟิลิส (neonatal syphilis)
ทารกพิการ
ตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ำ ตัวเหลือง
เยื่อบุร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอก
ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระยะที่เป็นแผล ---> ตรวจหาเชื้อ T. Pallidum
จากการตรวจด้วยกล้อง dark-field microscope
หากไม่มีแผลหรือผื่น ---> วินิจฉัยโดยการตรวจเลือด
แนวทางการรักษา
รักษาให้หาย ครบถ้วน และให้สามีมาตรวจและรักษาพร้อมกัน
ให้ยา Penicillin G
ระยะ primary, secondary และ early latent syphilis
Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะโพกครั้งเดียว
ระยะ late latent syphilis
Benzathine Penicillin G Sodium 2.4 ล้านยูนิต ฉีดเข้ากล้ามเนื้อสะพก 3 สัปดาห์ติดต่อกัน
หนองใน (Gonorrhea)
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ Neiseria gonorrheae เข้าสู่ร่างกาย เข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก และพยายามเข้าไปเพิ่มจำนวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue
จากนั้นทำปฏิกิริยากับภูมิต้านทาน ---> เกิดสารเคมีที่เป็นพิษ
ต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ
ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง
เชื้อสู่เชิงกราน
ไปทำลายถุงน้ำคร่ำ ---> ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำติดเชื้อ
โพรงมดลูกดักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบ
เข้าสู่ช่องท้อง
ช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ
เข้าสู่กระแสเลือด
ติดเชื้อในกระแสเลือด มีอาการรุนแรงมากขึ้น
อาการและอาการแสดง
ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland)
หากมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ปัสสาวะแสบขัด บ่อย กระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และเป็นเลือด
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
มีบุตรยาก
ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ แตกก่อนกำหนด
แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารก
ตาอักเสบ (gonococcal ophalmia neonatorum)
เกิดกลืนหรือสำลักน้ำคร่ำที่มีเชื้อหนองในเข้าไป
ช่องปากอักเสบ
หูอักเสบ
กระเพาะอาหารอักเสบ
การประเมินและวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ตรวจทางช่องคลอด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เก็บน้ำเหลืองหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบมาย้อมสีตรวจ gram stain smear
แนวทางการรักษา
คัดกรองขณะตั้งครรภ์ (VDRL)
ให้ยา ceftriaxone, azithromycin, penicillin ทั้งรับประทานและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ทารกแรกเกิดทุกรายควรได้รับยาป้ายตา
ทารกที่พบมีการติดเชื้อหนองในควรได้รับยาปฏิชีวนะ ceftriaxone
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
พยาธิสรีรภาพ
หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ำใส เล็ก ๆ
เมื่อตุ่มน้ำแตก หนังกำพร้าจะหลุดพร้อมกับทำให้เกิดแผลตื้น
--- >รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล
เดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท
กระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ
อาการและอาการแสดง
เกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ
ปวดแสบปวดร้อน และคัน
กลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ แล้วแตก
กลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตำสะเก็ด
ไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบโต
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
การแท้ง
เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ทารก
IUGR
คลอดก่อนกำหนด
ทารกเสียชีวิต
ความพิการแต่กำเนิด
การประเมินและการวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพาะเชื้อใน Hank’s medium
ขูดเนื้อเยื่อจากแผลมาทำการย้อมและดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ (exfoliative cytology หรือ pap smear)
ทำให้ตุ่มน้ำแตกแล้วขูดบริเวณก้นแผลมาป้ายสไลด์แล้วย้อมสี (Tzanck’s test)
แนวทางการรักษา
ปัจจุบันรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
ให้ Acyclovir 200 mg รับประทานวันละ 5 ครั้ง นาน 5-7 วัน
รักษาในระยะคลอด
กรณีที่เคยติดเชื้อเริมมาก่อน ---> ให้คลอดทางช่องคลอดและเฝ้าระวังทารก
กรณีที่พบรอยโรคขณะคลอด ---> ให้คลอดโดยการผ่าตัดคลอด และเฝ้าระวังทารก
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
อาการและอาการแสดง
ติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่
ขนาดแตกต่างกัน เกิดบริเวณที่อับชื้น
มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ำและยุ่ยมาก
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
รอยโรคขัดขวางช่องทางคลอด
ตกเลือดหลังคลอด
มีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูก
ทารก
ติดเชื้อหูดหงอนไก่
เกิด laryngeal papillomatosis
เสียงเปลี่ยน (voice change)
เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
ตรวจ Pap smear
ตรวจหาเชื้อ HPV โดยวิธี Polymerase Chain Reaction (PCR)
ตรวจ DNA (DNA probe)
แนวทางการรักษา
ทาด้วย 85% trichlorracetic acid หรือ bichloroacetic acid ทุก 7-10 วัน
จี้ laser หรือ cryosurgery หรือ electrocoagulation with curettage
รักษาความสะอาด หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ระยะคลอดหากหูดขนาดใหญ่ อาจต้องผ่าตัดคลอด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซิฟิลิส หนองใน เริม และหูดหงอนไก่
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์
ให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค
อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค อันตรายของโรคแผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพ
แนะนำการปฏิบัติตัว
รับประทานยา ฉีดยา หรือทายา
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับถ่ายและอาบน้ำ
การมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ระยะคลอด
ดูแลโดยยึดหลัก universal precaution
หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด
ดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา
เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดนำทารกออกทางหน้าท้องทั้งทางร่างกาย จิตใจ และกฎหมาย
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลโดยยึดหลัก universal precaution
แนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกำจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่ง
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด
แนะนำการเลี้ยงบุตร โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทุกครั้ง
ดูแลให้ได้รับยาป้องกันการติดเชื้อ
การติดเชื้อเอชไอวีในสตรีตั้งครรภ์ (Human Immunodeficiency Virus [HIV] during pregnancy)
การแพร่เชื้อจากมารดาสู่ทารก
ระหว่างตั้งครรภ์
เชื้อไวรัสผ่านทางรก โดยผ่านเซลล์ trophoblast และ macrophages
ระหว่างคลอด
สัมผัสกับเลือดของมารดา น้ำคร่ำ และสารคัดหลั่งในช่องคลอดของมารดา
ระยะหลังคลอด
ติดเชื้อจากน้ำนมมารดา
พยาธิสรีรภาพ
เชื้อ HIV จับกับ CD4 receptor
จากนั้นเข้าไปในเซลล์เม็ดเลือดขาว แล้วใช้ enzyme reverse transcriptase สร้าง viral DNA
แทรกเข้าไปในนิวเคลียส แล้วเพิ่มจำนวนเม็ดเลือดขาว
ทำให้ร่างกายมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ติดเชื้อ HIV จำนวนมาก
แตกสลายง่าย ---> เม็ดเลือดขาวในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว
ภูมิคุ้มกันของร่างกายบกพร่อง เกิดภาวะ seroconversion
อาการและอาการแสดง
ระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV
ประมาณ 1-6 สัปดาห์หลังติดเชื้อ
ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น
ต่อมน้ำเหลืองโต คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว
ฝ้าขาวในช่องปาก
เป็นอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปได้เอง
ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ
ตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และ antibody
ไม่มีอาการนาน 5-10 ปี/นาน > 15 ปี
ระยะติดเชื้อที่มีอาการ
T สูง > 37.8 C เป็นพักๆ หรือติดต่อกันทุกวัน
ท้องเดินเรื้อรัง/อุจจาระร่วงเรื้อรัง
น้ำหนักลดเกิน 10%
ต่อมน้ำเหลืองโต > 1 แห่ง เป็นงูสวัด
เชื้อราในปากหรือฝ้าขาว
ระยะป่วยเป็นเอดส์
ไข้ ผอม ต่อมน้ำเหลืองโตหลายแห่ง ซีด อาจพบลิ้นหรือช่องปากเป็นฝ้าขาวจากเชื้อรา แผลเริมเรื้อรัง ผิวหนังเป็นแผลพุพอง
วัณโรคปอด ปอดอักเสบ สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร เป็นมะเร็ง
ความผิดปกติของสมอง (HIV encephalopathy)
ผลกระทบ
สตรีตั้งครรภ์
CD4 ต่ำ มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจากการติดเชื้อฉวยโอกาส
ทารก
IUGR
คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย
ทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ และทารกตายคลอด
การประเมินและการวินิจฉัย
ซักประวัติ
ตรวจร่างกาย
ตรวจร่างกายทั่วไป
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเชื้อ HIV (HIV viral testing)
การตรวจหา antibody ต่อเชื้อ HIV
ตรวจนับเม็ดเลือดขาวชนิด CD4 lymphocyte
ตรวจวัดปริมาณ viral load
การตรวจพิเศษ
ตรวจเสมหะและเอกซเรย์
เจาะหลัง
ส่องกล้องตรวจดูทางเดินอาหาร
การป้องกันและการรักษา
ให้ยาต้านไวรัส
สูตรยาประกอบด้วยยาอย่างน้อย 3 ตัว (highly active anti retro therapy: HAART regimen)
ให้ยาเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อฉวย
ยา TMP-SMX (80/400 mg) ให้กินครั้งละ 2 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง
double strength TMP-SMX (160/800 mg) 1 เม็ด ทุก 24 ชั่วโมง
พิจารณาระยะเวลาที่จะให้คลอดและวิธีการคลอด
ให้คลอดทางช่องคลอด
ผ่าตัดคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ (scheduled cesarean delivery)
ผ่าตัดคลอดกรณีฉุกเฉิน ที่มีปริมาณ viral load ≥ 1,000 copies/mL หรือไม่ทราบปริมาณ viral load
หลังคลอด หลีกเลี่ยงให้ยากลุ่ม ergotamine
หลีกเลี่ยงการใส่สายยางสวนอาหารในกระเพาะทารก
หลีกเลี่ยงการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ดูแลโดยยึดหลัก universal precaution
ประเมินสัญญาณชีพ และฟัง FHS ย่างใกล้ชิด
หากปริมาณ viral load ≤ 50 copies/mL อาจพิจารณาเจาะถุงน้ำคร่ำ
หลีกเลี่ยงการใช้สูติศาสตร์หัตถการที่เพิ่มความเสี่ยง
ดูแลให้ได้รับยาต้านไวรัส
เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการช่วยเหลือ
ประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ระยะหลังคลอด
ดูแลโดยยึดหลัก universal precaution
ให้คำแนะนำแก่มารดาหลังคลอด
หลีกเลี่ยงเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ใส่เสื้อชั้นในที่คับ
แนะนำวิธีป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่น
ตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลตนเองและตรวจตามนัด
การใช้ถุงยางอนามัยเสมอ (dual protection)
ตระหนักถึงความสำคัญของการนำทารกมาตรวจเลือด