Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนา - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนา
ความหมายของโภชนาการและภาวะโภชนาการ
ความหมายของโภชนาการ (Nutrition)
โภชนาการ
หมายถึง วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงของอาหารทั้งทางด้านอินทรีย์เคมี อนินทรีย์เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ของอาหาร โดยเริ่มตั้งแต่อาหารเข้าสู่ร่างกาย ผ่านการย่อย การดูดซึม การกระจ่ายสารอาหารต่างๆ การเก็บสะสมอาหารที่เหลือใช้ และการขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ภาวะโภชนาการ (Nutritional Status)
ภาวะโภชนาการ
หมายถึง สิ่งที่แสดงถึงระดับที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับสารอาหาร เพื่อนำมาใช้ในด้านสรีระอย่างเพียงพอ ความสมดุลของสารอาหารที่ได้รับเข้าไปกับสารอาหารที่ร่างกายใช้มีอิทธิพลจากปัจจัยหลายอย่าง
ภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร
ภาวะโภชนาการดี (Good nutritional status)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ร่างกายใช้อาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่
ภาวะโภชนาการไม่ดี (Bad nutritional status) หรือ ภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกิดความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะที่ปกติขึ้น
ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (Malnutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้
ภาวะโภชนาการเกิน (Over nutrition)
หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ
อายุ
: วัยเด็กต้องการสารอาหารมากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ
เพศ
: ชายต้องการพลังงานมากกว่าหญิง
การใช้ยา
: ยาบางชนิดทำให้เบื่ออาหารอาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ
ภาวะสุขภาพ
: การเจ็บป่วยเรื้อรังมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ความชอบส่วนบุคคล
: ความชอบหรือไม่ชอบบริโภคอาหารของแต่ละบุคคลมีผลต่อภาวะโภชนาการ
ผลจากการดื่มแอลกอฮอล์
: การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ทำให้มีความอยากอาหารลดลง การบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลง
วิถีชีวิต
เศรษฐานะ
วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา
ปัจจัยด้านจิตใจ
: ความเครียด และความกกลัว ทำให้ความอยากอาหารลดลง
ความสำคัญของอาหารต่อภาวะเจ็บป่วยและความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
อาหาร
หมายถึง สิ่งใดๆ ซึ่งกินเข้าไปแล้ว เพื่อเสริมสร้างความเจริญเติบโตและการมีโภชนาการที่ดีให้แก่ร่างกาย อาหารได้มาจากพืชและสัตว์ อาหารที่กินเข้าไปจะย่อยได้สารอาหารที่สำคัญ สิ่งมีชีวิตย่อยและดูดซึมอาหารเข้าสู่เซลล์เพื่อไปสร้างเป็นพลังงานในการดำรงชีวิต และสร้างเสริมการเจริญเติบโต ในภาวะร่างกายเจ็บป่วย สารอาหารจะช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติ
ความต้องการพลังงานของร่างกายในภาวะเจ็บป่วย
ความต้องการพลังงานหรือพลังงานที่ต้องใช้ (Energy Expenditure: EE)
เป็นพลังงานที่ดพียงพอและเหมาะสมในการสร้าง ATP
ความต้องการพลังงานพื้นฐาน (Basic energy expenditure: BEE)
พลังงานที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดกระบวนการเมทาบอริซึมของร่างกายก่อนที่จะมีการทำงานของอวัยวะอื่นๆ
ความต้องการพลังงานทั้งหมด (Total Energy Expenditure: TEE)
ผลรวมของพลังงานทั้งหมดใน 1 วัน
สูตร BEE เพศชาย
: BEE = 66.47 + (13.75 x น้ำหนัก(Kg) + (5 x ความสูง (cm)) - (6.75 x อายุ)
สุตร BEE เพศหญิง
: BEE = 655.09 + (9.56 x น้ำหนัก) + (1.85 x ความสูง(cm)) - (4.68 x อายุ)
TEE = BEE x Activity factor x stress factor
การประเมินภาวะโภชนาการ
การวัดสัดส่วนของร่างกาย (Anthropometric measurement: A)
ดัชนีมวลของร่างกาย (Body Mass Index; BMI)
: เป็นการประเมินมวลของร่างกายทั้งหมด
BMI = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/ส่วนสูง (m2)
การประเมินทางชีวเคมี (ฺBiochemical assessment: B)
เป็นวิธีการเจาะเลือด เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ
การประเมินภาวะโลหิตจาง (Anemia)
Hb
การแปลผล ค่าต่ำกว่า 10 mg% แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย
ค่าปกติ 14-18 mg%
หญิง
ค่าปกติ 12-16 mg%
Hct
การแปลผล ค่าต่ำกว่า 30% แสดงผลภาวะโลหิตจาง
ชาย
ค่าปกติ 40-54%
หญิง
ค่าปกติ 37-47%
การตรวจร่างกายทางคลินิก (Clinical assessment: C)
เป็นการตรวจร่างกานเช่นเดียวกับการประเมินสุขภาพ แต่จะให้ความสนใจตรวจร่างกายเบื้องต้น ได้แก่ ผิวหนัง ผม ฟัน เหงือก ริมฝีปาก ลิ้น และเปลือกตา
การประเมินจากประวัติการรับประทานอาหาร (Dietary assessment: D)
ประกอบด้วย ประวัติการรับประทานอาหาร ชนิดของอาหารที่บริโภค พฤติกรรมการรับประทานอาหาร
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ
Obesity (ภาวะอ้วน)
ร่างกายมีการสะสมมวลไขมันในร่างกายมากเกินไป BMI ทั้งชายและหญิง ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
การพยาบาล
คำนวณพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
จำกัดมื้ออาหารและสัดส่วนของอาหารตามพีระมิดอาหาร
จำกัดการใช้น้ำมัน ไขมัน น้ำตาล
หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีแป้งและไขมันสูง
กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งและจำกัดอาหารมื้อเย็น
หลีกเลี่ยงการกินอาหารขณะดูโทรทัศน์
เพิ่มการกินอาหารที่มีกากใยและธัญพืชไม่ขัดสี
ส่งเสริงให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Emaciation (ภาวะผอมแห้ง)
คือ ภาวะที่ผอมมากเกินไป BMI น้อยกว่าหรือเท่ากับ 16 กิโลกรัม/ตารางเมตร และน้ำหนักลดลงตอดเวลาเป็นเวลานาน ร่วมกับการขาดสารอาหาร มีการควบคุมอาหาร หรืออดอาหาร ออกกำลังกายมากเกินไป
Anorexia nervosa
ภาวะเบื่ออาหาร
Bulimia nervosa
เป็นความผิดปกติของพฤติกรรมการกินอาหาร โดยจะกินอาหารวันละหลายๆครั้ง ครั้งละมากๆ โดยหลังกินเสร็จจะล้วงคอให้อาเจียนออกมาจนหมดหรือกินยาระบายอย่างหนัก ตลอดจนอดอาหาร
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Anorexia nervosa และ Bulimia nervosa
หาสาเหตุ
ส่งเสริมความรู้สึกอยากอาหารให้มากที่สุดและลดความรู้สึกเบื่ออาหาร
ดูแลด้านจิตใจ ให้ช่วงเวลารับประทานอาหารเป็นเวลาที่จิตใจสบาย
การใช้ยา แพทย์อาจให้ยากระตุ้นความอยากอาหาร
การดูแลให้ผู้ป่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
Nausea and vomiting (อาการคลื่นไส้และอาเจียน)
อาการคลื่นไส้
เป็นความรู้สึกอยากขับอาหารที่กินเข้าไปแล้วออกทางปาก
อาการอาเจียน
คือ การที่มีแรงดันภายในดันเอาสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหหาร หรือลำไส้ส่วนต้นออกมาทางปาก
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
การพยาบาลผู้ป่วยขณะอาเจียน เมื่อพบผู้ป่วยจะอาเจียน พยาบาลต้องรีบให้การช่วยเหลือโดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยปลอดภัยและสุขสบาย
สังเกตอาการที่เกิดร่วมกับการอาเจียน ลักษณะของอาเจียน จำนวน เวลาที่อาเจียน สัญญาณชีพ
ให้การพยาบาลผู้ป่วยหลังอาเจียน ในเรื่องความสะอาด สิ่งแวดล้อม น้ำและอาหาร
การป้องกันและแก้ไขอาการอาเจียน
ดูแลความสะอาดร่างกาย ปาก ฟัน เครื่องใช้ สิ่งแวดล้อม
เตรียมพร้อมถ้ามีการอาเจียนซ้ำ
Abdominal distention (ภาวะท้องอืด)
: เกิดจาดแรงดันในท้องเพิ่ม ทำให้เกิดอาการที่ตามมา เช่น ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
การพยาบาล
จัดให้นอนศีรษะสูง 45-60 องศา
งดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส
แสดงความเข้าใจและเห็นใจ และยินดีให้การช่วยเหลืออย่างจริงใจ
ค้นหาสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะท้องอืดและช่วยเหลือตามสาเหตุ
Dysphagia and aphagia (ภาวะกลืนลำบากและกลืนไม่ได้)
ภาวะกลืนลำบาก (Dysphsgia)
: ผู้ป่วยเกิดความลำบากในการกลืน
ภาวะกลืนไม่ได้ (Aphagia)
: ไม่สามารถกลืนได้ แรงมากสุด คือ กลืนไม่ได้เลยแม้แต่น้ำหรือน้ำลาย
การพยาบาล
สังเกตและประเมินอาการเกี่ยวกกับการกลืนไม่ได้หรือกลืนลำบาก
ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับสารน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ
ดูแลการได้รับยาตามแผนการรักษา
ระมัดระวังการสำลัก
ดูแลด้านความสะอาดของร่างกาย โดยเฉพาะความสะอาดของปากและฟัน
การเตรียมผู้ป่วยเพื่อตรวจหรือรักษา
การดูแลด้านจิตใจ ปลอบโยน ให้กำลังใจ
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารเองไม่ได้
การป้อนอาหาร (Feeding)
ผู้ป่วยอาจไม่สะดวกในการใช้มือในการตักอาหาร เป็นการดูแลเอาใจใส่ให้ผู้ป่วยได้รับประทานอาหารตามเวลา
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ได้รับประทานอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การใส่และถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร (Nasogastric intubution)
การใส่สายยางให้อาหารทางจมูกถึงกระเพาะอาหาร เรียกสั้นๆว่า NG tube
วัตถุประสงค์
เป็นทางให้อาหาร น้ำ หรือยา ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารทางปากไม่ได้หรือไม่เพียงพอ
เป็นการลดแรงดันในกระเพาะอาหารและลำไส้ (Dcompression)
เป็นการเพิ่มแรงดันเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร (Compression)
ล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
เก็บสิ่งตดค้างในกระเพาะอาหารไปตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
Bolus dose
: เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ Toomey syringe เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่สามารถรับประทานอาหารทางปากได้เอง
Drip feeding
: เป็นการให้อาหารทางสาย NG โดยใช้ชุดให้อาหาร มีลักษณะกับชุดให้สารน้ำสามารถปรับจำนวนหยดของอาหาร และเวลาการให้ได้ตามความต้องการ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของระบบประสาท หรือหลังการผ่าตัดสมออง
การถอดสายยางให้อาหารจากจมูกถึงกระเพาะอาหาร
: เป็นการถอดสายยางที่เคยใส่ไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่ง
การให้อาหารทางสายยางให้อาหารที่ใส่เข้าทางรูเปิดของกระเพาะอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารตามความต้องการของร่างกาย
การล้างภายในกระเพาะอาหาร (Gastric lavage)
ใช้มากในกรณีที่รับประทานยาพิษ ได้รับยาเกินขนาด เพื่อห้ามเลือด สำหรับการตรวจโดยการส่องกล้อง
วัตถุประสงค์
ล้างกระเพาะอาหารในกรณีที่ผู้ป่วยกินยาหรือสารพิษ
ทดสอบหรือยับยั้งการมีเลือดออกจำนวนน้อยในทางเดินอาหารส่วนบน
ตรวจสอบการอุดตันของสาย
ตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคปอดและหลอดลม