Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้ออื่น ๆ ขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อไวรัสรับอักเสบชนิดเอ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
การตั้งครรภ์ไม่มีผลทําให้อาการของโรครุนแรงมากขึ้น หากมีการติดเชื้อHAV ขณะตั้งครรภ์นั้น ร่างกายมารดาจะสร้าง antibody ต่อเชื้อ HAV ซึ่งสามารถผ่านไปยังทารกในครรภ์ได้ และมีผลคุ้มกันทารกไปจนถึงหลังคลอดประมาณ 6-9 เดือนจากนั้นจะหมดไป อย่างไรก็ตามหากสตรีตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในระยะใกล้คลอด อาจมีการแพร่กระจายเชื้อไปยังทารกในระยะคลอด หรือระยะหลังคลอดได้
การพยาบาล
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเองที่เหมาะสม และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อลดความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการรักษา
แนะนําเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว
2.1 พักผ่อนอย่างเพียงพอ
2.2 รับประทานอาหารที่สุก สะอาด และย่อยง่าย และดื่มน้ําให้เพียงพอ
2.3มาตรวจตามนัดเพื่อประเมินสภาวะของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
2.4 หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลต่อตับ ได้แก่ acetaminophen และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
อาการ
อาการและอาการแสดงที่พบ ได้แก่ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ มักไม่มีอาการของดีซ่าน แต่เมื่อใดที่ตรวจพบน้ําดีในปัสสาวะแสดงว่าตับมีการทํางานผิดปกติ ซึ่งทําให้มีอาการตับเหลือง ตาเหลือง ตรวจพบalkaline phosphatase เพิ่มขึ้น อาการจะมีอยู่ 10-15 วัน จากนั้นจะเข้าสู่ระยะพักฟื้น และหายจากการเป็นโรค ผู้ที่หายจากการเป็นโรคแล้วมักจะมีภูมิคุ้มกัน และจะไม่เป็นพาหะ ไม่เป็น chronic hepatitis หรือ chronic liver disease
การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี
พยาธิสรีรภาพ
ระยะแรกเมื่อได้รับเชื้อHepatitis B virus เข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่มีอาการแสดงของการได้รับเชื้อและเอนไซม์ตับปกติซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการอักเสบของตับ แต่หากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลบวก และพบ Hepatitis B virus DNA (viral load) จํานวนมาก
ระยะที่สองประมาณ 2-3 เดือนหลังจากได้รับเชื้อ Hepatitis B virus จะเข้าสู่ระยะที่สองผู้ติดเชื้อจะมีอาการอ่อนเพลียคล้ายเป็นหวัด คลื่นไส้อาเจียน จุกแน่นใต้ชายโครงจากตับโต ปัสสาวะเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ตับเริ่มมีการอักเสบชัดเจน ตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น ในระยะนี้ร่างกายจะสร้าง anti-HBe ขึ้นมาเพื่อทําลาย HBeAg ดังนั้นหากตรวจเลือดจะพบ anti-HBe ให้ผลบวกและจํานวน Hepatitis B virusDNA ลดลง
ระยะที่สามเป็นระยะที่ anti-HBe ทําลาย HBeAg จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL (20,000 IU/mL) อาการตับอักเสบจะค่อย ๆ ดีขึ้น ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน และเข้าสู่ระยะโรคสงบ (inactive carrier) ซึ่งหากตรวจเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ anti-HBe ให้ผลบวก และค่าเอนไซม์ ตับปกติ
ระยะที่สี่เป็นระยะที่เชื้อกลับมามีการแบ่งตัวขึ้นมาใหม่ (re-activation phase) ทําให้เกิดการอักเสบของตับขึ้นมาอีก หากตรวจเลือดเลือดจะพบ HBeAg ให้ผลลบ และ anti-HBe ให้ผลบวก ในระยะนี้ถ้า anti-HBe ไม่สามารถทําลาย HBeAg ได้จนเหลือน้อยกว่า 105 copies/mL จะเข้าสู่ภาวะตับอักเสบเรื้อรังจนเนื้อตับเสียหาย มีพังผืดแทรกจนเป็นตับแข็งและกลายเป็นมะเร็งตับ
อาการ
อาการและอาการแสดงไม่แตกต่างกับสตรีที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เมื่อได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะฟักตัว 50-150 วัน (เฉลี่ย 120 วัน) ดังนั้นในระยะแรกผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ แต่ถ้ามีอาการจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ํา ๆ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา คลําพบตับโต กดเจ็บ ปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ ในปลายสัปดาห์แรกจะเริ่มมีตาเหลืองตัวเหลือง ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้นและส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ มีบางส่วนที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง อาจมีภาวะตับวาย กลายเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิตในที่สุด โดยโอกาสที่จะกลายเป็นมะเร็งตับจะเพิ่มขึ้นตามจํานวนเชื้อไวรัสในร่างกายและอายุที่เพิ่มขึ้น
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นพาหะของ Hepatitis B virus แต่ไม่มีอาการแสดงของตับอักเสบจะไม่เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น แต่หากมีการติดเชื้อ Hepatitis B virus ในไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการคลอดก่อนกําหนด
ผลต่อทารก
ทารกแรกเกิดน้ําหนักตัวน้อย ทารกตายในครรภ์ หรือเสียชีวิตแรกเกิด และทารกที่คลอดมามีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAgเป็นบวกจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อไวรัสจากสตรีตั้งครรภ์ไปสู่ทารกสูงถึงร้อยละ 90และสามารถพัฒนาเป็นโรคตับแข็งและมะเร็งตับในอนาคตในขณะที่สตรีตั้งครรภ์ที่มีผล HBeAg เป็นลบจะมีอัตราการถ่ายทอดเชื้อเพียงร้อยละ 10 ถึงร้อยละ 20 เท่านั้น
การพยาบาล
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการเจาะถุงน้ําคร่ํา และการตรวจทางช่องคลอดเพื่อป้องกันถุงน้ําคร่ําแตกก่อนเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เมื่อศีรษะทารกคลอด ดูดมูก เลือดและสิ่งคัดหลั่งต่างๆออกจากปากและจมูกของทารกให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการทําให้เกิดรอยถลอกหรือบาดแผลบริเวณผิวหนังของทารก
ให้ผู้คลอดนอนพักบนเตียงและให้การดูแลเช่นเดียวกับผู้คลอดทั่วไป ประเมินการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ติดตามความก้าวหน้าของการคลอด และสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ
ทําความสะอาดทารกทันทีที่คลอด เพื่อลดการสัมผัสกับเชื้อที่อยู่ในเลือดและสารคัดหลั่ง
ดูแลให้ทารกได้รับภูมิคุ้มกันภายหลังคลอด โดยฉีดHepatitis B immunoglobulin (HBIG) ให้เร็วที่สุดหลังเกิด และให้ Hepatitis B vaccine (HBV) 3 ครั้ง ให้ครั้งแรกภายใน 1 สัปดาห์แรกหลังคลอด หรืออาจให้พร้อม HBIG และให้ครั้งที่ 2 และ 3 เมื่ออายุครบ 1 และ 6 เดือน ตามลําดับ
ระยะหลังคลอด
ไม่จําเป็นต้องงดให้นมมารดาแก่ทารก เนื่องจากอัตราการถ่ายทอดเชื้อจากมารดาสู่ทารกผ่านน้ํานมพบได้น้อยมาก แต่หากมารดาหลังคลอดมีหัวนมแตกและมีการอักเสบติดเชื้อของหัวนม อาจแนะนําให้งดให้บุตรดูดนมเพราะอาจแพร่กระจายเชื้อสู่ทารกได้
แนะนําการปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับมารดาหลังคลอดทั่วไป โดยเน้นการรักษาความสะอาดของร่างกาย การป้องกันการปนเปื้อนของเลือดหรือน้ําคาวปลา การล้างมือให้สะอาดก่อนการดูแลทารกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และการดูแลร่างกายให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แนะนําให้นําทารกมารับวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบบี และนําบุตรมาตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการและป้องกันการติดเชื้อ
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําแก่สตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับสาเหตุ การติดต่อ การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ การดําเนินของโรค แผนการรักษาพยาบาลที่จะให้แก่สตรีตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์ได้ระบายความรู้สึกกลัววิตกกังวลเพื่อคลายความวิตกกังวล
อธิบายแก่สตรีตั้งครรภ์เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการมาตรวจตามนัด เพื่อค้นหาความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ และแนะนําการสังเกตการณ์ดิ้นของทารกในครรภ์ อาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น หากพบต้องรีบมาโรงพยาบาลทันที
ตรวจคัดกรองสตรีตั้งครรภ์ทุกคนว่าเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากผลการตรวจพบ HBsAg และ HBeAg เป็นบวก แสดงว่ามีการติดเชื้อและอยู่ในระยะที่มีอาการ จึงควรแนะนําให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ รับประทานอาหารที่มีไขมันต่ํา ย่อยง่าย ให้พลังงานสูง ในรายที่มีอาการเบื่ออาหารและอาเจียน ดูแลให้ได้รับยาแก้อาเจียนตามแผนการรักษา
หัดเยอรมัน
พยาธิสรีรภาพ
กลุ่มไม่มีอาการทางคลินิก โดยกลุ่มนี้จะตรวจพบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันอย่างเดียว และจะกลายเป็นพาหะของโรคต่อไป
กลุ่มที่มีอาการทางคลินิก คือมีผื่นที่ใบหน้า ลามไปที่ลําตัวและแขนขา ลักษณะของผื่นจะเป็นตุ่ม เกิดได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 หลังได้รับเชื้อ และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ อาจมีอาการปวดข้อ ปวดเข้า พบต่อมน้ําเหลืองโต ทั้งสองกลุ่มสามารถทําให้ทารกเกิดการติดเชื้อได้ เชื้อหัดเยอรมันจะเข้าไปทําลายผนังหลอดเลือดและเนื้อรกทําให้เนื้อรกและหลอดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย ส่วนในทารกเชื้อจะเข้าไปในเซลล์ที่กําลังแบ่งตัว ทําให้เซลล์ติดเชื้อ ส่งผลให้เซลล์เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ การสร้างอวัยวะต่าง ๆ บกพร่อง เกิดเป็นความพิการแต่กําเนิด ซึ่งความรุนแรงของความพิการจะลดลงตามอายุครรภ์ที่มารดาเกิดการติดเชื้อหัดเยอรมันและความพิการในทารกจะลดลงมากหรือไม่พบเลยถ้าการติดเชื้อเกิดหลังอายุครรภ์ 16 สัปดาห์
อาการ
อาการและอาการแสดงได้แก่ มีไข้ต่ํา ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว เบื่ออาหาร ตาแดง ไอ เจ็บคอ และต่อน้ําเหลืองบริเวณหลังหูโต อาจมีอาการปวดข้อ โดยไข้จะเป็นอยู่ 1-2 วันก็จะหายไป หลังจากนั้นจะมีผื่นขึ้นเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีแดง (maculopapular) มองเห็นเป็นปื้นหรือจุดกระจัดกระจายโดยจะเริ่มขึ้นที่ใบหน้าจากนั้นจะแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลําตัว แขนขา จนทั่วร่างกายอย่างรวดเร็ว อาการจะเกิดขัดเจนในวันที่ 7-10 และจะคงอยู่ 4 สัปดาห์ จากนั้นผื่นจะจางหายไป แต่ในบางรายที่ไม่มีอาการข้างต้น จะมีเพียงอาการคล้ายเป็นหวัด แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบภูมิคุ้มกันเชื้อหัดเยอรมัน
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ไม่ทําให้อาการของโรครุนแรงขึ้น และไม่ทําให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น จึงไม่เกิดผลกระทบต่อมารดา แต่อาจรู้สึกไม่สุขสบายเล็กน้อยเท่านั้น
ผลกระทบต่อทารกในครรภ์
ความผิดปกติถาวรได้แก่ หูหนวก หัวใจพิการ ตาบอด (ต้อกระจก, ต้อหิน) สมองพิการ และปัญญาอ่อน
ความผิดปกติที่ไม่พบขณะแรกเกิด แต่ปรากฏภายหลัง เช่น ภาวะเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ สูญเสียการได้ยิน ลิ้นหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สมองอักเสบ เป็นต้น
ความผิดปกติที่เกิดขึ้นชั่วคราว เช่น ตับม้ามโต ตัวเหลือง โลหิตจาง เกล็ดเลือดต่ํา ปอดบวม กระดูกบาง เป็นต้น
การพยาบาล
ในสตรีที่มาฝากครรภ์ควรตรวจดูว่ามีภูมิคุ้มกันหรือไม่ หากยังไม่มีภูมิคุ้มกันแนะนําให้สตรีตั้งครรภ์หลีกเลี่ยงการเข้าชุมชนในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อหัดเยอรมัน หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นพาหะของเชื้อหัดเยอรมัน โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
แนะนําให้มาฝากครรภ์อย่างสม่ําเสมอ และมารับการตรวจที่โรงพยาบาลทันทีที่สงสัยส่ามีการติดเชื้อหัดเยอรมัน
ให้วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อเยอรมันแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนมาก่อนโดยก่อนฉีดวัคซีนจะต้องแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ และหลังจากให้วัคซีนจะต้องคุมกําเนิดต่อไปอีกอย่างน้อย 3 เดือน
ประเมินสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์เกี่ยวกับการได้รับภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน การสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค และอาการแสดงของโรค
เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับผลของการติดเชื้อต่อสุขภาพของตนเองและทารกในครรภ์
สุกใส
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเยื่อเมือกบุทางเดินหายใจ ซึ่งเชื้อโรคมีระยะฟักตัวนาน 10-20 วัน ในกรณีที่โรคสุกใสเกิดขึ้นตั้งแต่แรกคลอด จะเรียกว่า congenital varicella syndrome ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยมารดาติดเชื้อไวรัสสุกใสขณะตั้งครรภ์ ซึ่งจะมีผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดเชื้อในช่วง 3 เดือน ของการตั้งครรภ์ ซึ่งส่งผลต่อความพิการของทารกในครรภ์ได้สูง
อาการ
มักจะมีไข้ต่ําๆ นํามาก่อนประมาณ1-2 วันแล้วค่อยมีผื่นขึ้น ลักษณะของผื่น และตุ่ม มักจะขึ้นตามไรผม หรือหลังก่อน จะเห็นเป็นตุ่มน้ําใสๆ บนฐานสีแดง เหมือนหยาดน้ําค้างบนกลีบกุหลาบ (dewdrops on a rose petal) แล้วค่อยลามไปบริเวณหน้าลําตัว และแผ่นหลัง มีอาการปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย คล้ายอาการของไข้หวัดใหญ่ บางคนอาจมีต่อมน้ําเหลืองที่คอ และหลังหูโตขึ้น จนคลําได้ก้อนกดเจ็บ บางรายอาจจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผื่น ตอนเป็นตุ่มน้ําจะรู้สึกคันมาก โดยตุ่มจะทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน หลังจากนั้นจะพัฒนาไปเป็นตุ่มหนอง และแห้งลงจนตกสะเก็ดในที่สุด ลักษณะที่บางเม็ดขึ้นเป็นตุ่มน้ําใสๆ และบางเม็ดกลายเป็นตุ่มกลัดหนอง
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อสุกอีใสในผู้ใหญ่มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าเด็กโดยเฉพาะในสตรีตั้งครรภ์ ซึ่งมีภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลงจากการตั้งครรภ์ พบว่าความรุนแรงของการติดเชื้อสุกใสมากขึ้น โดยเฉพาะในระยะอายุครรภ์ใกล้ครบกําหนดคลอดจะยิ่งอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่ ร้อยละ 40 จะมีปัญหาภาวะปอดอักเสบ หรือปอดบวม ทําให้ระบบหายใจล้มเหลว บางรายอาจจะมีอาการทางสมอง ทําให้ซึมลง และมีอาการชัก ทําให้เสียชีวิตได้ทั้งแม่ และทารกในครรภ์
ผลกระทบต่อทารก
การติดเชื้อในครรภ์ โดยทารกในครรภ์มีโอกาสติดได้ร้อยละ 10 เท่าๆ กันทุกไตรมาส โดยเฉพาะในไตรมาสแรก อาจทําให้ทารกเกิดความพิการก่อนกําเนิดได้ เช่น ความผิดปกติของตา (ต้อกระจก) สมอง(ปัญญาอ่อนศีรษะขนาดเล็ก เนื้อสมองเหี่ยวลีบ) แขนขาลีบเล็ก และผิวหนังผิดปกติ (แผลเป็นตามตัว) ที่เรียกว่า congenital varicella syndrome รายที่มีการติดเชื้อรุนแรง อาจทําให้อัตราการตายในระยะแรกคลอดสูง ยังพบว่าในหลายรายทําให้มีการคลอดก่อนกําหนดได้ด้วย
การติดเชื้อปริกําเนิด อาจติดเชื้อผ่านทางมดลูก และช่องทางคลอด โดยมีความเสี่ยงสูงในรายที่สตรีตั้งครรภ์ตมีการติดเชื้อสุกใสในระยะก่อนคลอด 5 วัน และหลังคลอด 2 วัน เนื่องจากหากเป็นโรคก่อนคลอด 5 วัน จะยังไม่มีภูมิคุ้มกัน (antibody) ในมารดามากพอที่จะส่งไปช่วยป้องกันในทารกและถ้าอาการเกิดใน 2 วันหลังคลอด แสดงว่าปริมาณเชื้อสูงตั้งแต่ช่วงที่คลอด และทารกได้รับเชื้อไปตั้งแต่ก่อนคลอดแล้ว ซึ่งอัตราเสียชีวิตของทารกที่ติดเชื้อในนี้สูงถึงร้อยละ 20-30
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
แนะนําให้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง วิตามินซีสูง รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง โดยออกกําลังกายสม่ําเสมอ และทําจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานต่อโรค
2.ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยอธิบายให้สตรีตั้งครรภ์เข้าใจถึงภาวะของโรค การแพร่กระจายเชื้อและการปฏิบัติตน
3.เปิดโอกาสให้สตรีตั้งครรภ์และครอบครัวได้ระบายความรู้สึก เพื่อลดความวิตกกังวลของสตรีตั้งครรภ์และครอบครัว รวมถึงแนะนําแหล่งสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง
ระยะคลอด
1.ให้การดูแลในระยะคลอดเหมือนผู้คลอดทั่วไป โดยเน้นหลัก Universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ในขณะรอคลอด และขณะคลอด ควรแยกห้องคลอด และอุปกรณ์ เครื่องใช้ต่างๆ
ขณะคลอดควรดูดเมือกออกจากปากและจมูกทารกโดยเร็ว ทําความสะอาดร่างกายทันทีหลังคลอด
ระยะก่อนตั้งครรภ์
แนะนําให้สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่วางแผนตั้งครรภ์ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันสุกใสก่อนการตั้งครรภ์โดยหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนในระยะตั้งครรภ์ หรือการเว้นระยะการตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือนภายหลังการฉีดวัคซีนเนื่องจากวัคซีนสุกใสที่ได้รับเป็นวัคซีนที่มีชีวิต หากเกิดการตั้งครรภ์ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจทําให้เกิดความพิการของทารกในครรภ์ได้