Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ - Coggle Diagram
การติดเชื้อที่มาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
การตกขาวผิดปกติ
2.การตกขาวจากการติดเชื้อพยาธิ(vaginal trichomoniasis)
การพยาบาล
ระยะคลอด
ให้การพยาบาลผู้คลอดในระยะคลอด โดยให้คลอดทางช่อคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ให้การพยาบาลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
แนะนําให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์และดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกเสมอ
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
แนะนําการเหน็บยา หรือการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างถูกต้องและสม่ําเสมอ
แนะนําให้สามีมารับการรักษาพร้อมกัน
3.การตกขาวจากการติดเชื้อแบคทีเรีย(bacterial vaginosis)
การพยาบาล
ระยะคลอด
ผู้คลอดสามารถคลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ โดยให้การพยาบาลเหมือนผู้คลอดทั่วไป
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
2.สามารถเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้ โดยเน้นเรื่องการล้างมือทุกครั้งก่อนสัมผัสบุตร
เน้นการทําความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ให้สะอาดและแห้งเสมอ
ระยะตั้งครรภ์
ให้คําแนะนําและการดูแลเหมือนสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
รับประทานยาตามแพทย์สั่งให้ครบ และเน้นย้ําให้เห็นความสําคัญของการมาตรวจตามนัด
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกไม่ให้อับชื้นโดยใช้น้ําธรรมดา หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ซึ่งอาจไปทําลายเชื้อโรคประจําถิ่นได้
1.การตกขาวจากการติดเชื้อรา (Vulvovaginal candidiasis)
การพยาบาล
ระยะคลอด
สามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ตามปกติ
ระยะหลังคลอด
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเทอโรนลดลง อาการของการติดเชื้อราในช่องคลอดจะดีขึ้น
การดูแลมารดาหลังคลอดเหมือนมารดาหลังคลอดทั่วไป
เน้นการดูแลความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกให้สะอาดและแห้งเสมอ ชุดชั้นในต้องสะอาดและแห้ง ไม่อับชื้น
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายให้สตรีตั้งครรภ์ เข้าใจสาเหตุของการติดเชื้อ และการดูแลตนเองให้มีอาการสุขสบายขึ้นจากอาการคันในช่องคลอด และปากช่องคลอด
แนะนําการใช้ยาทา และยาเหน็บช่องคลอดตามแพทย์สั่ง โดยการเหน็บยาในช่องคลอดอย่างมีประสิทธิภาพ และรักษาติดต่อกันจนยาหมด หากอาการยังไม่ดีขึ้น หรือยังมีอาการหลงเหลืออยู่ ให้ไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง
การทําความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และการทําความสะอาดชุดชั้นในต้องซักให้สะอาดและตากแดดให้แห้งเสมอ ชุดชั้นในควรเป็นผ้าฝ้ายไม่ควรใช้ไนลอนเพราะจะทําให้อับชื้น
หูดหงอนไก่ (Condyloma acuminate)
อาการ
มีรอยโรคเป็นติ่งเนื้อสีชมพูคล้ายหงอนไก่ ขนาดแตกต่างกัน มักเกิดบริเวณอับชื้น เช่น ปากช่องคลอด หรือในช่องคลอด เป็นต้น การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์รอยโรคจะขยายใหญ่ มีผิวขรุยระคล้ายดอกกะหล่ําและยุ่ยมาก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
หากเกิดรอยโรคใหญ่อาจขัดขวางช่องทางคลอด หรือทําให้เกิดการตกเลือดหลังคลอด และมารดาหลังคลอดมีโอกาสเกิดมะเร็งปากมดลูกได้
ผลต่อทารก
ทารกอาจติดเชื้อหูดหงอนไก่ระหว่างตั้งครรภ์และขณะคลอด บางรายอาจเกิด laryngeal papillomatosis ทําให้เกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินหายใจส่วนบนเสียงเปลี่ยน (voice change) เสียงร้องไห้แหบผิดปกติ (abnormal cry)
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
คัดกรองและประเมินภาวะสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดยละเอียด ตรวจร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรส่งพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มฝากครรภ์
แนะนําให้นําสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนําให้รักษาพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
อธิบายให้เข้าใจถึงการดําเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์ แผนการรักษาพยาบาล การป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
ระยะคลอด
ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หลีกเลี่ยงการทําหัตถการทางช่องคลอด เช่น การตรวจทางช่องคลอด การเจาะถุงน้ําคร่ํา หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรทําอย่างระมัดระวังและไม่ทําให้ถุงน้ําคร่ําแตก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ทารก กรณีที่ถุงน้ําคร่ําแตกนานควรรายงานแพทย์
ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผ็คลอดที่มีการติดเชื้อหนองใน ทารกแรกเกิดต้องได้รบการป้ายตาด้วย 1% Tetracyclin ointment หรือ 0.5% Erythromycin ointment
ระยะหลังคลอด
แนะนํามารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย เครื่องใช้ส่วนตัว การกําจัดสิ่งปนเปื้อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย ซึ่งหากทารกสัมผัสกับเชื้อเริมควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารก
ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
หนองใน (Gonorrhea)
อาการ
มีการอักเสบของปากมดลูกและช่องคลอดทําให้ตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก อาจพบอาการกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin’s gland) หากมีการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบอาการปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะกระปิดกระปรอย เป็นหนองข้น และปัสสาวะเป็นเลือด
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ไม่มีอาการ มีบุตรยาก กรณีที่มีอาการขณะตั้งครรภ์จะทําให้ถุงน้ําคร่ําอักเสบและติดเชื้อ ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด แท้งบุตร และการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด
ผลกระทบต่อทารก
ทารกแรกเกิดที่คลอดปกติผ่านทางช่องคลอดมีการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ช่องคลอด หรืออวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก โดยเฉพาะบริเวณเยื่อเมือกที่ตาของทารก ทําให้เกิดตาอักเสบ (gonococcal ophalmia neonatorum) และอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ หากทารกแรกเกิดกลืนหรือสําลักน้ําคร่ําที่มีเชื้อหนองในเข้าไปจะทําให้ช่องปากอักเสบ หูอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบได้
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อเชื้อ Neiseria gonorrheaeเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปเกาะติดกับเซลล์เยื่อบุและเซลล์ขับเมือก โดยจะพยายามผ่านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันเข้าไปเพิ่มจํานวนเซลล์ในชั้น subepithelial tissue จากนั้นเชื้อ Neiseria gonorrheaeจะทําปฏิกิริยากับภูมิต้านทานของร่างกาย ทําให้เกิดสารเคมีที่เป็นพิษต่อเซลล์และเนื้อเยื่อ ส่งผลให้เนื้อเยื่ออักเสบเป็นหนอง ซึ่งตําแหน่งที่มักพบการอักเสบคือ เยื่อเมือกบริเวณปากมดลูก ทวารหนัก ท่อปัสสาวะ ถ้าเข้าเชื้อสู่เชิงกรานจะไปทําลายถุงน้ําคร่ําทําให้ถุงน้ําคร่ําแตกก่อนกําหนด เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด น้ําคร่ําติดเชื้อ โพรงมดลูกดักเสบ อุ้งเชิงกรานอักเสบ หากเชื้อเข้าสู่ช่องท้องจะทําให้ช่องท้องอักเสบ ตับอักเสบ และหากเข้าสู่กระแสเลือดจะทําให้ติดเชื้อในกระแสเลือด มีอาการรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากเชื้อกระจายแพร่ไปทั่วร่างกาย
ซิฟิลิส (Syphilis)
อาการ
ซิฟิลิสระยะแรก หรือระยะที่หนึ่ง (primary stage)
ซิฟิลิสระยะที่สอง (secondary stage)
ระยะแฝง (latent syphilis)
ซิฟิลิสระยะที่ 3 หรือระยะท้ายของโรคซิฟิลิส (tertiary syphilis)
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
ทําให้ผิวหนังและเนื้อเยื่ออักเสบ คลอดก่อนกําหนด และแท้งบุตร
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกําหนด ตายคลอด ทารกแรกเกิดติดเชื้อซิฟิลิส(neonatalsyphilis)ทารกพิการแต่กําเนิดโดยอาจพบความพิการของตับม้ามโต ทารกตัวบวมน้ํา ตัวเหลือง เยื่อบุส่วนต่างๆของร่างกายเกิดการอักเสบ ผิวหนังที่ฝ่ามือฝ่าเท้าอักเสบและลอกเป็นขุย ปัญญาอ่อน เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังได้รับเชื้อสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เป็นแผลถลอก หรือทางเยื่อบุต่างๆของร่างกาย ประมาณ 10-14 วัน ร่างกายจะสร้างantibody ต่อเชื้อชนิด IgM และ IgG ขึ้นมา ขณะที่ร่างกายกําลังสร้างantibodyเชื้อจะแบ่งตัวทําให้บริเวณผิวหนังหรือบริเวณเนื้อเยื่อที่เชื้อผ่านเข้าไปจะเกิดการระคายเคือง เกิดปฏิกิริยา lymphocyte และ plasma cell reaction มาล้อมรอบเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบทําให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวและบวม เชื้อจะแทรกเข้าไปอยู่ระหว่างผนังหลอดเลือดและทําให้หลอดเลือดอุดตัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อที่มีการอักเสบมีเลือดมาเลี้ยงลดลง เกิดการขาดเลือดกลายเป็นเนื้อตาย และกลายเป็นแผลที่มีลักษณะเป็นตุ่มแข็ง กดไม่เจ็บ ส่วนเชื้อที่เข้าสู่กระแสเลือดจะทําให้หลอดเลือดส่วนปลายเกิดการอักเสบส่งผลให้เกิดผื่นทั่วร่างกาย ขณะเดียวกันเชื้อจะเข้าไปยังต่อมน้ําเหลืองทําให้ต่อมน้ําเหลืองโตแต่กดไม่เจ็บ ภายหลังจากรับเชื้อเข้าร่างกาย 6-8 สัปดาห์ จํานวนเชื้อที่แผลหรือที่เนื้อเยื่อจะค่อยๆ ลดลง ผื่นจะค่อยๆหายไป ส่วนบริเวณแผลจะมีพังผืดเกิดขึ้นและกลายเป็นแผลเป็น ส่วนเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณรกจะทําให้รกเกิดการอักเสบ เนื้อรกกลายเป็นเนื้อตาย และถ้าเชื้อผ่านไปยังทารกในครรภ์จะทําให้เนื้อเยื่อของทารกอักเสบและเป็นเนื้อตาย เปื่อยยุ่ย และหลุดเป็นแผล เกิดพังผืด และทําให้ทารกพิการแต่กําเนิด
การติดเชื้อเริม (Herpes simplex)
อาการ
อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิมักเกิด 3-7 วันหลังการสัมผัสเชื้อ โดยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน และคันบริเวณที่สัมผัสโรค จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มน้ําใสๆ แล้วแตกกลายเป็นแผลอยู่ 2 สัปดาห์ ก่อนจะตําสะเก็ด บางรายอาจมีอการคล้ายหวัด ได้แก่ ไข้ต่ําๆ อ่อนเพลัย ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต ผู้ที่เคยติดเชื้อ HSV มักจะเกิดการติดเชื้อซ้ําเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ําโดยจะมีอาการเหมือนกับการติดเชื้อปฐมภูมิ แต่อาการจะไม่ค่อยรุนแรง รอยโรคจะน้อยกว่า ระยะเวลาที่เป็นน้อยกว่า และไม่ค่อยพบต่อน้ําเหลืองที่ขาหนีบโต
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารก
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อครั้งแรกขณะตั้งครรภ์จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด ส่วนการติดเชื้อซ้ําขณะตั้งครภร์มีผลกระทบค่อนข้างน้อย
ผลกระทบต่อทารก
ทารกมีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ทารกคลอดก่อนกําหนด หากทารกมีการติดเชื้อในขณะตั้งครรภ์ จะทําให้เกิดความพิการแต่กําเนิดสูง ส่งผลให้ทารกเสียชีวิตได้ และหากให้คลอดทางช่องคลอดทารกอาจติดเชื้อขณะคลอดได้
พยาธิสรีรภาพ
ภายหลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะทําให้ผิวหนังเป็นตุ่มน้ําใส เล็กๆจํานวนมาก เมื่อตุ่มน้ําแตก หนังกําพร้าจะหลุดพร้อมกับทําให้เกิดแผลตื้น ทําให้รู้สึกปวดแสบปวดร้อนที่แผล ขณะเดียวกันเชื้อก็จะเดินทางไปแฝงตัวที่ปมประสาท และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ํา