Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม, นายณัครินทร์ ปิงแก้ว …
บทที่ 3
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรม
ภาษาเป็นวัฒนธรรม
วัฒนธรรม
ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
ภาษาเป็นเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยสติปัญญา เพื่อใช้สื่อสารให้เกิดความเข้าใจกัน ใช้ในการถ่ายทอดความคิดความรู้เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ดังนั้นภาษาจึงเป็นวัฒนธรรม เพราะทำให้เกิดความเจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
ภาษาเป็นวัฒนธรรมประเภทหนึ่งใน 5 ประเภท คือวัฒนธรรมทางภาษา
ภาษาเป็นเครื่องบันทึกวัฒนธรรม
ภาษาเป็นตัวบันทึกเหตุการณ์ เรื่องราว และความคิดความเชื่อต่าง ๆ ของสังคมเอาไว้
“ภาษา” เป็น “สื่อ” ที่ทำให้สามารถรับรู้วัฒนธรรมของสังคมในสมัยก่อนได้
วัฒนธรรมบางอย่างไม่ได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่อาศัยภาษาช่วยบอกเล่าจดจำต่อ ๆ กันมา เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก นิทานชาวบ้าน ฯลฯ
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกวัฒนธรรมไว้ไม่ให้สูญหาย
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดของภาษา
ควรใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารให้ถูกต้องตามวัฒนธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด
วัฒนธรรมในการใช้ภาษา ล้วนนำไปสู่ความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจกันและความมีไมตรีต่อกันทั้งสิ้น
การใช้ภาษาในการสื่อสารที่ถูกต้องและเหมาะสม จะแสดงให้เห็นถึงความเจริญของสังคมและการสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาที่ดี
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาเพื่อการสั่งสอน
ถ้อยคำที่ใช้เพื่อการสั่งสอน มีลักษณะ เป็นสำนวน ภาษิต สุภาษิต คำพังเพย เป็นต้น
ภาษาที่ใช้เพื่อการสั่งสอน
เป็นการกลั่นกรองความคิดและสติปัญญา อันลึกซึ้ง เฉียบแหลม
แสดงถึงความเป็นอัจฉริยะของบรรพชนชาวไทยที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมมายังลูกหลาน
สะท้อนให้เห็นภาพสังคมไทย และอุปนิสัยใจคอของคนไทยอย่างชัดเจน
วัฒนธรรมในการใช้ภาษาเพื่อสร้างสรรค์
ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม ของชาตินั้น เครื่องมือที่สาคัญคือภาษา เพราะวรรณกรรมเป็นผลิตผลของการใช้ภาษาเพื่อการสร้างสรรค์
วัฒนธรรมกับภาษามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนแยกจากกันไม่ได้ ทำให้การสร้างสรรค์ผลงานต้องอาศัยทั้งคู่ไปด้วยกัน
ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวัฒนธรรมในพื้นที่ปฏิบัติการโรงเรียน
ภาษามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับวัฒนธรรม
“วัฒนธรรมสัญลักษณ์”
ใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร และถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ
ภาษาเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเจริญก้าวหน้า หรือความล้าหลังของวัฒนธรรม
ภาษาแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม
ภาษาเป็นเครื่องถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้มิให้สูญหาย
ภาษาเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในชาติ
ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับของชนชั้นหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม
ภาษาสะท้อนให้เห็นที่มาหรือประวัติของวัฒนธรรมในสังคม
นายณัครินทร์ ปิงแก้ว รหัสนิสิต 60204035 วิทยาลัยการศึกษา สาขาชีววิทยา Sec.7